ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ผักและการปลูกผัก | อ่านแล้ว 17159 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การเพาะเห็ดฟาง จากทลายปาล์ม

การเพาะเห็ดฟาง จากทลายปาล์ม - ขั้นตอนการเพาะ การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ พื้นที่ การสร้างโรงเรือน เตรียมแปลง ตลอดจนเสร็จสิ้น

data-ad-format="autorelaxed">

วัสดุอุปกรณ์

•  เชื้อเห็ดฟาง

•  อาหารเสริม

•  แป้งข้าวเหนียว

•  ทลายปาล์มน้ำมัน

•  ไม้ไผ่ทำโครง

•  พลาสติกดำชนิดบาง

ขั้นตอนและวิธีการเพาะ


1. การเตรียมพื้นที่

- เลือกพื้นที่ให้เหมาะสม

- ปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ กำจัดสิ่งปฏิกูลออก

2. การสร้างโรงเรือน

- ใช้สแล็มหรือทางมะพร้าวป้องกันแดดประมาณ 70 %

- ใช้สแล็ม ทางมะพร้าว หรือ สิ่งเหลือใช้อื่น ๆ เช่น กระสอบปุ๋ย กั้นด้านข้างเพื่อป้องกันลมพัดโดนผ้าพลาสติกคลุม

- ความสูงประมาณ 180 ซ.ม. กว้าง,ยาวพอสมควร

3. การเตรียมทลายปาล์มก่อนนำไปเพาะ 


- กองทลายปาล์มสูงประมาณ 70 ซ.ม.

- เหยียบย่ำให้เรียบ

- รดน้ำให้ทั่ว 3 วัน ต่อครั้ง นานครั้งละ 2 ชั่วโมง

(ใช้ท่อขนาด 1 นิ้ว ฉีด)

- คลุมด้วยพลาสติกให้มิดชิด นาน 12 วัน

4. การเตรียมแปลงเพาะ 


- เตรียมแปลงกว้าง 70 ซม.

- ยาวครึ่งหนึ่งของผ้าพลาสติกคลุม

- เหยียบร่องให้เรียบ รดน้ำให้ชุ่ม


5. การเลือกซื้อเชื้อเห็ดที่มีคุณภาพ 


- ก้อนเชื้อเห็ดแน่นแข็ง

- มีเส้นใยสีขาวนวล

- กลิ่นหอมรสดอกเห็ดฟาง

- ไม่มีเชื้อราชนิดอื่นปะปน

- ไม่มีหนอนและแมลง

6. การผสมเชื้อเห็ด 


- ขยำเชื้อเห็ดให้ร่วน

- คลุกเคล้าเชื้อเห็ด อาหารเสริมและแป้งข้าวเหนียวให้ทั่ว (เข้ากันดี)

อัตราส่วน

•  เชื้อเห็ดฟาง 75 ถุง

•  อาหารเสริม 1 ถุง (1.5 ก.ก.)

•  แป้งข้าวเหนียว 1 ถุง (1 ก.ก.)

7. การโรยเชื้อเห็ดและคลุมร่อง 

การเพาะเห็ดฟาง จากทลายปาล์ม

- โรยเชื้อเห็ดที่ผสมแล้วลงบนร่องให้ทั่ว

- รดน้ำให้ชุ่ม (ใช้บัว)


- ใส่โครงไม้ไผ่คลุมด้วยพลาสติกดำ ชนิดบาง




หมายเหตุ เชื้อเห็ด 75 ถุง + อาหารเสริม 1 ถุง + แป้งข้าวเหนียว 1 ถุง ต่อขนาดแปลงเพาะ กว้าง 70 ซม. ยาว 22 เมตร

8. การดูแลรักษา

- ตรวจดูความชื้นในแปลงอย่างสม่ำเสมอ

- ความชื้นที่เหมาะสม 35-37 องศาเซนเซียส

- สังเกตหยดน้ำใต้พลาสติกคลุม หากไม่มีหยดน้ำจับพลาสติกหรือมีน้อย ให้รดน้ำลงบนพื้นดินระหว่างแปลงเพาะ

- หลังวันเพาะ 5 วัน ให้เปิดช่องระบายอากาศ ขนาด 1 ฝ่ามือทั้งหัวและท้ายร่อง

- สังเกตดูเชื้อรา หากมีเชื้อราปะปนให้รีบกำจัดทันที

- หลังวันเพาะ 9 - 10 วัน เห็ดจะเริ่มงอก

9. การเก็บเกี่ยว 

- เก็บเมื่อได้ขนาด ดอกโตเต็มที่แต่ไม่บาน

- พยายามให้กระทบกระเทือนน้อยที่สุด

- ใช้มีดจับดอกเห็ดหมุนไปทางใดทางหนึ่งพร้อมดึงขึ้น

- ดอกที่งอกบนดินควรใช้มีดตัดดอกเห็ดขึ้นมา อย่าดึงด้วยมือ

- เวลาเก็บ ขึ้นกับความต้องการของตลาด

- เก็บวันละ 1 ครั้ง ทุกวัน นานประมาณ 15 วัน ต่อรอบ

10. การตัดแต่งดอกเห็ด 


* ใช้มีดที่บางและคม

* ตัดตีนให้สะอาดเรียบร้อย

* ตัดแต่งดอกที่เป็นผิวคางคกให้เรียบร้อยไม่เสียราคา

11. การคัดเกรด

- ขนาดใหญ่ (33 บาท/ก.ก.)

- ขนาดเล็ก (16 บาท/ก.ก.)

- ดอกบาน (10 บาท/ก.ก.)

การจำหน่าย

มีจุดรับซื้อ ในตำบล 3 จุด พร้อมบริการวัสดุอุปกรณ์

หมายเหตุ

•  ห้ามทำซ้ำที่

• พลาสติกคลุมต้องทำความสะอาดโดยการซักน้ำทุกครั้งก่อนนำไปใช้ครั้งต่อ ๆ ไป

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอไชยา 0-7743-1033

ประวัติการเพาะเห็ดจากทะลายปาล์ม


เดิมทีนั้นเห็ดฟางสามารถขึ้นได้เอง ตามหัวไร่ชายนา จากเศษหญ้า กองฟางทั่วไปและได้มีการพัฒนาการเพาะเห็ดฟางเพื่อการค้ากันอย่างแพร่หลาย ซึ่งวัสดุที่นำมาเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะเห็ดฟางได้แก่ฟางข้าว ซึ่งเป็นวัสดุหลงเหลือจากการทำนา จึงเป็นที่มาของ ชื่อ “ เห็ดฟาง ” ซึ่งเรียกตามลักษณะของเห็ดที่ขึ้นตามกองฟาง

ปัจจุบันการเพาะเห็ดฟางได้พัฒนาไปอีกรูปแบบหนึ่ง คือแทนที่จะใช้วัสดุฟางข้าวเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะ เกษตรกรได้หันมาใช้ทะลายปาล์มเป็นวัสดุในการเพาะ ส่วนเชื้อเห็ดที่นำมาเพาะยังคงใช้เชื้อเห็ดฟางเช่นเดิม ดังนั้นการเรียกชื่อเห็ดที่ได้จากการเพาะจากทะลายปาล์ม

น่าจะเรียกว่า “ เห็ดทะลายปาล์ม ” ถ้าหากชื่อยาวเกินไปไม่สะดวกต่อการเรียกขาน อาจเรียกว่า “ เห็ดปาล์ม ” ก็ดูจะเข้าทีไม่น้อย

สำหรับทะลายปาล์มซึ่งนำมาเพาะเห็ดนั้นเป็นวัสดุเหลือใช้จากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มซึ่งมีอยู่มากมายเมื่อก่อนเคยเป็นปัญหากับทางโรงงานที่จะต้องเป็นภาระในการขนย้ายไปทิ้ง แต่หลังจากมีการนำทะลายปาล์มมาเพาะเห็ด ทำให้โรงงานมีรายได้กับการขายทะลายปาล์มอีกทางหนึ่งและทะลายปาล์มหลังจากใช้ในการเพาะเห็ดแล้วยังสามารถนำไปใช้คลุมโคนต้นไม้และทำปุ๋ยได้ อีกนับเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า (ทะลายปาล์ม 1 คันรถ 6 ล้อ ราคา 1,200 บาท)

ประวัติ การเพาะเห็ดฟางทะลายปาล์ม ของอำเภอไชยา

การเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มน้ำมัน อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อปี 2536 มีการส่งเสริมการเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม ในเขตพื้นที่ชลประทาน หมู่ที่ 2,5 ตำบลป่าเว ซึ่งมีเกษตรกรได้รวมกลุ่มการเพาะเห็ดฟาง จำนวน 27 ราย โดยทางสำนักงานเกษตรอำเภอไชยา ได้จัดให้มีกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรตามแผนพัฒนาชนบท ด้วยสาเหตุนี้ ในช่วงปลายปี 2538 ได้มีการขยายผลวิธีการวิธีการเพาะเห็ดฟางไปสู่ท้องถิ่นอื่น ได้แก่ ตำบลทุ่ง ตำบลพุมเรียง ตำบลตะกรบ สำหรับการเพาะเห็ดฟางในอำเภอไชยา ขณะนี้ได้มีการรวมกลุ่มการเพาะเห็ดฟางในบางหมู่บ้าน และจัดทำเป็นรายครัวเรือน รวมสมาชิกทั้งหมด 131 ครัวเรือน จะมีพ่อค้าเข้ามาบริการจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์และรับซื้อผลผลิตเห็ดในท้องถิ่น จำนวน 3 – 5 รายนำไปขายในจังหวัดต่าง ๆ เช่น ภูเก็ต กระบี่ พังงา กรุงเทพฯ ทำให้เกษตรกรไม่มีปัญหาเรื่องการจำหน่าย และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน ประมาณเดือนละ 3,000-5,000 บาท ผลผลิตรวมในพื้นที่ออกจำหน่ายไม่ต่ำกว่าวันละ 300 ก.ก. ขณะนี้ราคารับซื้อจากพ่อค้าราคา ก.ก. ละ 30-33 บาท

ข้อมูลการเพาะเห็ดฟางทะลายปาล์ม

1. พื้นที่เพาะเห็ดฟางทะลายปาล์ม ปัจจุบันมีเกษตรกรเพาะเห็ดฟางทะลายปาล์มในท้องที่ หมู่ที่ 1,3,4,5 ตำบลตะกรบ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำการเพาะเห็ดตลอดทั้งปี และมีเกษตรกร บางส่วนของตำบลทุ่ง จะทำการเพาะเห็ดเฉพาะช่วงฤดูกาล คือ หลังจากเก็บเกี่ยวข้าว (เดือนธันวาคม) ระยะเพาะประมาณ 5 เดือน

2. จำนวนเกษตรกรผู้เพาะเห็ดฟางทะลายปาล์ม

2.1 เพาะเห็ดตลอดปีประมาณ 131 ราย

2.2 เพาะเห็ดช่วงฤดูกาลหลังเก็บเกี่ยวประมาณ 35 ราย

3. รายได้จากการเพาะเห็ดฟางทะลายปาล์ม เกษตรกรมีรายได้จากการเพาะเห็ด เฉลี่ยรายละ 3,000 – 5,000 บาท ต่อเดือน

4. กำลังการผลิต

4.1 เกษตรกรเพาะเห็ดได้เฉลี่ย 3 ก.ก. ต่อวัน คิดเป็นรายได้ 120 บาทต่อวัน (ราคาเห็ด ก.ก. ละ 30-33 บาท)

4.2 กำลังการผลิตรวมของอำเภอ เฉลี่ยวันละ 300 ก.ก. ต่อวัน คิดเป็นมูลค่าวันละ 9,000-9,900 บาท ต่อวัน หรือ 270,000 – 326,700 บาท ต่อเดือน (3,240,000 – 3,920,400 บาทต่อปี)

ระยะการปฏิบัติงาน 20 – 25 วัน

ผลที่เกิดขึ้นจากการส่งเสริมการเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม

•  เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว เดือนละ 3,000 – 5,000 บาท

•  ผลผลิตรวมในพื้นที่ออกจำหน่ายไม่ต่ำกว่าวันละ 300 ก.ก. ๆ ละ 40 บาท

•  เป็นการทำกิจกรรมอาชีพแบบครบวงจร โดยมีพ่อค้านำทะลายปาล์มและวัสดุอื่นมาจำหน่าย และรับซื้อเห็ดฟางถึงในไร่นา เกษตรกรไม่ต้องเสียเวลาในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์และเสี่ยงกับภาวะด้านการตลาด และราคาผลผลิต

•  เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นกลุ่มอาชีพที่มั่นคงในโอกาสต่อไป

•  มีการใช้เวลาว่างจากการประกอบกิจกรรมอื่นให้เกิดประโยชน์ เป็นการกระจายแรงงานที่เหมาะสม

•  มีอาหารประเภทผัก ไว้บริโภคในครัวเรือน เป็นการเพิ่มอาหารโปรตีน และลดค่าใช้จ่าย

•  เศษทะลายปาล์ม นำไปใช้ในการปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชอื่น เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืนถาวรต่อไป

ข้อมูลจาก
chaiya.suratthani.doae.go.th/20.html

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 17159 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ผักและการปลูกผัก]:
กระเทียมใบไหม้ กระเทียมใบแห้ง ใบจุด โรครา เพลี้ยไฟ ไร แก้ไขได้ ให้ถูกวิธี
สาเหตุหลักเลย ที่ทำให้ โรคและแมลงศัตรูพืช เข้าโจมตี หรือเข้าทำลายต้นกระเทียมได้ง่าย เพราะเกิดจาก กระเทียมอ่อนแอต่อโรค
อ่านแล้ว: 8105
มะเขือเทศใบไหม้ มะเขือเทศใบเหลือง ใบหงิก ต่างอาการ ต่างสาเหตุ แก้ต่างวิธี
ต้นเหตุหลักๆที่แท้จริงเลยคือ มะเขือเทศ ได้รับธาตุอาหารที่เป็น ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ไม่เพียงพอ
อ่านแล้ว: 6723
มะเขือเทศใบเหลือง มะเขือเทศใบหงิกเหลือง มะเขือเทศใบด่าง ป้องกันได้ โดยการกำจัดแมลงศัตรูพืช
ใบอ่อนหดย่นเป็นคลื่นมีขนาดเล็กกว่าปกติ และใบยอดที่ปลายกิ่งบิดเกลียว ต้นชะงักการเจริญเติบโต ติดผลน้อย ผลด่าง
อ่านแล้ว: 6741
โรคราพริก โรคใบจุดตากบ ส่งผลใบพริกร่วง ชะงักการโต ผลผลิตลดลง
โรคใบจุดตากบ หากระบาดรุนแรง ใบพริกจะร่วง การออกดอกและการให้ผลผลิตจะต่ำลง โรคสามารถจะลุกลามไปที่ กิ่ง การ ผล ได้
อ่านแล้ว: 8354
พืชตระกูลแตง เป็นปื้นเหลืองบนใบ แห้งตาย เพราะ โรคราน้ำค้าง ควรเร่งแก้ไข
โรคราน้ำค้าง สร้างความเสียหายให้กับพืชตระกูลแตง ปล่อยไปถึงตายได้ ลักษณะการระบาดของ โรคราน้ำค้าง นี้ อาการที่แสดง..
อ่านแล้ว: 7478
โครงการหลวงปังค่า หนุนเกษตรกรพะเยา ปลูกมะเขือเทศสร้างรายได้
ทำให้มีอาชีพสร้างรายได้ และจำหน่ายได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องราคา ได้ผลผลิต 2-3 ตันขายได้ราวๆ 75,000 บาทต่อรอบ
อ่านแล้ว: 7674
หอมญี่ปุ่น ปลูกได้ในไทย
ปัจจุบันมีการนำมาปลูกในประเทศไทยหลายพื้นที่ สำหรับดินที่เหมาะสมในการปลูกควรเป็นดินร่วนซุย
อ่านแล้ว: 6960
หมวด ผักและการปลูกผัก ทั้งหมด >>