ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ผักและการปลูกผัก | อ่านแล้ว 52082 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

กระชายดำ

มีรายงานการวิจัยว่า สารสกัดด้วยเอธานอลของกระชายดำมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta)ละลดการหดเกร็งของ ลำไส้เล็กส่วน...

data-ad-format="autorelaxed">

กระชายดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์   Kaempferia parviflora Wall. Ex Baker
ชื่อวงศ์               ZINGIBERACEAE
ส่วนที่ใช้             เหง้า / หัว

ต้นกระชายดำ หัวกระชายดำ ปลูกกระชายดำ      การปลูก
     ใช้หัวพันธุ์ที่แก่จัดมีอายุประมาณ 11-12 เดือน แยกหัวโดยหักออกเป็นข้อ ๆ ตามรอยต่อของหัว ฝังกลบดินให้มิดแต่ไม่ลึก
โดยใช้ระยะปลูกระหว่างแถวและระหว่างหลุมเท่ากับ 0.20 X 0.25 เมตร หรือ 0.25 X 0.30 เมตร ปลูกเสร็จแล้วใช้แกลบหว่าน
กลบบาง ๆ อีกชั้นหนึ่ง เนื่องจากกระชายดำเป็นพืชดั้งเดิมของชาวเขา จึงเชื่อกันว่ากระชายดำที่ดีมีคุณภาพ จะต้องปลูกบนพื้นที่
ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500 – 700 เมตร เจริญเติบโตและลงหัวได้ดีในดินร่วนทราย มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง ไม่
่ชอบแดดจัด ชอบแดดร่มรำไร เกษตรกร จึงนิยมปลูกกระชายดำระหว่างแถวไม้ยืนต้น
     
    การเก็บเกี่ยว
ควรเก็บเกี่ยวในช่วงที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่ อายุเก็บเกี่ยวของกระชาย ประมาณ 8-9 เดือน ซึ่งจะเก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคม-มกราคม ในช่วงนี้จะสังเกตดูใบจะเริ่มแก่มีสีเหลืองและแห้งตายลงในที่สุด การเก็บเกี่ยวเร็วกว่ากำหนดอาจมีผลต่อคุณภาพ โดยเฉพาะสีของหัวจะไม่เข้ม ซึ่งเป็นกระชายดำที่ตลาดไม่ต้องการ
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
การขุดหัวกระชาย
ถ้ายกเป็นแปลงตอนปลูก จะเก็บเกี่ยวได้ง่าย โดยใช้จอบหรือเสียมขุดหัวขึ้นมาแล้วเคาะดินให้หลุดออกจากหัวและราก เกษตรกรนิยมนำหัวกระชายที่ขุดได้ใส่ถุง แล้วนำไปทำความสะอาดที่บ้าน โดยการปลิดรากออกจากหัว ให้หมดให้เหลือแต่หัวล้วน ๆ โดยเฉลี่ยหัวพันธุ์ 1 กิโลกรัม สามารถให้ผลผลิตได้ 5-8 กิโลกรัม ดังนั้น 1 ไร่ จะได้ผลผลิต ประมาณ 1,000-2,000 กิโลกรัม
สารสำคัญ
สารที่พบในเหง้ากระชาย ได้แก่ borneol, sylvestrene ซึ่งแสดงฤทธิ์ต้านจุลชีพ และสาร 5,7 –ไดเมธอกซีฟลาโวน (5,7- dimethoxyflavone = 5,7 DMF) ซึ่งแสดงฤทธิ์ต้านอักเสบ นอกจากนี้ รายงานการวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นปี 2547 พบสารพวกฟลาโวนอยด์ 9 ชนิด เช่น สาร 5,7,4’-trimethoxyflavone, 5,7,3’,4’-tetramethoxyflavone , 3,5,7,4’ –tetramethoxyflavone เป็นต้น
ผลการศึกษา ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
1. ฤทธิ์ต้านอักเสบ
สาร 5,7 –ไดเมธอกซีฟลาโวน (5,7-DMF) ที่แยกได้จากเหง้ากระชายดำ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบเทียบได้กับยามาตรฐานหลายชนิด คือ แอสไพริน , อินโดเมธาซิน, ไฮโดรคอร์ติโซน และเพรดนิโซโลน จากการศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบของสารนี้ในสัตว์ทดลองด้วยวิธีการต่าง ๆ พบว่าสาร 5,7-DMF สามารถต้านการอักเสบแบบเฉียบพลันได้ดีกว่าแบบเรื้อรัง โดยแสดงฤทธิ์ยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าหนูขาวจากสารคาราจีนแนนและเคโอลินได้ ดีกว่าฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง granuloma จากการฝังสำลีใต้ผิวหนัง นอกจากนี้ พบว่า สาร 5,7-DMF มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด exudation และการสร้างสาร prostaglandin อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบในช่องปอดของหนูขาว (rat pleurisy)
2. ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์
สาร 5,7,4’-trimethoxyflavone และ 5,7,3’,4’ –tetramethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย ส่วนสาร 3,5,7,4’-tetramethoxyflavone และ 5,7,4’-trimethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Candida albicans และแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Mycobacterium อย่างอ่อน
3. พิษต่อเซลล์มะเร็ง (cytotoxic activity)
จากการทดสอบผลของฟลาโวนอยด์ 9 ชนิดของกระชายดำต่อเซลล์มะเร็ง เช่น KB , BC หรือ NCI-H187 ไม่พบว่ามีสารใดทำให้เกิดพิษต่อเซลล์มะเร็งที่ทดสอบ
4. ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดง
มีรายงานการวิจัยว่า สารสกัดด้วยเอธานอลของกระชายดำมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta)ละลดการหดเกร็งของ
ลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) ของหนูขาว และยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดของคน
การศึกษาทางพิษวิทยา
การศึกษาพิษเรื้อรังระยะเวลา 6 เดือน ของผงกระชายดำในหนูขาว ในขนาด 20 , 200 , 1000 และ 2000 มก/กก./วัน เทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับน้ำ พบว่า เหง้ากระชายดำ หัวกระชายดำหนูที่ได้รับกระชายดำทุกกลุ่มมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น อาการและสุขภาพไม่แตกต่างจากลุ่มควบคุมหนูที่ได้รับกรายดำขนาด 2000 มก./กก. มีน้ำหนักสัมพันธ์ของตับสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ อาจเนื่องจากมีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม และมีเม็ดเลือดขาวอิโอสิโนฟิสต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ แต่ยังคงอยู่ในช่วงค่าปกติ ในหนูเพสเมียที่ได้รับกระชายดำขนาด 2000 มก./กก. มีระดับโคเลสเตอรอลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ หนูทั้งสองเพสที่ได้รับกระชายดำ 2000 มก./กก. มีระดับซีรั่มโซเดียมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญแต่ยังอยู่ในช่วงค่า ปกติ ผลการตรวจอวัยวะทางจุลพยาธิวิทยานั้นไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ว่าเกิด จากความเป็นพิษของกระชายดำ
รายงานการวิจัยทางคลินิก
ยังไม่มีรายงานศึกษาวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิผลของกระชายดำในคน
ขนาดที่ใช้ และวิธีใช้
ตามตำรายาแผนโบราณ กระชายดำมีสรรพคุณแก้โรคบิด ปวดท้อง ลมป่วงทุกชนิด และเป็นยาอายุวัฒนะ ซึ่งมีวิธีใช้ดังนี้
กระชายดำแบบหัวสด ใช้เหง้า (หัวสด) ประมาณ 4-5 ขีด ต่อสุราขาว 1 ขวด ดองสุราขาวดื่มก่อนรับประทานอาหารอาหารเย็นปริมาณ 30 ซีซี. หรือฝานเป็นแว่นบาง ๆ แช่น้ำดื่ม หรือจะดองกับน้ำผึ้ง ในอัตราส่วน 1: 1
กระชายดำแบบหัวแห้ง หัวแห้งดองกับน้ำผึ้งแท้ในอัตราส่วน 1:1 นาน 7 วัน แล้วนำมาดื่มก่อนนอน
กระชายดำแบบชาชง ผงแห้งกระชายดำ 1 ซอง ชงน้ำร้อน 1 แก้ว (ประมาณ 120 ซีซี.) แต่งรสด้วยน้ำตาล หรือน้ำผึ้งตามต้องการ
   

    เอกสารอ้างอิง    
   
1. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544) พิมพ์ครั้งที่ 2 : กรุงเทพฯ : บริษัทประชาชน จำกัด , 2544
2. http://www.doa.go.th/data-agri/02_LOCAL/oard3/kachaidum/main.html
3. ณาตยา ธนะศิริวัฒนา, สุนิดา ณ ตะกั่วทุ่ง, ธนนันต์ ฐานะจาโร “องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านจุลชีพของน้ำมันหอมระเหยกระชายดำ เปราะหอม และเฒ่าหนังแห้ง”, คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
4. Yenchai C, Prasanphen K, Doodee S, et al. Bioactive fla-vonoids from Kaempferia Parvifor. Fitoterapia 2004; 75(1) : 89-92.
5. วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล และอำไพ ปั้นทอง. “การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของ 5,7-DMF “ วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2528.
6. Wattanapitayakul S, Nawinprasert A, Herunsalee A, et al. Vasodilation, antispasmodic and antiplatelet actions of Kaempferia parviflora. The Sixth JSPS-NECT Joint Seminar : Recent Advances in Natural Medicine Research. December 2-4, 2003 Bangkok, Thailand (Poster presen-tation)
7. ทรงพล ชีวะพัฒน์, ณุฉัตรา จันทร์สุวาณิชย์, ปราณี ชวลิตธำรง และคณะการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของผงกระชายดำ. วารสารกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2547 (รอตีพิมพ์)
8. ของดีจากพืชสมุนไพร-ว่านยา โดย จันทน์ขาว หน้า 135-137

อ้างอิง : http://ittm.dtam.moph.go.th/product_champion/herb1.htm


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 52082 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

วันชัย
[email protected]
มีกระชายดำจำหน่าย ปริมาณมาก
สนใจ 085-7310347
26 พ.ย. 2553 , 10:37 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ผักและการปลูกผัก]:
กระเทียมใบไหม้ กระเทียมใบแห้ง ใบจุด โรครา เพลี้ยไฟ ไร แก้ไขได้ ให้ถูกวิธี
สาเหตุหลักเลย ที่ทำให้ โรคและแมลงศัตรูพืช เข้าโจมตี หรือเข้าทำลายต้นกระเทียมได้ง่าย เพราะเกิดจาก กระเทียมอ่อนแอต่อโรค
อ่านแล้ว: 8107
มะเขือเทศใบไหม้ มะเขือเทศใบเหลือง ใบหงิก ต่างอาการ ต่างสาเหตุ แก้ต่างวิธี
ต้นเหตุหลักๆที่แท้จริงเลยคือ มะเขือเทศ ได้รับธาตุอาหารที่เป็น ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ไม่เพียงพอ
อ่านแล้ว: 6724
มะเขือเทศใบเหลือง มะเขือเทศใบหงิกเหลือง มะเขือเทศใบด่าง ป้องกันได้ โดยการกำจัดแมลงศัตรูพืช
ใบอ่อนหดย่นเป็นคลื่นมีขนาดเล็กกว่าปกติ และใบยอดที่ปลายกิ่งบิดเกลียว ต้นชะงักการเจริญเติบโต ติดผลน้อย ผลด่าง
อ่านแล้ว: 6741
โรคราพริก โรคใบจุดตากบ ส่งผลใบพริกร่วง ชะงักการโต ผลผลิตลดลง
โรคใบจุดตากบ หากระบาดรุนแรง ใบพริกจะร่วง การออกดอกและการให้ผลผลิตจะต่ำลง โรคสามารถจะลุกลามไปที่ กิ่ง การ ผล ได้
อ่านแล้ว: 8355
พืชตระกูลแตง เป็นปื้นเหลืองบนใบ แห้งตาย เพราะ โรคราน้ำค้าง ควรเร่งแก้ไข
โรคราน้ำค้าง สร้างความเสียหายให้กับพืชตระกูลแตง ปล่อยไปถึงตายได้ ลักษณะการระบาดของ โรคราน้ำค้าง นี้ อาการที่แสดง..
อ่านแล้ว: 7480
โครงการหลวงปังค่า หนุนเกษตรกรพะเยา ปลูกมะเขือเทศสร้างรายได้
ทำให้มีอาชีพสร้างรายได้ และจำหน่ายได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องราคา ได้ผลผลิต 2-3 ตันขายได้ราวๆ 75,000 บาทต่อรอบ
อ่านแล้ว: 7676
หอมญี่ปุ่น ปลูกได้ในไทย
ปัจจุบันมีการนำมาปลูกในประเทศไทยหลายพื้นที่ สำหรับดินที่เหมาะสมในการปลูกควรเป็นดินร่วนซุย
อ่านแล้ว: 6963
หมวด ผักและการปลูกผัก ทั้งหมด >>