data-ad-format="autorelaxed">
สำหรับแนวทางการบริหารจัดการผลิตผลทางการเกษตรในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดยสหกรณ์นั้น อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เปิดเผยเพิ่มเติมด้วยว่า เพื่อเพิ่มศักยภาพของสหกรณ์ตามพื้นที่เป้าหมายบริเวณชายแดน
นายโอภาส กลั่นบุศย์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุนของประเทศ
และได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสม ใน 5 พื้นที่ชายแดน ประกอบด้วยอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว พื้นที่ชายแดน จังหวัดตราด พื้นที่ชายแดนจังหวัดมุกดาหาร และอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ซึ่งเน้นการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ รวมทั้งการ กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดน เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้ประชาชน รวมทั้งป้องกันการลักลอบนำสินค้าการเกษตรเข้ามาปลอมปน หรือซื้อขายในประเทศ ทำให้ราคาสินค้าภาย ในประเทศตกต่ำ โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บูรณาการร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ และผู้ว่าราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้อง บริหารจัดการผลิตผลการเกษตรในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ตามแนวนโยบายรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนให้ภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการในพื้นที่ดำเนินการนำเข้าผลผลิตจากประเทศเพื่อนบ้านอยู่แล้ว มารวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์เพื่อแปรรูปและส่งออก
สำหรับแนวทางการบริหารจัดการผลิตผลทางการเกษตรในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดยสหกรณ์นั้น อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เปิดเผยเพิ่มเติมด้วยว่า เพื่อเพิ่มศักยภาพของสหกรณ์ตามพื้นที่เป้าหมายบริเวณชายแดนในการนำพืชผลการเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาปรับปรุงคุณภาพ จำหน่ายหรือส่งออก โดยใช้วิธีการสหกรณ์ในการแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการผลิตผลการเกษตรในเขตพัฒนาเศรษฐกิจ ให้มีเสถียรภาพด้านราคาและเพิ่มมูลค่าแก่สินค้าเกษตร
โดยล่าสุด เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ทางสหกรณ์ได้เริ่มนำเข้ามันสำปะหลังเป็นพืชแรก จำนวน 20,000 ตัน และได้เจรจาตกลงราคาเบื้องต้นกับผู้รวบรวมจากประเทศกัมพูชาเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2558 ที่ผ่านมาแล้ว และจะดำเนินการนำเข้าในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2558 นี้ สำหรับพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ ได้แก่ ข้าว ข้าว โพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง จะดำเนินการประชุมหารือกับสห กรณ์เพื่อวางแผนการดำเนินงานต่อไป
สำหรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก มีสหกรณ์ขอขึ้นทะเบียน เป็นผู้นำเข้า-ส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับกรมการค้าระหว่างประเทศแล้ว จำนวน 4 สหกรณ์ โดยจะเริ่มนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 นี้เช่นกันจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 ตัน สำหรับ พืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ ได้แก่ พริก ถั่วเหลือง ถั่วเขียว จะดำเนินการประชุมหารือสหกรณ์เพื่อวางแผนการดำเนินงานอีกครั้งหนึ่ง
ขณะที่ ในอีก 3 เขตเศรษฐกิจพิเศษ ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการสำรวจพืชผลทางการเกษตรที่จะสามารถนำเข้และส่งออก รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของสหกรณ์ที่จะดำเนินการต่อไป.
อ้างอิง : เดลินิวส์ 11 กพ 58