เนื่องจากถูกบังโดยเทือกเขา จึงมักเปลี่ยนเส้นทางลงสู่ภาคใต้ของประเทศไทย ส่วนฤดูหนาวที่นี่จะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยอากาศจะหนาวจัดระหว่างเดือนมกราคม
อำเภอขุนหาญจังหวัดศรีสะเกษ เป็นแหล่งเพาะปลูกไม้ผลหลากหลายชนิดในภาคอีสาน จนได้รับการเรียกขานว่าเป็นดินแดนมหัศจรรย์ เพราะเป็นแหล่งปลูกผลไม้ที่มีปลูกในทั่วทุกภาคของประเทศ
ที่นี้มีผลไม้แทบทุกชนิดตั้งแต่ ทุเรียน มังคุด รวมทั้ง สะตอ ลองกอง ยางพารา ลำไย ลิ้นจี่ มะปรางหวาน กระท้อน ส้มโอ มะม่วง และฝรั่ง โดยเฉพาะ เงาะ และทุเรียนนั้น นับเป็นผลไม้ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง ด้วยมีคุณภาพระดับส่งออกเช่นเดียวกับทุเรียนที่ปลูกในพื้นที่ภาคตะวันออก แถมมีคุณลักษณะที่แตกต่างไปจากทางภาคตะวันออก และภาคใต้ คือ มีขนาดของผล รสชาติ และสีสันของเนื้ออยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ที่สำคัญ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตามอายุ จึงได้ผลผลิตคุณภาพดี เหมาะแก่การส่งออก
ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่มีสภาพอากาศที่เหมาะสม เพราะตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของอากาศจากเทือกเขาพนมดงรัก เทือกเขาที่กั้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ถึงแม้ว่าจะตั้งอยู่ห่างไกลจากทะเลมากและอยู่ในเขตร้อนได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะลมมรสุมตะวันตก
เฉียงใต้จะพัดเข้ามาช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคมซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนลมนี้จะพัดเอาความชุ่มชื้น และนำฝนมาตกนอกจากนี้ยังอยู่ในเส้นทางของพายุดีเปรสชันที่ก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้อีกด้วย
แต่พื้นที่จะมีฝนตกน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเนื่องมาจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีเทือกเขาพนมดงรักทางตอนใต้ขวางกั้นลมฝนหรือที่เรียกว่าลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นลักษณะเงาฝน ส่วนลมพายุที่ก่อตัวแถบทะเลจีน ใต้ จะไม่เบนทิศทางเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างเนื่องจากถูกบังโดยเทือกเขาจึงมักเปลี่ยนเส้นทางลงสู่ภาคใต้ของประเทศไทย ส่วนฤดูหนาวที่นี่จะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์โดยอากาศจะหนาวจัดระหว่างเดือนมกราคม ส่วนฤดูร้อนจะเริ่มต้นตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม เดือนที่มีอากาศร้อนจัดที่สุดคือเดือนเมษายน
ด้วยลักษณะภูมิประเทศดังกล่าวจึงทำให้พื้นที่แห่งนี้มี3ฤดู คือฤดูร้อน ฤดูฝนและฤดูหนาวแต่สิ่งที่ยังขาดอยู่ก็คือเรื่องน้ำ เพื่อการเพาะปลูกอย่างเพียงพอดังที่กล่าวมาว่าพื้นที่แห่งนี้ปริมาณน้ำฝนจะน้อย อดีตในพื้นที่จะไม่สามารถปลูกพืชให้ผลได้ เพราะขาดน้ำแต่ต่อมาเมื่อการบริหารจัดการน้ำที่ดีเกิดขึ้นในพื้นที่ การปลูกพืชให้ผลจึงประสบความสำเร็จดังที่ปรากฏในทุกวันนี้
เพราะที่นั่นมีโครงการอ่างเก็บน้ำ ห้วยตาจูอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลโนนสูง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ตั้งอยู่ เพื่อเก็บกักน้ำในช่วงหน้าฝนและส่งเข้าสู่แปลงปลูกพืชอย่างทั่วถึงและเพียงพอในช่วงฤดูแล้ง การปลูกพืชให้ผลของพื้นที่จึงประสบความสำเร็จ
และล่าสุดเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2558 ที่ผ่านมานายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี พร้อมด้วยนายดนุชา สินธวานนท์ รองเลขาธิการ กปร. นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ ที่ปรึกษาสำนักงาน กปร. นายเทิดศักดิ์ บุณยขจร ผู้เชี่ยวชาญด้านแหล่งน้ำ มูลนิธิชัยพัฒนา และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าตรวจเยี่ยมการบริหารจัดการน้ำ ของโครงการฯ
พบว่าตั้งแต่ปี 2529 ภายหลังจากได้จัดสร้างอ่างเก็บน้ำ และคลองส่งน้ำ ระบบชลประทาน ทางส่วนงานที่เกี่ยวข้องได้มีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างต่อเนื่อง จวบจนปัจจุบันระบบน้ำ ได้เข้าถึงแปลงปลูกของเกษตรกร อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ราษฎรมีแหล่งน้ำ เพียงพอต่อการเกษตร โดยอ่างฯ สามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกเป็นนาข้าวประมาณ 13,000 ไร่ ในช่วงฤดูฝน และประมาณ 4,500 – 6,500 ไร่ ในฤดูแล้ง และพื้นที่ไม้ผลอีกจำนวนไม่น้อย ราษฎรมีน้ำสำหรับทำการเกษตรและอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ราษฎรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
พร้อมกันนี้คณะยังได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมสวนผลไม้ของ นายสามารถ ทองสวัสดิ์ เกษตรกรผู้ปลูกไม้ให้ผลนานาชนิดบนเนื้อที่กว่า 88 ไร่ อาทิ มะม่วง ลิ้นจี่ ทุเรียน มังคุด และฝรั่ง ซึ่งนับเป็นหนึ่งในตัวอย่างของความสำเร็จในการบริหารจัดการน้ำของโครงการฯ อย่างเห็นได้ชัดเจน.
อ้างอิง dailynews.co.th