"ผักมีวิตามิน ไม่ต้องกินของแพง" เนื้อหาส่วนหนึ่งในเพลง "เด็กดอยใจดี" พูดถึงประโยชน์ของแครอทที่ดีต่อสุขภาพ ปลูกแล้วยังนำมาเป็นของฝากให้คนอื่นๆ ในยุคที่ผักและวัตถุดิบในการปรุงอาหารมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ
ศิริกุล ซื่อต่อชาติ หรือ"พี่ป้อม" ปลูกผักปลอดสารทั่วบริเวณบ้านในซอยสุขุมวิท 71 นอกจากจะนำไปแบ่งปันเพื่อนบ้านในหลายโอกาส ยังติดป้ายอนุญาตให้คนในละแวกนั้นมาเอาพืชผลจากน้ำพักนำแรงตัวเองไปทานได้โดยไม่ต้องขอ
"คนเมืองปลูกผัก" กำลังเป็นวลีที่พูดกันอย่างกว้างขวางในหมู่คนกลุ่มหนึ่งในยุคปัจจุบัน แรงผลักดันส่วนหนึ่งที่เอื้อให้การเปลี่ยนจากผู้บริโภคมาเป็นผู้ผลิตได้รับความนิยม เพราะกระแสวิถีชีวิตเนิบช้า การพึงพาตนเองให้มาก และการใส่ใจต่อสุขภาพ อันเป็นความพยายามในการหลบเร้นชั่วขณะจากโลกวุ่นวายแบบ "สำเร็จรูป" ของสังคมเมืองใหญ่
เมื่อผู้บริโภคคนเมืองเริ่มปลูก "ผล" ที่ได้ไปไกลกว่าแค่ตัวเอง
“ในช่วงยุคที่เริ่มลงมือเปลี่ยนตัวเองจากผู้บริโภคเป็นผู้ผลิต กระแสผักปลอดสารเคมียังไม่ฮือฮามากเท่าในปัจจุบัน เมื่อมีโอกาสไปเดินตามตลาดสีเขียวที่จัดงานในลักษณะนี้จะเห็นข่าวประชาสัมพันธ์โครงการอบรมที่เปิดกว้างสำหรับผู้สนใจ จึงตัดสินใจเข้าเป็นส่วนหนึ่งเพื่อหาข้อมูลก่อนปฏิบัติจริง เพราะเราไม่มีพื้นฐานในการปลูกผัก เหมือนคนเมืองส่วนใหญ่ ถ้าศึกษาเองอาจจะยากกว่าการที่มีคนมาสอนให้เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่เหมาะสม” ศิริกุล กล่าว
พี่ป้อม เครือข่ายปลูกผักเผยต่อว่า ช่วงนั้นกินผักพวกไฮโดรโปนิกส์ เราไม่ได้คิดถึงเรื่องความปลอดภัย ยอมรับว่าเราไม่มีความรู้ พอได้มาอบรมถึงได้รู้ว่าผักที่ปลูกด้วยน้ำยังใช้สารเคมี เมื่อได้รับการถ่ายทอดวิชาตามสมควร การลงมือปลูกจึงเริ่มต้นขึ้น โดยเลือกปลูกผักที่ต้องใช้ในการทำครัวประจำวัน เช่น ต้นหอม ขึ้นฉ่าย เธอยังเรียนรู้เรื่องการ "ปรุงดิน" เพื่อให้ดินมีธาตุอาหารที่เหมาะ ประสบการณ์ที่สั่งสมในฐานะผู้ปลูกต่อยอดจนสามารถถ่ายทอดวิชาจนเป็นที่ยอมรับในฐานะวิทยากรเรื่องการปลูกผักที่น่าเชื่อถือ
จากการเริ่มต้นปลูกผักที่ใช้ประจำและผักสลัดที่ชอบเป็นการส่วนตัว เก็บเกี่ยวความรู้ทีละเล็กละน้อยและปฏิบัติออกมาเป็นขั้นตอนความรู้เรื่องต่างๆ สำหรับมือใหม่ที่บ่มเพาะความปรารถนาจะปลูกผักกินเองจนได้ที่ ด้วยการสนับสนุนจากโครงการสวนผักคนเมืองและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บ้านในซอยสุขุมวิท 71 จึงเปลี่ยนเป็น "ศูนย์อบรมปลูกง่ายๆ สไตล์คนเมือง บ้านป้อมเอง" ที่สอนการปรุงดิน การเพาะกล้า การย้ายกล้า และองค์ความรู้อื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับให้ผู้เรียนนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้จริงเมื่อต้องลงมือทำ
ในด้านข้อมูลพื้นฐานสำหรับคนที่อยากจะลงมือปฏิบัติ คือ "จะปลูกในบริเวณที่ผักรับแดดได้ ถ้าปลูกในที่ไม่มีแดดผักจะเฉา" แม้กะเพราและโหระพาอาจจะพอปลูกได้ในจุดที่แสงแดดไม่มาก นอกจากนี้ต้องแน่ใจว่ามีเวลาต้องดูแลรดน้ำ วางระบบของรอบผักที่จะโตและทำให้เรามีผักกินตลอด เป็นวงจรการปรุงดิน เพาะกล้าเก็บเกี่ยวที่ไม่ง่ายสำหรับคนที่ขาดความตั้งใจจริง
นอกจากนี้ยังต้องเอาใจใส่รดน้ำ ดูแลเรื่องแมลง การปลูกผักอาจจะเหมือนกับการปลูกต้นรักในแง่ที่ว่าเมื่อต้นกล้าที่เพาะไม่โตตามที่ต้องการ หรืออาจไม่สัมฤทธิ์ผล
สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องผักเพื่อสุขภาพ ถ้าจะลงมือปลูก อาจจะต้องลองผิดลองถูกบ้าง แนะนำว่าถ้ามีโอกาสเข้าอบรม จะช่วยให้ผิดพลาดน้อยลง คนเมืองที่ทำงานประจำอาจจะต้องเลือกปลูกอะไรที่เหมาะกับกำลังตัวเอง และสำหรับคนเมืองส่วนหนึ่งอาจจะคิดว่าตัวเองไม่พร้อม บทบาทของผู้ผลิตจึงยังไม่เริ่มต้นขึ้น ในฐานะผู้บริโภค เราคงต้องพยายามเลือกสิ่งที่เหมาะกับตัวเองที่สุด แต่ข่าวสารเรื่องผักในท้องตลาดปนเปื้อนอาจจะทำให้เกิดความหวั่นใจอยู่ไม่น้อย
"คับที่ปลูกได้" แนวคิดของ "โครงการสวนผักคนเมือง"
วัตุประสงค์เริ่มแรกของ "โครงการสวนผักคนเมือง" เกี่ยวเนื่องกับเรื่องเศรษฐกิจโดยตรง เพราะมองเห็นปัญหาของคนรายได้น้อยที่มีโอกาสเข้าถึงอาหารถูกสุขลักษณะไม่มากนัก หน่วยงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ที่ดำเนินงานร่วมกับภาคเครือข่ายอื่นๆ เช่น มูลนิธิศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนา และศูนย์อบรมเกษตรในเมือง โดยเริ่มปฏิบัติงานสนับสนุนผลักดันให้คนเมืองปลูกผักมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2533
นาถศิริ โกมลพันธุ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลและสื่อสาร และวรางคนางค์ นิ้มหัตถา ผู้ประสานงานโครงการสวนผักคนเมือง เผยว่า มูลนิธิฯ ทำงานภาคชนบทมาตลอดจนเริ่มตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงในเมือง รวมทั้งเรื่องสารวิถีใหม่คนเมืองบ่มเพาะความรักด้วยการเคมีในอาหาร ราคาของอาหาร เริ่มแรกทีมงานมูลนิธิฯ คิดถึงกลุ่มคนจนที่จะเข้าถึงอาหารปลอดภัยได้ยาก จึงร่วมกับหลายฝ่ายจัดโครงการ "กินเปลี่ยนโลก" มีการจัดประกวด "สวนผักบ้านฉัน" แล้วพบว่าในเมืองมีคนปลูกผักอยู่แล้ว เมื่อเห็นความเป็นไปได้ที่จะผลักดัน จึงรวมตัวกับภาคีนำเสนอ "โครงการสวนผักคนเมือง" ให้กับ สสส.
วัตถุประสงค์ของเรา คือ ให้คนปลูกผักกินเอง เน้นความปลอดภัย เมื่อทำงานไปเรื่อยๆ จึงได้เห็นมิติอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องเกษตรในเมืองที่ขยายขอบเขตไปถึงเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชนในเมือง สวนผักที่ช่วยบำบัดผู้ป่วยจิตเวช สวนผักที่ช่วยในการเรียนรู้ของเด็กเป็นต้น" สองสาวเล่าขยายความ
แม้การที่คนเมืองจะลงมือดูแลพืชผักอาจจะฟังดูไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่ไม่ถือว่าการนำเอาแนวคิดนี้มานำเสนอเป็นเรื่องยาก เพราะมาถูกจังหวะถูกเวลาในช่วงที่หลายคนให้ความสำคัญกับอาหารที่บริโภค "คนตอบรับค่อนข้างดี คนที่สนใจ คือ คนที่รักษาสุขภาพจริงๆ" นาถศิริ เผย
ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคที่หันมาปลูกเองเริ่มเข้าใจว่าผักสวยงามที่เห็นตามตลาดอาจเคลือบแฝงไว้ด้วยสารเคมีไม่น้อย ในภาพรวมของการทำงานปีแรก จุดมุ่งหมาย คือ มุ่งเน้นให้คนได้ลงมือปลูกผัก เข้าถึงอาหารปลอดภัย ลดรายจ่าย ช่วยคนจนในเมือง
ในช่วงปีแรก เราได้เห็นนวัตกรรมการปลูกผัก เพราะตอนนั้นยังเป็นเรื่องใหม่ คนพยายามจะก้าวข้ามข้อจำกัดในเรื่องแสงแดด อากาศ น้ำ พื้นที่ กลายเป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจ เช่นการปลูกผักบนดาดฟ้า ปลูกผักในกระถาง ต่อมาในปีที่ 2 การดำเนินงานเน้นขยายพื้นที่ไปนอกกรุงเทพฯ มากขึ้น การปลูกผักไม่ได้แค่เรื่องอาหาร แต่โยงถึงเรื่องความสัมพันธ์ของคนเมืองด้วย การปลูกผักเป็นตัวเชื่อมโยงทำให้คนเมืองที่ต่างคนต่างอยู่หันหน้ามาคุยกัน
เริ่มต้นจากการปลูกเอง เมื่อเหลือกินเหลือใช้จึงขยายสู่การแบ่งปันเพื่อนบ้าน โครงการปลูกผักจึงมีมิติในแง่การเป็นตัวขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระดับชุมชนอย่างที่เจ้าหน้าที่โครงการสวนผักคนเมืองชี้ให้เห็น ปัจจุบัน โครงการฯ คนเปิดให้ผู้วิถีใหม่คนเมืองบ่มเพาะความรักด้วยการสนใจนำเสนอโครงการปลูกผักเพื่อขอรับเงินสนับสนุนปีละประมาณ 30 โครงการ เงื่อนไขสำคัญ คือ ต้องเป็นการรวมกลุ่มตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ใช้พื้นที่ส่วนกลางในชุมชนดำเนินงาน ทีมงานจะส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ก่อนเริ่มต้น รวมทั้งหลังจากได้รับงบประมาณและเริ่มโครงการไปแล้ว
นอกจากนี้ ภาคีเครือข่ายที่สนับสนุนให้คนเมืองปลูกผักยังเข้มแข็งและจัดกิจกรรมอยู่เป็นประจำ มีการจัดสรรงบประมาณให้ศูนย์อบรมเกษตรถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้สนใจอยู่เสมอ "บ้านเจ้าชายผัก" "สวนผักบ้านคุณตา" และ "บ้านป้อมเอง" ที่เรานำเสนอข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายศูนย์อบรมเกษตรในเมืองของโครงการสวนผักคนเมือง
ผู้สนใจจะเรียนรู้เรื่องการปลูกผักที่อาจจะเปลี่ยนชีวิตของคุณไปโดยสิ้นเชิง หาข้อมูลจาก "โครงการสวนผักคนเมือง" ได้ที่เว็บไซต์ www.thaicityfarm.com หรือ เฟซบุ๊ค "สวนผักคนเมือง"
เราอยู่ในเมืองจริงๆ มีพื้นที่จำกัด การปลูกไม่ต้องลงพื้นดิน ทุกอย่างอยู่ในกระถางหมด เมื่อมาเรียนจะได้เห็นภาพของผักในกระถาง ไม่ต้องลงแปลง เพราะคนชอบบ่นว่าผักออร์แกนิกราคาสูง เมื่อผู้บริโภคลงมือปลูกผักเองก็จะเข้าใจว่ากว่าผู้ผลิตจะได้ผลผลิตมาสักต้นหนึ่งต้องใช้อะไรบ้าง ต้องทุ่มเทอะไรบ้าง
อ้างอิง:
thaihealth.or.th
หนังสือพิมพ์นิวร้อยแปด
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต