ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: นาข้าว | อ่านแล้ว 12587 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การปรับปรุงความหนาแน่นของธาตุเหล็กในเมล็ดข้าว

ความหนาแน่นของธาตุเหล็กในเมล็ดข้าว เมื่อเทียบกับธัญพืชอื่นๆ ถือว่าอยู่ใน ระดับที่ต่ำกว่า โดยเฉลี่ยคนไทยบริโภคข้าว ...

data-ad-format="autorelaxed">

ปรับปรุง ธาตุเหล็ก ในเมล็ดข้าว

 

66 เปอร์เซ็นของประชากรโลก เป็นโลหิตจาง

"ปัญหา" ประชากรทั่วโลกร้อยละ 66 ป่วยเป็นโรคโลหิตจาง จากการขาดธาตุ- เหล็ก สำหรับในประเทศไทยพบว่ามีผู้ที่พร่องและขาดธาตุเหล็กประมาณ 13 ล้านคน ผู้ที่ขาดธาตุเหล็ก จะมีการพัฒนาด้านต่างๆ ของร่างกายช้ากว่าคนปกติ การพัฒนาด้านสติปัญญา การเรียนรู้ ประสิทธิภาพในการทำงาน ตลอดจนด้านภูมิคุ้มกันโรคต่ำลง ยุทธศาสตร์ของการป้องกันการขาดธาตุเหล็กที่มีอยู่ มักจะใช้วิธีการเสริมยาเม็ดธาตุเหล็กให้บริโภค หรือการเติมธาตุเหล็ก ในอาหารที่บริโภค แต่ยังประสบปัญหา การยอมรับ และ การครอบคลุมให้ทั่วถึงกลุ่มประชากรเป้าหมายรวมทั้งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง การยกระดับปริมาณธาตุเหล็กในพืชอาหารหลักให้สูงขึ้น น่าจะเป็นวิธีการที่มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ สำหรับประเทศไทยมีข้าวเป็นอาหารหลักที่ทุกคนต้องบริโภค ดังนั้น การปรับปรุง พันธุ์ข้าวให้มีปริมาณธาตุเหล็กสูงขึ้น น่าจะเป็นมาตรการที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

 

การปรับปรุงความหนาแน่นของธาตุเหล็กในเมล็ดข้าว

ความหนาแน่นของธาตุเหล็กในเมล็ดข้าว เมื่อเทียบกับธัญพืชอื่นๆ ถือว่าอยู่ใน ระดับที่ต่ำกว่า โดยเฉลี่ยคนไทยบริโภคข้าว 200-250 กรัม ต่อวัน ถ้าความต้องการธาตุเหล็กของร่างกายเฉลี่ยเท่ากับ 15 มก.ต่อวัน (RDA) เมล็ดข้าวจะต้องมีความหนาแน่นของธาตุเหล็กถึง 5 มก.ต่อ 100 กรัม เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับธาตุเหล็กจากข้าวในระดับ 1 ใน 3 ของ RDAปัจจุบันพันธุ์ข้าวที่นิยมบริโภคโดยทั่วไปมีธาตุเหล็กในข้าวกล้องต่ำกว่า 1.3 มก./100 ก. ดังนั้นการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีธาตุเหล็กสูง จึงดำเนินการโดยค้นหาข้าวธาตุเหล็กสูงจาก ข้าวพื้นเมือง เพื่อใช้เป็นพันธุ์สำหรับให้ลักษณะธาตุเหล็กสูง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักพบในข้าวที่มีเมล็ดสีดำ แต่อย่างไรก็ตามการใช้ข้าว จากฐานพันธุกรรมธรรมชาติยังมีข้อจำกัดเนื่องจากข้าวที่มีสีเข้มมักจะมีปริมาณสารยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กพวก โพลีฟีนอล, แทนนิน และไฟติก ในปริมาณมาก ในขณะที่ข้าวสีขาวมีสาร ยับยั้งการดูดซึมในปริมาณที่ต่ำกว่า จึงได้มีความพยายามที่จะผสมข้ามพันธุ์ ระหว่างข้าวสีขาวกับข้าวสีม่วง-ดำ เพื่อถ่ายทอดลักษณะธาตุเหล็กสูง ให้กับ พันธุ์ข้าวสีขาว
ความสำเร็จในก้าวแรก ได้ค้นพบข้าวที่มีธาตุเหล็กในข้าวกล้อง 1.6-2.1 มก./100 ก. พันธุ์บริสุทธิ์ที่ได้ให้ชื่อว่า สินเหล็ก เป็นข้าวสีขาว มีกลิ่นหอม มีอมัยโลสค่อนข้างต่ำ ต่อมาได้ค้นพบข้าวเจ้าและข้าวเหนียวสีขาวธาตุเหล็กสูงระดับ 2.2-2.8 มก./100 ก. จากคู่ผสมระหว่างข้าวไร่ หอมพม่าและก่ำดอยช้าง ส่วนพันธุ์ข้าวที่มีธาตุเหล็กสูงสุดระดับ 4.0 มก./100 ก. ได้จากข้าวคู่ผสมระหว่างข้าวป่านิวาราและเจ้าหอมนิล การปรับปรุงพันธุ์ ในขั้นต่อไปคือการปรับปรุงให้ธาตุเหล็กในเมล็ดมีความเป็นประโยชน์สูงขึ้น

 

ความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็ก

เป็นเรื่องยากในการปรับปรุงให้ธาตุเหล็กในเมล็ดข้าวและธัญพืชมีความเป็นประโยชน์สูงสุด เนื่องจากความเป็นประโยชน์มีความเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย เช่น รูปแบบการสะสมธาตุ เหล็ก, สัดส่วนของสารกระตุ้นและสารยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก โดยธรรมชาติของเมล็ดธัญพืชจะมี สารที่มีผลในการยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กพวกโพลีฟีนอล, แทนนิน และไฟติก อยู่ในปริมาณมาก การลดสารเหล่านี้ถือว่าเป็นเป้าหมายหลักของการผสมข้ามพันธุ์เพื่อสร้างพันธุ์ข้าวที่มีธาตุเหล็กในรูปที่เป็นประโยชน์สูง ส่วนปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการดูดซึม ในปัจจุบันยังไม่สามารถเข้าใจได้ชัดเจน รู้แต่เพียงว่า วิตามินซี, กรดอะมิโน เช่น cystein และ oligosacharide สายสั้นๆ พวก inulin น่าจะมีผล ช่วยส่งเสริมการดูดซึมธาตุเหล็กจากเมล็ดข้าวขัดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ห้องปฏิบัติการทดสอบความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็กจำลองแห่งแรกในประเทศไทย

ได้มีการพัฒนาวิธีตรวจสอบความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็กโดยใช้ Caco-2 cells ซึ่งเปรียบเสมือนการย่อยและดูดซึมธาตุอาหารในร่างกายมนุษย์จริง เทคนิคนี้ช่วยในการคัดกรองพันธุ์ข้าวที่ธาตุเหล็กสูงและมีความเป็นประโยชน์สูงเบื้องต้น ก่อนที่จะเลือกพันธุ์ดีเด่นไปทดสอบในมนุษย์ต่อไป ผลการทดสอบความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็กในระดับเซลล์ในข้าวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์มากกว่า 100 สายพันธุ์ พบว่า ข้าวพันธุ์สินเหล็ก, ข้าวจากคู่ผสมปิ่นเกษตรกับIR71501 สายพันธุ์ที่มีอมัยโลสต่ำ, และข้าวเหนียวสีขาวจากคู่ผสมข้าวหอมพม่ากับก่ำดอยช้าง มีความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็กสูงถึงสูงมาก ประมาณ 15-22 นาโนกรัมเฟอร์ริตินต่อมิลลิกรัมเซลล์โปรตีน สายพันธุ์เหล่านี้คือพันธุ์หลักที่จะใช้สำหรับทดสอบในร่างกายมนุษย์ต่อไป

 

การทดสอบการดูดซึมธาตุเหล็กในมนุษย์การศึกษาระยะที่ 1

เป็นครั้งแรกที่ทำการทดสอบการดูดซึมธาตุเหล็กในมนุษย์โดยใช้อาสาสมัคร จำนวน 63 คน ใช้ข้าวธาตุเหล็กสูง 2 สายพันธุ์ คือ สินเหล็ก และไรซ์เบอรี่เปรียบเทียบกับข้าวขัดพันธุ์ปิ่นเกษตรโดยวิธีติดฉลากอาหารด้วยสารรังสี (extrinsic-label radioiron technique) จากการทดลองพบว่าร้อยละของธาตุเหล็กที่ร่างกายมนุษย์สามารถดูดซึม ได้ในข้าวขัดพันธุ์ สินเหล็ก มีค่าสูงสุดคือ 9.82 นอกจากนี้ยังพบว่าการดูดซึม ธาตุเหล็กจากข้าวขัดทั้ง 2 สายพันธุ์สูงกว่าข้าวกล้องประมาณ 3 เท่า แม้ว่า ข้าวขัดจะมีปริมาณธาตุเหล็กต่ำกว่าข้าวกล้องก็ตาม

 

การศึกษาระยะที่ 2

ศึกษาผลของข้าวธาตุเหล็กสูง และผลิตภัณฑ์ต่อภาวะโภชนาการใน เด็กวัยเรียนที่มีภาวะพร่องเหล็กโดยคัดเลือกเด็กนักเรียนที่มีภาวะพร่องเหล็ก และเป็นโรคโลหิตจาง เพื่อให้รับประทานข้าวธาตุเหล็กสูงพันธุ์ สินเหล็ก และ ผลิตภัณฑ์ของข้าวชนิดนี้ เป็นเวลา 8 เดือน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ รับประทานข้าวที่มีขายในท้องตลาดทั่วไป โดยการประเมินการเปลี่ยนแปลงของระดับ ธาตุเหล็กสะสมในร่างกาย เพื่อเป็นเครื่องชี้วัดประสิทธิภาพของข้าวพันธุ์ สินเหล็ก

 

ขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การส่งเสริม

การปลูกข้าวธาตุเหล็กสูงในพื้นที่เป้าหมาย
จากความสำเร็จในการพัฒนาพันธุ์ข้าวธาตุเหล็กสูง ปัจจุบันได้ดำเนินการปลูกทดสอบความสม่ำเสมอของพันธุ์ในต่างพื้นที่ รวมทั้งดำเนินการยื่นขอจดคุ้มครอง พันธุ์พืชใหม่ ณ กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเตรียมการขยายเมล็ดพันธุ์ให้ เพียงพอ เพื่อส่งเสริมการปลูกให้กับเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะการปลูกในพื้นที่ซึ่งมีประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

 

โดยความร่วมมือของ
สำนักวิจัยคณะแพทย์ศาสตร์รพ.รามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดลพญาไทกทม.,
ภาควิชารังสีวิทยาคณะแพทยศาสตร์-ศิริราชพยาบาลบางกอกน้อยกรุงเทพฯ
สถาบันวิจัยโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดลต.ศาลายาอ.พุทธมณฑลจ.นครปฐม
ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ


จาก dna.kps.ku.ac.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 12587 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [นาข้าว]:
ข้าวใบเหลือง ขอบใบข้าวม้วน ยอดใบข้าวมีจุดประสีขาว เพราะขาดธาตุต่างกัน ปล่อยไว้ผลผลิตลด
ธาตุรองธาตุเสริมต่างๆ ที่จำเป็นต่อพืช ถูกพืชดึงไปใช้ทุกๆครั้งที่ปลูก จึงค่อยๆหมดไป เราเติมได้ พืชจะสมบูรณ์ ผลผลิตสูงขึ้น
อ่านแล้ว: 7938
ตั๊กแตน กัดกินใบข้าว ทำผลผลิตลด ป้องกันและกำจัดด้วย มาคา กำจัดแมลง
ใบข้าวแหว่ง หากจะบาดมาก โดนตั๊กแตน โลกัสต้าโจมตี จะกินใบข้าวจนหมดทั้งใบ สร้างความเสียหายในนาข้าว
อ่านแล้ว: 8332
หนอนกอ ที่ทำลายต้นข้าว ป้องกันและ กำจัดหนอนกอ
หนอนกอ จะเข้าทำลายต้นข้าวในระยะข้าวแตกกอ หนอนกอจะเข้ากัดกิน ทำลายในส่วนที่เป็นท่ออาหาร ท่อน้ำของลำต้นข้าว
อ่านแล้ว: 9629
ลุ้นส่งออกข้าวสถิติสูงสุด คาดปีนี้ทะลุ11ล้านตัน
ส่งออกข้าวไทย 11 เดือน พุ่ง 21.01% ปริมาณ 10.42 ล้านตัน ขณะที่ราคาหอมมะลิปรับสูงขึ้นทำสถิติสูงสุดรอบ 4 ปี
อ่านแล้ว: 8024
สิ้น จำนำข้าว 3 ปี 300 โรงสีม้วนเสื่อ
โรงสีกระทบหนัก ปิดตัวแล้วกว่า 300 แห่ง เหตุไม่ปรับตัวแตกไลน์ธุรกิจ ขณะแข่งเดือดแย่งข้าวเปลือก หลังกำลังสีแปรรวมมากกว่า..
อ่านแล้ว: 8305
พาณิชย์ยัน ข้าวเปลือกหอมมะลิราคาไม่ตก
กระแสข่าวราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกหอมจังหวัด มีราคาตกต่ำ ไม่เป็นความจริง
อ่านแล้ว: 8067
พาณิชย์เลือกเอกชน2ราย เอ็มโอยูตั้งตลาดกลางข้าว
พาณิชย์ดันตลาดไทตลาดต่อยอด ร่วมจัดตั้งตลาดกลางข้าวสาร ลงนามเอ็มโอยูต้นเดือน ธ.ค. เปิดให้บริการได้เดือน พ.ค. 2561
อ่านแล้ว: 7936
หมวด นาข้าว ทั้งหมด >>