ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: นาข้าว | อ่านแล้ว 21468 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

จากข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร

ข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารโดยวิธีการตำข้าว วิธีการตำข้าวแบบเดิมของชาวอีสานนั้นเป็นการกระเทาะแยกเอาเปลีอกหุ้มจากเมล็ดข้าว..

data-ad-format="autorelaxed">

โรงสีข้าวโบราณ

จากข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร- ครกกระเดื่อง ครกมอง(โรงสีข้าวสมัยโบราณ) ก่อนที่จะมีโรงสีข้าวนั้น ครกกระเดื่องเป็นเครื่องมือสำคัญในการแปรรูปข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารโดยวิธีการตำข้าว วิธีการตำข้าวแบบเดิมของชาวอีสานนั้นเป็นการกระเทาะแยกเอาเปลีอกหุ้มจากเมล็ดข้าว เริ่มแรกใช้วิธีการ ทุบข้าว ต่อมาใด้ทำครกตำข้าวขึ้น 2 รูปแบบคือ ครกซ้อมมือ และครกกระเดื่องหรือครกมองมีรายละเอียดดังนี้

ครกมือ เป็นครกตำข้าวที่ใช้มือจับสากตำข้าวเปลือกส่วนประกอบของครกมือ มีดังนี้

1. ตัวครก เป็นท่อนไม้ขนาดใหญ่ ที่มีความยาวประมาณ 80-90 เซนติเมตรมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ50-60 เซนติเมตรเจาะตรงกลางเป็นร่องลึกโดยใช้ขวานฟันเอาแกลบใส่เป็นเชื้อและจุดไฟเผาส่วนกลางของท่อนไม้ เผาเป็นโพรงให้มีขนาดลึกตามต้องการ ขัดภายในให้เกลี้ยงเกลา ตัวครกมีสองขนาด คือ ครกขนาดใหญ่ และครกขนาดเล็กทำด้วยไม้เนื้อแข็ง

2. สาก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มีความยาวขนาดสองเมตร มีลักษณะปลายทั้งสองข้างโค้งมน หัวสากทุ่มนใหญ่ ปลายสากมนเรียวเล็ก ตรงกลางลำตัวสากคอดกลมกลึงพอดีกับมือกำอย่างหลวม ปลายสากมีไว้ตำข้าวตำ หัวสากมีไว้ตำข้าวซ้อม ผู้ตำข้าวซ้อมมือนี้ ตำกันเป็นกลุ่มครั้งละ 2-3 คน ผู้ตำข้าวส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน

วิธีตำข้าวมีลำดับดังนี้

1. นำข้าวที่จะตำไปผึ่งแดดหนึ่งวันเพื่อให้ข้าวแห้งจะบุบเปลือกง่ายขึ้น
2. นำข้าวมาเทลงในครกจำนวนพอเหมะ ใช้คนตำสองสามคนมีจังหวะการตำที่ไม่พร้อมกัน
3. ใช้เวลาในการตำข้าวนาน จนกว่าจะเหลือข้าวเปลือกจำนวนน้อยที่ปนอยู่ในข้าวสาร แล้วเก็บกากออก

ข้อดีของการตำข้าวด้วยครกมือ คือ เลือกสถานที่และเคลื่อนย้านที่ตำได้ตามต้องการ เพราะครกมือไม่ได้ฝังลงในดิน นอกจากนี้ครกมือใช้คนตำจำนวนน้อยประมาณ 2-3 คน
ข้อเสียของครกมือ คือ ใช้เวลาการตำนาน ออกแรงมาก ทำให้เหนื่อยเร็วและได้ ข้าวจำนวนน้อย

การตำข้าวด้วยครกมือนิยมมากเขตอีสานใต้ แถบจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ปัจจุบันมีผู้นำสากมาเป็นอุปกรณ์ประกอบการละเล่นพื้นเมืองเรียกว่าเรือนอันเร ซึ่งมีลัษณะคล้ายกับรำลาวกระทบไม้

ครกกระเดื่องหรือครกมอง ครกกระเดื่องเป็นเครื่องใช้ที่มีแทบทุกครัวเรือนโดยชาวบ้านนิยมทำไว้ข้างยุ้งข้าวเพื่อความสะดวก โดยมุงหลังคายื่นออกมากันแดดกันฝนเรียกว่า เทิบมองหรือเพิงมอง ถ้าบ้านใต้ถุนสูงจะตั้งครกไว้ใต้ถุนบ้าน ครกกระเดื่องเป็นครกตำข้าวที่มีพัฒนาการสูงกว่าครกมือ คือทุ่นแรงมากกว่า ตำข้าวได้ปริมาณมากและเร็วกว่าการตำด้วยครกมือ

ส่วนประกอบของครกกรเดื่องได้แก่

1. ตัวครก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง นิยมใช้ไม้สะแบงไม้แคน ไม้จิก ไม้แดง ซึ่งเป็นไม้เนื้อดี ทนทานต่อการฝังดิน ตัวครกทำจากท่อนไม้กลมยาวพอประมาณ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เมตร เจาะเป็นร่องลึกตรงกลางเหมือนครกทั่วๆ ไป โดยใช้ขวานฟันตรงกลา เอาแกลบ ใส่เป็นเชื้อและจุดไฟเผา ถ้ายังไม่ลึกพอก็ใช้ขวานฟัน และเผาต่อจนได้หลุมครกลึกตามต้องการ ขัดภายในให้เรียบร้อยและสวยงาม เหนือจากก้นครกถึงส่วนล่างสุดของไม้ประมาณหนึ่งศอก ฝังลงในดินให้แน่น

2. แม่มองหรือตัวมอง ทำจากไม้เนื้อแข็งทั้งต้นนิยมใช้ไม้สมอไทยเพราะเนื้อแข็ง เหนียวและทนทาน เพื่อไม่ให้หักแล แตกง่ายเวลาตอกลิ่นที่หัวแม่มองหรือได้รับการกระแทกเวลาตำข้าว ตัวมองแบ่งเป็นส่วนสำคัญสองส่วนคือหัวแม่มองและหางแม่มอง หัวแม่มอง คือส่วนที่เป็นโคนของต้นไม้เป็นส่วนที่เพิ่มน้ำหนักในการตำข้าวทำให้เปลือกหุ้มข้าวที่ตำกระเทาะเร็วหรือช้าได้ ถ้าหัวแม่มองสั้นน้ำหนักกระแทกลงน้อยเปลือกจะกะเทาะช้า ถ้าหัวแม่มองยาวจะทำให้ออกแรงตำมากเปลือกข้าวจะกะเทาะเร็ว การเจาะรูทะลุสำหรับใส่สากมอง ควรกะระยะห่างจากหัวแม่มองพอสมควร ไม่สั้นหรือยาวจนเกินไป หางแม่มอง คือส่วนที่อยู่ปลายของลำต้นและเป็นส่วนที่ใช้เท้าเหยียบเพื่อจะให้แม่มองกระดกขึ้นเวลาตำข้าวหาง แม่มองจะบากหรือถากออกเล็กน้อยกันไม่ให้ลื่นดินบริเวณใต้หางแม่มองจะขุดเป็นหลุมเรียกว่าหลุมแม่มอง ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยให้การตำข้าว ได้ผลดี ถ้าไม่มีหลุมแม่มอหางแม่มองจะยกไว้สูงสากมอง ที่ใช้กับครกมองต้องใช้ให้ถูกกับขั้นตอนข้าว เวลาตำข้าวจะต้องออกแรงมาก

3. เสาแม่มองและคานมอง เสาแม่มองอยู่ค่อนไปทางหางแม่มองประกอบด้วย เสาสองต้นปักดินให้แน่นเสาแม่มองเป็นไม้เนื้อแข็งเหนียวและทนทาน เพราะต้องรับแรงเสียดสีจากคานแม่มองทั้งรับน้ำหนักแม่มองและสากมอง ถ้าเสาทำจากไม้ไม่ดีจะสึกและพังเร็ว คานแม่มองเป็นส่วนของไม้ที่สอดเพื่อยึดตัวมองกับเสาแม่มองอยู่ค่อนไปทางหางแม่มอง ซึ่งบางแห่งนิยมทำสลัก เพื่อไม่ไห้ตัวมองเลื่อนไปทางใดทางหนึ่ง

4. สากมอง สากเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ การตำข้าวจะเสร็จและได้เมล็ดข้าวสวยหรือไม่ขึ้นอยู่กับสาก สากทำจากไม้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะคือมีน้ำหนักเหนียวแข็งและมัน ได้แก่ ไม้ค้อและไม้หนามแท่ง ข้าวจะไม่ติดสากหากทำจากไม้ดังกล่าว สากมองมีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตรมีสามชนิดคือ สากตำ มีขนาดเล็กพราะต้องการให้กระแทรกถึงก้นครก ขณะที่ตำข้าวและข้าวจะกะเทาะเปลือกเร็ว

สากต่าว มีขนาดใหญ่กว่าสากตำใช้ตำข้าว ให้เป็นข้าวกล้อง เปลือกข้าวจะออกมากกว่าข้าวตำสากซ้อม เป็นสากที่มีขนาดใหญ่ ใช้ตำเพื่อขัดข้าวในชั้นสุดท้าย การใช้สากทั้งสามชนิดนั้นใช้ตำข้าวแต่ละขั้นตอนที่แตกต่างกัน ถ้าใช้สากผิดชนิดจะทำให้ข้าวที่ตำนั้นเป็นข้าวหักหรือเมล็ดข้าวไม่สวย

5. ลิ่มแม่มอง ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เหนียวและทนทาน เพราะได้รับแรงกระแทกอยู่ตลอดเวลา ใช้สำหรับตอกเสริมสาก เพื่อยึดสากมองกับแม่มองให้แน่น ทุกครั้งที่ตำข้าวผู้ตำจะต้องคอยตอกลิ่มให้แน่นอยู่เสมอ เพราะถ้าลิ่มไม่แน่นจะทำให้สากหลุดจาก หัวแม่มองที่เจาะเป็นรูทะลุ อาจกระเด็นออกไปถูกผู้ที่อยู่บริเวณไกล้เคียง ทำให้ได้รับบาดเจ็บหรืออันตรายได้

6. หลักจับ เป็นหลักไม้สำหรับผู้ตำข้าวใช้จับพยุงตัวเวลาตำข้าว หลักจับมักจะบักคร่อมที่หางแม่มองทำจากไม้ไผ่หรือไม้ที่หาได้ง่าย ๆ ในท้องถิ่น

วิธีตำข้าวด้วยครกกระเดื่อง การตำข้าวเป็นงานประจำของสตรีทั้งแม่และลูกสาว อาจตำเวลาเช้าตรู่เมื่อไก่ขันหรือตำเวลากลางคืนก็ได้ การตำข้าวด้วยครกกระเดื่องจะใช้ผู้ตำ3-4 คน เหยียบที่หางแม่มองคนละข้าง น้ำหนักเท้าคนตำเมื่อเหยียบ ที่หางแม่มองจะทำให้หางแม่มองลดต่ำลงไปในหลุมแม่มองแม่มองจะกระดกขึ้นและยกสากที่หัวแม่มองขึ้นด้วย เมื่อปล่อยเท้าหางแม่มองจะถูกยกขึ้น สากมองจะตกลงไปในครกทำให้สากกระทบข้าวเปลือกหลาย ๆ ครั้ง เปลื่อกข้าวจะกะเทาะออกแยกเป็นเมล็ด ข้าวและแกลบการตำข้าวจะได้เมล็ดข้าวสวยหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับจังหวะของการตำข้าวซึ่งมีอยู่ สองจังหวะ คือ ตำเป็นบาท คือจังหวะการตำช้า เป็นจังหวะเนิบๆ ทิ้งช่วงช้าๆ จังหวะการตำข้าวเช่นนี้จะทำให้ข้าวหัก เมล็ดข้าวไม่สวยเพราะจังหวะการกระแทกสากลงที่ครกจะมีน้ำหนักมากและทิ้งช่วงนาน ตำสักกะลัน คือจังหวะการตำเร็ว เป็นช่วงจังหวะถี่ๆ เร็วสม่ำเสมอจะทำให้ได้ข้าวเมล็ดสวย ขั้นตอนการตำข้าวมีดังนี้

1. ตักขาวจากยุ้งใส่กระบุงหรือตะกร้าเทลงในครกกระเดื่อง ปริมาณที่ตำแล้วแต่ความต้องการ ส่วนใหญ่ตำสำหรับ บริโภควันเดียว

2. สวมสากตำ ตอกลิ้นเสริมสากให้แน่ใช้เวลาตำประมาณ 15-20 นาที การตำตอนนี้เรียกว่า ตำแหลมเปลือกหรือตำบุบ ข้าวที่ตำเสร็จแล้วเรียกว่า ข้าวตำตักข้าวตำออกจากครกใส่เขิงร่อน แล้วเทออกจากเขิงใส่กระดังฝัดเรียกว่า ฝัดตำส่วนที่ได้จากการฝัดเป็นแกลบหรือเปลือกข้าว

3. เปลี่ยนสากตำออก สวมสากต่าวแทน ตอกลิ้นให้แน่นเทข้าวตำที่ฝัดแล้วลงในครก การตำตอนนี้เรียกว่าตำต่าว ใช้เวลาในการตำมากกว่าครั้งแรกเล็กน้อย ข้าวที่ตำเสร็จแล้วเรียกว่าข้าต่าวหรือข้าวกล้องตักข้าวออกใส่เขิงร่อน ส่วนที่ได้จากการร่อนจะเป็นแกลบละเอียด หรือรำ เทข้าวที่ร่อนแล้วใส่กระด้งฝัดเรียกว่าฝัดต่าว

4. เปลี่ยนสากต่าวออก สวมสากซ้อมเข้าแทน ตอกลิ้นให้แน่น เทข้าวต่าวหรือข้าวกล่องลงในครก ใช้เวลาตำประมาณ 20 นาที จะได้ข้าวซ้อมมือ ซึ่งมีข้าวสารปนกับข้าวปลายหักและข้าวเปลือกเล็กน้อยใส่เขิงร่อนจะได้ปล่อยข้าวและรำออ่นนำข้าวที่ร่อนแล้วไปทิกด้วยกระด้งเรียกว่าทิกข้าว และฝัดเพื่อแยกข้าวสารออกจากข้าวเปลือก ผู้ทิกข้าวจะต้องอาศัยความชำนาญ เมื่อทิกข้าวแล้วส่วนที่ไม่ต้องการ เช่น ข้าวเปลือกหรือปลายข้าวจะรวมอยู่ที่ส่วนปลายของกระด้ง เพื่อสะดวกในกรเก็บข้าวเปลือกออกจากข้าวสาร เมื่อฝัดข้าวเสร็จแล้วจะได้ข้าวสารที่มีข้าวเปลือกปนอยู่เล็กน้อยเรียกว่ากาก ผู้ตำข้าวต้องเก็บกากออกถึงจะได้ข้าวสารที่ต้องการ

ต่อมาในปัจจุบันไม่นิยมใช้ครกมือ และครกกระเดื่องหรือครกมองแล้ว เพราะใช้เวลานาน ใช้คนในการทำเยอะ ต้องอาศัยความชำนาญ แรงมือ ถึงจะได้ข้าวที่ออกมาอย่างมีคุณภาพ จึงนิยมหันมาใช้โรงสีข้าวแทน โดยใช้เครื่องจักรในการแปรรูปข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสาร ใช้ระยะเวลาน้อยกว่าครกมือ และครกกระเดื่อง ข้าวสารที่ได้จะเป็นมาตรฐานเดียวกัน และได้ปริมาณข้าวสารที่มากกว่าอีกด้วย

อ้างอิง : http://thairicebuu.wordpress.com

 

 

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 21468 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

วีรภัทรา พาร์ทเทร์
[email protected]
เดินตามรอยพ่อเป็นทางที่มั่นคงและอบอุ่นเป็นชีวิตที่มีแสงสว่างนำทางเงินไม่ใช่สิ่งสำคัญทุกอย่างเสมอไปความสูขที่มีคำว่าพออยู่ในใจต่างหากเป็นความที่แท้จริง
05 พ.ค. 2555 , 12:00 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [นาข้าว]:
ข้าวใบเหลือง ขอบใบข้าวม้วน ยอดใบข้าวมีจุดประสีขาว เพราะขาดธาตุต่างกัน ปล่อยไว้ผลผลิตลด
ธาตุรองธาตุเสริมต่างๆ ที่จำเป็นต่อพืช ถูกพืชดึงไปใช้ทุกๆครั้งที่ปลูก จึงค่อยๆหมดไป เราเติมได้ พืชจะสมบูรณ์ ผลผลิตสูงขึ้น
อ่านแล้ว: 7938
ตั๊กแตน กัดกินใบข้าว ทำผลผลิตลด ป้องกันและกำจัดด้วย มาคา กำจัดแมลง
ใบข้าวแหว่ง หากจะบาดมาก โดนตั๊กแตน โลกัสต้าโจมตี จะกินใบข้าวจนหมดทั้งใบ สร้างความเสียหายในนาข้าว
อ่านแล้ว: 8332
หนอนกอ ที่ทำลายต้นข้าว ป้องกันและ กำจัดหนอนกอ
หนอนกอ จะเข้าทำลายต้นข้าวในระยะข้าวแตกกอ หนอนกอจะเข้ากัดกิน ทำลายในส่วนที่เป็นท่ออาหาร ท่อน้ำของลำต้นข้าว
อ่านแล้ว: 9629
ลุ้นส่งออกข้าวสถิติสูงสุด คาดปีนี้ทะลุ11ล้านตัน
ส่งออกข้าวไทย 11 เดือน พุ่ง 21.01% ปริมาณ 10.42 ล้านตัน ขณะที่ราคาหอมมะลิปรับสูงขึ้นทำสถิติสูงสุดรอบ 4 ปี
อ่านแล้ว: 8024
สิ้น จำนำข้าว 3 ปี 300 โรงสีม้วนเสื่อ
โรงสีกระทบหนัก ปิดตัวแล้วกว่า 300 แห่ง เหตุไม่ปรับตัวแตกไลน์ธุรกิจ ขณะแข่งเดือดแย่งข้าวเปลือก หลังกำลังสีแปรรวมมากกว่า..
อ่านแล้ว: 8305
พาณิชย์ยัน ข้าวเปลือกหอมมะลิราคาไม่ตก
กระแสข่าวราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกหอมจังหวัด มีราคาตกต่ำ ไม่เป็นความจริง
อ่านแล้ว: 8067
พาณิชย์เลือกเอกชน2ราย เอ็มโอยูตั้งตลาดกลางข้าว
พาณิชย์ดันตลาดไทตลาดต่อยอด ร่วมจัดตั้งตลาดกลางข้าวสาร ลงนามเอ็มโอยูต้นเดือน ธ.ค. เปิดให้บริการได้เดือน พ.ค. 2561
อ่านแล้ว: 7936
หมวด นาข้าว ทั้งหมด >>