เกษตรปราณีต วิถีแห่งความพอเพียง
จากการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2540 ทำให้เกิดภาวะหนี้สินขึ้นทั่วทุกพื้นที่ โดยเฉพาะ...
data-ad-format="autorelaxed">
เรียบเรียงโดยกระปุกดอทคอม ภาพประกอบจาก gotoknow.org
จากการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2540 ทำให้เกิดภาวะหนี้สินขึ้นทั่วทุกพื้นที่ โดยเฉพาะที่ภาคอีสาน เมื่อก่อนหนุ่มสาวต่างจังหวัดที่เดินทางเข้าไปทำงานในกรุงเทพ แต่เมื่อเจอวิกฤติภาวะเศรษฐกิจ โรงงานหลายที่ปิดกิจการ ลดปริมาณพนักงานลง ทำให้หลายคนตกงาน โดนเลิกจ้าง ต้องเดินทางกลับบ้านเกิดเหมือนเดิม
จากเหตุการณ์นี้เองทำให้กลุ่มคนที่ชาวบ้านยกย่องให้เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ได้รวมกลุ่มและจัดตั้งขึ้นเป็นเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน และพหุภาคีภาคอีสาน โดยได้พยายามศึกษารูปแบบการทำเกษตรกรรมที่ไม่ได้ยกเอาเงินเป็นตัวตั้งในระบบการผลิต แต่ยกเอา "ความสุข" ขึ้นมาแทนด้วยการทำเกษตรกรรมแบบผสมผสานที่พึ่งตัวเอง ทำการออมน้ำ ออมสัตว์ และออมต้นไม้อย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
ด้วยแนวคิดดังกล่าวจึงทำให้เกิดโครงการวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมอย่างประณีต 1 ไร่ เพื่อนำไปสู่การมีอยู่ มีกิน และปลดหนี้สิน ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยโครงการดังกล่าวจะเน้นการนำเอาองค์ความรู้ในการทำเกษตรผสมผสานของปราชญ์ชาวบ้านมาออกแบบการทำเกษตรกรรมอย่างประณีต ที่จะต้องมีการศึกษาทั้งปริมาณและชนิดของพืช ที่จะใช้ปลูกรวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องสามารถใช้ได้จริง
และหลังจากที่ได้ทดลองมาระยะหนึ่ง ทีมงานวิจัยที่ประกอบด้วย พ่อมหาอยู่ สุนทรชัย ปราชย์ชาวบ้านจากจังหวัดสุรินทร์ พ่อผาย สร้อยสระกลาง จากจังหวัดบุรีรัมย์ พ่อสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์,พ่อคำเดื่อง ภาษี,พ่อทัศน์ กระยอม และปราชญ์ชาวบ้านในภาคอีสานกว่า 20 คน ก็ได้สรุปว่าบนที่ดิน 1 ไร่ ต้องทำอย่างน้อย 8 อย่าง อาทิ ปลูกข้าว,ปลูกผัก,เลี้ยงสัตว์จำพวกปลา หมู หรือไก่ เป็นต้น
ซึ่งตามแนวคิดของพ่อมหานั้นการเกษตรปราณีต 1 ไร่ คือการปลูกด้วยฝีมือ มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีความมั่นคงต่อผู้ผลิต เป็นสวนอาหารของครอบครัวที่อุดมสมบูรณ์และมีคุณภาพ มีความสุขบนตัวชี้วัดที่ตัวเองสร้างขึ้น และมีความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมของโลก โดยพ่อคำเดื่อง ภาษี ยังได้เพิ่มเติมอีกว่า การทำเกษตรปราณีตคือการเปลี่ยนวิธีคิดของเกษตรกร
"แม้แต่การคิดว่า 1 ไร่ มี 1,600 ตารางเมตรยังหยาบเกินไป อาจจะต้องคิดเป็นตารางฟุต ตารางนิ้ว หรือตารางเซนติเมตรไปเลย เป็นการท้าทายให้ไม่คิดเฉพาะบนดินแต่ใต้ดินก็สามารถปลูกพืชได้ เช่น ปลูกมันเทศไว้ในดิน เหนือดินขึ้นไป 2 ชั้น 3 ชั้น ก็มีต้นไม้ มีสัตว์ ...และถ้าเราคิดให้พื้นที่ 1 ไร่ เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเส้นรอบแปลง 4 ด้านเท่ากับ 160 เมตร หรือ 160,000 เซนติเมตร จะมีชะอมโดยรอบ 500 กว่าต้น เก็บเกี่ยวแต่ละรอบก็เหลือกินมากและถ้าเหลือก็ขายวันละบาท จะมีเงินวันละ 500 บาท …นี่เฉพาะรั้ว ยังไม่นับพื้นที่ว่างในการปลูกผักผลไม้ ไม้ใช้สอย เพาะเห็ด เลี้ยงสัตว์นานาชนิดได้อีกมาก" พ่อคำเดื่องกล่าว
ดังนั้นหากจะนิยามความหมายของคำว่า "เกษตรปราณีต" คือการทำเกษตรแบบเข้าใจธรรมชาติ เป็นการเกษตรในพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ ที่สามารถปลูกพืชในครัวเรือนไว้กินไว้ใช้อย่างครบถ้วน โดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ ในกระบวนการปลูก หากเหลือกินก็สามารถนำมาขายได้ นอกจากนี้ยังสามารถเลี้ยงปลาหรือเลี้ยงไก่ก็ได้ และถ้าหากมีพื้นที่มากกว่า 1 ไร่ ก็สามารถขยายออกไปได้ ซึ่งเป็นการทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ใช่การลงทุนใหญ่ครั้งเดียวที่จะมีความเสี่ยงมากกว่า
และนี่ก็คือการทำการเกษตรแบบพอเพียง ที่น่าจะเหมาะกับสภาพเศรษฐกิจในยุคน้ำมันแพงแบบนี้
อ่านเรื่องนี้แล้ว : 47260 คน
£
ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:
ณิช[email protected]ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความรู้และแบ่งปันสิ่งดี ดี แก่คนไทยซึ่งสามารถให้เราพึ่งพาตนเองและอยู่รอดในทุกสถาณการณ์ ขอบคุณจากใจจริงคะ
22 ก.ค. 2555 , 11:37 PM e0 ชอบ | | | 0 ไม่ชอบ |
นัฐษ์ชัยชาญ[email protected]ดีมากขอให้คนไทยหันมาช่วยเหลือตัวเองก่อน
17 มี.ค. 2555 , 01:35 AM e0 ชอบ | | | 0 ไม่ชอบ |
ลม[email protected]แบบนี้ก็ดีนะคะ่ หนูเชื่อว่าในอานาคตคนเราอาจประสบกับปัญหาภาวะขาดแคลนอาหารเพราะโลกเราเปลี่ยนไปทุกวัน เมื่ออดอยากจะมีใครเอาของมาขายบ้างดั้งนั้นเกษตรแบบปราณีตก็ดูเป็นทางออกที่ดีไม่น้อยการอยู่ได้ด้วยตัวเองเป็นสิ่งที่ดีไม่น้อยถ้าเหลือก็แบ่งปันหรือเอาไปแลกเปลี่ยนกับคนอื่นก็ได้
07 ก.พ. 2555 , 09:35 PM e0 ชอบ | | | 0 ไม่ชอบ |
T-pat2512[email protected]
อยู่แบบพอเพียงดีคับ ผมกอ้คิดอยู่เหมือนกัน
25 ส.ค. 2554 , 08:07 PM e0 ชอบ | | | 0 ไม่ชอบ |
จินตนา ช่วยเจริญ[email protected]
เป็นการนำเสนอที่ดี ควรมีรายละเอียดมากกว่านี้หน่อย ขอบคุณค่ะ
17 มิ.ย. 2554 , 06:12 PM e0 ชอบ | | | 0 ไม่ชอบ |