ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: นาข้าว | อ่านแล้ว 6903 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ชาวนา ..ต่อยอด ไอเดียลดปลูกข้าว เริ่มต้นที่..องค์ความรู้

ชาวนา

บทเรียนจากภาวะ ภัยแล้ง ชาวนา ที่นับวันจะมีความถี่และช่วงเวลายาวนานขึ้น สร้างความเสียหายแก่ภาคเกษตรกรรมมหาศาล

data-ad-format="autorelaxed">

บทเรียนจากภาวะ “ภัยแล้ง” ที่นับวันจะมีความถี่และช่วงเวลายาวนานขึ้น สร้างความเสียหายแก่ภาคเกษตรกรรมมหาศาล โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวนอกระบบชลประทาน ชาวนาเดือดร้อนเลือดตาแทบกระเด็น

รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์จึงมีนโยบายจูงใจให้พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกข้าว ไปประกอบอาชีพเกษตรกรรมอื่นที่มีโอากสมากกว่า

ล่าสุด คณะรัฐมนตรีมติอนุมัติมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ปีการผลิต 2559/60 รวม 5 โครงการ ใช้วงเงิน 15,597.340 ล้านบาท ประกอบด้วย

1.โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงกระบือ ส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงกระบือรายละ 5 ตัว และปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวมาปลูกพืชอาหารสัตว์ทดแทนรายละ 5 ไร่

2.โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ ส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงแม่โคเนื้อรายละ 5 ตัว และปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวมาปลูกพืชอาหารสัตว์ทดแทนรายละ 5 ไร่

3.โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงแพะ ส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงแพะ รายละ 32 ตัว และปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมมาปลูกพืชอาหารสัตว์ทดแทนรายละ 5 ไร่

4.โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการทำนาหญ้าเนเปียร์ เพื่อเป็นอาหารสัตว์และจำหน่ายในเชิงการค้ารายละ 5 ไร่

5.โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสมเป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น โดยรัฐบาลจะให้เป็นเงินจ่ายขาดสำหรับชาวนาที่เสนอแผนเลิกปลูกข้าวไปทำอาชีพอื่นไร่ละ 5,000 บาท

กำหนดเป้าหมายลดพื้นที่นาข้าว 570,000 ไร่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจะสนับสนุนเงินกู้ โดยรัฐบาลอุดหนุนดอกเบี้ยให้ 3% และเกษตรกรออกเองอีก 2%

เป็นข้อเสนอภาครัฐในฐานะผู้ให้ แต่จะตอบโจทย์ตรงใจผู้รับอย่างไร

สุเทพ คงมาก นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ให้ความเห็นสนับสนุน เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีทางเลือกเพิ่มขึ้น แต่ฝากข้อเสนอแนะผ่านไปยังรัฐบาลว่า เวลาจะออกนโยบายอะไรออกมา อยากให้มาทำความเข้าใจและถามเกษตรกรก่อนว่าต้องการอะไร ไม่เช่นนั้นเมื่อนโยบายออกมาจริงๆ ผลประโยชน์อาจไม่ตกอยู่กับเกษตรกรโดยตรง อย่างมาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสำหรับให้ชาวนารวมกันทำนาแปลงใหญ่ที่ ครม.อนุมัติเมื่อต้นปี ขณะนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ก็ยังไม่รับทราบและยังไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการเลย

คงฤทธิ์ บัวบุญ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดมหาสารคาม ให้ความเห็นสนับสนุนว่าที่ผ่านมาผลผลิตข้าวออกมามากจนล้นตลาด ทำให้ข้าวขายไม่ได้ราคา ทำไปขาดทุนไป ฉะนั้นเกษรตรกรต้องปรับเปลี่ยนวิถีใหม่ เช่น เปลี่ยนมาเลี้ยงโค สัตว์เศรษฐกิจที่เกษตรกรสามารถกำหนดราคาได้ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับสิทธิพิเศษในเรื่องเงินมาลงทุนที่รัฐคิดดอกเบี้ย 5% ต่อปี โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยให้ 3% เกษตรกรจ่ายเพียงแค่ 2% เท่านั้น

สำหรับจังหวัดมหาสารคามหากไม่ปลูกข้าวก็เหมาะจะทำการปศุสัตว์ เพราะเป็นวิถีของชาวบ้านอยู่แล้ว เพียงแต่เพิ่มเติมความคิด และระบบเครือข่ายเพื่อที่จะพัฒนาไปใช้ อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนควรเป็นเรื่องของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการว่าต้องการเปลี่ยนไปทำอะไร ไม่ใช่ภาครัฐเป็นผู้กำหนดว่าเกษตรกรคนนี้ต้องทำแบบนี้ ทุกอย่างอยู่ที่ตัวเกษตรกรเอง จะเลี้ยงอะไรก็ต้องให้เข้าวิถีชีวิตของตนเอง

ด้าน วลิต เจริญสมบัติ ประธานศูนย์ข้าวชุมชนจังหวัดราชบุรี กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวคิดรัฐบาลครั้งนี้ ในฐานะเป็นผู้นำภาคการเกษตรไม่อยากเห็นการทำนาที่ว่าประเทศไทยจะต้องเป็นอันดับ 1 ของโลกในเรื่องการส่งออกข้าว ขณะที่ชาวนาไทยยังยากจนอยู่ หากสามารถจะปรับเปลี่ยนได้ขณะที่ตลาดโลกทุกวันนี้ทำไมต้องแข่งกับเพื่อนบ้าน เมื่อได้รวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว ทำไมจึงไม่ทำการตกลงแต่ละประเทศว่า ควรทำการผลิตแต่ละประเทศจำนวนเท่าไร เช่น โค กระบือ แพะ ทำอย่างไรไม่ให้ล้นตลาดออกไป

นอกจากนั้นโครงการปลูกหญ้าเนเปียร์ที่กำลังส่งเสริม หลังจากประเทศไทยเพิ่งประสบภัยแล้งปีที่แล้ว ทำให้ต้องหันกลับมาคิดแล้วว่าจะต้องเตรียมการอย่างไร เพื่อให้ไม่ประสบปัญหานี้อีก การปลูกหญ้าเนเปียร์จะมีข้อจำกัด ไม่ใช่ว่าให้เงินลงมาไร่ละ 2,000 บาท หรือ 5,000 บาท จำเป็นจะต้องให้องค์ความรู้ด้วย การหมักหญ้าเนเปียร์เป็นอาหารเสริมสำหรับเลี้ยงวัว เพื่อเป็นทางเลือกของอาหารปลอดภัยควรจะต้องทำอย่างไรบ้าง ไม่ใช่สนับสนุนปลูกหญ้าเนเปียร์ลงมาแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำด้านการตลาดว่า มีความต้องการมากน้อยแค่ไหน ลองคิดดูหากประเทศไทยเลิกทำนาข้าวประมาณ 20% แล้วหันไปทำหญ้าเนเปียร์ เกษตรกรจะเอาหญ้าเนเปียร์ไปไว้ตรงไหน จะขายให้ที่ไหน ไม่เช่นนั้นจะเป็นปัญหางูกินหางต้องมาแก้ไขกันอีก

ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำคือการวางแผนให้ดี เกษตรกรจะอยู่ดีมีสุข เพราะอย่างไรเสียเกษตรกรจะต้องปรับเปลี่ยนอาชีพ ราคาข้าวขณะนี้เกวียน 7 พันบาท คงอยู่ไม่ได้

ขณะที่ชาวนาตัวจริงเสียง ธวัชชัย เอี่ยมจิตร ชาวนาใน อ.เมืองชัยนาท มองว่า โครงการดังกล่าวของรัฐบาลถือเป็นแนวทางที่ดี สามารถช่วยชาวนาได้ในระยะหนึ่ง แต่ยังเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่ตอบโจทย์ของเกษตรกร เพราะการสนับสนุนให้เลิกทำนาโดยให้เงินอุดหนุนหรือให้ทุนไปปลูกพืชชนิดอื่น

ข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับเรื่องอุดหนุนหรือไม่อุดหนุน เพราะจุดอ่อนของเกษตรกรไทยคือเรื่องขององค์ความรู้ เกษตรกรไทยมีความรู้แบบเชิงเดี่ยว คือเกษตรกรที่ปลูกข้าว ก็จะปลูกข้าวเป็นอย่างเดียว เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดก็จะมีความชำนาญในการปลูกข้าวโพดเพียงอย่างเดียว จะให้เกษตรกรกลุ่มนี้ไปทำอาชีพอื่นๆ เช่น ให้คนปลูกข้าวหันไปปลูกผัก คนปลูกข้าวโพดจะให้หันไปเลี้ยงสัตว์ หรือกลุ่มที่เคยปลูกข้าวจะส่งเสริมให้ไปเลี้ยงปลาเลี้ยงกบ บอกได้เลยมีแต่ขาดทุนกับขาดทุน

เหตุที่เป็นอย่างนั้น เพราะเกษตรกรเหล่านั้นขาดองค์ความรู้ใหม่ที่จะไปเริ่มทำ เงินที่อุดหนุนลงมาไม่ว่าจะเป็นการให้หรือกู้ยืมก็รังแต่จะสร้างภาระให้เกษตรกร

การแก้ปัญหา คือ สร้างองค์ความรู้ให้กลุ่มเป้าหมายอย่างจริงจังเสียก่อน ต้องมีการตั้งกรอบเวลาที่ยืดหยุ่นให้คนเหล่านั้นมีเวลาปรับตัว เพื่อให้เห็นผลจริงในการปรับเปลี่ยน ไม่ใช่เข้าไปส่งเสริมเพียงครั้งคราวแล้วปล่อยทิ้ง

คนเหล่านั้นเมื่อทำสิ่งที่ไม่ถนัดก็จะขาดทุน เมื่อขาดทุนจะหันกลับมาทำอาชีพเดิม ปัญหาจะวนกลับมาวงจรเดิม

นอกจากการสร้างองค์ความรู้อย่างจริงจังถาวรแล้ว ความต่อเนื่องทั้งการเป็นพี่เลี้ยง เป็นที่ปรึกษา และการสร้างตลาดรองรับ รวมถึงการพัฒนาต่อยอดก็เป็นสิ่งสำคัญที่รัฐบาลต้องมองมากกว่าเอาเงินลงไปถมด้วยการจ้างเลิกทำนา

ชาวนาปลูกข้าวมาตั้งแต่ปู่ย่าตาทวด จะให้ปรับเปลี่ยนวิถีดั้งเดิมคงไม่ง่ายเหมือนพลิกฝ่ามือ

ที่สำคัญถามไถ่พวกเขาหรือยัง ต้องการอย่างไร

credit: matichon.co.th/news/255969


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 6903 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [นาข้าว]:
ข้าวใบเหลือง ขอบใบข้าวม้วน ยอดใบข้าวมีจุดประสีขาว เพราะขาดธาตุต่างกัน ปล่อยไว้ผลผลิตลด
ธาตุรองธาตุเสริมต่างๆ ที่จำเป็นต่อพืช ถูกพืชดึงไปใช้ทุกๆครั้งที่ปลูก จึงค่อยๆหมดไป เราเติมได้ พืชจะสมบูรณ์ ผลผลิตสูงขึ้น
อ่านแล้ว: 7938
ตั๊กแตน กัดกินใบข้าว ทำผลผลิตลด ป้องกันและกำจัดด้วย มาคา กำจัดแมลง
ใบข้าวแหว่ง หากจะบาดมาก โดนตั๊กแตน โลกัสต้าโจมตี จะกินใบข้าวจนหมดทั้งใบ สร้างความเสียหายในนาข้าว
อ่านแล้ว: 8332
หนอนกอ ที่ทำลายต้นข้าว ป้องกันและ กำจัดหนอนกอ
หนอนกอ จะเข้าทำลายต้นข้าวในระยะข้าวแตกกอ หนอนกอจะเข้ากัดกิน ทำลายในส่วนที่เป็นท่ออาหาร ท่อน้ำของลำต้นข้าว
อ่านแล้ว: 9629
ลุ้นส่งออกข้าวสถิติสูงสุด คาดปีนี้ทะลุ11ล้านตัน
ส่งออกข้าวไทย 11 เดือน พุ่ง 21.01% ปริมาณ 10.42 ล้านตัน ขณะที่ราคาหอมมะลิปรับสูงขึ้นทำสถิติสูงสุดรอบ 4 ปี
อ่านแล้ว: 8024
สิ้น จำนำข้าว 3 ปี 300 โรงสีม้วนเสื่อ
โรงสีกระทบหนัก ปิดตัวแล้วกว่า 300 แห่ง เหตุไม่ปรับตัวแตกไลน์ธุรกิจ ขณะแข่งเดือดแย่งข้าวเปลือก หลังกำลังสีแปรรวมมากกว่า..
อ่านแล้ว: 8305
พาณิชย์ยัน ข้าวเปลือกหอมมะลิราคาไม่ตก
กระแสข่าวราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกหอมจังหวัด มีราคาตกต่ำ ไม่เป็นความจริง
อ่านแล้ว: 8067
พาณิชย์เลือกเอกชน2ราย เอ็มโอยูตั้งตลาดกลางข้าว
พาณิชย์ดันตลาดไทตลาดต่อยอด ร่วมจัดตั้งตลาดกลางข้าวสาร ลงนามเอ็มโอยูต้นเดือน ธ.ค. เปิดให้บริการได้เดือน พ.ค. 2561
อ่านแล้ว: 7936
หมวด นาข้าว ทั้งหมด >>