คอเกษตรอินทรีย์ มาคุยกันทางนี้นะคะ หลายคนอยากปลูกพืชแบบอินทรีย์ แต่เวลาเกิดโรคระบาดที ก็ถอดใจว่า คงทำแบบอินทรีย์ไม่ได้
เลยหันหน้ามาเพิ่งยาเคมีเหมือนเดิม เพราะเห็นผลเร็วกว่า ได้ผลกว่า
ในความเป็นจริงที่บ่นกันว่า ยาอินทรีย์ไม่ได้ผลนั้น เป็นเพราะขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกพืชแบบอินทรีย์
การปลูกพืชแบบอินทรีย์นั้น สามารถใช้ปุ๋ยเคมีได้ (เพราะปุ๋ยเคมีให้ธาตุอาหารหลักและกำหนดธาตุอาหารทั้งหลักและรองได้แน่นอน ควบคุมอาหารให้กับพืชเพื่อกำหนดผลผลิตได้ชัดเจน) แต่ห้ามใช้ยาเคมีและสารเคมี อย่างเด็ดขาด เพราะยาหรือสารเคมี มีฤทธิ์ตกค้างอยู่ในดินและพืชนานตั้งแต่ 7-15 วันเลยทีเดียว
เกริ่นมาเยอะ มาเข้าสู่การรู้จักกับยาอินทรีย์กันนะคะ การจะใช้ยาอินทรีย์ให้ได้ผล ต้องเข้าใจว่า ยาอินทรีย์ ไม่ใช่ยาครอบจักรวาล หรือยาสามัญประจำ บ้านอย่างยา พาราเซตามอล ที่ไม่ว่าจะเจ็บจะป่วย จะปวดอะไร ก็หยิบมาใช้ได้ แต่ยาอินทรีย์จะออกฤทธิ์แบบเฉพาะเจาะจงเท่านั้น เพราะคำว่าปลอดภัยต้องแลกมากับการใส่ใจและจดจำ..นั้นคือ..ยาอินทรีย์แต่ละตัวใช้แก้โรคได้ผลกับโรคใดโรคหนึ่งเท่านั้น แบบเป็นหมอเฉพาะด้าน...ผู้ใช้อย่างเราต้องสังเกตุว่าโรคและแมลงที่เกิดขึ้น คือโรคและแมลงอะไรแน่ชัดและจัดยาให้ตรงจุด..ได้ผลแน่นอน....
ดังรายละเอียดของตัวยาที่หยิบมาแนะนำแค่บางตัว ด้านล่างนี้นะคะ
1. เชื้อไวรัส NPV
ผลงานวิจัยและพัฒนาของ ศูนย์ไบโอเทค, สวทช และ อุทยานวิทยาศาสตร์ ถูกพัฒนามาเพื่อจำกัด หนอนกระทู้หอม และ หนอนกระทู้ผัก เท่านั้น (ขีดเส้นใต้คำว่า เท่านั้น) ส่วนหนอนอื่นๆ เช่น หนอนผีเสื้อ หนอนคืบกระหล่ำ หนอนชาเขียว (ตาโปนๆตัวใหญ่ๆ ต่างกับหนอนผีเสื้อ ) โดนเชื้อไวรัสตัวนี้เหมือนโดนน้ำเปล่า มีเกิดผลใดๆ ใช้โดยการผสมน้ำฉีดพ่นในแปลง เมื่อหนอนกินใบพืช ก็จะได้รับไวรัสเข้าสู่ร่างกายหนอน และติดต่อสู่ตัวอื่นๆ ได้ผ่านการกิน เช่นกัน
ข้อดีของเชื้อไวรัส NPV มันแพร่กระจายไปกับน้ำและอากาศ โดยอาศัยลมช่วย ติดต่อจากหนอนหนึ่งตัว ไปสู่อีกตัวได้อย่างรวดเร็ว เชื้อกระจายเหมือน
เชื้อ HIV ในคนจากพ่อแม่สู่ลูก,หลาน,เหลน (โรคติดต่อขนาดนี้ หนอนคงตายไม่เหลือให้แพร่พันธุ์ได้เลย) ดังนั้นเวลาใช้เชื้อไวรัสในแปลง หนอนจะลดประชากรลง จนหมดไปในที่สุด ไม่เกิดอาการดื้อยา
สนใจเชื้อไวรัส NPV ติดต่อได้ที่ ศูนย์ไบโอเทค 02-5646700 ต่อ 3712 นะคะ
2. เชื้อแบคทีเรีย BT (บีที)
ชื่อเต็มคือ Bacillus thuringiensis (บาซิลลัสทูริงเยนซิส) เป็นสารอินทรีย์ที่ได้รับความนิยมและใช้ได้ค่อนข้างหลากหลายมากที่สุด เชื้อบีที ปัจจุบันมีทั้งหมด 57 ชนืด แต่ที่นิยมนำมาใช้มีอยู่ 2 ชนิดคือ
- aizawai (ไอสะวาย) ใช้ควบคุมหนอนกระทู้หอม กระทู้ผัก หนอนคืบกระหล่ำ หนอนกินใบส้ม ได้ดี และ
- kurstaki (คัสตากี้) ใช้ควบคุมหนอน หนอนแปะใบส้ม หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนคืบ
สองสายพันธุ์นี้ ออกฤทธิ์แตกต่างกันต่อหนอนแต่ละชนิด และถ้าหากมีการนำเชื้อบีที สองสายพันธุ์นี้มารวมกัน จะเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น..
ไอกี้-บีที (AiKi-BT)
เป็นเชื้อบีที ที่ได้รวมเอาบีที 2 ชนิดเข้าไว้ด้วยกัน (
Aizawai, Kursta
ki) ประสิทธิภาพสูงสุด ออกฤทธิ์กำจัดหนอนได้ผลภายใน 24-48 ชั่วโมง เมื่อหนอนกินใบพืช
เข้าใจจะได้รับพิษเข้าสู่ร่างกาย ลำตัวเหี่ยวและเป็นอัมพาต ไม่สามารถแพร่พันธุ์ต่อไปได้
ข้อดีของเชื้อบีที คือ ออกฤทธิ์แบบเจาะจงเฉพาะกับหนอนเท่านั้น ไม่เป็นอันตรายต่อคน สัตว์ หรือแมลงอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ทางธรรมชาตื เช่น ตัวห้ำ ต่อ แตนเบียน ไม่มีผลกระทบต่อเชื้อบีที
สนใจ ไอกี้-บีที ติดต่อได้ผ่านลิ้งค์
http://www.farmkaset.net/fungicide-insecticide/26-organic-insecticide-aiki.html ดังนั้นหากสวนผัก สวนผลไม้ เจอปัญหาหนอนรุมแล้ว ทางเลือกปลอดภัยและได้ผล คือการใช้เชื้อเชื้อบีที ในการจำกัดค่ะ
3. สารอินทรีย์อีกตัวที่นิยมใช้กัน คือ เชื้อราโตรโคเดอม่า สามารถป้องกันและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคพืชหลายชนิดเช่น โรคเหี่ยว รากเน่า โคนเน่า และนอกจากนี้ยังสามารถป้องกันโรคแอนแทรกโนสในมะม่วงและพริกได้ดี สามารถใช้ได้ทั้งผัก,พืชไร่, และไม้ผล
และ.. จุลินทรีย์พื้นบ้านอีกตัวที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคราที่เกิดจากทางดินคือ IMO (ไอเอ็มโอ) จุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูง นำมาฉีดพ่นลงผิวดิน หรือฉีดพ่นในระหว่างการเตรียมดินเพื่อปลูกพืช จะช่วยลดปัญหาโรคเน่าโคนเน่าได้
โดยสรุปคือ
การจะใช้ยาหรือสารอินทรีย์ให้ได้ผลนั้น ต้องเจาะจงเฉพาะโรค..ถึงจะได้ผล และต้องใช้เวลาสักระยะนะคะ
เขียนโดย
ปริม-ฟาร์มเกษตร
สนับสนุนโดยiLab ตรวจดิน วิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน www.iLab.Asiaปุ๋ยตรา FK จากฟาร์มเกษตร ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ Law of the minimum