data-ad-format="autorelaxed">
สำหรับค่าเฉลี่ยผลผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่อำเภอขาณุวรลักษบุรีอยู่ที่ 3 ตันต่อไร่ คาดว่าผลผลิตในปีแรกหลังเข้าร่วมโครงการจะเพิ่มขึ้นเป็น 4 ตัน และจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 5-6 ตันในปีต่อ ๆ ไป
สีคิ้วโมเดลคือการนำผลงานด้านเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังที่เหมาะสมของกรมวิชาการเกษตรไปถ่ายทอดสู่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เป็นการใช้พันธุ์ที่เหมาะสมต่อพื้นที่ การจัดการดิน การจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การจัดการระบบน้ำหยด และที่สำคัญคือการอารักขาพืชด้านการป้องกันกำจัดโรคและแมลง โดยเฉพาะเพลี้ยแป้งสีชมพู
นายสุกิจ รัตนศรีวงษ์ รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการผลิตพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่าปัจจุบันได้ขยายผลโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง โดยนำรูปแบบของสีคิ้วโมเดล มาสู่จังหวัดกำแพงเพชร เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังประมาณ 600,000 ไร่ เป็นอันดับสองของประเทศรองจากนครราชสีมา โดยร่วมมือกับผู้ประกอบการโรงแป้งที่อำเภอขาณุวรลักษบุรี ดำเนินการในพื้นที่ 4 ตำบล เกษตรกรเข้าร่วมโครงการทำแปลงต้นแบบ 60 ราย ๆ ละ 5 ไร่ พร้อมกันนี้กรมวิชาการเกษตรได้จัดทำแปลงเรียนรู้ 2 แปลง ๆ ละ 20 ไร่ ในพื้นที่ของเกษตรกร เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังอย่างเหมาะสมครบทั้ง 5 เทคโนโลยี
สำหรับค่าเฉลี่ยผลผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่อำเภอขาณุวรลักษบุรีอยู่ที่ 3 ตันต่อไร่ คาดว่าผลผลิตในปีแรกหลังเข้าร่วมโครงการจะเพิ่มขึ้นเป็น 4 ตัน และจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 5-6 ตันในปีต่อ ๆ ไป แม้ว่าการใช้เทคโนโลยีน้ำหยดจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นที่ 5,000 บาทต่อไร่ การลงทุนอุปกรณ์ใช้ได้ประมาณ 2 ปี หรือคิดเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นปีละ 2,500 บาท แต่เมื่อเทียบกับผลผลิตที่จะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 50% ก็นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
ด้านนายศรีโพธิ์ ขยันการนาวี ผู้ใหญ่บ้าน บ้านห้วยแก้วสามัคคีธรรม หมู่ 2 ต.วังชะพลู อ.ขาณุวรลักษบุรี ตัวแทนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เล่าว่า เดิมปลูกมันสำปะหลังได้ผลผลิตสูงสุดอยู่ไม่เกิน 3.5 ตันต่อไร่ แต่หลังจากตัดสินใจเข้าร่วมโครงการกับกรมวิชาการเกษตร และปฏิบัติตามคำแนะนำในเรื่องเทคโนโลยีที่เหมาะสมทั้ง 5 เรื่อง สำหรับเรื่องของพันธุ์นั้นกำลังรอดูผลหลังการเก็บเกี่ยวว่าพันธุ์ไหนเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และให้ผลผลิตสูง
ส่วนเรื่องการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินนั้น ยอมรับว่าดีมาก เพราะทำให้ไม่สิ้นเปลือง ลดต้นทุนไปได้มาก ส่วนระบบน้ำหยดจะใช้พลังแสงอาทิตย์เป็นตัวปั๊มน้ำ ก็นับเป็นสัญญาณที่ดี หากเกษตรกรรายอื่นนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมของกรมวิชาการเกษตรไปปรับใช้ นอกจากต้นทุนจะไม่สูงขึ้นแล้ว ประโยชน์ที่ได้รับก็จะมีมากขึ้นด้วย.
จาก dailynews.co.th
ตรวจวิเคราะห์ค่าดินได้ที่ www.iLab.Asia