แนวโน้มราคาสินค้าเกษตรปี 2554 ตามบทวิเคราะห์ของหอการค้าไทย ระบุชัดว่ามีโอกาสปรับตัวขึ้นสูงอีก 10% เนื่องจากยังมีความต้องการจากตลาดอยู่อีกมาก หนึ่งในนั้นคือมันสำปะหลัง
ตลาดโลกมีความต้องการมันสำปะหลังกว่า 30 ล้านตันต่อฤดูการผลิต ขณะที่ประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกอันดับหนึ่ง สามารถป้อนผลผลิตเข้าสู่ตลาดได้เพียง 20 ล้านตันเท่านั้น
คำอธิบายถึงส่วนต่างที่หายไปคือ ศัตรูพืช และเงินสนับสนุนจากภาครัฐที่ถูกละเลย
ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เสรี เด่นวรลักษณ์ นายกสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย แสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์การระบาดของเพลี้ยแป้ง ซึ่งจะทำให้ผลผลิตเสียหายกว่า 5 ตัน ต่อพื้นที่การปลูก 1 ไร่ โดยประเทศไทยมีพื้นที่การปลูกประมาณ 6 ล้านไร่เศษ
ล่าสุด สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย เผยผลสำรวจการผลิตและการค้ามันสำปะหลัง ฤดูการผลิต 2553/54 ภาคเหนือตอนล่าง ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก พบว่า สถานการณ์ทั่วไป
ภาคตะวันตกและภาคเหนือตอนล่าง ผลผลิตมันสำปะหลังลดลงประมาณ 5% จากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือน ส.ค.2553 เนื่องจากการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้ง ส่งผลให้ผลผลิตในหลายจังหวัดเสียหายมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะในจังหวัดกำแพงเพชร พิษณุโลก ตาก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ ส่วนความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัยพบเพียงเล็กน้อยที่จังหวัดสุพรรณบุรี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลผลิตมันสำปะหลังใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ว้ จังหวัดที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ และสกลนคร เนื่องจากการระบาดของเพลี้ยแป้งและฝนตกชุกทำให้เกิดน้ำท่วมในบางพื้นที่ ประกอบกับราคามันสำปะหลังสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรเร่งขุดมันที่ยังไม่ครบอายุออกขาย ส่วนพื้นที่ที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น อาทิ จังหวัดเลย มหาสารคาม และขอนแก่น นอกจากนี้ยังพบว่าพื้นที่การปลูกในจังหวัดมหาสารคาม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อุดรธานี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทดแทนการปลูกอ้อย
สำหรับสถานการณ์การผลิตมันสำปะหลังทั้งประเทศ การประเมินสถานการณ์การผลิตเบื้องต้นในพื้นที่ที่สำรวจ โดยรวมลดลงประมาณ 2% จากที่คาดการณ์ไว้ และในเดือน ต.ค. ?C ธ.ค. 2553 ประเมินว่าเกษตรกรได้ขุดหัวมันฯ ออกไปแล้วประมาณ 15% ของผลผลิตรวมทั้งประเทศ สำหรับการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งพบการระบาดทั่วไป ไม่รุนแรง เนื่องจากสภาพฝนตกชุกและยาวนานเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ส่วนความเสียหายจากอุทกภัยพบความเสียหายเพียงเล็กน้อย
ส่วนสถานการณ์การตลาดมันสำปะหลัง ภาคตะวันตก พื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี อุทัยธานี ชัยนาท ราชบุรี และกาญจนบุรี ปริมาณหัวมันฯ ออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย โรงแป้งฯ โม่ได้ประมาณ 30 ?C 50% ของกำลังการผลิต ลานมันบางแห่งเริ่มตากมันเส้นแล้ว แต่ส่วนใหญ่ยังคงซื้อหัวมันฯ เพื่อส่งเข้าโรงแป้งฯ ราคาหัวมันคละประมาณ 3.00 ?C 3.25 บาท/กิโลกรัม เชื้อแป้งเฉลี่ย 23-25%
ภาคเหนือตอนล่าง พื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ตาก พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และนครสวรรค์ ปริมาณหัวมันฯ ออกสู่ตลาดปานกลาง โรงแป้งฯ โม่ได้ประมาณ 40 ?C 60% ของกำลังการผลิต ลานมันเริ่มตากมันเส้นแล้ว แต่ส่วนใหญ่ยังคงซื้อหัวมันฯ เพื่อส่งเข้าโรงแป้งฯ ราคาหัวมันคละ ประมาณ 2.60 ?C 3.10 บาท/กิโลกรัม เชื้อแป้งเฉลี่ย 21-24%
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ลพบุรี และสระบุรี ปริมาณหัวมันฯ เข้าสู่ตลาดมากแต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ โรงแป้งฯ ยังต้องซื้อหัวมันฯ จากจังหวัดอื่นเพื่อดำเนินการผลิต โรงแป้งฯ โม่ได้ประมาณ 70-90% ของกำลังการผลิต ลานมันเริ่มตากมันเส้นเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่ยังคงซื้อหัวมันฯ เพื่อส่งเข้าโรงแป้งฯ ราคาหัวมันคละ ประมาณ 3.00 ?C 3.30 บาท/กิโลกรัม เชื้อแป้ง 25-26%
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และขอนแก่น ปริมาณหัวมันฯ เข้าสู่ตลาดค่อนข้างมากแต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ โรงแป้งฯ ยังต้องซื้อหัวมันฯ จากจังหวัดอื่นเพื่อดำเนินการผลิต โรงแป้งฯ โม่ได้ประมาณ 40 ?C 80% ของกำลังการผลิต ลานมันยังไม่ได้เริ่มตากมันเส้นเนื่องจากราคาหัวมันสูง มีเพียงการซื้อหัวมันฯ เพื่อส่งเข้าโรงแป้งฯ ราคาหัวมันคละ ประมาณ 2.95 ?C 3.10 บาท/กิโลกรัม เชื้อแป้งเฉลี่ย 24-27%
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน พื้นที่จังหวัดอุดรธานี เลย หนองบัวลำภู หนองคาย และสกลนคร ปริมาณหัวมันฯ เข้าสู่ตลาดมาก โรงแป้งฯ โม่ได้ประมาณ 90% ของกำลังการผลิต (โรงแป้งฯ ในจังหวัดเลย โม่ได้ประมาณ 40% เนื่องจากหัวมันฯ เพิ่งเริ่มออกสู่ตลาด) ลานมันเริ่มตากมันเส้นแล้ว แต่ยังคงมีบางแห่งที่ซื้อหัวมันฯ เพื่อส่งเข้าโรงแป้งฯ ราคาหัวมันคละ ประมาณ 2.60 ?C 3.10 บาท/กิโลกรัม เชื้อแป้งเฉลี่ย 24 ?C 27%
สำหรับ ภาคตะวันออก คณะสำรวจฯ จะลงพื้นที่ในวันที่ 16 ?C 19 ม.ค. 2554นายกสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย เชื่อว่า ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจะมีความชัดเจนช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. 2554 โดยเป็นผลจากการระบาดของเพลี้ยแป้ง ดังนั้นรัฐบาลควรเร่งเพาะพันธุ์แตนเบียน หรือสนับสนุนงบประมาณให้เกษตรกรเพาะพันธุ์
อ้างอิง : http://gms.oae.go.th/Z_Show.asp?ArticleID=550