ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ออแกนิกส์ | อ่านแล้ว 7513 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

3 ปีเปลี่ยนผ่าน เกษตรอินทรีย์ บังคับตีตราติดโลโกยกระดับสินค้า

เกษตรอินทรีย์

เกษตรอินทรีย์ ปัจจุบันผู้บริโภคมีความสนใจในเรื่องของคุณภาพสินค้าเกษตรอินทรีย์มากขึ้น มีคำถามมากมายที่แสดงถึงความไม่..

data-ad-format="autorelaxed">

เกษตรอินทรีย์

ปี 2559 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีแผนเร่งขับเคลื่อนพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็น 1 ใน 6 นโยบายสำคัญ รวมทั้งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 เป็นกฎหมายที่ส่งเสริมให้สินค้าเกษตรมีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ดังนั้นเพื่อควบคุมการแสดงฉลากและการใช้ชื่อ “อินทรีย์” บนสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทย เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและผู้จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ จากนโยบายดังกล่าว “ฐานเศรษฐกิจ” ได้สัมภาษณ์พิเศษ “นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน” เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ หรือ มกอช. ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานหลักที่จะขับเคลื่อนร่าง พ.ร.บ.เรื่องการแสดงฉลากสินค้าเกษตรอินทรีย์ (มาตรฐานบังคับ)ถึงภาพรวมเกษตรอินทรีย์ไทย และความคืบหน้าเรื่องมาตรฐานบังคับที่อยู่ระหว่างดำเนินการ

 

เหตุผลต้องออกกฎหมาย

 

นางสาว“ดุจเดือน” กล่าวว่า ปัจจุบันผู้บริโภคมีความสนใจในเรื่องของคุณภาพสินค้าเกษตรอินทรีย์มากขึ้น มีคำถามมากมายที่แสดงถึงความไม่มั่นใจของผู้บริโภคว่าเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์จริงหรือไม่ เพราะฉะนั้นมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จะต้องบังคับแสดงฉลาก เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกและซื้อหาผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ได้อย่างถูกต้อง โดยสังเกตจากตรารับรองเกษตรอินทรีย์ ที่ มกอช.รับรอง

 

“ปัจจุบันจะเห็นว่าตลาดเกษตรอินทรีย์ขยายตัว แต่มีผู้ผลิตบางรายที่ไม่ได้ทำเกษตรอินทรีย์จริง แต่กลับกล่าวอ้างว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ การกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความสับสนและความไม่เชื่อถือต่อเกษตรอินทรีย์โดยรวม นอกจากนี้ผู้บริโภคจำนวนมากไม่มีโอกาสที่จะได้พบปะโดยตรงกับเกษตรกร หรือมีโอกาสในการสอบถามถึงขั้นตอนการผลิตได้ ดังนั้นการรับรองมาตรฐานจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะเป็นการสร้างหลักประกันให้กับผู้บริโภค”

 

อีกด้านสำหรับผู้ประกอบการที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ไปยังตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว ผู้ผลิตจำเป็นต้องได้รับการตรวจรับรองจากหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับก่อน เพราะประเทศผู้นำเข้าบางประเทศมีกฎหมายหรือมีระเบียบควบคุมการใช้ฉลากเกษตรอินทรีย์บนผลิตภัณฑ์ เช่น สหภาพยุโรป(อียู) ได้ออกกฎหมายบังคับตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้น

 

“ที่ผ่านมาไทยไม่มีกฎระเบียบบังคับ ทำให้มีสินค้าเกษตรที่ติดฉลาก “อินทรีย์” โดยไม่ได้มาตรฐานและไม่ผ่านการรับรองจำนวนมาก ส่งผลให้ผู้บริโภคทั้งตลาดภายในและตลาดต่างประเทศ ไม่มีความเชื่อมั่นต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทย”

 

ให้เวลาเปลี่ยนผ่าน 3 ปี

 

ปัจจุบันไทยมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับรองมาตรฐานแล้วประมาณ 1.5 แสนไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์ประมาณ 9 หมื่นไร่ พืชผัก 3,000 ไร่ ไม้ผล 5,000 ไร่ และอื่นๆ อีกกว่า 5 หมื่นไร่ เช่น พืชไร่ พืชสมุนไพร และพืชอื่นๆ รวมทั้งสัตว์น้ำและปศุสัตว์อินทรีย์ ขณะที่ปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ประมาณ 5 หมื่นตันตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท การจัดจำหน่ายในประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้า และตลาดซื้อขายโดยตรงจากเกษตรกร

 

“สัญลักษณ์มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ ของไทย จะเป็นตราของ มกอช. หรือจะเป็นมาตรฐานของต่างประเทศก็ได้ ซึ่งฉลากพวกนี้จะสังเกตง่ายจะมีคำว่า ออร์แกนิก แต่สินค้าส่วนใหญ่ในตลาดจะไม่ติดฉลากแต่เขียนคำว่าอินทรีย์ ดังนั้นต่อไปหากมีมาตรฐานบังคับ ผู้ที่ติดฉลากอินทรีย์ไม่ว่าจะมาจากต่างประเทศหรือจำหน่ายในประเทศจะต้องได้รับมาตรฐานจริง ซึ่งจะมีการตรวจสอบอย่างเข้มข้น เพราะถือว่าเป็นการให้ความรู้และคุ้มครองผู้บริโภค”

 

สำหรับการยกร่างติดฉลากบังคับในครั้งนี้จะมีระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน 3 ปี เพื่อให้เกษตรกรและผู้ประกอบการได้มีระยะเวลาปรับตัว ระหว่างนี้แม้จะไม่ได้ติดฉลากบังคับ ทางกระทรวงจะออกมาแนะนำและให้ความรู้กับผู้บริโภค ปัจจุบันจะเห็นว่า ทาง มกอช. จะแนะนำอยู่ประมาณ 3-4 มาตราที่เชื่อถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์ เช่น ตรามาตรฐาน Organic Thailand หรือตราประเทศที่เป็นที่นิยม เช่น ตรามาตรฐาน USDA Organic ระบบตรามาตรฐานของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา หรือ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ หรือ มกท.เป็นหน่วยตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์เอกชน ส่วนใหญ่จะรับรองเรื่องข้าว เป็นต้น

 

“ส่วนหน่วยงานเครือข่ายไทย PGS เกษตรอินทรีย์+ ( “เกษตรอินทรีย์พลัส”) ประกอบด้วยร้านเลม่อนฟาร์ม, เครือข่ายเมล็ดพันธุ์เกษตรอินทรีย์ กรีนเนท,โครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่า กรีนเนท เอสอี, เครือข่ายวนเกษตร, สหกรณ์กรีนเนท และมูลนิธิสายใยแผ่นดิน ซึ่งรวมกันแล้วมีเกษตรกรที่ได้รับการรับรองเกษตรอินทรีย์ PGS เกือบ 150 ครอบครัวใน 6 จังหวัดของภาคเหนือ กลาง และอีสาน ที่มีการรับรองโดยระบบชมชุนรับรองนั้น ที่ผ่านมาก็ได้มีการพูดคุยหารือกันหลายรอบ ในหลักการเบื้องต้นก็จะให้ PGS ว่าเป็นขอบเขตมีกระบวนการที่น่าเชื่อถือคือมีระบบกระบวนการในการรับรองตนเอง อาทิ GPS จากชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศประเทศไทย เป็นต้น ไม่ใช่ใครจะมารับรองกันเอง”

 

เปิดเวทีก่อนบังคับจริง

 

สำหรับ ร่าง พ.ร.บ.เรื่องการแสดงฉลากสินค้าเกษตรอินทรีย์ (มาตรฐานบังคับ)ทาง มกอช. จะจัดเวทีอภิปรายสำหรับผู้มีส่วนได้เสีย 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่ 9-10 สิงหาคม 2559 ที่โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต และครั้งที่ 2 วันที่ 23-24 สิงหาคม 2559 ที่โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น เพื่อจะนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่องการแสดงฉลากและการกล่าวอ้างสินค้าเกษตรอินทรีย์ (มาตรฐานบังคับ) เพื่อนำไปปรับปรุงให้ร่างมาตรฐานมีความสมบูรณ์ และเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่ายก่อนนำร่างมาตรฐานดำเนินการตามขั้นตอนของ มกอช.เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป

 

“หลังจากได้ข้อสรุปจะนำข้อคิดเห็นเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการมาตรฐานคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ที่มี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ เป็นประธานเพื่อพิจารณาอนุมัติ และเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไป หลังประกาศใช้แล้วจะมีระยะผ่อนปรนให้ 3 ปี ให้เกษตรกรและผู้ประกอบการปรับตัว ใครไม่ใช่เกษตรอินทรีย์แท้จริงจะต้องถอดฉลากออกจากผลิตภัณฑ์ ไม่งั้นจะมีบทลงโทษตามกฎหมาย”

 

source: thansettakij.com/2016/08/02/76685


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 7513 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ออแกนิกส์]:
ปัญหาและข้อจำกัดการทำเกษตรอินทรีย์

อ่านแล้ว: 7650
เด็กเก่ง ปลูกเมล่อนอินทรีย์ บนพื้นที่ 72 ตารางเมตร ผลผลิตงาม ขายได้ราคาดี
เด็กนักเรียนโรงเรียนเราเกือบทั้งหมด จะอ่อนในเชิงวิชาการ เราจึงมองหาจุดแข็งเสริมให้กับนักเรียน ซึ่งเห็นว่าการส่งเสริม..
อ่านแล้ว: 7821
3 ปีเปลี่ยนผ่าน เกษตรอินทรีย์ บังคับตีตราติดโลโกยกระดับสินค้า
เกษตรอินทรีย์ ปัจจุบันผู้บริโภคมีความสนใจในเรื่องของคุณภาพสินค้าเกษตรอินทรีย์มากขึ้น มีคำถามมากมายที่แสดงถึงความไม่..
อ่านแล้ว: 7513
การเพาะทานตะวันงอก ปลูกกินเองดีกว่า ทำง่ายมากๆ
การเพาะทานตะวันงอก มาลองอ่านเรื่องการเพาะทานตะวันงอก ของหมูน้อย เล่าวิธีการได้ละเอียดและน่ารักมาก ทำตามได้ง่ายๆเลย..
อ่านแล้ว: 7914
เด็ก ป.6 ปลูกผักออร์แกนิกขาย โลละ 100 ขายได้กว่าวันละ 20 โล
น้องหยก นร.ชั้น ม.6 วัย 17 ปลูกผักอินทรีย์สร้างรายได้ช่วยเหลือครอบครัว ทั้งยังได้รับรางวัลมาตรฐานจาก ออร์แกนิกไทยแลนด์..
อ่านแล้ว: 8056
กำจัดแมลงด้วยสารอัลคาลอยด์
กำจัดแมลงด้วยสารอัลคาลอยด์ ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อผู้ปลูก และผู้บริโภค ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม
อ่านแล้ว: 9563
ปุ๋ยอินทรีย์ : เพิ่มผลผลิตพืชได้จริง วันนี้มาทำความเข้าใจการทำงานของมัน
ปุ๋ยอินทรีย์ - อินทรียวัตถุจะแทรกอยู่ระหว่างเม็ดดิน ทำให้ดินเหนียวไม่จับกับแน่น ทำให้ดินทราย เกาะกันได้มากขึ้น
อ่านแล้ว: 9227
หมวด ออแกนิกส์ ทั้งหมด >>