การเลือกพันธุ์มันสำปะหลัง
วันนี้ขอคุยเกี่ยวกับพืชเฉพาะด้านนะคะ มาคุยกันเรื่องมันสำปะหลัง..มีพี่ๆ และเพื่อนๆ จากเฟสบุคที่ปลูกมันสำปะหลังอยู่..หลายท่านได้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปลูกมันกัน และปัญหาที่ถกกันบ่อยๆ และไม่รู้จบเรืองหนึ่งก็คือ ... ปลูกมันพันธุ์อะไรดี....
ปริมขอแนะนำจากประสบการณ์ที่ทำและเก็บข้อมูลด้วยตัวเอง ไม่มีผลงานวิจัยรองรับ.. ไม่มีเอกสารทางวิชาการแจก.. แต่ทั้งหมดนี้เกิดจากการลงแปลงในพื้นที่ ทำการเก็บข้อมูลและสังเกตุด้วยตัวเองนะคะ ผิดถูกอย่างไร แลกเปลี่ยนความเห็นกันได้ค่ะ
พันธุ์มันสำปะหลังที่ได้ทดลองปลูกในสภาพพื้นที่เดียวกัน ภูมิอากาศเดียวกัน การให้ปุ๋ยเหมือนกัน และการดูแลและจัดการไร่เหมือนกัน เลย มี 6 สายพันธุ์คือ (สำหรับสายพันธุ์อื่นๆ ไม่ขอพูดถึงเพราะว่าไม่ได้ทดลองปลูกและเก็บข้อมูลด้วยตัวเองนะคะ)
1. เกษตรศาสตร์ 50
2. ระยอง 11 หรือเขียวปลดหนี้
3. ระยอง 72
4. ห้วยบง 60
5. เกร็ดมังกร
6. ระยอง 9
เนื่องจากไร่ที่เราปลูกมีพื้นที่ขนาดใหญ่ เวลาปลูกต้องวางแผนให้รอบด้านและเวลาเก็บเกี่ยว ต้องเริ่มเก็บตั้งแต่มันสำปะหลังอายุ 8 เดือน เวียนไปเรื่อยๆ เพื่อให้หลังจากขุดแล้วทุกแปลง.. ต้องได้พักดิน.. และมีเวลาเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์และตากดินทั้งไว้อย่างน้อย 1 เดือน.. เพื่อป้องกันและจำกัดโรคที่ติดมากับปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยคอก..ที่สำคัญคือ ทุกแปลงที่ปลูกต้องทันหน้าฝน คือปลูกในเวลาที่ดินมีความชื้นและได้น้ำฝน... ต้นมันจะเจริญเติบโตเต็มที่ หัวดก และที่สำคัญ ไม่ค่อยเกิดโรคระบาดในแปลง...
มาดูมันแต่ละสายพันธุ์กัน
ระยอง 72
คือมันที่ออกหัวดกและออกหัวเร็วที่สุดสำหรับเรา... แต่น้ำหนักเบาและเปอร์เซ็นแป้งต่ำเมื่อขุดอายุที่ 8 เดือน ถ้าจะให้น้ำหนักดีสมกับหัวมัน ต้องขุดที่อายุ 13-14 เดือน สำหรับมันพันธุ์นี้ ข้อดีคือ เจริญเติบโตดี ทนแล้ง และทนโรค...
เกษตรศาตร์ 50
ตอนนี้คือมันสำปะหลังในดวงใจ หัวดกและน้ำหนักดี เปอร์เซ็นแป้งสูง เหมาะสมกับน้ำหนัก หมายถึงให้น้ำหนักดีตั้งแต่อายุ 6 เดือน ถ้าเห็นหัวใหญ่ๆ ลองขุดมาชั่งน้ำหนักดูตอนอายุสัก 6 เดือน เมื่อเทียบกับพันธุ์อื่น พันธุ์นี้น้ำหนักดีสุดค่ะ สามารถขุดที่อายุ 8 เดือนขึ้นไปได้ ปลูกง่าย ทนโรค ทนแล้งเหมือนกัน และที่สำคัญ ปลูกได้กับทุกสภาพดิน ถ้าเจอดินแน่นๆ ปนหินออกทางเหนียวด้วย หัวมันจะออกทางป้อมกลม ถ้าเจอร่วนทราย หัวมันจะแทงออกด้านข้างได้ยาวมาก.. แต่จะให้ดีควรขุดที่ 12 เดือนขึ้นไป..แต่ถ้าปล่อยไว้นานไม่ขุด พันธุ์นี้หัวจะฝ่อเร็วนะคะ
ห้วยบง 60
แนะนำเลยว่า ใครจะปลูกมันพันธุ์นี้ ต้องปลูกหน้าฝนอย่างเดียวเท่านั้นนะคะ ถ้าปลูกข้ามแล้งแล้วละก็..เตรียมความบรรลัยได้เลย.. ตายอดด้านบนแห้ง..แตกตาล่าง...โรคเพลี้ยแป้งรุมกินโต๊ะ...แต่ถ้าปลูกถูกที่(ดินร่วนทราย) ถูกเวลา(ต้นฝน) แล้วละก็ ยิ้มได้เลยค่ะ..หัวดก..ใหญ่ยาว..เปอร์เซ็นแป้งสูงปี๊ดเลย..แต่ต้องขุดที่อายุ 12 เดือนขึ้นไปนะคะ
ระยอง 9
(ชาวบ้านมักเรียก เหลืองร่ำรวย หรือ มังกรทอง) จากแปลงที่เราปลูกมีสภาพดินภูเขามีหินลูกรังปน.. มันพันธุ์นี้ ให้ผลผลิตน้อยสุดเลยค่ะ.หัวไม่ดกมีแค่ 4-5 หัว.. แต่ข้อดีคือ ยืนระยะอยู่ได้ แม้เจอฝนทิ้งช่วงหรือปลูกข้ามแล้งยาวนาน.. ต้นพันธุ์ตรงดิ่ง ไม่แตกกิ่ง.. ทำความสะอาดแปลงได้ง่าย..แต่ไม่ทนโรคไรแดง
ระยอง 11
หรือเขียวปลดหนี้..หรือ มังกรหยก พันธุ์นี้ออกหัวช้านะคะ ขุดดูตอนอายุ 2 เดือนยังไม่ออกหัวเลย..แต่ถ้าได้ลงหัวหลัง 3 เดือนไปแล้ว.. ก็หัวดก..และหัวใหญ่.. แต่สะสมน้ำหนักได้ช้านะคะ ต้องขุดหลัง 13 เดือนไปถึงจะดี แต่มักเป็นโรคหัวเน่าง่ายหากโดนน้ำฝนแฉะๆหรือน้ำขังแค่3-4 วันค่ะ ตรงที่เราปลูกใกล้ลุ่มน้ำ หัวเน่าหมดเลยโซนใกล้น้ำ..หน้าฝนจะมีน้ำเอ่อมาท่วมบริเวณนั้นทำให้ดินแฉะค่ะ
เกร็ดมังกร
(มันสายพันธุนี้ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนรับรองจากกรมวิชาการเกษตรนะคะ) หัวใหญ่หัวดกจริง.. แต่ต้องปลูกในภาพดินร่วนทรายและไม่ขาดน้ำ.. หัวถึงจะดีนะคะ..จากการปลูกตามธรรมชาติของเรา.. ขุดดูน้ำหนักเมื่ออายุ 6 เดือน เห็นหัวใหญ่ๆ แต่เบากว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 มาก และพอปลูกๆ ไปมันกลายพันธุ์ออกไปทุกปี..ไ ม่เหมือนลักษณะเดิม.. ปลูกข้ามแล้งไม่ได้โรคเพลี้ยแป้งและไรแดงลงใบเร็วมากค่ะ..แต่ถ้าปลูกหน้าฝน.. แม้ต้นเล็กๆ แต่หัวดกและยาวมาก
สรุปว่า
การจะเลือกปลูกมันสำปะหลังพันธุ์อะไรดีทีสุดนั้น..พิจารณาจากวัตถุประสงค์การปลูกและสภาพดินของเราเป็นหลัก...อยากขุดเร็วหรือยืดอายุออกไปก่อน รอได้ หรือรอไม่ได้ ยังไงก็ต้องขุด..พันธุ์ที่ปลูกในพื้นที่อื่นได้ผล พอนำมาปลูกในพื้นที่เรา..อาจจะไม่ได้ผลอย่างไร่อื่นเขา..ดังนั้นแล้ว..วิธีที่ดีที่สุด..คือการลงมือคัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมด้วยตัวท่านเอง...หมั่นสังเกตุเก็บข้อมูลเปรียบเทียบ..แนะนำให้ปลูกหลายๆสายพันธุ์ในปีแรก..ปีถัดไปเลือกพันธุ์ที่เหมาะที่สุด..ดีที่สุดสำหรับเราค่ะ..
เขียนโดยปริม-ฟาร์มเกษตร สนับสนุนโดยiLab ตรวจดิน วิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน www.iLab.Asiaปุ๋ยตรา FK จากฟาร์มเกษตร ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ Law of the minimum