data-ad-format="autorelaxed">
คู่มือ ฉลาดเลือกกินผัก
การรับประทานผักให้เหมาะสมกับฤดูกาล นอกจากจะได้ประโยชน์สูงสุด และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้แล้ว ยังได้ผลดีต่อร่างกายและจิตใจ และหากท่านใดไม่สะดวก ในการเลือกซื้อผัก ไม่มั่นใจในเรื่องคุณภาพ ความปลอดภัย หรือไม่สะดวกในการทำอาหารด้วยตนเอง ก็ขอเชิญ ใช้บริการ ร้านอาหาร Ariya Organic Caféได้ที่ อาคาร Q House ลุมพินี ซึ่งได้คัดสรรพืชผักสดๆ ปลอดสารพิษ มารังสรรค์ สุขภาพดีๆ ให้คุณได้ตลอดปี
“เมื่อปัจจัยหนึ่งที่ชี้วัดถึงความเจริญของประเทศ คือความปลอดภัยในชีวิต โดยเฉพาะ การกินการอยู่ ฉะนั้น จะมีประโยชน์อะไร หากในปัจจุบันมีพืชผักให้ เลือกกินมากมาย แต่ สุขภาพผู้คนกลับแย่ลง เพราะร่างกายได้รับสารพิษจากพืชผักเหล่านั้น”
ความข้องใจจาก คุณชวน ชูจันทร์ เกษตรกรเดินดินคนหนึ่ง ผู้มีบทบาทในการผลิตพืชผักอินทรีย์ออกสู่ท้อง ตลาดมากว่า 10 ปี ชวนให้เราต้องย้อนถามตัวเองว่า ผักที่เรากินทุกวันนี้ ปลอดภัยแล้วหรือ
ไม่เพียงเท่านี้ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผักอีกมากมายที่ผู้บริโภคควรรู้ เพื่อประโยชน์ในการเลือกซื้อผักให้ครบคุณค่า และห่าง ไกลจากสารพิษตกค้าง
สำรวจผักในท้องตลาด
ผักในท้องตลาดบ้านเรามีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไป คุณอรสา ดิสถาพร ผู้อำนวยการส่วนการส่งเสริมการผลิตผัก ไม้ดอก และพืชสมุนไพร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตร และสหกรณ์อธิบาย ประเภทของผักต่างๆ ตามความปลอดภัยไว้ดังนี้
ผักอินทรีย์หรือผักออร์แกนิก แม้จะมีราคาค่อนข้างสูง แต่ได้รับความนิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพ อย่างต่อเนื่อง ด้วยปลอดภัย จากการปนเปื้อนสารเคมีค่อนข้างสูง ปัจจุบันผู้บริโภคสามารถสังเกตผักอินทรีย์ได้จาก ตราสัญลักษณ์รับรองที่ปรากฎบนบรรจุภัณฑ์ ผักประเภทนี้ใช้วิธีการปลูกแบบองค์รวมที่ใส่ใจทุกรายละเอียด เริ่มตั้งแต่ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการตัดแต่ง พันธุกรรม (จี เอ็มโอ) โดยปลูกในสิ่งแวดล้อมที่ดี พื้นที่นั้นเลิกใช้สารเคมีตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ในการบำรุงพืชและกำจัดศัตรูพืชจะใช้สารที่สกัดจากธรรมชาติได้ เช่น น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาสะเดาแทนสารเคมี สังเคราะห์และปุ๋ยเคมีทุกประเภท เนื่องจากมีผลกระทบต่อระบบนิเวศในดิน ทั้งเชิงกายภาพ เคมี และชีวภาพ รวมทั้งเพื่อ ป้องกันสารเคมีตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม
ผักไร้สารพิษ การปลูกผักชนิดนี้คล้ายคลึงกับผักอินทรีย์ คือ ปลูกในพื้นที่ที่เลิกใช้สารเคมีไม่ต่ำกว่า 3 ปี ไม่ใช้สารเคมี สังเคราะห์และปุ๋ยเคมี แต่จะใช้สารสกัดจากธรรมชาติแทนอย่างไรก็ตามการปลูกผักประเภทนี้ยังไม่มีการ จำกัดเมล็ดพันธุ์ที่นำมาใช้
ผักปลอดสารพิษ ผักชนิดนี้ใช้สารเคมีสังเคราะห์และปุ๋ยเคมีในการปลูก แต่มีฤทธิ์ตกค้างไม่นานและ ไม่ใช่สารต้องห้ามสามารถใช้ฮอร์โมนเร่งผลผลิตได้ เพราะไม่ถือว่าเป็นสารเคมีอันตราย จากนั้นเมื่อใกล้เวลาเก็บเกี่ยว จะงดใช้สารเคมีต่างๆ และเว้นระยะเวลาให้สารที่ใช้สลายตัว จึงจะเก็บเกี่ยวผักนั้นได้ ผักชนิดนี้อาจมีปริมาณสารเคมี ตกค้างบ้าง แต่อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย
ผักทั่วไป ได้แก่ ผักที่ปลูกโดยใช้ทั้งสารเคมีสังเคราะห์และปุ๋ยเคมีโดยไม่มีการควบคุม หรือเว้นระยะเวลา ในการเก็บเกี่ยว จึงทำให้มีสารพิษตกค้างในผักปริมาณสูงเกินกำหนดและไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
เส้นทางการปนเปื้อนของผัก
เพราะผักอุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุ คนกินผักจึงมีสุขภาพแข็งแรง แต่หากผักนั้นมีสารพิษเป็นของแถม ย่อมเป็น ผลเสียต่อสุขภาพอย่างแน่นอน
ด้วยแนวโน้มของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการบริโภคผักที่ปลอดสารพิษมากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ปัจจุบัน จะพบ เห็นผักที่ตีตราว่าเป็นผักปลอดสารพิษหรือผักออแกนิกส์วางจำหน่ายตามตลาดสดหรือซูเปอร์มาร์เก็ตกันมากขึ้น
แต่ทราบหรือไม่ว่า นอกจากการเลือกซื้อผักที่ระบุว่าปลอดสารพิษแล้ว ยังมีเทคนิคง่ายๆที่หากคุณทำได้ จะช่วย ปกป้องคุณจากสารเคมีตกค้างในผักได้อีกโขเลยค่ะ
คุณวิลาวัณย์ ใคร่ครวญ นักวิชาการชำนาญพิเศษ กรมวิชาการเกษตร ได้ให้หลักการเบื้องต้นในการเลือกซื้อผัก ไว้ดังนี้ สด ไม่เหี่ยวเฉา ไม่มีรอยช้ำ หรือมีสีผิดธรรมชาติ สะอาด ไม่มีเศษดินและสิ่งสกปรกเกาะเป็นคราบ และไม่มีคราบสีขาวซึ่งเป็นสารฆ่าแมลงตกค้างอยู่ที่ผัก ไม่มีกลิ่นฉุน เมื่อดมผักดูแล้วต้องไม่มีกลิ่นฉุนแสบจมูก
นอกจากนั้นคุณวิลาวัณย์ยังฝากเคล็ด(ไม่)ลับ แบบฉบับคนฉลาดเลือกกินผัก เพิ่มเติมมาด้วย ดังนี้ค่ะ
กินผักอายุสั้นดีที่สุด เลือกกินผักที่มีอายุสั้น เช่นผักบุ้ง ซึ่งตั้งแต่เริ่มปลูก จนถึงการเก็บเกี่ยว มีช่วง เวลาเพียง 45 วันเท่านั้น โอกาสในการเกิดโรค และแมลงจนต้องฉีดยาฆ่าแมลงจึงน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับผักที่เก็บ เกี่ยวผลผลิตได้หลายรุ่น กินผักตามฤดูกาล ทราบหรือไม่ ผักบางชนิดมีฤดูกาลการเติบโตของมัน เช่น ผักคะน้า ซึ่งฤดูกาลที่ เติบโตได้ดีคือช่วงฤดู หนาว ระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ทำให้ผักคะน้าในช่วงนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงมาก เหมือนการปลูกผักคะน้า นอกฤดู กาล โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อน ที่มีทั้งโรคผัก และแมลงศัตรูพืชมาก กินผักใบดีกว่าผักหัว เพราะผักหัวจะสะสมสารพิษไว้มากกว่า กินผักให้หลากหลาย ไม่ควรกินผักเพียงชนิด เดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะมีโอกาสสูงที่สารเคมี ตัวเดิมๆ ในผักจะเข้า ไปสะสมอยู่ในร่างกาย ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยได้ กินผักพื้นบ้านดีที่สุด ลองหันมากินผักพื้นบ้านให้มากขึ้น เพราะผักพื้นบ้านส่วนใหญ่มักขึ้นอยู่ตามธรรม ชาติและมีคนไป เก็บมาจำหน่าย ทำให้แน่ใจได้ว่าปลอดสารเคมีตกค้างอย่างแน่นอน
ในฐานะผู้บริโภค เราก็มีบทบาทช่วยเหลือคนกินผักด้วยกันได้ค่ะ
กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค(บก.ปคบ.) ร่วมกับสำนักงานคณะ กรรมการอาหาร และยา (อย.) จัดโครงการสายสืบผักสด ปลอดภัย ส่งเสริมคนไทยสุขภาพดี หรือสายสืบผักสด ขึ้น เพื่อป้องปรามและส่งเสริม ให้มีการขายผักปลอดสารพิษตกค้างเพื่อสุขภาพของผู้บริโภค
โครงการนี้เชิญชวนให้ประชาชนร่วมสมัครเป็นสายสืบผักสดอาสา เพื่อเป็นเครือข่ายแจ้งข้อมูลตลาดที่ขายผักสด ไม่ปลอดภัย ไปยังเจ้าหน้าที่ โดยสายสืบจะได้รับการอบรมความรู้เรื่องผักจากอย. ทั้งการเลือกซื้อผักสดที่ไม่มีสารตก ค้างและยาฆ่าแมลง รวมถึงสาธิตการล้างผักและการตรวจสอบยาฆ่าแมลงด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่จากทั้งสองหน่วยงานจะนำรถ Mobile Unit ออกให้ความรู้และสุ่มเก็บตัวอย่างผักสดใน ตลาดเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมาตรวจสอบ ร้านที่ขายผักปลอดภัยจะได้รับป้ายรับรองคุณภาพผักสด แต่หากผักไม่ ปลอดภัยจะสั่งให้ดำเนินการแก้ไขและหากไม่ปฏิบัติตามจะดำเนินการทางกฎหมายทันที
ขอขอบคุณข้อมูลจากชีวจิต
อ้างอิง : http://www.ariyawellness.com/miracle_organic_07.php