ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: นาข้าว | อ่านแล้ว 8349 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ถอดบทเรียน การปลูกข้าวของชาวนาญี่ปุ่น

เกษตรกรรายย่อยจากถือครองที่ดินเฉลี่ย 12 ไร่ แต่เมื่อรวมกลุ่มกันแล้ว ถือครองเพิ่มขึ้น 16 เท่า ขณะรายได้เพิ่มขึ้น 41 เท่า

data-ad-format="autorelaxed">

การปลูกข้าวของชาวนาญี่ปุ่น

การปลูกข้าว ของ ชาวนาญี่ปุ่น

 

พื้นที่ถือครองและรายได้ของเกษตรกรญี่ปุ่น หลังการรวมกลุ่ม พบว่า ก่อนการรวมกลุ่ม เกษตรกรรายย่อยจากถือครองที่ดินเฉลี่ย 12 ไร่ แต่เมื่อมีการรวมกลุ่มกันแล้ว มีพื้นที่ถือครองทำการเกษตรเพิ่มขึ้น 16 เท่า ขณะที่รายได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดถึง 41 เท่า

 

ข้าวที่มีชื่อเสียง คุณภาพดี ราคาสูงที่สุดของประเทศญี่ปุ่น อยู่ในจังหวัดนีกะตะ

 

ข้าวที่แพงที่สุดในโลก “กินเนสส์ บุ๊ก ออฟ เรคคอร์ด” บันทึกไว้ ณ 29 กรกฎาคม 2559 ก็อยู่เมืองโวนุมะ จังหวัดนีกะตะ

 

ข้าว 1 กิโลกรัมราคาเกือบ 4 พันบาท หรือ 11,304 เยน!!

 

ขณะที่ชาวนาญี่ปุ่น มีรายได้จากการปลูกข้าว 25 ไร่ 8 ล้านเยน หรือกว่า 2 ล้านบาท รายได้ขนาดนี้เท่ากับรายได้ของพนักงานบริษัทชั้นนำในกรุงโตเกียวเลยทีเดียว

 

กว่าจะก้าวมาถึงวันนี้ ญี่ปุ่นปลูกข้าวได้ผลผลิตและคุณภาพสูงได้ราคาดีนั้น ย้อนกลับไปในอดีต ญี่ปุ่นประสบปัญหาผลผลิตล้นตลาด คุณภาพข้าวที่ได้ไม่สม่ำเสมอ ทำให้ขาดดุล อีกทั้งยังพบว่า เกษตรกรญี่ปุ่นมีอายุมาก ซึ่งไม่ได้แตกต่างจากประเทศไทยในปัจจุบัน

 

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นในสมัยนั้นหันมาแก้ไขปัญหาเรื่องการส่งเสริมให้เกษตรกร ผลิตข้าวในปริมาณที่เหมาะสม ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร และตัดทิศทางการเกษตรให้มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพข้าวเป็นหลัก โดยให้เครื่องจักรกล และเทคนิกทางการเกษตรเข้ามามีบทบาทตั้งแต่เริ่มกระบวนการเพาะปลูกยันการเก็บ เกี่ยว อีกทั้งพัฒนาระบบการจัดจำหน่ายให้มีประสิทธิภาพ

 

นโยบาย 4 เสาหลัก

 

เทคนิกการปลูกข้าวให้ได้คุณภาพสูง หนึ่งในผู้อยู่เบื้องหลัง นายซึโตมุ มิยาโกชิ ที่ปรึกษาเชี่ยวชาญพิเศษ (ข้าว) อดีตที่ปรึกษาด้านเทคนิคการปลูกประจำบริษัท คูโบต้า คอร์ปอเรชั่น (ประเทศญี่ปุ่น) เล่าไว้ในงานสัมมนา “โลกเปลี่ยนไว ชาวนาไทยต้องปรับตัว” เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2559 จัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ กรมการข้าว และบริษัท คูโบต้า คอร์ปอเรชั่น (ประเทศญี่ปุ่น) ณ ห้องคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้วางนโยบายด้านการเกษตร ออกมาเป็น 4 เสาหลัก ซึ่งมุ่งหวังให้ภาคเกษตรเป็นการเกษตรที่มีประสิทธิผล

 

นโยบาย 4 เสาหลัก ได้แก่

 

1.นโยบายขยายความต้องการทั้งภายในและต่างประเทศ จากเดิมไม่มีนโยบายส่งออกผลิตผลทางการเกษตร แต่ต่อจากนี้ไปเริ่มสนใจการส่งออกพืชผลทางการเกษตร

 

2.การเพิ่มมูลค่าอย่างทวีคูณ เรียกว่า ยุทธศาสตร์ 6 ทวีคูณ สำหรับผลิตผลทางการเกษตร ขั้นที่ 1 การเกษตร ขั้นที่ 2 แปรรูป ขั้นที่ 3 จำหน่าย ซึ่งเมื่อนำตัวเลข 1+2+3 จะเท่ากับ 6 หรือแม้จะคูณคำตอบก็คือ 6

 

3.การสร้างความแข็งแกร่งให้กับเกษตรกร

 

และ 4.การจัดสรรงบประมาณสำหรับท้องถิ่น

 

สำหรับนโยบายการแก้ไขปัญหาผลผลิตล้นตลาดของรัฐบาลญี่ปุ่น นายซึโตมุ ชี้ว่า ข้าวของญี่ปุ่นช่วงที่ผ่านมาประสบปัญหาผลผลิตล้นตลาดแทบทุกปี รัฐบาลออกนโยบายจำกัดการปลูกข้าวไม่ให้ผลิตผลออกมามากเกินไป แต่สุดท้ายก็พบว่า ปริมาณการผลิต กับความต้องการของตลาด ไม่สอดคล้องกัน ทำให้มีปริมาณสต๊อกข้าวคงค้างเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งสาเหตุมาจากอายุเฉลี่ยเกษตรกรที่สูงขึ้น อัตราการเกิดลดน้อยลง รวมไปถึงการนิยมบริโภคข้าวลดลง จากเคยบริโภคข้าว 60 กิโลกรัมต่อคนต่อปี เหลือ 55 กิโลกรัมต่อคนต่อปี

 

“อีกทั้งรัฐบาลญี่ปุ่น เห็นว่า ในธุรกิจปศุสัตว์มีการนำเข้าข้าวโพด ข้าวสาลี ซึ่งเป็นอาหารสัตว์ปีละ 5 ล้านตัน ดังนั้นปีที่แล้ว รัฐบาลออกนโยบายเปลี่ยนจากการปลูกข้าวรับประทาน เป็นการส่งเสริมการปลูกข้าวสำหรับเป็นอาหารสัตว์แทน โดยรัฐสนับสนุนเงินประมาณ 6 หมื่นบาทต่อไร่ แต่หากเกษตรกรไม่ปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น เช่น ถั่วเหลือง ข้าวสาลี หรือผักผลไม้ก็จะได้เงินสนับสนุน 1.12-2.24 หมื่นบาทต่อไร่”

 

รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการรวบรวมพื้นที่ทำเกษตร

 

ส่วนพื้นที่ทำการเกษตร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รัฐบาลมีนโยบายรวบรวมพื้นที่เกษตรให้ได้ 80% ที่มาที่ไปเกษตรกรญี่ปุ่นรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งได้ เกิดจากนโยบายรัฐบาลที่ต้องการดูแลภาคเกษตรกรรมเพื่อรักษาความมั่นคงด้าน อาหารเอาไว้

 

ปัจจุบันประชากรญี่ปุ่น 209 ล้านคน 63.5% มีอาชีพเกษตรกร และอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป

 

“ชาวนาญี่ปุ่น นับวันยิ่งลดลง ขณะที่วัยหนุ่มสาวก็ไม่ได้เข้ามาเพิ่ม ขณะที่แรงงานสตรี กำลังสำคัญภาคเกษตรญี่ปุ่นก็ลดลง สังคมผู้สูงอายุ เกษตรกรสูงอายุ”

 

ประเทศญี่ปุ่นจะเกิดอะไรขึ้นหากสถานการณ์ยังคงเป็นแบบนี้ รัฐบาลญี่ปุ่น มองเห็นว่า รูปแบบการทำเกษตรก็ต้องแปรเปลี่ยนไป จนกระทั่งปัจจุบัน ผลจากนโยบายส่งเสริมการรวมพื้นที่ทำเกษตร ทำให้อัตราการเปลี่ยนแปลงของจำนวนพื้นที่ธุรกิจภาคการเกษตร “เกษตรกรรายเดี่ยว มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และการทำเกษตรที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น”

 

นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนจัดตั้งหน่วยงานกลางประจำจังหวัด เพื่อจัดสรรพื้นที่ทำการเกษตรให้กับเกษตรกรที่ต้องการรวมกลุ่ม

 

แบบที่ 1 เงินสนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อย หากรวบรวมพื้นที่ทำการเกษตรได้มากกว่า 80% ของจังหวัด จะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล 1.5 หมื่นบาทต่อไร่

 

แบบที่ 2 เงินสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรที่มีพื้นที่ถือครองมาก เช่น เกษตรกรสูงอายุ หรือไม่ต้องการทำการเกษตรอีกต่อไป หากรวบรวมนำที่ดินเข้าร่วม และพื้นที่มากกว่า 12 ไร่ จะได้รับเงินสนับสนุนกว่า 2 แสนบาทต่อครัวเรือน

 

แบบที่ 3 เงินสนับสนุนให้เกษตรกรที่ปล่อยเช่าพื้นที่กับเกษตรกรรายอื่นในท้องถิ่น เดียวกัน ได้รับเงินสนับสนุน 5,400 บาทต่อไร่ ซึ่งจะมีรายได้จากค่าเช่าที่ดินทุกปี

 

ที่ปรึกษาเชี่ยวชาญพิเศษเรื่องข้าวฯ จากประเทศญี่ปุ่น ให้ข้อมูลยืนยันอีกว่า พื้นที่ที่ถือครองและรายได้ของเกษตรกรญี่ปุ่น หลังการรวมกลุ่มธุรกิจเกษตร พบว่า ก่อนการรวมกลุ่ม เกษตรกรรายย่อยจากถือครองที่ดินเฉลี่ย 12 ไร่ แต่เมื่อมีการรวมกลุ่มกันแล้ว มีพื้นที่ถือครองทำการเกษตรเพิ่มขึ้น 16 เท่า หรือ 193 ไร่

 

ขณะที่รายได้ก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ก่อนการรวมกลุ่มธุรกิจเกษตร เกษตรกรรายย่อยรายได้อยู่ที่ไม่ถึง 1 ล้านบาท แต่เมื่อรวมกลุ่มรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 4.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 41 เท่า

 

ชาวนาญี่ปุ่น

 

รูปแบบการรวมกลุ่มธุรกิจเกษตรในญี่ปุ่น มีทั้ง

 

1.นิติบุคคลในรูปแบบบริษัท แบ่งเป็น บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคลในรูปวิสาหกิจ

 

2.นิติบุคคลในรูปแบบกลุ่มชุมชน มีทั้งประเภทการรวมกลุ่มเพื่อใช้เครื่องมือทางการเกษตรร่วมกัน และรวมกลุ่มแบบครบวงจร

 

ซึ่งพบว่า จำนวนนิติบุคคลในอุตสาหกรรมเกษตร 45% เป็นรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด

 

นายซึโตมุ บอกถึงพัฒนาการของรูปแบบการรวมกลุ่ม เริ่มมาจากใช้เครื่องจักรและโรงเรือนร่วมกัน รวมกลุ่มไปรับจ้าง หลังจากนั้นพัฒนาบริหารจัดการครบวงจร จนไปจดทะเบียนในรูปนิติบุคคล แต่หากมองในแง่ธุรกิจ เริ่มแรกก็สนใจการปลูกข้าวอย่างเดียว จากนั้นก็เพิ่มปลูกพืชอื่นเสริม เช่น ถั่วเหลือง บริหารที่ดินร่วมกันและจัดจำหน่ายผลผลิต กระทั่งบริหารรูปแบบบริษัทผลิต แปรรูปและจัดจำหน่าย

 

นี่คือ ภาพการรวมกลุ่มธุรกิจเกษตรว่า เริ่มจากอะไร แต่จะเริ่มจากอะไรก็แล้วแต่ สุดท้ายมีการพัฒนากลุ่มให้เป็นลักษณะนิติบุคคล

 

เขาบอกว่า ประโยชน์ของการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ภายใต้นโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่น เกษตรกรได้ประโยชน์หลายอย่าง ทั้งมีระบบการบริหารจัดการที่ดี เป็นมาตรฐานสามารถตรวจสอบได้ เป็นการนำระบบจ่ายเงินเดือนมาใช้จูงใจคนรุ่นใหม่สนใจทำการเกษตร สามารถเข้าร่วมระบบประกันสังคมได้ สร้างความน่าเชื่อถือในธุรกิจ มีการกำหนดเวลาทำงาน รูปแบบบริษัท ทำให้คนรุ่นใหม่เข้ามาในภาคการเกษตรมากขึ้น มีมาตรการประหยัดภาษี และสามารถขยายขนาดธุรกิจให้เติบโตได้ง่าย

 

ก้าวสู่ชาวนามืออาชีพแบบญี่ปุ่น

 

สถานการณ์การปลูกข้าวในญี่ปุ่น แม้จะมีพื้นที่กว้างใหญ่ขนาดไหน แต่ชาวนาญี่ปุ่นก็ทำนาได้เพียงแค่ 6 เดือน เพราะมีข้อจำกัดด้านสภาพภูมิอากาศ

 

ข้าว ของ ชาวนาญี่ปุ่น

 

นายซึโตมุ เปิดเผยถึงเทคนิกการปลูกข้าวให้ได้คุณภาพ เริ่มกันตั้งแต่

 

– การเตรียมดินให้เหมาะสมกับภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงดินให้ร่วนซุย โดยใช้เทคนิกการไถดินให้ลึก 15 เซ็นติเมตร ซึ่งจะทำทุกๆ 3 ปี เนื่องจากไถลึกต้นข้าวโตกว่า ทนทานกับสภาวะแล้งได้

 

– การปรับปรุง บำรุงดินในทุกๆ ปี เช่น ทิ้งฟางข้าวไว้ในแปลงนา เพราะฟางข้าวสำคัญมากกับแปลงนา หากไม่มีฟางข้าวทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์อย่างรวดเร็ว สารไนโตรเจนอย่างดีอยู่ในแกลบและฟางข้าว ซึ่งหากไม่รักษาฟางข้าวไนโตรเจนก็จะถูกเอาออกจากพื้นที่แปลงนาตลอดเวลา รวมถึงการใส่ปุ๋ยคอกเพิ่มบำรุงดิน ใส่ปุ๋ยให้กับดิน ด้วยการปรับปรุงวิธีการใส่ปุ๋ยรอบเดียว ใส่ปุ๋ยละลายช้า

 

– การจัดการน้ำที่เหมาะสม กับการเจริญเติบโตของเมล็ดข้าว ข้าวต้องการน้ำช่วงไหนบ้าง ซึ่งพบว่า หลังจากข้าวออกรวง

 

สัปดหาห์แรก จะเป็นช่วงเติบโตของความยาวของเมล็ดข้าว

 

สัปดาห์ที่สอง เป็นเรื่องความกว้างของเมล็ดข้าว

 

และสัปดาห์ที่สาม เป็นเพิ่มความหนาของเมล็ดข้าว

 

แสดงให้เห็นว่า ช่วงที่ข้าวต้องการน้ำ 25 วันเท่านั้นเอง เลยจากนี้ไม่ต้องมีน้ำก็ได้ ข้าวก็ไม่มีปัญหา ซึ่งแปลงนาที่ญี่ปุ่น ระบบจัดการน้ำเหมือนการปล่อยน้ำลงอ่าง อยากเปิดน้ำลงอ่างก็เปิดได้ ไม่เอาน้ำก็เทออก สามารถทำได้

 

– เทคนิกการทำร่องน้ำให้กับแปลงนา

 

– วิธีการควบคุมต้นข้าวไม่ให้ยาวเกินไป ด้วยการปล่อยให้นาแห้งบ้างเพื่อให้รากแข็งแรง เวลาออกรวงได้รวงข้าวที่แข็งแรง

 

– เทคนิกทำให้ต้นข้าวแข็งแรง โดยไม่ปล่อยให้ออกรวงเยอะ มีการควบคุมรวงข้าวไม่ควรเกิน 4.4 หมื่นเมล็ดต่อ 1 ไร่ ส่งผลให้ข้าวคุณภาพดี เมล็ดข้าวใส หากเมล็ดข้าวต่อรวงมากเกินไปเมล็ดข้าวจะเกิดท้องไข่ ได้ข้าวคุณภาพไม่ดี

 

นายซึโตมุ บอกอีกว่า การปลูกข้าวของญี่ปุ่นจะมีการเก็บข้อมูล วางแผนงานชัดเจน มีการกำหนดกระทั่งวันที่ กำหนดช่วงการปลูก ความสูงของต้นข้าว กอ สี เป้าหมายผลผลิต จำนวนรวง เมล็ด ทุกอย่างถูกกำหนดมาเป็นข้อมูลอย่างละเอียดทั้งหมด

 

“ขณะเดียวกันมีปฏิทินการผลิตข้าวให้เหมาะกับข้าวแต่ละสายพันธุ์ ปลูกข้าวให้เหมาะแต่ละท้องถิ่น ซึ่งมีอุณหภูมิไม่เท่ากัน ซึ่งปฏิทินการปลูกข้าว จะจ่ายให้เกษตรกรทุกแห่งในประเทศญี่ปุ่น ชาวนาสามารถใช้เป็นแนวทางปลูกข้าวของตนเองได้เลย”

 

ส่วนคำถามที่ว่า ชาวนาญี่ปุ่นใช้ยากำจัดวัชพืช หรือยาฆ่าแมลงหรือไม่นั้น นายซึโตมุ ยอมรับว่า มีการใช้จริง แต่วิธีการใช้ยาฆ่าแมลงหรือยากำจัดวัชพืชไม่เหมือนสมัยก่อน ยาฆ่าแปลงจะใส่ไปพร้อมการเพาะกล้า ส่วนยากำจัดวัชพืชจะใส่ตอนดำกล้า รูปแบบนี้ทำให้ลดจำนวนครั้งการใช้ยาได้ และรูปแบบนี้สามารถจำนวนครั้งการใส่ยาได้อย่างลงได้มาก ใส่รอบเดียวไม่ใส่หลายๆ รอบเหมือนสมัยก่อน

 

“การทำนาที่ญี่ปุ่นถือว่าเข้มงวดที่สุดในโลก มีการควบคุมด้วยระบบบาร์โค้ด ถูกตรวจสอบ และการทำงานแต่ละช่วงถูกบันทึกข้อมูลทุกกระบวนการของการผลิต สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้”

 

ทั้งหมด เราคงได้คำตอบ เหตุใดเกษตรกรในประเทศญี่ปุ่นถึงรวมกลุ่มกันปลูกข้าว มีระบบ มีเทคนิก หรือเทคโนโลยีอะไรถึงทำให้เพิ่มผลผลิตได้อย่างแม่นยำ จนได้ข้าวมีคุณภาพ ขายได้ราคาดี หวังว่า ความสำเร็จของชาวนาญี่ปุ่น อย่างน้อยชาวนาไทยสามารถนำไปปรับใช้ในบริบทประเทศไทยได้ไม่มากก็น้อย…

 

credit: isranews.org/thaireform-other-news/199-thaireform-documentary/48984-farmer01_14625.html


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 8349 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [นาข้าว]:
ข้าวใบเหลือง ขอบใบข้าวม้วน ยอดใบข้าวมีจุดประสีขาว เพราะขาดธาตุต่างกัน ปล่อยไว้ผลผลิตลด
ธาตุรองธาตุเสริมต่างๆ ที่จำเป็นต่อพืช ถูกพืชดึงไปใช้ทุกๆครั้งที่ปลูก จึงค่อยๆหมดไป เราเติมได้ พืชจะสมบูรณ์ ผลผลิตสูงขึ้น
อ่านแล้ว: 7938
ตั๊กแตน กัดกินใบข้าว ทำผลผลิตลด ป้องกันและกำจัดด้วย มาคา กำจัดแมลง
ใบข้าวแหว่ง หากจะบาดมาก โดนตั๊กแตน โลกัสต้าโจมตี จะกินใบข้าวจนหมดทั้งใบ สร้างความเสียหายในนาข้าว
อ่านแล้ว: 8332
หนอนกอ ที่ทำลายต้นข้าว ป้องกันและ กำจัดหนอนกอ
หนอนกอ จะเข้าทำลายต้นข้าวในระยะข้าวแตกกอ หนอนกอจะเข้ากัดกิน ทำลายในส่วนที่เป็นท่ออาหาร ท่อน้ำของลำต้นข้าว
อ่านแล้ว: 9629
ลุ้นส่งออกข้าวสถิติสูงสุด คาดปีนี้ทะลุ11ล้านตัน
ส่งออกข้าวไทย 11 เดือน พุ่ง 21.01% ปริมาณ 10.42 ล้านตัน ขณะที่ราคาหอมมะลิปรับสูงขึ้นทำสถิติสูงสุดรอบ 4 ปี
อ่านแล้ว: 8024
สิ้น จำนำข้าว 3 ปี 300 โรงสีม้วนเสื่อ
โรงสีกระทบหนัก ปิดตัวแล้วกว่า 300 แห่ง เหตุไม่ปรับตัวแตกไลน์ธุรกิจ ขณะแข่งเดือดแย่งข้าวเปลือก หลังกำลังสีแปรรวมมากกว่า..
อ่านแล้ว: 8305
พาณิชย์ยัน ข้าวเปลือกหอมมะลิราคาไม่ตก
กระแสข่าวราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกหอมจังหวัด มีราคาตกต่ำ ไม่เป็นความจริง
อ่านแล้ว: 8067
พาณิชย์เลือกเอกชน2ราย เอ็มโอยูตั้งตลาดกลางข้าว
พาณิชย์ดันตลาดไทตลาดต่อยอด ร่วมจัดตั้งตลาดกลางข้าวสาร ลงนามเอ็มโอยูต้นเดือน ธ.ค. เปิดให้บริการได้เดือน พ.ค. 2561
อ่านแล้ว: 7936
หมวด นาข้าว ทั้งหมด >>