ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: การปลูกพืช | อ่านแล้ว 184085 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การปลูกพริก

การปลูกพริก : สามารถปลูกได้ตลอดปี ถ้ามีน้ำ อุดมสมบูรณ์ หรือปลูกในฤดูฝนก็ได้

data-ad-format="autorelaxed">

การปลูกพริก

 

การปลูกพริก
การปลูกพริก ในประเทศไทยสามารถปลูกได้ตลอดปี ถ้ามีน้ำ อุดมสมบูรณ์ หรือปลูกในฤดูฝนก็ได้ พริก สามารถปลูกได้ทุกภาคทุกจังหวัด ทั้งนี้เนื่องจาก พริก มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกาและมีการ แพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลก จังหวัดที่ปลูก พริกกันเป็นพื้นที่มาก ได้แก่ กาญจนบุรี, ประจวบฯ, เพชรบุรี, สมุทรสาคร, สุโขทัย, สุพรรณบุรี, เชียงราย, น่าน, ลำปาง, เชียงใหม่ ฯลฯ พริกที่ปลูกกันได้แก่ พริก บางช้าง, พริก สันป่าตอง, พริก ชี้ฟ้า, พริก ขี้หนูเม็ดใหญ่ เป็นต้น

พันธุ์พริก

ในประเทศไทยพันธุ์พริกที่มีปลูก และรู้จักกันทั่วไป อยู่ในพวกล้มลุก มีอยู่ประมาณ 6 ชนิด

1. พริก บางช้าง ขนาดของผล โตกว่า พริก มัน ผลตรงกลมโคนผลใหญ่ ปลาย เรียว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร ยาว 10-12 เซนติเมตร ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดงจัด รสไม่สู่เผ็ด มีเนื้อมาก เมล็ดน้อย อบแห้งสีจะแดงดี
2. พริก ขี้หนู
มีขนาดต่าง ๆ กัน ผลมีขนาดเล็ก ผลสี เขียว หรือเหลือง พันธุ์ ทั่ว ๆ ไป ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ของท้องถิ่นต่าง ๆ ผล แก่จะมีสีแดง มีรสเผ็ดจัด
3. พริก หยวก ผลโตป้อม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร ปลายทู่ไม่เกลี้ยงบุบ เป็นร่อง มีเมล็ดในน้อย ใส้ ใหญ่ สีเขียวแกมเหลือง ผล แก่สุกแดงเป็นมัน รสไม่สู้เผ็ด หรือ เผ็ดน้อย ราคาแพง ปลูกกัน น้อยกว่า พริก อย่างอื่น
4. พริก มัน ผลมันเรียบ ผลตรง กลม และเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6 เซนติเมตร ยาว 6-8 เซนติเมตร มี เมล็ดในมาก เมื่ออ่อนผลจะมีสีเขียวจัด เวลาแก่เป็นสีแดง รสเผ็ด
5. พริก ยักษ์ ผลโตป้อม บริเวณรอบ ๆ ข้อผลเป็นรอยบุ๋ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 เซนติเมตร ยาว 10-12 เซนติเมตร มี เมล็ดในน้อย เนื้อผลหนา สีผลเมื่ออ่อนเขียวจัดเป็นมันเวลาแก่สีแดง รส ไม่เผ็ด ปลูกได้ดีในช่วงเดือนตุลาคม เก็บเกี่ยวประมาณเดือนธันวาคม จะได้ราคาดี
6. พริก สิงคโปร์ ขนาดผลโต เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 8-12 เซนติเมตร ปลาย งอหยิก ผิวไม่เรียบ มุมเป็นร่อง ๆ มีเมล็ดน้อย ผลเมื่ออ่อนมีสีเขียวจัด เวลาแก่เป็นสีแดง มีรสเผ็ด

พริก ปลูกได้ตลอดปี ถ้าหากพื้นที่นั่น ๆ มีน้ำอย่างเพียงพอสำหรับพื้นที่ ๆ ไม่อยู่ ในเขตชลประทาน การปลูกพริก จะปลูก พริก กันในช่วงฤดูฝนจะเริ่มเพาะกล้าประมาณเดือนมีนาคม - เมษายน และจะย้ายปลูกในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน แต่ถ้าจะปลูกให้ได้ราคาดีที่สุดควรจะปลูกในช่วงเดือนมกราคมถึง กุมภาพันธ์ เพราะ พริก สดจะมีราคาสูงสุดในช่วงเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม พบว่า พริก ที่ปลูกในหน้าแล้ง คือ ตั้งแต่เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน จะให้ผลเร็วกว่าพวกที่ปลูกในหน้าฝน คือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน

การปลูกพริก

ดินที่เหมาะสมสำหรับ การปลูกพริก ได้แก่ดินร่วนปนทรายมีความอุ

ดมสมบูรณ์ดี การระบายน้ำดี พริก ถ้าปลูกในฤดูฝนจะมีปัญหาว่าเป็นโรคเหี่ยว เนื่อง จากเชื้อรา และบัคเตรีเข้าทำลาย ควร ปลูก พริก หมุนเวียนสลับกับข้าว ถั่ว และพืชอื่น ๆ

อาจเลือกปฏิบัติได้ 3 วิธี ตามความเหมาะสม คือ

1. โดยวิธีการใช้เมล็ด พริก หยอดเมล็ดโดยตรงในหลุม หลุมละ 3-5 เมล็ด การปลูกพริก เมล็ด พริก หวานเปอร์เซ็นต์ความงอก 80% ใช้เมล็ด 60-90 กรัม/ไร่ นิยมปฎิบัติในแปลงปลูกขนาดใหญ่ และ ไม่มีแรงงานเพียงพอในการย้ายต้นกล้า จุดอ่อนของการ ปลูกโดยวิธีนี้คือ ต้น พริก อ่อนแอ อาจ จะถูกมดและแมลงอื่น ๆ กัดกินใบ ทำ ให้สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ และเสียเวลาในการปลูกซ่อม

2. เพาะเมล็ด พริก ให้งอกแล้วนำไปปลูกในหลุม กลบด้วยดินบาง ๆ วิธีเพาะคือ นำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำ แล้วเอาผ้า ชุบน้ำหมาด ๆ ห่อ ทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน เมล็ดจะงอกแล้วนำไปปลูก

3. เพาะเมล็ดในแปลงเพาะก่อน แปลง การปลูกพริก เพาะกล้าควรใส่ปุ๋ย 15-15-15 ปริมาณ 100 กรัมต่อตารางเมตร คลุกดินลึกประมาณ 5-8 นิ้ว ควรใช้ฟูราดานในการเพาะด้วยเมื่อหว่านเมล็ดแล้วประมาณ 10 วัน เมล็ดเริ่มงอก ถ้า มีต้นหนาแน่น ให้ถอนแยกหลังจากที่ใบจริงคลี่เต็มที่แล้ว 2-3 วัน เมื่อกล้าอายุได้ 18 วัน รดด้วยปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตละลายน้ำ อัตราส่วน 1 กรัมต่อ น้ำ 200 ซีซี. แล้วรดน้ำตามทันที การ เพาะโดยวิธีเพาะโดยเมล็ดธรรมดาที่ยังไม่งอกวิธีนี้ควรคลุกยาป้องกันกำจัด เชื้อราที่อาจติดมากับเมล็ดก่อนนำเมล็ดไปเพาะได้แก่ ออ ไธไซด์ และในแปลงเพาะควรจะรดด้วยไดโฟลาแทน 80 หรือไดเทน เอ็ม 45 เพื่อป้องกันโรคเน่า

เมื่อกล้าสูงประมาณ 6 นิ้ว จึงพร้อมจะย้ายปลูกได้ รวมอายุกล้าในแปลงเพาะสำหรับการเพาะโดยเมล็ดที่งอกแล้วประมาณ 30 วัน และเพาะโดยเมล็ดธรรมดาประมาณ 40 วัน

ปลูกพริก

ในบางแห่งปลูกโดยการย้ายกล้า 2 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง ทนทานและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้น โดยทำการย้ายกล้าครั้งที่ 1 เมื่อกล้าโตมีใบจริง 2 ใบ ย้ายชำในถุงพลาสติกหรือในแปลงใหม่ให้มีระยะห่าง 10-15 ซม. ในการย้ายกล้านี้ต้องทำอย่างระมัดระวัง พยายามให้รากติดต้นมากที่สุดก่อนย้ายปลูกในแปลงใหม่ ควรจะรดน้ำแปลงเพาะให้ชุ่ม ทิ้งไว้ 1 ชม. แล้วใช้ไม้หรือปลายมีดพรวนดินให้ร่วน ค่อย ๆ ถอนต้นกล้า อายุในการชำในแปลงใหม่ 15-20 วัน หรือสูงประมาณ 6 นิ้ว จึงย้ายปลูกได้ เพื่อให้ได้ต้น กล้าที่แข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม ทำได้โดยการฉีดพ่นสารละลายของน้ำตาลเข้มขน 10% คือใช้น้ำตาลทราย 10 ส่วน เติมน้ำลงไปอีก 90 ส่วน ฉีดทุก ๆ 3 วัน เป็นเวลา 2 อาทิตย์ก่อนย้ายปลูก ก่อนทำการฉีดสารละลายน้ำตาลทรายนี้ต้องทำให้ใบพริก เปียกน้ำให้ทั่ว เพื่อให้ใบดูดซึมน้ำตาลได้เป็นปริมาณสูง

การเตรียมดิน ทำการย้ายปลูก เมื่อกล้าสูงประมาณ 6 นิ้ว เตรียมดินแปลงปลูก โดย ไถดะตากดินทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ไถพรวน 1 ครั้ง หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้ทั่วแปลงในอัตรา 3-4 ตัน/ไร่ ใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ หว่านให้ทั่วพื้นที่ปลูก แล้วพรวนกลบเข้ากับดินแล้วจึงเตรียมแปลงปลูกการเตรียมแปลงปลูก สามารถทำได้หลายแบบ แล้วแต่สภาพ ของพื้นที่ปลูกดังนี้คือ

1. ปลูกแบบไม่ยกแปลง เหมาะ สำหรับพื้นที่ ๆ มีการระบายน้ำดี ปรับ ระดับได้สม่ำเสมอ การปลูกแบบนี้อาจปลูกเป็นแถวเดียว ใช้ระยะห่างระหว่างแถว 60-70 ซม. ระหว่างต้น 50 ซม. หรือปลูกเป็นแถวคู่ ระยะระหว่างแถวคู่ 1 เมตร ระหว่างแถว 50 ซม. ระหว่างต้น 50 ซม.

2. ปลูกแบบยกแปลง เหมาะสำหรับพื้นที่ปลูกที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง ระบาย น้ำดอกได้ยาก ขนาดแปลงกว้าง 1.50 เมตร ร่องน้ำกว้าง 50 ซม. ลึก 50 ซม. ปลูก 2 แถว บนแปลง โดยมี ระยะห่างแถว 0.75-1.00 เมตร ระหว่างต้น 50 ซม. หรือปลูกเป็นแถวคู่ 1 เมตร ระหว่างแถว 50 ซม. ระหว่างต้น 50 ซม.

 

 

เคล็ด (ไม่) ลับ กับ การปลูกพริก ให้ทันช่วงราคาสูง จากกรมวิชาการเกษตร

          การปลูกพริก - พริก (Capsicum annuum)   ที่ปลูกในจังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ   เป็นพริกขี้หนูผลใหญ่พันธุ์ซุปเปอร์ฮอท ช่อระย้า จินดา ม่วงแดง
หัวเรือ  ปลูกในสภาพไร่และสภาพนา พื้นที่ปลูก 24,000 ไร่  ผลผลิต พริกสด ทั้ง พริกเขียว และ พริกแดง ออกสู่ตลาดปีละมากกว่า 31,900 ตัน คิดเป็น
มูลค่า 684 ล้านบาท

          จากรายงานของบุญส่ง เอกพงษ์ และคณะ  พริก ที่ให้ผลผลิตสามารถซื้อขายได้ในเดือนพฤศจิกายน  จะหยุดให้ผลผลิตในเดือนพฤษภาคม-
มิถุนายนของทุกปี การปลูกพริก ทั้ง พริกเขียว และ พริกแดง สด ช่วง พริกเขียว ได้ราคาดีเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ราคากิโลกรัมละ 20-25 บาท ส่วน พริกแดง ได้
ราคาดีในเดือนธันวาคม - กลางมกราคม กิโลกรัมละ 40-50 บาท  โดยเฉพาะในปี 2550 ราคาสูงถึง 60-85 บาท/กก.   แน่นอนว่าเกษตรกรทุกคนมี
ความฝันอยากจะขายได้   เพราะตั้งแต่เดือนมกราคม - มิถุนายน   ราคาจะลดลงเรื่อยๆ จนถึง 8 บาท    และ 15 บาทต่อกิโลกรัม ของ พริกเขียว และ
  พริกแดง ตามลำดับ เกษตรกรจะหยุดขายเพื่อเก็บ พริก สุกแดงเต็มที่ตากแห้ง จำหน่ายในรูป พริกแห้ง แทน ดังนั้นจะจัดการอย่างไรจึงจะผลิต พริก ออก
จำหน่ายได้ทันราคาสูงตามต้องการ

          1. การปลูกพริก ต้องมีที่ดอนน้ำไม่ท่วม  ดินดี มีความเป็นกรด - ด่าง 6 - 6.8   มีอินทรีย์วัตถุ 1.5 % ฟอสฟอรัส 10 - 20 พีพีเอ็ม โปตัสเซียม 60 พีเอ็ม
แคลเซียม 100-200 พีเอ็ม แมกนีเซียม 12-36  พีเอ็ม  มีความร่วนซุยระบายน้ำได้ดี ไม่มีไส้เดือนฝอยรากปม


          2. การปลูกพริก เริ่มเพาะ ต้นกล้าพริก ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม - กลางเดือนสิงหาคม เพื่อจะปลูกในเดือนกันยายน ในช่วงดังกล่าวฝนตกชุกที่สุด
จะทำให้ต้นกล้าเน่า เพราะน้ำขังหรือดินแน่น เกษตรกรจะมีทางเลือก 2 ทาง

               1. เพาะต้นกล้าในกะบะพลาสติก (ถาดหลุม)   ถาดละ 104 หลุม   ราคาใบละ 18 บาท     โดยเตรียมวัสดุเพาะใส่ถาดหลุมประกอบด้วย
                   ดินผสม ได้แก่ ดิน : แกลบดำ : ปุ๋ยคอก = 4:1:1 นำดินผสมมารวมกับส่วนผสมของปุ๋ยหมักแห้ง + เชื้อไตรโคเดอร์มาสด + รำอ่อน
                   อัตรา (100 กก. + 1 กก. + 5 กก.) อัตราดินผสม : ส่วนผสมของปุ๋ยหมักแห้ง = 4 : 1

                   เมล็ดพันธุ์ที่จะนำมาเพาะต้องเป็นพันธุ์ดี ไม่มีโรคและแมลง  ก่อนเพาะ 1 วัน ต้องนำไปแช่น้ำอุ่น 55 OC (น้ำเย็น 1 ส่วน + น้ำเดือด 1
                   ส่วน) นาน 20 นาที เพื่อฆ่าเชื้อแอนแทรคโนส(กุ้งแห้ง)ที่สามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้

                   เมล็ดที่ลอยน้ำแสดงว่าลีบให้เก็บทิ้ง    หลังจากนั้นนำไปแช่ในสารละลายสปอร์เชื้อไตรโคเดอร์มาสด (เชื้อสด 4 ถุง + น้ำ 100 ลิตร)
                   แช่เมล็ด 1 คืน จึงเพาะในกะบะหลุมละ 1 เมล็ด กลบดิน เก็บถาดในที่ร่มรำไร หรือมีตาข่ายพรางแสงอย่าให้ถูกฝนโดยตรง

                   หลังจากงอกได้ 15 วัน พ่นน้ำหมักชีวภาพสูตรบำรุงต้นอัตรา 2-3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร(พ่นทุก 7-10 วัน) จะทำให้ต้นโตเร็วขึ้นไม่ควร
                   ใช้ยูเรีย เพราะต้นกล้าจะอวบเกินไป เมื่อต้นกล้าอายุ 1 เดือนนำมาปลูกได้

                2. เพาะต้นกล้าในแปลงที่อยู่ในที่ดอน  ใช้ตาข่ายพรางแสงอย่าให้ถูกฝนโดยตรง    วิธีการเตรียมเมล็ดทำเหมือนเพาะในกะบะทุกอย่าง
                    ส่วนวัสดุเพาะใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาสด ผสมปุ๋ยหมักแห้งอัตรา 2-3 กก./10 ตารางเมตร   ร่วมกับหว่านปูนขาว 0.5-1 กก./10 ตาราง-
                    เมตรคลุกเคล้าให้เข้ากัน   จึงหว่านเมล็ด กลบดินใช้ไม้ตีให้เมล็ดจมดินทุกเมล็ด   อย่าให้เมล็ดอยู่เหนือดิน เมื่ออายุ 1 เดือน ถอนไป
                    ปลูกได้

          3. การปลูกพริก ไม่ควรปลูกเกิน 15 กันยายน   หลังเตรียมดินดีแล้ว  พร้อมปรับสภาพดินโดยใส่ปูนขาวโดโลไมท์อัตรา 20-25 กก./ไร่
ก่อนปลูกรองพื้นด้วยปุ๋ยหมักแห้งอัตรา 150-200 กก./ไร่ (ผสมปุ๋ยหมักแห้ง 100 กก.+ เชื้อสด 4 ถุงๆละ 250 กรัม + รำ 5 กก.)เกษตรกรนิยมปลูก
แบบปักดำ กดรากลงในดินจะทำให้โคนต้นช้ำง่าย  ต้นกล้าจึงต้องใช้เวลาฟื้นตัวนาน ถ้าต้องการให้ต้นกล้าดูดอาหาร   แตกกิ่งได้เร็วขึ้นควรปลูกแบบ
หลุม และยกร่องเพื่อป้องกันน้ำขัง ในหลุมรองพื้นด้วยปุ๋ยหมักแห้ง(ผสมปุ๋ยหมักแห้ง 100 กก.+ เชื้อสด 4 ถุงๆละ 250 กรัม + รำ 5 กก.) อัตราหลุม
ละ 100 กรัม   ก่อนปลูกแช่ราก พริก ด้วยเชื้อสด 4 ถุงๆ ละ 250 กรัมละลายในน้ำ 100 ลิตร แช่นาน 30 นาที จนกว่าจะปลูกเสร็จ (ถ้าปลูกไม่เสร็จให้
ละลายเชื้อใหม่อย่าแช่รากทิ้งไว้)  การปลูกแบบหลุมเมื่อรากฟื้นตัวจะดูดอาหารได้ทันที  และป้องกันโรครากเน่าและโคนเน่าด้วย  ซึ่งในฤดูฝนเสี่ยง
ต่อโรคในดินหลายชนิด ควรป้องกันไว้ก่อนดีกว่ากำจัดด้วยสารเคมี



          4. การปลูกพริก การดูแลรักษา พริก หลังปลูก 15 วัน  พ่นน้ำหมักชีวภาพสูตรบำรุงต้นอัตรา 2-3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร(พ่นทุก 7-10 วันจนออกดอก) พ่น
น้ำหมักชีวภาพสูตรบำรุงผลอัตรา 2-3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร(พ่นทุก 7-10 วันจนถึงเก็บเกี่ยว) พ่นแคลเซียมไนเตรท  อัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร  ใน
ช่วงติดผลเล็กเพื่อแก้ปัญหาเกิดผลนิ่ม ปลายผลเหี่ยวเนื่องจากการขาดธาตุแคลเซียมและป้องกันไม่ให้เชื้อ Colletotrichum spp. สาเหตุโรคกุ้งแห้ง
เข้าทำลายซ้ำ พ่นสปอร์เชื้อสด 4 ถุงๆ ละ 250 กรัม+น้ำ 200 ลิตรร่วมกับน้ำหมักชีวภาพทุก 1 เดือน ถ้ามีไร โรค แมลงศัตรูทำลายให้ใช้สารเคมีตาม
ความเหมาะสมหรือพ่นสลับกับน้ำหมักสมุนไพร

          5. การให้ปุ๋ย  ระยะ 1 เดือนแรก  ก็ให้ทางดินร่วมกับทางใบเป็นหลัก  โดยการให้ทางดินก็ให้สูตร 46-0-0 สลับกับ 15-0-0  หรือ 15-15-15
ในเดือนแรก ในอัตรา 5 กก.ต่อไร่/ครั้ง แต่ไม่เกิน 10 กก.ต่อไร่/ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ส่วนทางใบใช้สูตร 20-20-20 สลับ 30-20-10  เพื่อเร่งการเจริญ
เติบโต ในอัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร  ระยะเดือนที่ 2-3  ระยะนี้ พริก มีอายุ 30-90 วัน ซื่งมีการติดผลของ พริก ในชุดแรก  ธาตุอาหารทางดินและทาง
ใบยังจำเป็นเหมือนเดิม  ทางดินใช้สูตร 15-15-15 สลับ 13-13-21 ส่วนทางใบใช้สูตร 15-0-0  เพื่อเพิ่มธาตุแคลเซียมในช่วงติดผลเล็ก ในอัตรา 30
กรัม/น้ำ 20 ลิตร
              ระยะเดือนที่ 4-6  ระยะนี้ พริก มีอายุ 120-180 วัน    ซื่งมีการเก็บผลผลิตของ พริก ในชุดแรกเก็บได้มาก  ธาตุอาหารทางดินและทางใบยัง
จำเป็นเหมือนเดิม  ทางดินใช้สูตร 15-15-15 สลับ 13-13-21       ร่วมกับปุ๋ยหมักแห้งผสมเชื้อไตรโคเดอร์มาสด   อัตรา 1:25    ส่วนทางใบใช้สูตร
20-20-20 สลับ 10-20-30 ในอัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ให้ปุ๋ยทุกครั้งหลังเก็บผลผลิตจำหน่าย

   
จากบุญส่ง เอกพงษ์ และคณะ
กราฟแสดงราคาเฉลี่ยของ พริกเขียว และ พริกแดง สดในจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดอุบลราชธานี

การทำปุ๋ยหมักแห้ง
          1. ปุ๋ยคอก 3 ส่วน + แกลบดิบเก่า 3 ส่วน + แกลบดำ 1 ส่วน + กากน้ำตาลและน้ำหมักชีวภาพ
          2. ปุ๋ยคอก 400 กก. + แกลบดิบเก่า 100 กก. + รำอ่อน 30 กก. + กากน้ำตาลและน้ำหมักชีวภาพ
          3. ปุ๋ยคอก 3 ส่วน + กากถั่วเหลือง 3 ส่วน + แกลบดิบเก่า 2 ส่วน + แกลบดำ 1 ส่วน + กากน้ำตาลและน้ำหมักชีวภาพ (10 ลิตรต่อปุ๋ยหมัก
              100 กก.)
          4. ปุ๋ยคอก 3 ส่วน + กากตะกอนอ้อย 2 ส่วน + แกลบดิบเก่า 2 ส่วน + แกลบดำ 1 ส่วน + กากน้ำตาลและน้ำหมักชีวภาพ  (10 ลิตรต่อปุ๋ย
              หมัก 100 กก.)

วิธีทำ
          ผสมน้ำหมักชีวภาพและกากน้ำตาลในน้ำ  ใส่บัวรดบนส่วนผสมที่มีปุ๋ยคอก แกลบ รำ  โดยวนจากข้างนอกเข้าข้างใน อย่าให้แฉะถ้าแฉะมาก
ความร้อนจะสูงและเป็นก้อนและอย่าแห้งเกินไป (กำปุ๋ยหมักถ้าเป็นก้อนความชื้นพอดี ถ้าแผ่กระจายจะแห้งเกินไป) หลังทำแล้ว 8 ชั่วโมง ความร้อน
ในกองปุ๋ยจะสูงมากให้กลับปุ๋ยในกองทุกวัน ประมาณ 7-10 วัน  ความร้อนในกองจะปกติเก็บใส่ถุงไว้ใช้ต่อไป  หรือถ้ามีถุงปุ๋ยให้กรอกใส่ถุงเลยเพื่อ
ความสะดวกในการกลับกระสอบปุ๋ยหมักและการขนย้าย

การปลูกพริก จาก myveget.com

ขั้นตอนการเตรียมดินใน การปลูกพริก นับว่าเป็นเรื่องสำคัญมากใน การปลูกพริก เนื่องจาก ถ้าเกษตรกรไม่สามารถเตรียมดินให้ดีตั้งแต่เริ่มต้นแล้วจะมีปัญหามากมายหรือ อาจจะทำให้ขาดทุนได้ เกษตรกรจึงไม่ควรมอง ข้ามในเรื่องนี้

ขั้นตอนการไถและปรับสภาพดิน
ควรมีการไถเพื่อปรับสภาพดินและทำการตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน เพื่อทำการฆ่าเชื้อรา
การ รองพื้นโดยปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยมูลสัตว์) หลังจากตากดินไว้ 5-7 วันแล้ว ก่อนที่จะทำการไถในรอบที่ 2ให้ใช้ สาร ที-เอส-3000ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา สารที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ผสมปุ๋ยอินทรีย์ 100 ก.ก หว่านในอัตรา 50 -100 ก.ก ต่อไร่ เพื่อปรับสภาพดินและความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
การรองพื้นโดยปุ๋ยเคมี หลังจากตากดิน 5-7 วันแล้ว ให้ใช้ สารที-เอส-3000 ผสมปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา สารที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวน 50 ก.ก (1กระสอบ) หว่านอัตรา 25 ก.ก ต่อไร่ สาร ที-เอส-3000 จะช่วยกระตุ้นระบบรากให้มีมากขึ้นและช่วยให้ต้านทานโรคและแมลงได้ดีเนื่อง จากสาร ที-เอส-3000จะมี ซิลิก้าซึ่งจะทำให้ลดต้นของพืชแข็งแรงพร้อมด้วยธาตุอาหารอื่นๆซึ่งจะทำให้ แข็งแรงต้านทานโรคและได้รับธาตุอาหารที่ครบถ้วนหลังจากนั้นให้ทำการคราดกลบ และรดน้ำเพื่อเตรียมการปลูกต่อไป


ขั้นตอน การปลูกพริก
หลังจากเพาะเลี้ยงต้นกล้าให้ได้อายุ 2-3 สัปดาห์ ก่อนย้ายลงแปลงจริงให้ตัดยอดจนเหลื่อแต่ใบแก่ พร้อมกับรากแก้วให้เหลือเพียง 1-1 นิ้วครึ่ง เมื่อ พริก โตขึ้นจะไม่สูงชะลูด แต่จะแตกพุ่มกลมมีกิ่งแขนงมากส่งผลให้มีดอกและผลมากด้วยส่วนรากจะเกิดรากฝอย ใหม่จำนวนมากแผ่กระจายรอบทรงพุ่มสามารถหาอาหารไปเลี้ยงลำต้นได้ง่าย

การเตรียมต้นกล้าก่อนปลูก
หลังจากนำต้นกล้าขึ้นมาจากแปลงเพาะเตรียมที่จะลงแปลงปลูก ให้นำต้นกล้าที่เตรียมไว้ลงแช่น้ำที่ผสมที-เอส-3000หรือไฮแม็ก อย่างไดอย่างหนึ่ง
-ที-เอส-3000 ประมาณ 3 ขีด ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อให้ต้นกล้าได้รับ ซิลิก้า ซึ่งจะทำให้ลำต้นแข็งแรง กระตุ้นการแตกรากดี ทำให้ ต้นพริก ฟื้นตัวได้เร็ว
- ไฮ-แม็ก ประมาณ 30-50 ซีซี (2-3 ฝา) เพื่อให้ต้นกล้าได้รับ ธาตุอาหาร ซึ่งจะทำให้ลำต้นแข็งแรง กระตุ้นการแตกรากดี ทำให้ ต้นพริก ฟื้นตัวได้เร็ว การปลูกไม่ควรปลูกลงลึกเกินไปเพราะจะทำให้ พริก โตช้า

การใส่ปุ๋ย
หลังจากปลูกได้ประมาณ 20-25 วันหรือให้สังเกตดู ต้นพริก มีความพร้อมที่ต้องการปุ๋ยให้ใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งการเจริญเติบโตดังนี้
กรณี ใส่ปุ๋ยอินทรีย์(ปุ๋ยมูลสัตว์)ถ้าต้องการใสปุ๋ยอินทรีย์ใช้สารที-เอส-3000 ชนิดผง 15 กก.ผสมปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราปุ๋ยอินทรีย์ 200-300 กก. หว่านในอัตรา 1 ไร่ ที-เอส-3000 มีสารอาหารที่ครบถ้วนช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารที่ครบถ้วน ช่วยลดปัญหาการเกิดเชื้อรา ลดปัญหาการเกิดโรครากเน่า โคนเน่า จะช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ของปุ๋ยอินทรีย์ให้มีค่าเป็นกลางเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อพืช

กรณีใส่ปุ๋ยเคมี สูตรเร่งการเจริญเติบโตให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ,18-12-6,16-20-0 ผสมด้วย สาร ที-เอส-3000 ในอัตรา สาร ที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ปุ๋ยเคมี จำนวน 50 ก.ก (1กระสอบ) หว่านประมาณ 15 -20 ก.ก ต่อไร่ การใส่ปุ๋ยควรใส่ประมาณ 10-15 วันต่อครั้ง
สูตรเร่งการออกดอก ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ผสมด้วย สาร ที-เอส-3000 ในอัตรา สาร ที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ปุ๋ยเคมี จำนวน 50 ก.ก (1กระสอบ) หว่านประมาณ 15 -20 ก.ก ต่อไร่ การใส่ปุ๋ยควรใส่ประมาณ 10-15 วันต่อครั้ง

วิธีการให้ปุ๋ยและการฉีดพ่นธาตุอาหารทางใบ
หลังจากปลูกได้ประมาณ 20-25 วันหรือให้สังเกตดู ต้นพริก มีความพร้อมที่ต้องการปุ๋ย ให้ใส่ปุ๋ยสูตร15-15-15 ,18-12-6,16-20-0 เลือกใช้สูตรไดสูตรหนึ่ง ผสมด้วย สาร ที-เอส-3000 ในอัตรา สาร ที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ปุ๋ยเคมี จำนวน 50 ก.ก (1กระสอบ) หว่านประมาณ 15 -20 ก.ก ต่อไร่ การใส่ปุ๋ยควรใส่ประมาณ 10-15 วันต่อครั้ง หลังจากหว่านปุ๋ยเรียบร้อยแล้วประมาณ 2-3 วัน ฉีดพ่นทางใบดังนี้

เร่งการเจริญเติบโตทางใบ
ไฮ-แม็ก 20-30 ซีซี + ซุปเปอร์-บีม 20-30 ซีซี + ซุปเปอร์-บีม 3 พลังครึ่งช้อนชา ต่อน้ำ 20 ลิตร
(ตัวเสริม โปรแท็ป 1-2 ขีด)
ประโยชน์ เร่งการเจริญเติบโต แตกกิ่ง แตกทรงพุ่ม สร้างลำต้นให้แข็งแรง ใบใหญ่ ใบหนา สีเข้ม ฉีดพ่นทุก 7-15 วัน ในเวลาเช้าหรือตอนเย็น ในเวลาที่อากาศไม่ร้อนฉีดพ่นไปจนกว่า พริก มีความพร้อมที่จะออกอกให้เปลี่ยนมา ใช้สูตรเร่งดอกดังนี้

สูตรเร่งดอก-บำรุงดอก
ซุปเปอร์-แบม30-40 ซีซี + เอ็ม-เร็ตต้า 3-4 ช้อนแกง
ประโยชน์ สะสมสมแป้ง เร่งการออกดอก บำรุงดอก ลดการหลุดร่วงของดอก ฉีดพ่น 7-15 วัน /ครั้ง

เมื่อ พริก มีความพร้อมที่จะออกดอก ปุ๋ยทางดินให้เปลี่ยนมาใช้สูตร 13-13-21 ผสมด้วย สาร ที-เอส-3000 ในอัตรา สาร ที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ปุ๋ยเคมี จำนวน 50 ก.ก (1กระสอบ) หว่านประมาณ 15 -20 ก.ก ต่อไร่ การใส่ปุ๋ยควรใส่ประมาณ 10-15 วันต่อครั้ง หลังจากหว่านปุ๋ยได้ประมาณ 1-2 วัน ให้ฉีดพ่นด้วย ซุปเปอร์-แบม30-40 ซีซี + เอ็ม-เร็ตต้า 3-4 ช้อนแกง (ตัวเสริม ไฮ-แม็ก 20-30 ซีซี หรือ โปรแท็ป 1-2 ขีด) เพื่อเร่งการออกดอก ทำการรดน้ำใส่ปุ๋ยบำรุงรักษาดูแลไปเรื่อยๆหลังจากเก็บผลผลิตแล้วให้ทำการ บำรุงต้นให้พร้อมที่จะออกดอกรอบต่อไปโดยการฉีดพ่นทางใบ 1 ครั้ง ด้วย ไฮ-แม็ก 20-30 ซีซี + ซุปเปอร์-บีม 20-30 ซีซี + ซุปเปอร์-บีม 3 พลังครึ่งช้อนชา ต่อน้ำ 20 ลิตร (ตัวเสริม โปรแท็ป 1-2 ขีด) เพื่อบำรุงต้นให้มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะออกดอกในรอบต่อไปหลังจากบำรุงต้น เรียบร้อยแล้วให้ฉีดพ่นด้วยสูตรเร่งการออกดอก1-2 ครั้ง ต่อไปหลังจากทำการเก็บผลผลิตแล้วก็ให้ทำการฉีดพ่นเหมือนครั้งแรกสลับกันไป เรื่อย

ประโยชน์ของ การปลูกพริก

1. พริก ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด หรือการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน การบริโภค พริก เป็นประจำจะช่วยลดอัตราความเสี่ยงจากการอุดตันของเส้นเลือด นับเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว เนื่องจากพริกช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้นและช่วยลดความดัน เพราะว่าใน พริก มีสารจำพวกเบตาแคโรทีนและวิตามินซี ซึ่งช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรงเพิ่มการยืดตัวของผนังหลอดเลือด ทำให้ปรับตัวเข้ากับแรงดันระดับต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

2.  พริก ช่วยลดปริมาณสารคอเลสเตอรอล สารแคปไซซินช่วย ป้องกันมิให้ตับสร้างคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL-Low density lipoprotein) ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้มีการสร้างคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-high density lipoprotein) มากขึ้น ทำให้ปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดต่ำลง เป็นผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค

3. พริก ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง เนื่องจาก พริก เป็นพืชผักที่มีวิตามินซีสูง การบริโภคอาหารที่มีวิตามินซีมากๆ จะช่วยปกป้องการเกิดโรคมะเร็งได้ วิตามินซียับยั้งการสร้างไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร วิตามินซีช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนซึ่งเป็นส่วนประกอบของกระดูกอ่อน รวมถึงเป็นส่วนประกอบของผิวหนัง กล้ามเนื้อและปอด คอลลาเจนเป็นโปรตีนที่สามารถหยุดกแพร่กระจายของเซลล์เนื้อร้ายได้ นอกจากนี้ วิตามินซียังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) คือสามารถยุติหรือขัดขวางบทบาทของอนุมูลอิสระ (free radicals) ที่จะก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์จนเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด สารเบตาแคโรทีนใน พริก ช่วยลดอัตราการเสี่ยงของโรคมะเร็งในปอด และในช่องปาก

คนที่รับประทานผักที่มีสารเบตาแคโรทีนน้อย จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมากกว่าคนที่รับประทานผักที่มีเบตาแคโรที นสูงถึง 7 เท่า คุณสมบัติของสารเบตาแคโรทีนจะช่วยลดอัตราการกลายพันธุ์ของเซลล์และทำลาย เซลล์มะเร็ง สำหรับ พริก บางชนิดที่มีสีม่วงจะมีสารพวกแอนโทไซยานิน ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ คือ สามารถทำลายอนุมูลอิสระได้เช่นกัน


4. พริก ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด เช่น ลดอาการปวดฟัน บรรเทาอาการเจ็บคอ และการอักเสบของผิวหนัง เป็นต้น ในปัจจุบันมีการใช้สารแคปไซซินเป็นส่วนประกอบของขี้ผึ้ง ใช้บรรเทาอาการปวดอันเนื่องมาจากผดผื่นคันและอาการผื่นแดงบริเวณผิวหนัง รวมทั้งอาการปวดที่เกิดจากเส้นเอ็น โรคเกาต์ หรือโรคข้อต่ออักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้ผลการทดลองใหม่ๆยังบ่งชี้ว่าสารแคปไซซินช่วยลดอาการปวดศีรษะและไม เกรนลงได้

5. พริก ช่วยเสริมสร้างสุขภาพและอารมณ์ดี เนื่องจากสารแคปไซซินมีส่วนในการส่งสัญญาณให้ต่อมใต้สมองสร้างสาร เอนดอร์ฟินขึ้น
สารเอนดอร์ฟินเป็นเปปไทด์ขนาดเล็ก (โปรตีนสายสั้นๆ) มีคุณสมบัติคล้ายมอร์ฟีน คือ บรรเทาอาการเจ็บปวด ในขณะเดียวกันก็สร้างอารมณ์ให้ดีขึ้น ยิ่งรับประทานเข้าไปมากเท่าใด ร่างกายก็จะสร้างเอนดอร์ฟินขึ้นมามากขึ้นเท่านั้น ปกติร่างกายของคนเราจะสร้างสารเอนดอร์ฟินขึ้นภายหลังการออกกำลังกาย ดังนั้นการออกกำลังกายแม้จะทำให้ร่างกายเมื่อยล้า แต่ผู้ออกลังกายจะรู้สึกสดชื่นแจ่มใส ถ้าต้องการบรรเทาความเผ็ดของอาหารในปากควรดื่มแอลกอฮอล์ หรือรับประทานอาหารที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบมากกว่าการดื่มน้ำ เพราะการดื่มน้ำมีผลเพียงช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนได้เท่านั้น แต่ความเผ็ดก็ยังไม่ได้ลดลง เนื่องจากว่า น้ำ ละลายสารดังกล่าวได้ไม่ดีนั่นเอง

อ้างอิง : http://www.surin.rmuti.ac.th/


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 184085 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [การปลูกพืช]:
หนอน หนอนกินใบ หนอนเจาะผล หนอนเจาะลำต้น ทุกหนอน แก้ด้วยไอกี้-บีที
เกลือเป็นหนอน ต้องแก้ปัญหาขององค์กร แต่พืชเป็นหนอน กำจัดง่าย ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ
อ่านแล้ว: 6477
พืชใบเหลือง ต้นไม้ใบเหลือง ใบไม้เหลือง อย่าตกใจ บางครั้งแค่ขาดไนโตรเจน
ในบางกรณี ที่เราให้ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เขียว หรือพืชดูคล้ายจะไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยที่เรา..
อ่านแล้ว: 6866
ชวนชมใบเหลือง ชวนชมใบร่วง ชวนชมใบจุด เป็นได้สองถึงสามสาเหตุ แต่หลักๆคือ ชวนชมไม่แข็งแรง
โรคและแมลงศัตรูพืช จะเข้าทำลายต้นชวมชมเมื่ออ่อนแอ แต่หากเรารู้วิธีการดูแลชวนชมให้สมบูรณ์แข็งแรง โรคและแมลงก็ไม่มี
อ่านแล้ว: 8814
เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี่ยอ่อน เพลี้ยกระโดด แก้ด้วย มาคา
เพลี้ยจักจั่นปีกลาย เพลี้ยไฟ ที่ทำลายเมล่อน และผักต่างๆ ป้องกันและจำกัดเพลี้ยด้วย มาคา สารอัลคาลอยด์
อ่านแล้ว: 7387
หนอนชอนใบ เมล่อน แตงโม แตงกวา แคนตาลูบ แตงโม ฟักทอง มะระจีน กำจัดด้วย ไอกี้-บีที
แมลงวันหนอนชอนใบ มักจะพบตัวหนอนชอนไช อยู่บริเวณในใบ สังเกตุง่าย จะเห็นรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวเลี้ยวไปมา อยู่บนใบของพืช
อ่านแล้ว: 7335
ปุ๋ยอินทรีย์ เร่งโต สร้างภูมิต้านทางโรค คุณภาพดีจาก ฟาร์มเกษตร FarmKaset.ORG
ลดอาการคลายน้ำในพืช และช่วยให้พืชใบเขียวเข้ม เจริญเติบโตได้ดีแม้ในช่วงหน้าแล้ง ด้วย บูตเตอร์สีเงิน มีธาตุเหล็ก และ..
อ่านแล้ว: 6697
พริกใบหงิก ดอกหลุดร่วง ใบเหลือง ออกผลน้อย นั้นเพราะ เพลี้ยไฟพริก ระบาดแล้ว
เพลี้ยไฟพริก จะระบาดมากในช่วงฤดูแล้ง ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มไว ของ เพลี้ยไฟพริกนี้ จะใช้ปากเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช
อ่านแล้ว: 6850
หมวด การปลูกพืช ทั้งหมด >>