data-ad-format="autorelaxed">
ฤดูกาลที่เหมาะสม ในการปลูกแตงกวา
* แตงกวาเป็นพืชเถาเลื้อย ในประเทศไทยสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
* ช่วงที่เหมาะสมที่สุดคือ ให้การเจริญเติบโตทางลำต้นอยู่ในช่วงปลายฤดูฝน และติดผลในระยะ
เริ่มฤดูหนาวจะให้ผลผลิตดี
* ฤดูร้อน บางช่วงอาจจะพบปัญหาดอกร่วง ทำให้ผลผลิตลดลง
* ฤดูหนาว ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส แตงกวาจะมีอาการชะงักการเจริญเติบโต
* เพาะกล้า ใช้เมล็ด 150-200 กรัม/ไร่ (หยอดหลุม 300 กรัม/ไร่)
* ผลผลิต 5-6 ตัน/ไร่
รายการ | พันธุ์ |
ลักษณะ | ลำต้นแข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว ผลดก แตกแขนงดี ต้านทานโรคได้ดี |
อายุการเก็บเกี่ยว | อายุเก็บเกี่ยว 28-32 วันหลังหยอดเมล็ด |
ผล | ผลยาว 8-10 ซม. สีเขียวอ่อน ไหล่เขียว ทรงกระบอก ผลยาวสวย ไส้เล็ก น้ำหนักดี |
เตรียมดิน | การปลูก แบบขึ้นค้าง | การปลูก แบบเลื้อยตามดิน |
1. ไถดินลึก 30-35 ซม. 2. ตากแดดทิ้งไว้ 7-10 วัน 3. ใส่ปุ๋ยคอกในอัตรา 1-2 ตัน/ ไร่ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 รองก้น หลุมก่อนปลูก 4. คลุมแปลงด้วยพลาสติกเพื่อ ป้องกันการสูญเสียความชื้น และลดการระบาดของแมลง | 1. ระหว่างต้น 40-50 ซ.ม. ระหว่างแถว 80-100 ซ.ม. เว้นร่องน้ำระหว่างแปลง 50 ซ.ม. 2. หยอดเมล็ดหลุมละ 1-2 เมล็ด 3. เมื่อมีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกให้ เหลือ 1 ต้น/ หลุม 4. จัดการง่าย ผลผลิตมีคุณภาพและ ผลผลิตสูงกว่าวิธีปลูกแบบเลื้อย ตามดิน | 1. ระหว่างต้น 40-50 ซ.ม. ระหว่างแถว 3-4 เมตร เว้นร่องน้ำระหว่างแปลง 50 ซ.ม. 2. หยอดเมล็ดหลุมละ1-2 เมล็ด 3. เมื่อมีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกให้ เหลือ 1 ต้น/หลุม 4. สะดวกและประหยัดต้นทุน |
การใส่ปุ๋ยให้กับแตงกวา
อายุ | สูตรปุ๋ย | อัตราการใช้ |
1. เตรียมดินปลูก (ใส่รองก้นหลุม) 2. ระยะต้นกล้า (อายุ 15 วัน) 3. ระยะดอกบาน ( อายุ 25 วัน) 4. ระยะบำรุงผล (อายุ 28 วัน) | 15-15-15 15-15-15 หรือ 25-7-7 15-15-15 หรือ 8-24-24 15-15-15 | 50 กก. / ไร่ 50 กก. / ไร่ 50 กก. / ไร่ 50 กก. / ไร่ |
การให้น้ำ | โรคที่สำคัญ | แมลงที่สำคัญ | การใช้ฮอร์โมน |
1. ให้น้ำพอดีจะทำให้มีผลผลิต สูงสุด และคุณภาพดีที่สุด 2. แตงกวาเป็นพืชที่ต้องการน้ำ มาก แต่ไม่ชอบน้ำท่วมขัง 3. ช่วงเริ่มให้ผลผลิต ไม่ควร ให้เกิดการขาดน้ำ 4. ไม่ควรให้น้ำช่วงเย็นจะทำให้ เกิดโรคทางใบได้ง่าย | โรคราน้ำค้าง ป้องกันโดยฉีดพ่น คาร์เบนดาซิม แมนโคเซ็ป หรือริโดมิล | 1. เพลี้ยไฟ ป้องกันโดยฉีดพ่น สารอะบาเม็กติน หรือไซเปอร์เมทริล 2. แมลงเต่าต่างๆ ใช้ คาร์บาเมท หรือออร์แกโนฟอสเฟต | กระตุ้นการแตกแขนง ใช้สาหร่ายทะเลผสมธาตุอาหารเสริมฉีดพ่นตั้งแต่ระยะแตงกวามีใบจริง 3-5 ใบ |
โรค และแมลงในแตงกวา
1.โรคราน้ำค้าง (Downy mildew) หรือที่เกษตรกรนิยมเรียกว่า “โรคใบลาย”
เชื้อสาเหตุ : Peronospora cubensis
ลักษณะอาการ :
เริ่มเป็นจุดสีเหลืองบนใบ แผลนั้นจะขยายออกเป็นเหลี่ยมในระหว่างเส้นใบ ถ้าเป็นมาก ๆ
แผลลามไปทั้งใบทำให้ใบแห้งตาย ในตอนเช้าที่มีหมอกน้ำค้างจัดช่วงหลังฝนตกติดต่อกันทำให้มีความชื้นสูง
ในบริเวณปลูก จะพบว่าใต้ใบตรงตำแหน่งของแผลจะมีเส้นใยสีขาวเกาะเป็นกลุ่มและมีสปอร์เป็นผงสีดำ
การป้องกันกำจัด :
คลุกเมล็ดแตงด้วยสารเคมีเอพรอน
หรือริโดมิลเอ็มแซดก่อนปลูกหรือจะนำเมล็ดมาแช่สารเคมีที่ละลายน้ำเจือจางเป็นเวลา 3 ชั่วโมงก็ได้
เมื่อมีโรคระบาดในแปลงและในช่วงนั้นมีหมอกและน้ำค้างมาก ควรฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ยาไซเนบ มาเนบ
ไม่ควรใช้ยาเบนโนมิล หรือยาเบนเลท เพราะไม่สามารถกำจัดโรคนี้ได้ ซึ่งควรฉีด Curzate M8, Antrachor
สลับกันเพื่อป้องกันการดื้อสารเคมีของเชื้อ ต้นที่เป็นโรคให้ตัดใบและกำจัดต้นที่เป็นโรคออกไปทำลายโดยการเผา
โรคราน้ำค้าง ที่เกิดกับแตงกวา
2. โรคใบด่าง (Mosaic)
เชื้อสาเหตุ : Cucumber mosaic virus
ลักษณะอาการ :
ใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือด่างเขียวสลับเหลืองเนื้อใบตะปุ่มตะป่ำ มีลักษณะนูนเป็นระยะ ๆ
ใบหงิกเสียรูปร่าง ยอดที่แตกใหม่จะมีสีซีดและอาการ่างมากขึ้น ใบจะมีขนาดเล็ดลง มีรูปร่างผิดปกติ
ติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
การป้องกันกำจัด :
ในปัจจุบันยังไม่มีการใช้สารเคมีหรือวิธีการใด ๆ ที่จะลดความเสียหายเมื่อโรคนี้ระบาด
ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดขณะนี้คือการป้องกันไม่ให้เกิดโรค เช่น เลือกแหล่งปลูกที่ปลอดจากเชื้อไวรัส
อาจทำได้โดยเลือกแหล่งปลูกที่ไม่เคยปลูกผักตระกูลแตงมาก่อนและทำความสะอาดแปลงปลูกพร้อมทั้งบริเวณใกล้เคียงให้
สะอาดไม่ให้เป็นที่อาศัยของเชื้อและแมลงพาหะ การติดต่อกันได้อย่างรวดเร็วเพราะมีการปลูกที่ระยะใกล้กันมาก
แมลงจะเป็นพาหะนำเชื้อนี้จึงควรป้องกันด้วยการไม่ปลูกชิดกันจนเกินไป
เมื่อพบต้นที่แสดงอาการให้รีบถอนแยกเสียทันทีอย่าปล่อยทิ้งไว้เป็นอันขาด
โรคใบด่าง ที่เกิดกับแตงกวา
3. โรคผลเน่า (Fruit rot)
เชื้อสาเหตุ : Pythium spp., Rhizoctonia solani, Botrytis cinerea
ลักษณะอาการ :
มักเกิดกับผลที่สัมผัสดิน และผลที่แมลงกัดหรือเจาะทำให้เกิดแผลก่อน จะพบมากในสภาพที่เย็นและชื้น
กรณีที่เกิดจากเชื้อพิเที่ยมจะเป็นแผลฉ่ำน้ำเริ่มจากส่วนปลายผล ถ้ามีความชื้นสูงจะมีเส้นใยฟูสีขาวขึ้นคลุม
กรณีที่เกิดจากเชื้อไรซ๊อกโทเนียจะเป็นแผลเน่าฉ่ำน้ำบริเวณผิวของผลที่สัมผัสดิน
แผลจะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลแก่และมีรอยฉีกของแผลด้วย ส่วนกรณีที่เกิดจากเชื้อโบทริทิ่สนั้น บริเวณส่วนปลายของผลที่เน่า
จะมีเชื้อราขึ้นคลุมอยู่
การป้องกันกำจัด :
ทำลายผลที่เป็นโรค อย่าให้ผลสัมผัสดิน ป้องกันไม่ให้ผลเกิดบาดแผล
4. โรคราแป้ง (Powdery mildew)
เชื้อสาเหตุ : Oidium sp.
ลักษณะอาการ :
มักเกิดใบล่างก่อนในระยะที่ผลโตแล้ว บนใบจะพบราสีขาวคล้ายผงแป้งคลุมอยู่เป็นหย่อม ๆ กระจายทั่วไป
เมื่อรุนแรงจะคลุมเต็มผิวใบทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วแห้งตาย
มักพบการระบาดในสภาพที่มีอุณหภูมิต่ำและความชื้นสัมพัทธ์ภายในอากาศต่ำ
การป้องกันกำจัด :
ควรป้องกันก่อนการระบาด ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเขื้อราในกลุ่มของ ไดโนแคป ในอัตรา 30 กรัม / น้ำ
20 ลิตรเมื่อพบอาการเริ่มแรก หลังจากนั้นฉีดพ่นทุกๆ 10 วัน หรือฉีดพ่นด้วยสารละลายกำมะถัน ในอัตรา 30 กรัม / น้ำ 20
ลิตร แต่ต้องพ่นในเวลาเย็นหรืออากาศไม่ร้อน เป็นต้น หรือเมื่อว่ามีการระบาดควรฉีดพ่นด้วย เบนเลท เดอโรซาล
Diametan หรือ Sumilex
โรคราแป้ง ในแตงกวา
5. เพลี้ยไฟ (Thrips: Haplothrips floricola)
ลักษณะ :
เป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลแก่ พบตามยอดใบอ่อน ดอก และผลอ่อน
การทำลาย :
ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบ ดอกอ่อน และยอดอ่อน ทำให้ใบม้วนหงิกงอ รูปร่างผิดปกติเป็นกระจุก มีสีสลับเขียวเป็นทาง
ระบาดมากในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งฝนทิ้งช่วง นับเป็นแมลงที่เป็นปัญหาสำคัญที่สุดในการปลูกแตงกวา
การป้องกันกำจัด : ให้น้ำเพิ่มความชื้นในแปลงปลูก โดยให้น้ำเป็นฝอยตอนเช้าและตอนเย็น
จะช่วยลดปัญหาของเพลี้ยไฟได้
ใช้สารฆ่าแมลง : คาร์โบฟูราน ได้แก่ ฟูราดาน 3 จี หรือ คูราแทร์ 3 จี 1 ช้อนชาต่อหลุม ใส่พร้อมกับการหยอดเมล็ด
จะป้องกันได้ประมาณ 2 สัปดาห์ กรณีที่เริ่มมีการระบาดให้ใช้สารฆ่าแมลง พวก โมโนโครโตฟอส เมทโธมิล อะบาเม็กติน
ฟอร์มีทาเนท พอสซ์เมซูโรล แลนเนท ไดคาร์โซล ออลคอล อะโซดริน โตกุไทออน หรือทามารอน ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน
เป็นต้น
โรคเพลี้ยไฟ ที่เกิดในแตงกวา
6. เพลี้ยอ่อน (Alphids: Aphids gossypii)
ลักษณะ :
เป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวคล้ายผลฝรั่ง มีท่อเล็ก ๆ ยื่นยาวออกไปทางส่วนท้ายของลำตัว 2 ท่อน
เป็นแมลงปากดูด ตัวอ่อนสีเหลืองอมเขียว รูปร่างคล้ายรูปไข่ มีปากยื่นยาวไปใต้ส่วนอก
เมื่อโตขึ้นจะมีสีคล้ำเป็นสีเขียวอมเทา ตัวแก่สีดำและมีปีกบินได้ ระยะตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้ใช้เวลา 5-41 วัน
ตลอดชีวิตตัวเต็มวัยตัวหนึ่งๆสามารถออกลูกได้ 15-450 ตัว
การทำลาย :
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและยอดอ่อน ทำให้ใบม้วน ต้นแคระแกร็น และยังเป็นพาหนะนำไวรัสด้วย
มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดน้ำ โดยมีมดเป็นตัวนำหรือการบินย้ายที่ของตัวแก่
บริเวณที่ถูกแมลงชนิดนี้ทำลายจะค่อยๆมีสีเหลืองจนในที่สุดจะมีสีเหลืองซีดและหลุดร่วงหล่นจากต้น
การเจริญเติบโตของพืชจะหยุดชะงัก
นอกจากนี้ยังพบว่าส่วนของพืชที่ถูกแมลงชนิดนี้ทำลายอาจมีราดำเกิดขึ้นและเมื่อราดำระบาดมากๆปกคลุมส่วนยอดและใบ
อ่อนก็จะทำให้กระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชดำเนินไปได้ยาก มีผลทำให้การเจริญเติบโตของพืชไม่เป็นไปตามปกติ
การป้องกันกำจัด : ถ้าพบต้นที่มีเพลี้ยอ่อนระบาดทำลายให้ถอนแล้วนำไปทำลายโดยการเผาไฟ
ถ้าระบาดมากอาจใช้ยาป้องกันกำจัดมลงฉีดพ่น ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงเช่นเดียวกับการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ
7. ไรแดง (Red spider mites: Tetranychus spp.)
ลักษณะ : ไม่ได้เป็นแมลงแต่เป็นสัตว์ที่มีขา 8 ขา มีขนาดเล็กมาก มองเห็นเป็นจุดสีแดง
การทำลาย :
ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและหยอดอ่อนทำให้ใบเป็นจุดด่างมีสีซีด โดยจะอยู่ใต้ใบเข้าทำลายร่วมกับเพลี้ยไฟ และเพลี้ยอ่อน
มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดน้ำ
การป้องกันกำจัด : ใช้สารเคมีกำจัดไร ได้แก่ เคลเทน ไตรไทออน หรือ โอไมท์ เป็นต้น
8. เต่าแตงแดง (Red cucurbit beetle: Aulacophora simills) และ เต่าแตงดำ (Black cucurbit beetle: A. frontalis)
ลักษณะ :
เป็นแมลงปีกแข็ง ปีกมีสีส้มแดงและสีดำเข้ม ตัวมีขนาดเล็กยาวประมาณ 0.5-0.8 ซม.
อาศัยอยู่ตามกอข้าวที่เกี่ยวแล้วในนา หรือตามกอหญ้า
การทำลาย :
กัดกินใบตั้งแต่ระยะใบเลี้ยงจนกระทั่งต้นโต
ทำให้เป็นแผลและเป็นพาหะของโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียด้วย ตัวเมียวางไข่บริเวณโคนต้น ตัวหนอนกัดกินราก
การป้องกันกำจัด:
ควรทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลง รวมทั้งเศษซากแตงหลังการเก็บเกี่ยว ใช้สารเคมีฉีดพ่น ได้แก่ เซฟวิน
คาร์โบน๊อกซี-85 หรือ ไบดริน หรือใช้สารเคมีชนิดเม็ด เช่น ฟูราดาน 3 จี หรือคูราแทร์ 3 จี
ใส่หลุมปลูกพร้อมกับการหยอดเมล็ด จะป้องกันเต่าแตงได้ประมาณ 2 สัปดาห์
เต่าแตงแดง
9. หนอนกินใบแตง (Leaf eating caterpilla: Palpita indica) และหนอนไถเปลือกหรือหนอนเจาะผล (Fruit boring
caterpillar: Helicoverpa armigera)
ลักษณะ :
หนอนกัดกินใบแตง มีรูปร่างเรียวยาวประมาณ 2 ซม. สีเขียวอ่อน ตรงกลางสันหลังมีเส้นแถบสีขาวตามยาว 2
เส้น หนอนตัวโตเต็มวัยเป็นผีเสื้อที่มีปีกโปร่งใสตรงกลาง ส่วนหนอนเจาะผลมีขนาดใหญ่กว่า
ลำตัวยาวสีเขียวอ่อนถึงสีน้ำตาลดำ มีรอยต่อปล้องชัดเจน
การทำลาย : กัดกินใบ ไถเปลือกเป็นแผลและเจาะผลเป็นสาเหตุให้โรคอื่น ๆ เข้าทำลายต่อได้ เช่น โรคผลเน่า
การป้องกันกำจัด : ใช้สารเคมี เช่น อโซดริน แลนเนท ทามารอน โตกุไทออน บุก หรือ อะโกรน่า เป็นต้น
หนอนกินใบแตง ในแตงกวา
ข้อมูลจาก chilliseedsthailand.com เป็นเว็บไซต์ของผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ตราทองไทย ซึ่งให้ข้อมูลไว้ละเอียดดีมากครับ ทำข้อมูลดีๆ ก็น่าสนับสนุน (ผมไม่ได้รับค่าโฆษณาจากเขานะครับ นำข้อมูลของเขามาขึ้นเว็บไซต์ และเห็นว่าเป็นประโยชน์ น่าสนับสนุนครับ)
รูปแตงกวารูปบนสุดจาก prachachat.net