ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: มันสำปะหลัง | อ่านแล้ว 31939 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

มันสำปะหลัง เพื่อผลิตเอธานอล

ในระยะ2 – 3 ปีมานี้ หลายฝ่ายเริ่มหันมาให้ความสนใจ ศึกษาทดลอง พืชพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นปาล์มน้ำมัน และสบู่ดำ สำหรับผลิต..

data-ad-format="autorelaxed">

มันสำปะหลัง เพื่อผลิตเอธานอล bในระยะ2 – 3 ปีมานี้ หลายฝ่ายเริ่มหันมาให้ความสนใจ ศึกษาทดลอง “ พืชพลังงาน ” ไม่ว่าจะเป็นปาล์มน้ำมัน และสบู่ดำ สำหรับผลิตไบโอดีเซล อ้อย ข้าวโพด ข้าวฟ่างหวาน และมันสำปะหลัง สำหรับผลิตเอทานอลนำไปผสมกับ น้ำมันเบนซินเป็น “ แก๊สโซฮอล์ ”

ทำอย่างไรจึงได้เอทานอล

จากข้อมูลของสถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร อธิบายเกี่ยวกับ “ เอทานอล ” ไว้ว่า เอทานอลเป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง เกิดจากการหมักพืช เศษซากพืช เช่น อ้อย น้ำตาล กากน้ำตาล กากอ้อย บีทรูท แป้งมันสำปะหลัง มันเทศ ธัญพืชต่าง ๆ เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง เพื่อเปลี่ยนแป้งจากพืชให้เป็นน้ำตาล และเปลี่ยนน้ำตาล เป็นแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ที่ทำให้บริสุทธิ์ตั้งแต่ 95 % โดยปริมาตร เรียกว่า “ เอทานอล ” ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ 3 รูปแบบ คือ

1.เอทานอล 95 % ใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยตรงแทนน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีอัตราส่วนการอัดสูง

2.ดีโซฮอล์ ( Diesohol ) สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล สามารถใช้เอทานอล บริสุทธิ์ 95 % ผสมน้ำมันดีเซลในอัตราส่วนร้อยละ 15 และเพิ่มสาร ปรับปรุงบางตัวในปริมาณร้อยละ 1 – 2 เรียกว่า “ ดีโซฮอล์ “

3.แก๊สโซฮอล์ ( Gasohol ) ใช้เอทานอล 99.5 % โดยปริมาตรผสม ในน้ำมันเบนซิน โดยทั่วไปใช้ผสมในอัตราส่วนร้อยละ 10 ในลักษณะ ของสารเติมแต่งเพื่อปรับปรุงค่าออกเทนของน้ำมันเบนซินเรียกว่า“ แก๊สโซฮอล์” สามารถนำมาใช้งานกับเครื่องยนต์โดยทั่วไป โดยไม่ต้องดัดแปลง เครื่องยนต์แต่อย่างใด ทั้งนี้มีขั้นตอนในการผลิตเอทานอล ดังนี้

กระบวนการผลิตเอทานอล

 

มันสำปะหลัง เพื่อผลิตเอธานอล

เอทานอลจากมันสำปะหลัง

จากเอกสารประกอบการแถลงข่าวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง “ วช.พบเทคโนโลยีใหม่ในการผลิตเอทานอลระดับอุตสาหกรรมจากมันสำปะหลังแก้วิกฤติ เอทานอลไม่เพียงพอ ” เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2548 ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ ซึ่งแถลงโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้กล่าวถึงการผลิตเอทานอลจาก มันสำปะหลังไว้ว่า

ในการนำมันสำปะหลังมาใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเอทานอลนั้น ควรใช้มันสำปะหลังในรูปของมันเส้น ซึ่งในปี พ.ศ. 2545 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ให้ทุนสนับสนุน แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการสร้างโรงงานต้นแบบผลต เอทานอลจากมันเส้น โรงงานนี้ตั้งอยู่ที่องค์การสุรา อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยได้รับการสนับสนุนสถานที่ อุปกรณ์ และบุคลากรบางส่วนจากองค์การสุรา กรมสรรพสามิต

ในเอกสารดังกล่าวยังระบุด้วยว่า ในหัวมันสำปะหลังจะมีแป้งที่สามารถนำมาผลิตเป็นน้ำตาลเพื่อใช้ในการหมักเป็นเอทานอลโดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. การย่อยแป้งเป็นน้ำตาล เป็นขั้นตอนการย่อยแป้งให้ได้น้ำตาลด้วยเอนไซม์สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในขั้นตอนการหมักต่อไป โดยทั่วไปการย่อยแป้งเป็นน้ำตาลด้วยเอนไซม์ จะประกอบด้วยการย่อย 2 ครั้ง ได้แก่

1.1 การย่อยครั้งแรก หรือการทำให้เหลว ขั้นตอนนี้จะใช้กรดหรือเอนไซม์กลุ่มแอลฟาอะมิเลส (α – amylase) ที่มีกิจกรรมการย่อยแป้งที่อุณหภูมิสูงประมาณ 90 – 100 องศาเซลเซียส ให้ได้โมเลกุลขนาดเล็กลงและมีความหนืดลดลง

1.2 การย่อยครั้งสุดท้ายหรือการเปลี่ยนเป็นน้ำตาล ขั้นตอนนี้จะใช้ เอนไซม์กลูโคอะมิเลส ( Glucoamylase ) ย่อยเด็กซ์ทรินให้ได้น้ำตาลที่ยีสต์สามารถนำไปใช้ได้ซึ่งโดยทั่วไปเอนไซม์ในกลุ่มนี้จะมีกิจกรรมที่อุณหภูมิสูงปานกลาง คือ ประมาณ 55 –65 องศาเซลเซียส

2. การหมัก ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการหมักน้ำตาลที่ได้จากการย่อยแป้งด้วยเชื้อยีสต์เพื่อผลิตเอทานอล ซึ่งโดยทั่วไปการหมักจะเกิดที่อุณหภูมิ 30 – 35 องศาเซลเซียส

เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการหมักแล้ว น้ำส่าที่ได้จะมีเอทานอลประมาณร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก และน้ำส่าที่ได้นี้จะผ่านเข้าสู่กระบวนการกลั่นและแยกน้ำ เพื่อให้ได้เอทานอลที่มีความบริสุทธิ์สูงและสามารถนำไปใช้ผสมกับน้ำมันเบนซิน เพื่อผลิตแก๊สโซฮอล์ต่อไป

ในเอกสารประกอบการแถลงข่าวดังกล่าว ยังกล่าวต่อไปด้วยว่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง จึงได้มีการประยุกต์เทคโนโลยีที่เรียกย่อ ๆ ว่า SSF หรือ Simultaneous Saccharification and Fermentation มาใช้กับมันเส้น ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ผลิตเอทานอลจากข้าวโพดในสหรัฐอเมริกา โดยในกระบวนการผลิตเอทานอลจากมันเส้นแบบ SSF นี้ จะเริ่มจากการโม่มันเส้นและผสมน้ำ แล้วทำการย่อยแป้งครั้งแรก หรือทำให้เหลวด้วยเอนไซม์แอลฟาอะมิเลส จากนั้นจะทำการย่อยครั้งสุดท้าย เพื่อเปลี่ยนเป็นน้ำตาล ด้วยเอนไซม์กลูโคอะมิเลส พร้อมกับหมักด้วยเชื้อยีสต์ในขั้นตอนเดียวกัน ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลา และประหยัดพลังงานของกระบวนการผลิตได้

การผลิตเอทานอลจากมันเส้นแบบ SSF นี้ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับวัตถุดิบชนิดอื่นที่มีแป้งเป็นองค์ประกอบได้ เช่น กากมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นของเหลือที่ได้จาก กระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลังที่ยังมีแป้งเป็นองค์ประกอบอยู่ถึงร้อยละ 50 โดยน้ำหนักแห้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของหัวมันและกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลังของโรงงาน ทั้งนี้มี กระบวนการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังแบบ SSF ดังนี้

มันสำปะหลัง เพื่อผลิตเอธานอล

ที่มา
จัดทำและเผยแพร่ทางเว็บไซต์
ผลิใบจากแฟ้มวิจัย โดย พรรณนีย์ วิชชาชู จดหมายข่าวผลิใบ
กรมวิชาการเกษตร.ปีที่ 9 ฉบับที่ 5 ประจำเดือน มิถุนายน พ.ศ.2549
กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร
สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี
กรมส่งเสริมการเกษตร

อ้างอิง:www.xn--72c9agww2ai3bfgg73a.com

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 31939 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [มันสำปะหลัง]:
ป้องกันเพลี้ย ฆ่าเพลี้ย กำจัดเพลี้ยในไร่มันสำปะหลัง แช่ท่อนพันธุ์ เร่งราก งอกไว โตดี เรามีของ
โรคและแมลง ที่ติดมากับท่อนพันธุ์ที่นำมาปลูก แช่ด้วยน้ำยา กู๊ดโซค ขจัดโรคและแมลง แถมยังเพิ่มเปอร์เซ็นงอก และโตไว
อ่านแล้ว: 7178
มันสำปะหลังใบเหลือง มันสำปะหลังใบเหลืองซีด เป็นอาการบ่งชี้ว่า มันสำปะหลังขาดธาตุอาหาร
ใบมันสำปะหลังเหลืองตามเส้นใบ มีอาการตายเฉพาะจุด สันนิษฐานว่า มันสำปะหลังขาดธาตุเหล็ก หรือ มันสำปะหลังขาดธาตุโปแตสเซียม
อ่านแล้ว: 11672
มันสำปะหลังใบไหม้ มันสำปะหลังใบแห้ง แก้ด้วยไอเอส ป้องกันด้วย กู๊ดโซค
มันสำปะหลังยอดแห้ง ใบเหี่ยว มียางไหลออกมา ตายลงมาจากยอด สัญนิษฐานได้ว่าเป็นโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
อ่านแล้ว: 7676
มันสำปะหลังใบไหม้ เสียหายได้มาก 30-50% เลยทีเดียว ป้องกันได้อย่างไร?
การระบาดของโรคใบไหม้นี้ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น โรคใบไหม้ที่ติดมากับท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง
อ่านแล้ว: 7605
เร่งหัวมันสำปะหลัง ให้หัวใหญ่ เปอร์เซ็นแป้งสูง
3 in 1 ครบทั้งธาตุหลักธาตุเสริม และสารจับใบในกล่องเดียว หมดปัญหามันงาม แค่หัวเล็ก หรือมันแคระต้นไม่โต
อ่านแล้ว: 8574
การกำจัดเพลี้ยงแป้ง ในไร่มันสำปะหลังอย่างถูกต้อง
ท่อนพันธุ์ที่นำมาปลูก ต้องสะอาด ปราศจากเพลี้ยแป้ง และเมื่องอกไปสักระยะแล้ว หากสังเกตุเห็น ให้ถอน
อ่านแล้ว: 7827
ยาแช่ท่อนพันธุ์ มันสำปะหลัง เร่งราก ป้องกันโรค ป้องกันแมลง เพิ่มเปอร์เซ็นงอก
กู๊ดโซค คือ น้ำยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง เพื่อเพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นงอก นอกจากนัั้นแล้วยังช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืชได้อีกด้วย
อ่านแล้ว: 7959
หมวด มันสำปะหลัง ทั้งหมด >>