data-ad-format="autorelaxed">
ข้าววัชพืช : ชุดย่อยสลายตอซังฟางข้าว
ขนาด 1 ลิตร x 2 ขวด/ชุด
ราคาและวิธีการสั่งซื้อ
ไอซี-คิท ชุดย่อยสลายตอซังฟางข้าว ชุด 2 ขวด
กำจัดข้าวดีด กำจัดข้าววัชพืช ข้าวปน ข้าวเด้ง
1 ชุด ใช้ได้ 3-5 ไร่ ในกรณีใช้ทันทีโดยไม่ต้องขยาย แล้วแต่ความหนาแน่นของตอฟางและปริมาณน้ำ [สามารถนำไปขยายและใช้ได้มากถึง 15 ไร่ ในกรณีที่ต้องการ]
ต้นฉบับต้อง จากฟาร์มเกษตร เท่านั้น
*โปรดอ่าน สำหรับสินค้าสามรายการดังนี้ 1.IMO(ไอเอ็มโอ) 2.Bio-N(ไบโอ-เอ็น) และ 3.IC-KIT2(ชุดย่อยสลายตอซังฟางข้าว) กรณีจัดส่งทางไปรษณีย์ ทางฟาร์มเกษตรจะทำการใช้สติกเกอร์แผ่นเล็กๆ ปิดรูระบายอากาศที่ฝาด้านบนของขวด ก่อนจัดส่งให่ท่าน เนื่องจากสินค้าทั้งสามรายการนี้ ประกอบด้วยจุลินทรีย์ แพ็คเกจจึงต้องมีรูระบายอากาศเล็กๆ ฉนั้นก่อนเราทำการจัดส่ง จึงต้องปิดรูเอาไว้ เพื่อความปลอดภัยในการขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัว IC KIT2 ย่อยสลายฟางข้าว เราจำเป็นต้องตัดพลาสติกหุ้มแพคเกจก่อน แล้วจึงจะใช้สติกเกอร์ปิดรูได้ |
สั่งซื้อ: โทร 089-4599003
โปรดสังเกตุ: ฟาร์มเกษตรมีหมายเลขรับการสั่งสินค้าหมายเลขเดียว คือ 089-4599003 ระวังผู้แอบอ้าง
ระวังปุ๋ยปลอม และสินค้าปลอม: ปุ๋ย ของแท้คุณภาพสูง ใช้วัตถุดิบชั้นดีในการผลิต ทำราคาให้ถูกผิดปกติได้ยาก ระวังสินค้าเหมือนกันแต่ราคาถูกกว่ามากจนผิดปกติ โทรมาตรวจสอบรายชื่อผู้ขายกับเราได้
ชุดย่อยสลาย เฉพาะเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกร
ลดข้าวดีดมากกว่า 70%
- รวดเร็วในการย่อยสลายตอซังฟางข้าว ภายใน 5-7 วัน โดยไม่ต้องเผา
- ปรับสภาพดินในนาข้าว สามารถไถพรวนได้ง่าย
- เพิ่มจุลธาตุอาหารให้แก่นาข้าวหลังการเก็บเกี่ยว
- สามารถลดปัญหาข้าวดีด และข้าววัชพืชอื่น ๆ ในนาข้าวได้
*จดหมายเหตุฟาร์มเกษตร
ย้ำอีกครั้ง โปรดสังเกตุ ชุดย่อยสลายตอซังฟางข้าว ต้อง "ตรานกอินทรีคู่" เท่านั้น, สินค้ารายการนี้ได้รับการตอบรับ และนิยมเป็นอย่างสูงทั่วประเทศ ใช้กันมากที่สุดในภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับ
# เป็นสินค้าที่มีการซื้อซ้ำ หรือมีความถี่ในการสั่งซื้อบ่อยที่สุดในเว็บฟาร์มเกษตร
คุณสมบัติจำเพาะ ของ ไอซี-คิท 2
- ย่อยสลายตอซังฟางข้าวได้ภายใน 7 วัน โดยไม่ต้องเผา
- เป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ ปลอดสารพิษ เป็นออแกนิกส์ organic
- การย่อยสลายฟางข้าว เป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน ลดการใช้ปุ๋ย รักษาสภาพแวดล้อม
วิธีที่ 1: ใช้แบบไม่ต้องขยายจุลินทรีย์ สามารถฉีดพ่นได้ทันที
1. จุลินทรีย์ 50 ซีซี (ครึ่งขวดลิโพ หรือขวดเอ็มร้อย) ผสมกับ สารเร่งจุลินทรีย์ 50 ซีซี
2. นำสารที่ได้จากการผสมในข้อ 1 มาผสมกับน้ำ 20 ลิตร
3. นำไปฉีดพ่นได้ทันที
4. ปริมาณน้ำในแปลงควรอยู่ที่ 10 - 15 เซนติเมตร
*หมายเหตุ
- 1 ไร่ ให้ฉีดเป็นจำนวน 80 ลิตร นั่นหมายความว่า หากใช้ถัง 20 ลิตร เราจะต้องฉีด 4 ถัง ต่อหนึ่งไร่
- สำหรับท่านที่ ใช้ถังใหญ่ ผสมจุลินทรีย์ 200 ซีซี + สารเร่งจุลินทรีย์ 200 ซีซี + น้ำ 80 ลิตร จะฉีดได้ 1 ไร่ พอดี
- ซื้อ 1 ชุด จุลินทรีย์ 1000 ซีซี + สารเร่งจุลินทรีย์ 1000 ซีซี + น้ำ 400 ลิตร จะฉีดได้ ประมาณ 5 ไร่ ให้ฉีดไร่ละ 80 ลิตร
วิธีใช้ที่ 2: ใช้แบบขยายจุลินทรีย์ ตัวอย่างอัตราส่วนการผสมเพื่อใช้ให้ได้สำหรับ 3 ไร่
1. จุลินทรีย์ 200 ซีซี (14 ฝา) + กากน้ำตาลครึ่งกิโลกรัม + น้ำเปล่า 10 ลิตร ทิ้งไว้ 8 ถึง 24 ชั่วโมง
2. นำสารเร่งจุลินทรีย์ 200 ซีซี (14 ฝา) ผสมกับน้ำ 50 ลิตร
3. น้ำ ข้อ 1 และข้อ 2 มาผสมกัน จะรวมเป็นทั้งหมด 60 ลิตร และนำไปฉีดพ่นเพื่อย่อยสลายตอซังฟางข้าวได้ทันที
4. ปริมาณน้ำในแปลงควรอยู่ที่ 10 - 15 เซนติเมตร
*หมายเหตุ เพราะฉนั้น 1 ชุด มีน้ำยา 1000 ซีซี 2 ขวด จึงสามารถขยายใช้ย่อยสลายได้ถึง ประมาณ 15 ไร่
ชุดย่อยสลายตอฟาง ต้อง จากฟาร์มเกษตร เท่านั้น
1. ข้าววัชพืช (Weedy rice)
ข้าววัชพืช (Weedy rice) เกิดมาจากการผสมข้ามระหว่างข้าวป่าที่พบทั่วไปในธรรมชาติ กับข้าวปลูก เกิดเป็นลูกผสมที่มีการกระจายตัวของลูกหลานเป็นหลายลักษณะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลักษณะที่ชาวนาไม่ต้องการ คือ เปลือกเมล็ดมีสีดำหรือลายน้ำตาลแดง เมล็ดข้าวสารมีสีแดง ปลายเมล็ดมีหางและเมื่อสุกแก่เมล็ดจะร่วงก่อนเก็บเกี่ยวข้าว
ข้าววัชพืชจำแนกตามลักษณะภายนอกเป็น 3 ชนิด
1. ข้าวหาง หรือข้าวนก
2. ข้าวดีด หรือข้าวเด้ง
3. ข้าวแดง หรือข้าวลาย
หมายเหตุ ลักษณะของข้าววัชพืชจะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะเสมอ เนื่องจากมีความสามารถในการผสมข้าม (Cross Pollinations)
แนวทางในการแก้ปัญหาข้าววัชพืช
จาก การทำงานวิจัยร่วมกับเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรีและนครนายก เพื่อหาวิธีกำจัดข้าววัชพืชมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 จนถึง ปัจจุบัน พอจะสรุปได้ว่า หัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหา คือ การใช้เมล็ดพันธุ์ที่บริสุทธิ์ ร่วมกับวิธีเขตกรรม เช่น
1. หากมีการระบาดเล็กน้อย ควรรีบกำจัดโดยการถอนต้นออกจากแปลง
2. หากมีการระบาดรุนแรงควรงดปลูกข้าว 1 ฤดู หากจำเป็นต้องปลูกข้าว ให้ไถเตรียมดินล่อให้ข้าววัชพืชงอกแล้วกำจัดทิ้ง 1 ครั้ง ก่อนหว่านข้าว
3. การตัดรวง ควรเริ่มทำตั้งแต่ระยะตั้งท้องและระยะเริ่มออกดอก โดยตัดชิดโคนต้นเพื่อป้องกันการแตกต้นใหม่ และในระยะที่เริ่มติดเมล็ดแล้ว ควรนำไปกำจัดทิ้งนอกแปลง
4. ทำความสะอาดรถเกี่ยวข้าวก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันเมล็ดข้าววัชพืชที่อาจติดมาจากแปลงอื่นและป้องกันไม่ให้แพร่ กระจายไปสู่ แปลงอื่น
สิ่งสำคัญที่อยากจะเน้นย้ำอีกครั้งหนึ่ง คือ การป้องกันจะกระทำได้ง่ายกว่าการกำจัด หากชาวนาสังเกตเห็นว่าเริ่มมีต้นข้าวที่สูงกว่าและออกดอกก่อนข้าวปลูก ให้รีบถอนทิ้งทำลายเสียแต่เนิ่นๆ อย่าเข้าใจว่าเป็นข้าวปนที่เมล็ดไม่ร่วงเหมือนแต่ก่อน
2. แหล่งกำเนิดข้าววัชพืช (Sources)
ข้าววัชพืช เกิดจาการผสมข้ามระหว่างข้าวป่าที่พบทั่วไปในธรรมชาติ
กับข้าวปลูก เกิดเป็นลูกผสมที่มีการกระจายตัวของลูกหลานออกเป็น
ลักษณะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลักษณะที่ชาวนาไม่ต้องการ คือ เปลือกเมล็ด
มีสีดำหรือลายน้ำ เมล็ดข้าวสารมีสีแดง ปลายเมล็ดมีหาง และ
เมื่อสุกแก่เมล็ดจะร่วงก่อนเก็บเกี่ยวข้าว
3. ลักษณะของข้าววัชพืช (Figure)
เจริญเติบโตได้เร็วกว่าจนสูงล้มทับต้นข้าว มีความสามารถในการปรับตัวให้รอดพ้นจากการกำจัดได้ดี เช่น ปรับต้นให้เตี้ยลงเท่าข้าวปลูก เพื่อให้รอดพ้นจากการตัดออกดอกและสุกเร็วกว่าข้าวปลูก ปลายเมล็ดมีหางยาว ทั้งสีขาวและแดงเปลือกเมล็ดสีดำ หรือ สีตาลลายแดง เมล็ดข้าวสารมีสีแดง ขาวขุ่น และมีท้องไข่มากเมล็ดข้าววัชพืช สามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นาน 2 -12 ปี และเมล็ดที่หล่นลงบนดินsไม่ได้งอกขึ้นมาพร้อมทีเดียวกันทั้งหมด การกำจัดข้าววัชพืชจึงต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี
4.ชนิดของข้าววัชพืช (Types)
ข้าววัชพืชจําแนกตามลักษณะภายนอกเป็น 3 ชนิด
1. ข้าวหาง หรือในบางท้องถิ่น เรียก ข้าวนก ข้าวป่า หรือข้าวละมาน เมล็ดมีหางยาว 5-10 เซนติเมตร เมล็ดจะร่วงเกือบหมดก่อนเก็บเกี่ยวข้าวในแปลง ประมาณ 2 สัปดาห์ เมล็ดข้าวสารมีทั้งสีแดงและสีขาว
2. ข้าวดีด หรือข้าวเด้ง เมล็ด ไม่มีหางหรือหางสั้นมาก ต้นจะสูงกว่าและออกดอกก่อนข้าวที่ปลูกในแปลง เมล็ดจะเริ่มร่วงหล่นตั้งแต่ระยะน้ำนม และจะร่วงหล่นก่อนข้าวที่ลูกสุกแก่
3. ข้าวแดง หรือข้าวลาย เป็นข้าววัชพืชชนิดเมล็ดไม่ร่วง ชาวนาสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ผลผลิตจึงไม่เสียหาย แต่คุณภาพข้าวลดลง เพราะเมล็ดข้าวสารมีสีแดงปนอยู่
ข้าวหาง หรือ ข้าวนก
เมล็ดมีหางยาว สีขาวหรือแดง เมล็ดร่วงก่อนเกี่ยว
ข้าวดีด หรือ ข้าวเด้ง
เมล็ดไม่มีหางหรือมีหางแต่สั้นมาก เมล็ดร่วงได้ตั้งแต่ระยะเป็นน้ำนม
ข้าวลาย หรือ ข้าวแดง
เมล็ดไม่ร่วง เปลือกเมล็ดมีสีฟางหรือน้ำตาลลายแดง
5. ปัญหาร้ายแรงที่เกิดจากข้าววัชพืช (Problems)
1. เจริญเติบโตได้รวดเร็วและสูงปกคลุมข้าวปลูกในระยะแตกกอ
2. ข้าวหางและข้าวดีด จะออกดอกและสุกแก่ก่อนข้าวปลูกประมาณ 2 สัปดาห์
3. ก่อนเก็บเกี่ยวเมล็ดร่วงเกือบหมด (ความเสียหายขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของข้าววัชพืช)
4. มีข้าวแดงปนทําให้คุณภาพของข้าวลดลง (ชาวนาถูกตัดราคามากน้อยตามปริมาณขาวแดง)
ลักษณะที่ก่อให้เกิดผลเสียหายของข้าววัชพืช
1. เจริญเติบโตได้เร็วกว่าข้าวปลูก แย่งอาหารและคลุมพื้นที่ทําให้ข้าวปลูกไม้เติบโต หรือตาย หรือไม่ให้ผลผลิต
2. มีความสามารถในการปรับตัวให้รอดพ้นจากการกําจัดไดดี
3. มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทั้งทางพันธุกรรม (ลักษณะแฝงภายในที่ยังไม่แสดงให้เห็น) และทางกายภาพ (มองเห็นได้จากภายนอก) ทุกชั่วอายุ (Generation) เนื่องจากมีความสามารถในการผสมข้าม (Cross Pollinations)
4. เมล็ดที่ร่วงหล่นสะสมอยู่ในดินพื้นที่ปลูกและงอกเป็นวัชพืชในฤดูต่อๆ ไป
5. เมล็ดจะพักตัว และมีชีวิตอยู่ในดินได้นานถึง 12 ปี
6. เมล็ดสามารถงอกได้แม้อยู่ใต้ดินลึก 15 เซนติเมตร
7. ปลายเมล็ดทั้งสีขาวและแดง มีหางยาว
8. มีการผสมข้ามและอัตราการผสมติดสูงมาก
9. เปลือกเมล็ดสีดํา หรือลายน้ำตาลแดง
10. เมล็ดข้าวสารมีสีแดง ขาวขุ่น และมีท้องไข้มาก
6. วิธีป้องกันและกำจัด (weedy rice control)
หันมาทำนาดำ แทนนาหว่านน้ำตม เพื่อป้องกัน การระบาดของ ข้าววัชพืช หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ข้าวดีด ข้าวเด้ง
หากมีการระบาดน้อยควรถอนต้นทิ้ง
ควรใช้เมล็ดพันธ์ข้าวที่บริสุทธิ์
ทำความสะอาดรถเกี่ยวก่อนลงแปลงทุกครั้ง
ไถล่อและกำจัดทิ้ง หากระบาดรุนแรง ควรงดปลูกข้าว 1 ฤดู
และใช้วิธีไถล่อและกำจัดทิ้งอย่างน้อย 2 ครั้ง
ควรเว้นปลูกข้าว ถ้ามีการระบาดรุนแรง
จ้างคนเกี่ยวรวงข้าวดีดทิ้งหรือส่งไปให้ผู้ยากไร้กิน
ย่อยสลายตอซังฟางข้าวลดปัญหาข้าวดีด หลังจากไถแล้วก่อนเอาน้ำเข้านาให้ใส่ปุ๋ยน้ำเข้าไปกับน้ำด้วย โดยใช้จุลินทรีย์และสารเร่ง การใช้ปุ๋ยน้ำช่วยทำให้วัชพืชเน่าเปื่อยไม่งอกขึ้นมาใหม่ ลดข้าวดีดมากกว่า 70% รวดเร็วในการย่อยสลายตอซังฟางข้าว ภายใน 5-7 วัน โดยไม่ต้องเผา ปรับสภาพดินในนาข้าว สามารถไถพรวนได้ง่าย เพิ่มจุลธาตุอาหารให้แก่นาข้าวหลังการเก็บเกี่ยว
รถดำนาแบบอัตโนมัติลดปัญหาข้าวดีดข้าวปน ชาวนาไทยเจ๋ง ! พัฒนาการปลูกข้าวโดยใช้รถดำนาแบบอัตโนมัติ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 7 จ.ชัยนาท สำรวจพบ ชาวนาในเขตชลประทานภาคกลางหันปรับเปลี่ยนวิธีการทำนา ด้วยรถดำนาอัตโนมัติเพิ่มขึ้น เหตุเพราะประหยัดแรงงาน สะดวกรวดเร็ว ลดปัญหาข้าวดีดข้าวปน และจำนวนปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ได้จริง สามารถลดปัญหาข้าวดีด และข้าววัชพืชอื่น ๆ ในนาข้าวได้
นายสมชาย ครามานนท์ รักษาราชการผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 7 (สศข.7) จ.ชัยนาท สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึง การที่เกษตรกรในเขตชลประทานในภาคกลาง มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการทำนาอย่างต่อเนื่อง จากการดำนาโดยแรงงานคนที่มีประสิทธิภาพต่ำเพียง 0.25 ไร่/วัน/คน มาเป็นการทำนาหว่านน้ำตมที่ช่วยประหยัดแรงงานมากขึ้น แต่ก็ยังพบปัญหามาก เช่น ใช้เมล็ดพันธุ์สูง ข้าวมีการปลอมปนสูง มีข้าวดีดข้าวเด้ง จนในปัจจุบันได้พัฒนาการดำนาโดยรถดำนาอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพสูง 15-20 ไร่/วัน ซึ่งช่วยลดปัญหาการใช้แรงงาน ปัญหาข้าวดีดข้าวปนได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ชาวนาภาคกลางหลาย ๆ จังหวัด หันมาใช้รถดำนาอัตโนมัติกันมากขึ้น โดยพบเห็นมากในจังหวัด สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท ปทุมธานี อยุธยา และอ่างทอง เป็นต้น
หากเมื่อเปรียบเทียบการทำนาด้วยรถดำนาอัตโนมัติกับการทำนาโดยวิธีนาหว่านน้ำ ตมพบว่า มีข้อดีหลายประการคือ สามารถลดปัญหาข้าวดีดข้าวปนได้อย่างชัดเจน มีการใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่เพียง 10.41 กก./ไร่ ในขณะที่นาหว่านน้ำตมใช้เมล็ดพันธุ์ 25-30 กก./ไร่ อีกทั้งยังลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ร้อยละ 50 เนื่องจากมีปริมาณต้นข้าวน้อยกว่านาหว่านน้ำตมเกือบ 3 เท่า และไม่มีวัชพืชคอยแย่งปุ๋ยเคมี นอกจากนี้ ยังลดการใช้ยากำจัดวัชพืช/ฆ่าแมลงลงได้ร้อยละ 20 เนื่องจากนาดำมีระยะห่างระหว่างต้นโรคแมลงไม่ค่อยรบกวนการดูแลถอนหญ้าทำได้ ง่าย ขณะที่ต้นข้าวนาดำมีความแข็งแรง และให้ผลผลิตต่อไร่สูง ต้นข้าวไม่ล้ม ทำให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการใช้รถดำนาอัตโนมัติจะมีค่าใช้จ่ายในการจ้างดำต่อไร่ 1,000 บาท/ไร่ ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง แต่ถ้าได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ จะก่อให้เกิดการรวมกลุ่มในรูปกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ หรือนิคมเกษตรกร ซึ่งจะสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าว มาใช้พร้อมกันก็จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายลงได้ในที่สุด นายสมชาย กล่าวทิ้งท้าย
ปาดด้วยน้ำยาฆ่าหญ้าชุบเชือกปาดยอดข้าววัชพืช การ กำจัด "ข้าวดีด" ที่ต้องใช้ไม้ยาวๆ มีเชือกร้อยเข้ากับลูกรอกปลายไม้ โดยเชือกนี้จะชุบน้ำยาฆ่าหญ้าไว้แล้ว เสร็จแล้วก็จะเดินไปเรื่อยๆ ปล่อยให้เชือกที่ชุบน้ำยาลูบไปตามลำต้นข้าวดีด ซึ่งจะมีต้นยาวสูงกว่าข้าวปกติ ตรงจุดไหนโดนน้ำยาเพียงไม่กี่วันต้นข้าวดีดก็จะแห้งตาย ถ้าจ้างเขากำจัดข้าวดีดตกไร่ละ 50 บาท แต่ชัยพรลงมือเองโดยประดิษฐ์เครื่องมือขึ้นมาเอง ที่ช่วยผ่อนแรงในการรั้งไม้ที่ยาวกว่า 3 วา ประหยัดต้นทุนไปได้อีกเยอะ
การทำนาข้าวแบบใช้ตอซัง นี้ ยังช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตได้อีกมากคือ ลดขั้นตอนการปลูกข้าวเพราะไม่ต้องเตรียมดินและเมล็ดพันธุ์ ลดการใช้สารเคมี เพราะไม่ต้องคอยคุมกำเนิดวัชพืชและกำจัดหอยเชอรี่ ลดมลพิษในอากาศเพราะไม่ต้องเผาฟางนอกจากนี้ฟางข้าวยังช่วยเพิ่มธาตุอาหารและ อินทรียวัตถุให้กับดิน ลดการตกค้างของสารเคมีในดินและน้ำ จึงเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปในตัวอีกด้วย ตอที่แน่นสม่ำเสมอ แข็งแรง และแตกหน่อดี ที่สำคัญจะไม่มีข้าวดีดเลย
7. นับจำนวนเมล็ดในรวงทั้งดีและดีด
นับเมล็ดข้าว จากแปลง เป็นข้าวที่สุ่มมาจากแปลงพื้นที่ 1 ตร.ม. จำนวน 10 รวง นำมานับระแง้(กิ่ง)ในรวงนั้น แล้วนับจำนวนเมล็ดทั้งหมด จากเมล็ดที่อยู่บนรวงและตาที่เหลือจากเมล็ดที่หลุดไป จากนั้นก็รูดเมล็ด แยกเมล็ดดีออกจากเมล็ดลีบ แล้วบันทึกไว้ นี่คือตัวอย่างข้าวปลูก
สำหรับ ตัวอย่างข้าวดีด ที่เป็นข้าววัชพืชนั้น ลักษณะของเมล็ดข้าวดีดจะสีคล้ำ ลีบ หลุดง่าย การนับข้าวดีดนั้น ทำเหมือนข้าวปลูก แต่ให้นับทุกเมล็ดเป็นเมล็ดลีบหมด
นั่งนับเมล็ดข้าว บางรวงมีข้าวถึง 100 เมล็ด ในขณะที่ส่วนใหญ่ 40 เมล็ดก็เยอะมากแล้ว คน ที่ทำงานกับข้าว คงมีลักษณะนิสัยเหมือนข้าว คือเป็นคนที่มีความอดทน และอ่อนน้อมเหมือนรวงข้าวที่เต็มไปด้วยเมล็ดที่โน้มลงดินนั่นเองพรรณไม้ งดงามที่สุด "มันคือข้าวที่ออกรวงมีเมล็ดสีทอง"
8. สรุปส่งท้าย
ข้าววัชพืชมี ข้าวดีด ข้าวแดง ข้าวหาง เป็นปัญหาของชาวนา ทำให้ราคาข้าวตก ข้าววัชพืชมีการเป็นอยู่ที่เอาตัวรอดได้เก่ง อายุเมล็ดยาวนาน มีการระบาดไปทั่ว จากพันธุ์ข้าว การปนเปื้อนมากับรถไถ รถเก็บเกี่ยว การกำจัดและป้องกันมีหลายวิธีเช่น คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่มีข้าววัชพืชปน การปาดยอดข้าววัชพืชด้วยยาฆ่าหญ้า การใช้นาดำแทนนาหว่าน การทำความสะอาดเครื่องจักรกลก่อนเข้านา การใช้การทำนาแบบโยนกล้า การทำนาแบบล้มตอซัง การถอนด้วยมือ การไถล่อให้งอกแล้วทำลายด้วยยาฆ่าหญ้า การเกี่ยวรวงไปทิ้ง การเว้นระยะการปลูกข้าว ไปปลูกอย่างอื่นแทนก่อนหรือปลูกพืชหมุนเวียน การย่อยสลายตอซังด้วยน้ำจุลินทรีย์และสารเร่ง
บทความต้นฉบับโดย ภูมิปัญญาอภิวัฒน์