ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: การปลูกพืช | อ่านแล้ว 19211 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ปัจจัยการผลิตมังคุด

การปลูกมังคุด การดูแล การใส่ปุ๋ย ป้องกันกำจัดสัตรูพืช การส่งเสริมการเจริญเติบโต รวมไปจนถึงการเก็บเกี่ยว..

data-ad-format="autorelaxed">

มังคุด การปลูกมังคุด

ปัจจัยการผลิตมังคุด

การเตรียมต้นหลังการเก็บเกี่ยวมังคุด

การใส่ปุ๋ยให้กับมังคุด
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักตัวสมบูรณ์แล้ว อัตรา 20-30 กก./ต้น ใส่ปูนตามค่าวิเคราะห์ดิน
- ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา (กก./ต้น) 1/3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม (หรือใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและใบ)
- ถ้าพบว่าไม่แตกใบอ่อนหรือแตกใบอ่อนน้อยให้กระตุ้นให้แตกใบอ่อน ชุดสุดท้ายไม่เกินเดือน ก.ย. โดยพ่นยูเรีย อัตรา 100-200 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

การป้องกันกำจัดศัตรูพืชในมังคุด
- พ่นอิมิดาโคลพริค 10%เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือฟิโปรนิล 5% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์โบซัลแฟน 20%อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไซเปอร์เมทริน / โฟซาโลน 6.25 / 22.5% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร อย่างใดอย่างหนึ่ง สลับกัน
- ถ้าพบการระบาดอีกให้พ่นซ้ำ

หนอนชอนใบและหนอนกินใบอ่อน
- ใช้คาร์บาริล 85%ดับบลิวพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

โรคใบจุด
- พ่นสารคาร์เบนดาซิม 50% ดับบลิวพี อัตรา 10-15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

การป้องกันกำจัดวัชพืช

วัชพืชฤดูเดียว เช่น หญ้าขจรจบ และหญ้านกสีชมพู

วัชพืชข้ามปี เช่น หญ้าคา หญ้าชันกาดหรือแห้วหมู กำจัดโดยตัดให้สั้นทุก 1-2 เดือน หรือใช้สารไกลโฟเสท 48% เอสแอล อัตรา 500-600 มิลลิลิตร หรือกลูโฟซิเนต แอมโมเนีย 15% เอสแอล อัตรา 1,600-2,000 มิลลิลิตรต่อน้ำ 60-80 ลิตรต่อไร่ พ่น 1-2 ครั้งหลังวัชพืชงอก และมีใบมากที่สุด

การเตรียมต้นก่อนการออกดอก

การใส่ปุ๋ยเพื่อเตรียมความพร้อมต้นก่อนการออกดอก
ถ้าใบอ่อนมีขนาดเล็กและสีใบไม่สดใส พ่นปุ๋ยทางใบสูตร 15-30-15 หรือ 20-20-20 อัตรา 60 กรัม ร่วมกับกรดฮิวมิค อัตรา 20 มิลิลิตร ให้ทั่วทรงพุ่ม และช่วงปลายฤดูฝน เมื่อใบชุดใหม่พัฒนาเป็นใบแก่ทั้งต้น ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 หรือ 9-24-24 หว่านได้ทรงพุ่ม อัตราเป็นกิโลกรัม เท่ากับ 1ใน3ของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่มเป็นเมตร

งดการให้น้ำและปุ๋ยที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ
ถ้าแตกใบอ่อนให้พ่นปุ๋ยเกล็ด 0-52-34 อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สัปดาห์ละ 1 ครั้งต่อเนื่อง 3 สัปดาห์

การให้น้ำหลังผ่านช่วงแล้งต่อเนื่อง
ถ้าออกดอกน้อยกว่า30% งดการให้น้ำอีกครั้งหนึ่ง

การจัดการต้นระยะออกดอกถึงก่อนเก็บเกี่ยว

การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
- การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ
- ระยะดอก
พ่นอิมิดาโคลพริด 10%เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือฟิโปรนิล 5% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไซเปอร์เมทริน/ โฟซาโลน 6.25 / 22.5% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกัน
- ระยะติดผล
พ่นอิมิดาโคลพริด 10%เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือฟิโปรนิล 5% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไซเปอร์เมทริน/ โฟซาโลน 6.25 / 22.5% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร อย่างใดอย่างหนึ่งสลับ กัน ถ้ายังพบการระบาดอีกให้ใช้สารเคมีพ่นโดยสลับชนิดสารเคมีตามคำแนะนำ
- การป้องกันกำจัดไรขาว
ไรขาว : พ่นอะมิทราช 20% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตร หรือกำมะถันผง 80% ดับบลิวพี อัตรา 40 กรัมหรือ อะบาแมคติน 1.8% อีซี อัตรา 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
- การป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง และมด
เพลี้ยแป้ง : พ่นคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20ลิตร หรือคาร์บาริล 85% ดับบลิวพี อัตรา 60กรัม ต่อน้ำหรือ อิมิดาโคลบริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร อย่างใดอย่างหนึ่งสลับกัน
มด : ป้องกันโดยใช้ผ้าชุบน้ำมันเครื่องผูกรอบโคนต้น

การจัดการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการของผล
- การให้ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยสัดส่วน 3:1:4 เช่นปุ๋ยสูตร 15-5-20 อัตรา(กก./ต้น) 1 ใน 3 ของเส้นผ่าศูนย์กลาง ทรงพุ่ม (ม.) หรือตามค่าวิเคราะห์ดิน หลังการติดผลทันที พ่นปุ๋ยทางใบสัดส่วน 4:1:6 อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
- การให้น้ำ
ระยะติดผล อายุผลประมาณ 5 สัปดาห์ ให้น้ำทุก 3 วัน ในอัตรา 80%ของการให้น้ำปกติ ระยะอายุผล 5 สัปดาห์ถึงก่อน 10 สัปดาห์ ให้น้ำในอัตรา 90%ของการให้น้ำปกติ ระยะอายุผลประมาณ 10-12 สัปดาห์ถึงเก็บเกี่ยวให้น้ำอัตรา 80%ของการให้น้ำปกติ

อ้างอิง : http://www.oae.go.th http://atcloud.com/stories/57198

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 19211 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [การปลูกพืช]:
หนอน หนอนกินใบ หนอนเจาะผล หนอนเจาะลำต้น ทุกหนอน แก้ด้วยไอกี้-บีที
เกลือเป็นหนอน ต้องแก้ปัญหาขององค์กร แต่พืชเป็นหนอน กำจัดง่าย ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ
อ่านแล้ว: 6477
พืชใบเหลือง ต้นไม้ใบเหลือง ใบไม้เหลือง อย่าตกใจ บางครั้งแค่ขาดไนโตรเจน
ในบางกรณี ที่เราให้ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เขียว หรือพืชดูคล้ายจะไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยที่เรา..
อ่านแล้ว: 6866
ชวนชมใบเหลือง ชวนชมใบร่วง ชวนชมใบจุด เป็นได้สองถึงสามสาเหตุ แต่หลักๆคือ ชวนชมไม่แข็งแรง
โรคและแมลงศัตรูพืช จะเข้าทำลายต้นชวมชมเมื่ออ่อนแอ แต่หากเรารู้วิธีการดูแลชวนชมให้สมบูรณ์แข็งแรง โรคและแมลงก็ไม่มี
อ่านแล้ว: 8814
เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี่ยอ่อน เพลี้ยกระโดด แก้ด้วย มาคา
เพลี้ยจักจั่นปีกลาย เพลี้ยไฟ ที่ทำลายเมล่อน และผักต่างๆ ป้องกันและจำกัดเพลี้ยด้วย มาคา สารอัลคาลอยด์
อ่านแล้ว: 7387
หนอนชอนใบ เมล่อน แตงโม แตงกวา แคนตาลูบ แตงโม ฟักทอง มะระจีน กำจัดด้วย ไอกี้-บีที
แมลงวันหนอนชอนใบ มักจะพบตัวหนอนชอนไช อยู่บริเวณในใบ สังเกตุง่าย จะเห็นรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวเลี้ยวไปมา อยู่บนใบของพืช
อ่านแล้ว: 7335
ปุ๋ยอินทรีย์ เร่งโต สร้างภูมิต้านทางโรค คุณภาพดีจาก ฟาร์มเกษตร FarmKaset.ORG
ลดอาการคลายน้ำในพืช และช่วยให้พืชใบเขียวเข้ม เจริญเติบโตได้ดีแม้ในช่วงหน้าแล้ง ด้วย บูตเตอร์สีเงิน มีธาตุเหล็ก และ..
อ่านแล้ว: 6697
พริกใบหงิก ดอกหลุดร่วง ใบเหลือง ออกผลน้อย นั้นเพราะ เพลี้ยไฟพริก ระบาดแล้ว
เพลี้ยไฟพริก จะระบาดมากในช่วงฤดูแล้ง ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มไว ของ เพลี้ยไฟพริกนี้ จะใช้ปากเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช
อ่านแล้ว: 6850
หมวด การปลูกพืช ทั้งหมด >>