ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: การปลูกพืช | อ่านแล้ว 10795 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การปลูกพืชบนที่ลาดชัน

การปลูกพืชบนพื้นที่ลาดชัน - บนภูเขาสูงในภาคเหนือ ซึ่งเกษตรกรสามารถปฏิบัติได้ด้วยตัวเอง นักวิชาการเกษตรได้แนะนำแนวทาง..

data-ad-format="autorelaxed">

การปลูกพืชบนที่ลาดชัน

การปลูกพืชบนที่ลาดชัน

คำถาม อยากทราบวิธีปลูกพืชบนพื้นที่ลาดชันบนภูเขาสูงครับ ขอถามหลายๆ วิธีนะครับ

ณัฐพงษ์ เขมะอนุจินดา

อ.ร้องกวาง จ.แพร่

คำตอบ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคเหนือตอนบน จะเป็นภูเขาสูง มีพื้นที่ลุ่มและพื้นที่ดอนเพียงส่วนน้อย จากปัญหาการเพิ่มของประชากร และการใช้ดินอย่างผิดวิธี ก่อให้เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายของผิวหน้าดิน ซึ่งเป็นแหล่งธาตุอาหารพืชมีผลทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลงจนบางแห่งไม่สามารถปลูกพืชได้ เกษตรกร จึงต้องบุกรุกทำลายป่ามากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจและสังคม

การปลูกพืชบนพื้นที่ลาดชันบนภูเขาสูงในภาคเหนือ ซึ่งเกษตรกรสามารถปฏิบัติได้ด้วยตัวเอง นักวิชาการเกษตรได้แนะนำแนวทางไว้ดังนี้

การใช้แถบไม้พุ่มบำรุงดินและการใช้แถบหญ้าแฝก มีขั้นตอนและวิธีการ ดังนี้

1. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์

- อุปกรณ์ในการจัดทำแนวระดับ ได้แก่ ไม้เอ-เฟรม ซึ่งเกษตรกรสามารถจัดทำได้ในพื้นที่ และไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากนัก

- วัสดุที่ใช้ทำแถบอนุรักษ์ ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ และกล้าพันธุ์พืชที่ใช้ปลูกเป็นแถบขวางความลาดชันของพื้นที่ ในกรณีที่จะใช้แถบไม้พุ่มบำรุงดิน แนะนำให้ใช้ถั่วมะแฮะ กระถิน ถั่วมะแฮะนก หรือครามป่า ส่วนกรณีที่ใช้แถบหญ้า แนะนำให้ใช้หญ้ารูซี่หญ้าเซททาเรียหญ้าแฝก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกรที่จะนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นด้วย และขึ้นอยู่กับแหล่งวัสดุว่ามีปริมาณที่เพียงพอหรือไม่

2. การจัดทำแถบพืชอนุรักษ์ดินและน้ำ

- กำหนดเส้นแนวระดับหรือแนวแถบพืช โดยการทำการปักหลักเพื่อแสดงแนวแถบพืชแต่ละแถบ จากพื้นที่ด้านล่างขึ้นไปสู่พื้นที่ด้านบน ซึ่งโดยปกติแล้ว แนะนำให้ปักหลักเป็นแนวตรงกลางแปลง ให้แต่ละหลัก หรือแต่ละแถบพืช ห่างกัน 3 เมตร ตามแนวดิ่ง

- การวางแนวระดับหรือวางแนวแถบพืช หลังจากกำหนดแนวแถบพืชหลักบริเวณกลางแปลง หรือบริเวณพื้นที่ที่เป็นตัวแทนของความลาดชันเรียบร้อยแล้วก็ทำการวางแนวระดับ จากจุดกลางแปลงออกไปทางซ้ายและขวา โดยใช้ไม้เอ-เฟรมและควรปักหลักตรงจุดที่ได้ระดับเป็นแนวไว้ให้ชัดเจน การวางแนวระดับ โดยการใช้ไม้เอ-เฟรม เริ่มจากเส้นฐานกลางแปลง โดยการวางไม้เอ-เฟรม ปรับขาข้างใดข้างหนึ่งจนลูกตุ้มถ่วงตรงกลาง จึงปักหลักตรงจุดที่ 1 และจุดที่ 2 แสดงว่า จุดที่ 1 และ 2 อยู่แนวระดับเดียวกันขยับไม้เอ-เฟรม และปักไม้หลักไปจนสุดพื้นที่ทั้ง 2 ด้าน ก็จะได้เส้นแนวระดับ

3. การปลูกแถบพืชอนุรักษ์ดินและน้ำ

- การเลือกใช้แถบไม้พุ่มบำรุงดิน เมื่อทำแนวระดับแล้ว ควรมีการเตรียมดินพอสมควร โดยใช้จอบสับดินเป็นร่องยาว โรยเมล็ดพืชตระกูลถั่ว การปลูกพืชตระกูลถั่วแนะนำให้ปลูกเป็นแถวคู่ ห่างกัน 50 เซนติเมตร เมื่อโรยเมล็ดเสร็จแล้ว ก็กลบดิน เกษตรกรสามารถเลือกปลูก โดยวิธีกระทุ้งหลุมปลูกก็ได้ โดยให้ระยะหลุมในแต่ละแถวห่างกัน 10-20 เซนติเมตร การผสมเมล็ดพืชตระกูลถั่วมากกว่าหนึ่งชนิด ก็สามารถกระทำได้เพื่อให้ได้แถบพืชอนุรักษ์ดินและน้ำ ที่ถาวรและมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้กระถินผสมถั่วมะแฮะ ในอัตรา 1:1 ปลูกโรยเป็นแถวคู่เช่นเดียวกัน สำหรับการดูแลแถบไม้พุ่ม ให้ทำการตัดแต่งแถบไม้พุ่มทุกเดือน ในช่วงฤดูกาลปลูกพืช โดยตัดแต่งไม่ให้สูงเกิน 1 เมตร จากพื้นดิน และใช้เศษของพืชที่ตัดเป็นวัสดุคลุมบำรุงดินในพื้นที่ปลูกพืชระหว่างแถบไม้พุ่มบำรุงดินทั้งหมด

- การเลือกใช้แถบหญ้า ทำการเตรียมดินตามแนวระดับที่กำหนดไว้เช่นเดียวกัน ในกรณีที่ใช้หญ้าที่ปลูกจากเมล็ด เช่น หญ้ารูซี่หญ้าเซททาเรีย ก็ทำการหว่านให้เป็นแถบกว้างไม่เกิน 1 เมตร ส่วนในกรณีที่ใช้หน่อปลูก เช่น หญ้าบาเฮีย และหญ้าแฝก ก็ขุดหลุมตามคำแนะนำ การดูแลรักษาแถบหญ้า ควรตัดแต่งทุกเดือนเช่นกัน ในช่วงฤดูปลูกพืช และใช้เศษพืชเป็นวัสดุคลุมบำรุงดิน หรือนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นตามต้องการ เช่น นำไปเลี้ยงสัตว์ หรือทำปุ๋ยหมัก เป็นต้น


ข้อมูลจาก
- นาย รัตวิ
- naewna.com/local/169624

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 10795 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [การปลูกพืช]:
หนอน หนอนกินใบ หนอนเจาะผล หนอนเจาะลำต้น ทุกหนอน แก้ด้วยไอกี้-บีที
เกลือเป็นหนอน ต้องแก้ปัญหาขององค์กร แต่พืชเป็นหนอน กำจัดง่าย ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ
อ่านแล้ว: 6477
พืชใบเหลือง ต้นไม้ใบเหลือง ใบไม้เหลือง อย่าตกใจ บางครั้งแค่ขาดไนโตรเจน
ในบางกรณี ที่เราให้ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เขียว หรือพืชดูคล้ายจะไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยที่เรา..
อ่านแล้ว: 6866
ชวนชมใบเหลือง ชวนชมใบร่วง ชวนชมใบจุด เป็นได้สองถึงสามสาเหตุ แต่หลักๆคือ ชวนชมไม่แข็งแรง
โรคและแมลงศัตรูพืช จะเข้าทำลายต้นชวมชมเมื่ออ่อนแอ แต่หากเรารู้วิธีการดูแลชวนชมให้สมบูรณ์แข็งแรง โรคและแมลงก็ไม่มี
อ่านแล้ว: 8814
เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี่ยอ่อน เพลี้ยกระโดด แก้ด้วย มาคา
เพลี้ยจักจั่นปีกลาย เพลี้ยไฟ ที่ทำลายเมล่อน และผักต่างๆ ป้องกันและจำกัดเพลี้ยด้วย มาคา สารอัลคาลอยด์
อ่านแล้ว: 7387
หนอนชอนใบ เมล่อน แตงโม แตงกวา แคนตาลูบ แตงโม ฟักทอง มะระจีน กำจัดด้วย ไอกี้-บีที
แมลงวันหนอนชอนใบ มักจะพบตัวหนอนชอนไช อยู่บริเวณในใบ สังเกตุง่าย จะเห็นรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวเลี้ยวไปมา อยู่บนใบของพืช
อ่านแล้ว: 7334
ปุ๋ยอินทรีย์ เร่งโต สร้างภูมิต้านทางโรค คุณภาพดีจาก ฟาร์มเกษตร FarmKaset.ORG
ลดอาการคลายน้ำในพืช และช่วยให้พืชใบเขียวเข้ม เจริญเติบโตได้ดีแม้ในช่วงหน้าแล้ง ด้วย บูตเตอร์สีเงิน มีธาตุเหล็ก และ..
อ่านแล้ว: 6695
พริกใบหงิก ดอกหลุดร่วง ใบเหลือง ออกผลน้อย นั้นเพราะ เพลี้ยไฟพริก ระบาดแล้ว
เพลี้ยไฟพริก จะระบาดมากในช่วงฤดูแล้ง ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มไว ของ เพลี้ยไฟพริกนี้ จะใช้ปากเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช
อ่านแล้ว: 6850
หมวด การปลูกพืช ทั้งหมด >>