ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: การปลูกพืช | อ่านแล้ว 5613 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การปลูกมะระจีน ปลูกแค่ 12 ไร่ ทำเงินกว่า 8 แสนบาทต่อปี

การปลูกมะระจีน - ข้อดีของการปลูกมะระ เมื่อเปรียบเทียบกับผักชนิดอื่นๆคือความเสี่ยงในเรื่องราคา โดยเฉพาะพวก ผักใบ..

data-ad-format="autorelaxed">

การปลูกมะระจีน

ในด้านเกษตรกรรมพื้นที่ส่วนใหญ่แม้จะเป็นนาข้าวสวนผลไม้และพืชไร่ต่างๆกลุ่มใหญ่ๆเหล่านี้คือตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีรายได้หมุนเวียนในประเทศแต่ละปีเป็นจำนวนมหาศาล

 

แต่ในเรื่องราวของการปลูกสวนผักก็นับเป็นการสร้างรายได้ที่ดีอีกทางหนึ่ง ปัจจุบันการปลูกผักเพื่อจำหน่ายในเชิงธุรกิจจึงมีการกระจายตัวไปทั่วทั้งประเทศแล้วแต่ว่าจะเน้นผักชนิดใดเป็นหลักในแนวทางของการปลูกผักหมุนเวียนเพื่อให้สามารถสร้างรายได้ต่อเนื่องกันตลอดทั้งปี

 

ปลูกมะระจีน

 

จังหวัดสุพรรณบุรีก็เป็นเขตพื้นที่ที่มีการผลิตผักต่างๆ ป้อนเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมากและฐานการผลิตนี้ก็เริ่มขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆเนื่องด้วยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมหลายประการไม่ว่าจะด้านการขนส่ง การตลาด ระบบชลประทาน ผักที่ปลูกกันมากเช่น คะน้า ,คื่นช่าย, แตงกวา, พริก , ถั่วฝักยาว และ มะระ

 

จากตัวเลขทางเศรษฐกิจระบุว่าเฉพาะในเขตบางปลาม้า ดอนเจดีย์ ด่านช้าง สองพี่น้อง มีพื้นที่ปลูกผักรวมกันทั้งสิ้นกว่า 25,170 ไร่มีผลผลิตป้อนเข้าสู่ตลาดประมาณ 34,605 ตัน/ปี

 

คุณประหยัด ทัดดอกไม้ ถือเป็นหนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกผักหมุนเวียนในเขตตำบางบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จากอาชีพแรกเริ่มที่เป็นพ่อค้าขายผักต้องการเปลี่ยนชีวิตตัวเองมาสู่ธุรกิจเกษตรจึงเข้าสู่แวดวงของ “คนทำผัก” ปัจจุบันใช้เนื้อที่ 12 ไร่ปลูกผักหมุนเวียนทั้งคะน้า คื่นช่าย และมะระ สร้างรายได้ต่อเนื่องให้กับครอบครัวได้ตลอดทั้งปี

 

คุณประหยัดเล่าว่า “ผักทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นที่ต้องการของตลาดตลอดทั้งปี การจะปลูกผักตัวใดก็ต้องวิเคราะห์ความต้องการตลาดในขณะนั้นว่าแนวโน้มและทิศทางจะเป็นอย่างไร เพราะปัจจุบันการลงทุนปลูกผักในเชิงธุรกิจมีปัจจัยต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมาก คำว่าเกษตรกรรมนั้นถ้าเราสามารถคำนวณความน่าจะเป็นล่วงหน้าได้ก็ลดความเสี่ยงในตัวเองได้มากเช่นกัน”

 

ข้อดีของการปลูกมะระจีน

ข้อดีของการปลูกมะระ เมื่อเปรียบเทียบกับผักชนิดอื่นๆคือความเสี่ยงในเรื่องราคาโดยเฉพาะพวก”ผักใบ”ที่มีการตัดเก็บครั้งเดียวถ้าราคาดีก็ได้มากแต่ถ้าโดนช่วงราคาตกต่ำก็ทุนหายกำไรหดได้เหมือนกัน แต่จุดเด่นของมะระคือสามารถเก็บผลผลิตได้นานหลายครั้งกระจายความเสี่ยงในเรื่องราคาจำหน่ายที่อาจจะคลอบคลุมได้มากกว่า โดยปกติแล้วมะระจะแพงช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนเมษายน-พฤกษภาคมและเก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงนี้การทำมะระจะน้อยเพราะมีความเสี่ยงมาก เนื่องจากมะระจะไม่ค่อยโตแคระแกร็น เพลี้ยไร ไวรัสจะระบาดหนัก แต่ถ้าทำได้ก็คือราคาดีมาก อีกช่วงหนึ่งที่มะระราคาแพงแต่ทำยากคือปลายฝนต้นหนาวที่จะมีปัญหายอดไม่ค่อยเดินเถามักจะเหลืองเสี่ยงต่อไวรัสและเพลี้ยไฟ เก็บผลผลิตได้ไม่นาน ถ้าช่วงนี้ทำได้ก็มีโอกาสที่จะโกยราคาสูงๆได้เช่นกัน

 

และเมื่อพูดถึงเรื่องต้นทุนกำไรก็เป็นสิ่งที่หลายคนอยากจะรู้ด้วยบางคนมองไม่เห็นภาพด้วยซ้ำว่า “มะระ” จะสร้างรายได้ที่ดีได้อย่างไร?

 

พื้นที่การปลูกมะระของคุณประหยัดในปัจจุบันคือ 12 ไร่ยกร่องเป็น 13 ร่อง ในการปลูกมะระจะมีต้นทุนสำคัญๆอยู่ 3 ประการคือ

1.ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการปลูก

2.เมล็ดพันธุ์

3.การบำรุงดูแลด้วยการใช้สารเคมี ปุ๋ย และฮอร์โมนต่างๆ

 

ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการปลูกมะระจีน

“มะระ” เป็นพืชที่ต้องมีการทำ “ค้าง” คุณประหยัดบอกว่าพื้นที่ 12 ไร่ (13ร่อง) ใช้ไม้ในการทำค้าง (ไม้รวก) ประมาณ 500 มัด(1มัดมี10ลำ) มัดละ 60 บาท ต้นทุนค่าไม้ก็ ประมาณ 30,000 บาท อายุของไม้ทำค้างได้ประมาณ 3 รอบการปลูก (ไม่เกิน 2 ปี)ไม้ค้างเหล่านี้ถ้าเก็บเกี่ยวมะระเสร็จก็ต้องเก็บค้างออกเพื่อปลูกคะน้าต่อไป

 

นอกจากนี้ก็มีตาข่ายและเชือกขึงตาข่ายราคาผืนละ 100 บาทใช้ประมาณ 100 ผืนมีต้นทุนประมาณ 10,000 บาท ส่วนเชือกซื้อแบบเป็นกิโลในราคา 65 บ./กก.ใช้เชือกในการขึงตึงเพื่อความแข็งแรงประมาณ 150 กก.มีต้นทุนไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท

 

ดังนั้นเมื่อนำต้นทุนเรื่องวัสดุการปลูกมารวมกันคือ ไม้ทำค้าง+ตาข่าย+เชือก เป็นต้นทุนโดยประมาณ 50,000 บาท แต่สิ่งที่สามารถเก็บไว้ได้ในครั้งต่อไปคือ “ไม้รวกสำหรับทำค้าง” แต่ทั้งเชือกและตาข่ายต้องเปลี่ยนใหม่ทุกครั้งเพราะรื้อทิ้งแล้วเก็บรักษาไม่ได้เท่ากับว่าต้นทุนการปลูกเรื่องโครงสร้างในรอบต่อๆไปก็ยังมีอีกประมาณ 20,000 บาทเป็นการลงทุนเรื่องเชือก และตาข่าย

 

เรื่องของการทำค้างนั้นก็จะมี 2 แบบด้วยกันคือทำ “ค้างแบบกระโจม” กับการทำ “ค้างแบบกล่อง” ที่คุณประหยัดเลือกใช้คือการทำค้างแบบกระโจม ข้อดีคือทำง่าย ลงทุนต่ำ การดูแลง่าย ฉีดพ่นสารเคมีง่าย ค้างแบบนี้จะโปร่ง โอกาสที่มะระจะเสียหายน้อยกว่า แต่ถ้าเป็นค้างแบบสี่เหลี่ยมหรือแบบกล่อง แม้จะได้ผลผลิตเยอะกว่าค้างแบบกระโจมเท่าตัว แต่ก็ลงทุนเยอะ ดูแลยาก ฉีดพ่นเคมียาก ค้างแบบกล่องจะทึบ โอกาสที่มะระจะเสียหายสูง

 

มะระจีน

 

ต้นทุนเมล็ดพันธุ์มะระจีน

เป็นมะระจีนพันธุ์ผสมเบอร์16 ของศรแดง ราคา 1,150 บาท/กระป๋อง ในแต่ละร่องใช้เมล็ดพันธุ์ 350 เมล็ด จำนวน 13 ร่องใช้เมล็ดพันธุ์ทั้งหมด 10 กระป๋อง มีต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ 1,150 บาท การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ของศรแดงนั้นเพราะรูปทรงสวยหัวท้ายเสมอกัน ตาห่าง ผิวหนา น้ำหนักดี เป็นที่ต้องการของตลาดทำให้ราคาดีตามไปด้วย

 

การบำรุงดูแลมะระจีนด้วยการใช้สารเคมี ปุ๋ย และฮอร์โมนต่างๆ

ต้นทุนเรื่องการบำรุงดูแลนี้แบ่งออกเป็นหลายช่วงตามการเจริญเติบโตเริ่มตั้งแต่การปรับปรุงดินเพื่อเตรียมหยอดเมล็ดมีการใช้ปุ๋ยคอกก่อนที่จะไถกลบในช่วงหยอดเมล็ดลงแปลงแล้วก็เริ่มมีการให้ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโตการใช้สารเคมีในการป้องกันโรคและแมลงเมื่ออายุของต้นมะระโตขึ้นสัดส่วนการใช้ก็มีปริมาณมากขึ้นรวมถึงต้องมีการเปลี่ยนสูตรให้เข้ากับภาวะการเจริญเติบโต พร้อมกันนี้ในกรณีที่มีแมลงรบกวนมากก็จะต้องเพิ่มการใช้สารเคมีมากขึ้นด้วยโดยเฉพาะในช่วงใกล้เก็บเกี่ยวผลผลิต รวมราคาต้นทุนที่กล่าวมาในส่วนนี้แต่ละรอบการปลูกไม่น้อยกว่า 20,000 บาท

 

และเมื่อรวมต้นทุนทั้งวัสดุการปลูก + เมล็ดพันธุ์ + การบำรุงดูแลด้วยการใช้สารเคมี ปุ๋ย และฮอร์โมนต่างๆ ต้นทุนของเกษตรกรในการปลูกมะระแต่ละรอบไม่น้อยกว่า 150,000 บาท

 

เมื่อได้เตรียมการเรื่องวัสดุปลูก(ทำค้าง) เป็นที่เรียบร้อยทีนี้เราก็มาดูกันว่าลำดับขั้นการปลูก“มะระ” ก่อนตัดจำหน่ายมีวิธีการอย่างไรบ้าง?

 

การปลูกมะระจะต้องเพาะกล้าก่อนด้วยการเตรียมดินที่เป็นวัสดุปลูกเป็นดินที่ใช้เพาะเมล็ดพันธุ์โดยตรง ใช้ประมาณ 1 กระสอบ ( 30 กก.) วัสดุปลูกใส่กระบะ (มี 104 หลุม) เมล็ดพันธุ์ทำได้ 2 อย่างคือเพาะก่อนใส่กระบะหรือใส่ในกระบะได้เลย ถ้าเพาะก่อนใส่กระบะเพื่อให้งอกก่อนที่จะใส่ในหลุม จะเริ่มต้นด้วยการเอาเมล็ดพันธุ์ไปแช่น้ำก่อนประมาณ 2 ชม. เอามาขึ้นให้น้ำแห้งแล้วเอาผ้าชุบน้ำคลุมไว้ให้มีความชื้นใส่ในภาชนะใหญ่ๆ ทิ้งไว้ประมาณ 2 คืน ก็จะเริ่มงอก แล้วจึงเอามาปลูกในกระบะที่เตรียมดินไว้ แต่ที่ทำส่วนมากคือการเปิดกระป๋องแล้วปลูกในกระบะทันที

 

ความแตกต่างระหว่างเพาะให้งอกก่อนลงกระบะกับปลูกลงกระบะทันทีคือความสม่ำเสมอของ “กล้า”  ถ้าปลูกในกระบะความสม่ำเสมอของกล้าจะน้อยเพราะมันขึ้นอยู่กับความลึกในการปลูกด้วย การปลูกในถาดหลังจากเอาเมล็ดลงไปแล้วจะให้น้ำจนชุ่มโชกแล้วหยุดเอาผ้าคลุมไว้ทิ้งไว้ประมาณ 3 คืน พอเปิดผ้าออกเม็ดจะเริ่มงอก ก็เริ่มการให้น้ำฉีดในหลุมที่แห้ง หลังจากนี้ก็เปิดผ้าไว้ตลอดอีกประมาณ 5 วัน ให้น้ำสม่ำเสมอตามความเหมาะสมของแต่ละหลุม ก็จะเริ่มเห็นใบแตกออกมา 2 ใบ พอเห็นแตก 2 ใบ ใช้เวลาอีก 3 วันก็เริ่มเอาไปลงแปลงปลูก เบ็ดเสร็จใช้เวลาในการเพาะต้นกล้าประมาณ 10 วัน

 

หลังปลูกประมาณ 1 อาทิตย์ก็จะเริ่มให้ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยทุก 7 วันครั้งโดยจะใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 ในกรณีที่ยอดแตกไม่ค่อยดี ยอดไม่เดิน ยอดตัน ก็จะใช้ปุ๋ยสูตรตัวหน้าสูง อย่าง 24-7-7 พอยอดเดินดีแล้วก็ค่อยมาใช้ 16-16-16 พอมะระติดลูกแล้วเปลี่ยนมาใช้ 15-15-15 อัตราการให้ปุ๋ยตอนนี้ก็ประมาณ 5 กระสอบ/ครั้ง ส่วนทางใบใช้ฮอร์โมนเสริมเพื่อช่วยให้ต้นเติบโตเร็ว เร่งต้น เร่งการแตกแขนง เถาเดินดี อาจจะมีการพ่นทุกๆ 7 วัน

 

นอกจากนี้มะระเป็นพืชที่มีศัตรูพอสมควร ที่ชาวสวนกลัวกันมากก็คือ ไวรัส เพลี้ยไฟ ราน้ำค้าง จึงต้องฉีดพ่นสารเคมีป้องกันไว้ตลอดที่คุณประหยัดเลือกใช้เพราะทดสอบแล้วว่าได้ผลดีที่สุดในการกำจัดเพลี้ยไฟต่างๆคือ “อะบาเม็กติน (abamectin)” ของบริษัทโซตัสฯ ซึ่งผลิตภัณฑ์ตัวนี้เป็นสารกำจัดแมลงประสิทธิภาพสูง อัตราใช้น้อย ออกฤทธิ์กำจัดแมลงทั้งแบบ สัมผัสตาย และยังสามารถดูดซึมเข้าสู่ใบพืชได้ ( semi-systemic) จึงสามารถกำจัดแมลงศัตรู เช่น เพลี้ยไฟ หนอนชอนใบ ได้เป็นอย่างดี ทำให้ผลผลิตที่ได้นั้นมีทั้งปริมาณและคุณภาพสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ใช้เป็นอย่างดี

 

มะระจีน บำรุงดูแลดีๆ อาจตัดได้กว่า 30 ครั้ง

หลังจากปลูกแล้ว 50-60 วันก็จะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรกหรือที่ชาวสวนนิยมเรียกกันว่ามีดแรกได้และก็จะสามารถเก็บเกี่ยวไปได้เรื่อยๆอีกประมาณ 2 เดือนถึงจะเรียกว่าครบรอบ ความถี่ในการเก็บ อย่างมีดที่ 1-4 ก็จะเก็บ 2 วันครั้ง ถ้าผลผลิตออกมาเยอะตั้งแต่มีดที่ 5 ไปจะต้องเก็บทุกวัน เพราะเก็บ 2 วัน จึงจะหมดแปลง ปกติแล้วมะระดูแลดีๆจะเก็บได้ถึง 20 มีดขึ้นไป บางครั้งอาจไปถึง 30 มีด โดยจะให้ผลผลิตเยอะๆ ช่วงมีดที่ 5-10 ช่วงนี้โดยเฉลี่ยจะเก็บได้มากถึง 4-5 ตันแต่ที่คุณประหยัดเคยทำได้ในช่วงปีแรกๆที่ปลูกมะระนั้นได้มากกว่า 5-6 ตัน

 

หลังจากนั้นลูกก็จะเล็กลง เก็บได้น้อยลง หลังมีดที่ 10 ก็จะเหลือ 3 ตัน 2 ตัน ไปเรื่อยๆหลังจากเก็บแล้วนำมาคัดแยกใส่ถุงๆละ 5 กก. คัดทั้งหมด 4 เบอร์ มีหน้า 3 หน้า 4 หน้า 5 แล้วก็ เบอร์ปัด หน้า 3 จะมีอยู่ประมาณ 6-7 ลูกต่อถุง แต่ถ้าเป็นหน้า 4 ก็จะมี 8-9 ลูกต่อถุง ถ้าเป็นหน้า 5 ก็จะมี 10-11 ลูกต่อถุง ราคาต่างกันไล่ระดับลงมาถุงละ 10 บาท ราคาตอนนี้ถ้าเบอร์สวยเลยก็จะเป็นหน้า 3 หน้า 4 ราคา 20 บาท/กก. ถุงละ 100 บาท หน้า 5 ราคา 90 บาท/ถุง แต่ถ้ามะระผลผลิตน้อยราคาอาจพุ่งไปสูงถึง 30 บาท/กก. แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 18-20 บาท/กก. ช่วงถูกที่สุดของมะระอยู่ที่ 4 บาท/กก. ราคานี้ชาวสวนขาดทุน ถ้ามะระราคา 10 บาท/กก. ถึงจะเรียกได้ว่าเป็นจุดคุ้มทุนที่พอจะทำให้ชาวสวนอยู่ได้

 

ทิศทางการสร้างรายได้ในการปลูกมะระในอนาคต

คุณประหยัดเล่าให้ทีมงานฟังว่าการปลูกมะระเป็นง่ายที่จุกจิกและเหนื่อยมากโดยเฉพาะในการตัดที่ต้องมีความชำนาญและประสบการณ์ในการเลือกมะระการจ้างคนงานบางทีก็ได้แต่ปริมาณแต่ก็ไม่ได้คุณภาพมะระบางลูกสามารถค้างไว้ให้กลายเป็นหน้า3ได้ถ้าตัดมาก่อนก็เสียราคาส่วนใหญ่ในสวนจึงลงมือทำกันเองซึ่งก็ทำให้เสียเวลาในการตัดแต่ละครั้งค่อนข้างมาก เมื่อตัดมาแล้วก็ต้องมาคัดแยกตามแต่ละเบอร์บรรจุใส่ถุงตามขนาดเรียกว่าช่วงตัดมะระจะเป็นเวลาที่อดหลับอดนอนกันเลยทีเดียวแต่มันก็ตอบแทนความคุ้มค่าได้ถ้าในการขายได้ราคาที่ดีพอคาดว่าถ้าราคาขายดีนั้นจะสร้างกำไรได้แบบครึ่งต่อครึ่งซึ่งถือว่าดีมาก แต่ปัญหาของมะระอีกอย่างคือไม่สามารถปลูกต่อเนื่องได้ต้องมีการเว้นระยะการปลูกในแต่ละปีจึงปลูกได้แค่ครั้งเดียวในกรณีนี้ถ้าใครมีที่ดินมากพออาจจะหมุนเวียนการปลูกมะระได้ก็จะเป็นการสร้างรายได้ต่อเนื่องที่ดีได้ตลอดทั้งปีเช่นกัน

 


ขอบพระคุณ คุณประหยัด ทัดดอกไม้
ข้อมูลจาก palangkaset.com


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 5613 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [การปลูกพืช]:
หนอน หนอนกินใบ หนอนเจาะผล หนอนเจาะลำต้น ทุกหนอน แก้ด้วยไอกี้-บีที
เกลือเป็นหนอน ต้องแก้ปัญหาขององค์กร แต่พืชเป็นหนอน กำจัดง่าย ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ
อ่านแล้ว: 6477
พืชใบเหลือง ต้นไม้ใบเหลือง ใบไม้เหลือง อย่าตกใจ บางครั้งแค่ขาดไนโตรเจน
ในบางกรณี ที่เราให้ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เขียว หรือพืชดูคล้ายจะไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยที่เรา..
อ่านแล้ว: 6866
ชวนชมใบเหลือง ชวนชมใบร่วง ชวนชมใบจุด เป็นได้สองถึงสามสาเหตุ แต่หลักๆคือ ชวนชมไม่แข็งแรง
โรคและแมลงศัตรูพืช จะเข้าทำลายต้นชวมชมเมื่ออ่อนแอ แต่หากเรารู้วิธีการดูแลชวนชมให้สมบูรณ์แข็งแรง โรคและแมลงก็ไม่มี
อ่านแล้ว: 8814
เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี่ยอ่อน เพลี้ยกระโดด แก้ด้วย มาคา
เพลี้ยจักจั่นปีกลาย เพลี้ยไฟ ที่ทำลายเมล่อน และผักต่างๆ ป้องกันและจำกัดเพลี้ยด้วย มาคา สารอัลคาลอยด์
อ่านแล้ว: 7387
หนอนชอนใบ เมล่อน แตงโม แตงกวา แคนตาลูบ แตงโม ฟักทอง มะระจีน กำจัดด้วย ไอกี้-บีที
แมลงวันหนอนชอนใบ มักจะพบตัวหนอนชอนไช อยู่บริเวณในใบ สังเกตุง่าย จะเห็นรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวเลี้ยวไปมา อยู่บนใบของพืช
อ่านแล้ว: 7334
ปุ๋ยอินทรีย์ เร่งโต สร้างภูมิต้านทางโรค คุณภาพดีจาก ฟาร์มเกษตร FarmKaset.ORG
ลดอาการคลายน้ำในพืช และช่วยให้พืชใบเขียวเข้ม เจริญเติบโตได้ดีแม้ในช่วงหน้าแล้ง ด้วย บูตเตอร์สีเงิน มีธาตุเหล็ก และ..
อ่านแล้ว: 6695
พริกใบหงิก ดอกหลุดร่วง ใบเหลือง ออกผลน้อย นั้นเพราะ เพลี้ยไฟพริก ระบาดแล้ว
เพลี้ยไฟพริก จะระบาดมากในช่วงฤดูแล้ง ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มไว ของ เพลี้ยไฟพริกนี้ จะใช้ปากเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช
อ่านแล้ว: 6850
หมวด การปลูกพืช ทั้งหมด >>