data-ad-format="autorelaxed">
ลักษณะการวางไข่ของแมลงหวี่ขาว
แมลงหวี่ขาว พบตามใต้ใบมันสำปะหลัง
เป็นแมลงขนาดเล็ก ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ปีกบางใส 2 คู่คลุมเลยส่วนท้อง มีฝุ่นผงแป้งปกคลุมบนแผ่นปีก ตัวอ่อนรูปร่างคล้ายโล่ห์ เกาะนิ่งใต้ใบ เมื่อโตเต็มที่จะหยุดกินอาหาร และมีลักษณะเด่นเห็นได้ชัดเจน คือ ตาแดง อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
ลักษณะการทำลายมันสำปะหลัง ของแมลงหวี่ขาว
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนใต้ใบพืช และถ่ายมูลหวานลงมาบนใบที่อยู่ด้านล่าง ทำให้เกิดเป็นราดำขึ้นตามใบที่อยู่ด้านล่าง พืชสังเคราะห์แสงได้น้อย ใบม้วนซีด และร่วง
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
การป้องกันกำจัดแมลงหวีขาว ในมันสำปะหลัง
- หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลัง ในช่วงที่ต้นอ่อนจะกระทบแล้งนาน
- เก็บส่วนของพืชที่ถูกทำลาย เผาทำลายนอกแปลงปลูก
- หากพบการระบาดรุนแรงในระยะมันสำปะหลังเป็นต้นอ่อน ให้พ่นสารป้องกันกำจัด
สารป้องกันและกำจัดแมงหวี่ขาว ที่ FarmKaset.ORG แนะนำ
ใช้กำจัดแมลง ปลอดสารพิษ
มาคา สารอัลคาลอยด์กำจัดแมลง เกษตรอินทรีย์
สารอัลคาลอยด์สกัดจากธรรมชาติ ที่ถูกคัดสรรอย่างพิถีพิถัน โดยใช้หลักการเทคโนโลยีชั้นสูง ในการรวมอัลคาลอยเข้มข้นที่มีประสิทธิภาพสูงเข้าด้วยกัน เพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช อีกทั้งสามารถยับยั้งการดื้อยาที่เกิดจากการใช้สารเคมีเป็นเวลานาน เนื่องจาก มาคา มีวิธีการออกฤทธิ์แบบไม่เจาะจง จึงทำให้แมลงไม่สามารถปรับตัวต้านทานได้ โดยปราศจากสารพิษตกค้างในดินและน้ำ ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค
ฆ่าแมลง: กำจัดแมลง ป้องกันแมลง ไล่แมลง
ปลอดสารพิษ ไม่เป็นอันตรายต่อคน และสัตว์เลี้ยง
มาคา สารอัลคาลอยด์กำจัดแมลง ปลอดสารพิษ
ตรา ดับเบิ้ลชีลด์ ขนาด 1 ลิตร
"มาคา" เป็นสารอัลคาลอยด์สกัดจากธรรมชาติ ที่ถูกคัดสรรอย่างพิถีพิถัน โดยใช้หลักการเทคโนโลยีชั้นสูง ในการรวมอัลคาลอยเข้มข้นที่มีประสิทธิภาพสูงเข้าด้วยกัน เพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช อีกทั้งสามารถยับยั้งการดื้อยาที่เกิดจากการใช้สารเคมีเป็นเวลานาน เนื่องจาก มาคา มีวิธีการออกฤทธิ์แบบไม่เจาะจง จึงทำให้แมลงไม่สามารถปรับตัวต้านทานได้ รวมทั้งสามารถฉีดพ่นได้ในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว โดยปราศจากสารพิษตกค้างในดินและน้ำ ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค
ใช้ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช
- เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilapavata lugens)
- เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก (Recilia dorsalis)
- ไรแดง
- เพลี้ยจักจั่นสีเขียว (Nephotettix spp.)
- เพลี้ยไฟ (Balliothrips biformis)
วิธีการใช้
- ป้องกันและกำจัด 50-100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7 วัน
- มีการระบาดมาก 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 3 วัน
คำแนะนำ
เขย่าขวดก่อนใช้ ควรฉีดพ่นในช่วงเช้าหรือเย็น ขณะที่แสงแดดอ่อน หากใช้ร่วมกับสารเคมีอื่น ควรผสมสารเคมีอื่นกับน้ำก่อนแล้วจึงเติม มาคา ตราดับเบิ้ลชีลด์ ตามอัตราส่วนที่แนะนำ
ฆ่า สารรวมอัลคาลอยด์ มีพิษทำลายระบบประสาทของแมลง และน้ำมัน จะปิดกั้นระบบหายใจ แมลงจะขาดอากาศ และตายในที่สุด
ไล่ กลิ่นและสารออกฤทธิ์ จะทำให้แมลงไม่สามารถอยู่ในบริเวณนั้นได้
ป้องกัน โครงสร้างเฉพาะที่ยึดติดกับผิวใบได้เป็นเวลานาน สารออกฤทธิ์ได้ทันทีเมื่อมีแมลงเข้ามาสัมผัส
- ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช ได้แก่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก เพลี้ยไฟ
- เป็นสารสกัดอัลคาลอยด์ที่ได้จากธรรมชาติ สามารถยับยั้งการดื้อยา เนื่องจากออกฤทธิ์แบบไม่เจาะจง
- มีฤทธิ์ทำลายระบบประสาท ระบบเม็ดเลือด และปิดกั้นระบบหายใจทำให้แมลงตายในที่สุด
- มีกลิ่นฉุน และสารที่กระตุ้นระบบประสาทความเจ็บปวดของแมลง จนแมลงไม่สามารถทนอยู่ในบริเวณนั้นได้
วิธีการเก็บรักษา
ต้องเก็บสารกำจัดแมลง มาคา ไว้ในภาชนะที่ปิดแน่นและมีฉลากติดอยู่ ห่างจากเด็ก อาหาร เครื่องดื่ม สัตว์เลี้ยง และเปลวไฟ
คำเตือน
เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ และสิ่งมีชีวิตอื่น ผู้ใช้ต้องปฏิบัติดังนี้
- ขณะผสมควรสวมถุงมือและปิดจมูก เพื่อป้องกันไม่ใช้สารเข้มข้นถูกผิวหนัง หรือกระเด็นเข้าตา
- ขณะพ่นต้องอยู่เหนือลมเสมอ
- ระวังอย่าให้เข้าปาก ตา จมูก หรือถูกผิวหนังและเสื้อผ้า
- ห้ามดื่มน้ำ กินอาหาร หรือสูบบุหรี่ในเวลาปฏิบัติงาน
- ล้างมือและหน้าให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ก่อนกินอาหาร ดื่มน้ำ และสูบบุหรี่
- หลังจากพ่นสารแล้ว ต้องอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า และซักชุดที่สวมทำงานให้สะอาด
- สารนี้เป็นพิษต่อปลา ให้ใช้ด้วยความระมัดระวัง
- ภาชนะบรรจุเมื่อใช้หมดแล้ว ให้ล้างด้วยน้ำ 3 ครั้งก่อนทำลาย แล้วฝังดินเสีย ห้ามเผาไฟหรือนำกลับมาใช้อีก
อาการเกิดพิษ
ผู้ได้รับพิษจะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หายใจติดขัด หากสัมผัสผิวหนังจะเกิดอาการผื่นคัน
การแก้พิษเบื้องต้น
- หากเกิดอาการเนื่องจากพิษให้รีบนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีการใช้สาร ให้ผักผ่อนในที่อากาศถ่ายเทสะดวก
- ถ้าสัมผัสผิวหนังให้ล้างออกด้วนน้ำสะอาดและสบู่ หลายๆครัง หากเข้าตาควรล้างออกด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้ง
- หากเปื้อนเสี้ยผ้าให้รีบอาบน้ำ และเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ทันที
- หากกลืนกิน กระตุ้นให้อาเจียน และถ่ายท้องด้วยแมกนีเซียมซัลเฟต แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันทีพร้อมภาชนะบรรจุและฉลากของสารนั้น
คำแนะนำสำหรับแพทย์
1. ช่วยผู้ป่วยให้หายใจสะดวก โดยใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือผายปอดให้ผู้ป่วย
2. อาการกระตุกเนื่องจากอาการทางประสาท ให้ Phenobarbital sodium 0.1-0.2 กรัม เข้าทางกล้ามเนื้อ
3. รักษาตามอาการ
อัลคาลอยด์ (Alkaloid)
อัลคาลยอด์ เป็นสารอินทรีย์ที่มีลักษณะเป็นด่าง และมีไนโตรเจน (nitrogen) เป็นส่วนประกอบ มีรสขม ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ดีในตัวทำลายอินทรีย์ (organic solvent) เป็นสารที่พบมากในพืชสมุนไพร แต่ปริมาณสารจะต่างกันไปตามฤดูกาล สารประเภทนี้จะมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในหลายระบบ ตัวอย่างเช่น reserpine ในรากระย่อม สรรพคุณลดความดันเลือด สาร Quinine ในเปลือกต้นซิงโคนา (cinchona) มีสรรพคุณรักษาโรคมาเลเรีย และสาร morphine ในยางของผลฝิ่น มีสรรพคุณระงับอาการปวด เป็นต้น
อ้างอิงจาก at.doa.go.th/mealybug/disease.htm