ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: การปลูกพืช | อ่านแล้ว 22661 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

การเพาะเห็ดฟาง มีหลายวิธี การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เป็นอีกวิธีหนึ่งที่กำลังเป็นที่สนใจ สามารถเพาะในพื้นที่ซ้ำได้ ลดปัญหา..

data-ad-format="autorelaxed">

พูดถึง เห็ดฟาง เห็ดฟางเป็นเห็ดที่รู้จักกันมานาน สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด มีคุณค่าทางโภชนาการสูง นิยมบริโภคกันโดยทั่วไป เห็ดฟางจึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องราคาตกต่ำ หรือไม่ค่อยมีปัญหาด้านการตลาดมากนัก ในกรณีที่มีผลผลิตออกมามาก เมื่อเทียบกับบรรดาเห็ดด้วยกัน

 

 การเพาะเห็ดฟางในตระกร้า

 

การเพาะเห็ดฟาง มีหลายวิธี การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เป็นอีกวิธีหนึ่งที่กำลังเป็นที่สนใจ เนื่องด้วย

- สามารถเพาะในพื้นที่ซ้ำเดิมได้ โดยปกติต้องเปลี่ยนสถานที่เพาะเนื่องจากปัญหาการสะสมของโรค แมลง

- วัสดุเพาะไม่สัมผัสพื้นดิน ลดปัญหาในเรื่องของเชื้อโรคที่มาจากพื้นดิน

- ต้นทุนในการผลิตต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการเพาะแบบโรงเรือนปกติ

 

วัสดุและอุปกรณ์ในการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

 

วัสดุเพาะ

- หัวเชื้อเห็ดฟาง อายุ 7 วัน (สังเกตจากมีเส้นใยสีขาวขึ้นบนก้อนเชื้อ)

- ก้อนเชื้อเห็ดเก่า

- ฟางข้าว

- ต้นกล้วย

- ชานอ้อย

- อาหารเสริม เช่น ผักตบชวา มูลวัว ไส้นุ่น รำละเอียด

- อาหารกระตุ้นหัวเชื้อ ได้แก่ แป้งสาลี หรือแป้งข้าวเหนียว

- น้ำสะอาดชล

 

วัสดุเพาะ

- ตะกร้าเพาะเห็ดฟาง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18 นิ้ว สูง 11 นิ้ว มีช่องขนาด 1 ตารางนิ้ว ด้านล่างเจาะรูทำช่องระบายน้ำ

พลาสติกคลุม

- สุ่มไก่ หรือวัสดุอื่นๆ สำหรับทำเป็นโครง

 

วิธีการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

 

1. ชั้นที่ 1 เริ่มที่นำเชื้อเห็ดฟาง ขนาด 1 ปอนด์ แกะใส่ภาชนะ และฉีกหัวเชื้อเป็นชิ้นเล็ก แล้วโรยแป้งสาลี หรือแป้งข้าวเหนียว แบ่งหัวเชื้อเห็ดออกเป็น 6 ส่วนเท่า ๆ กัน (หัวเชื้อ 1 ถุง ทำได้ 2 ตะกร้า) จากนั้นนำวัสดุเพาะ (ฟางข้าว) มารองก้นตะกร้าให้มีความสูงประมาณ 2-3 นิ้ว (กดให้แน่น ๆ) หรือสูงถึง 2 ช่องล่างของตะกร้า แล้วโรยอาหารเสริม (ผักตบชวา) ให้ชิดขอบตะกร้า หนาประมาณ 1 นิ้ว หรือสูงประมาณ 1 ช่องตะกร้า และนำเชื้อเห็ดฟางที่เตรียมไว้ 1 ส่วน วางรอบตะกร้าให้ชิดขอบตะกร้าเป็นจุด ๆ

 

2. ชั้นที่ 2 ให้ทำแบบเดิม ในส่วนชั้นที่ 3 ให้ทำเหมือนชั้นที่ 1 และ ชั้นที่ 2 แต่เพิ่มการโรยอาหารเสริมให้เต็มพื้นที่ด้านบนให้หนา 1 นิ้ว แล้ว โรยเชื้อเห็ดฟางให้เต็มที่ โดยกระจายเป็นจุด ๆ ด้านบนตะกร้า โดยให้มีระยะห่างเท่า ๆ กัน จากนั้นโรยวัสดุเพาะ อาทิ ฟางข้าว ด้านบนอีกครั้ง หนาประมาณ 1 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่ม

 

การดูแลรักษาการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

 

นำตะกร้าเพาะไปวางบนพื้นโรงเรือน หรือชั้นโครงเหล็กที่เตรียมไว้ หรือจะยกพื้นวางอิฐบล็อก หรือไม้ท่อนก็ได้ เตรียมสุ่ม 1 สุ่ม สำหรับตะกร้า 4 ใบ โดยตะกร้า 3 ใบวางด้านล่างชิดกัน และวางด้านบนอีก 1 ใบ ให้ตะกร้าห่างจากสุ่มไก่ประมาณ 1 คืบ จากนั้นนำพลาสติกมาคลุมสุ่มไก่จากด้านบนถึงพื้น แล้วนำอิฐ หรือไม้ทับขอบพลาสติก เพื่อไม่ให้พลาสติกเปิดออก

ช่วงวันที่ 1 ถึงวันที่ 4 หลังเพาะ ในช่วงฤดูร้อนถึงฤดูฝน และวันที่ 1 ถึง 7 วันแรกในช่วงฤดูหนาว ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิ ในกระโจม หรือโรงเรือน ให้อยู่ในช่วงระหว่าง 37-40 องศาเซลเซียส เฉลี่ยประมาณ 38 องศาเซลเซียส ในระหว่างวันที่ 5 ถึง 8 ต้องควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส เพราะในระหว่างวันที่ 5-7 จะมีการรวมตัวกันของเส้นใย เป็นดอกเล็ก ๆ จำนวนมาก ระหว่างนี้ห้ามเปิดพลาสติก หรือโรงเรือนบ่อย เพราะจะทำให้ดอกเห็ดฝ่อ

 

ประมาณวันที่ 7-8 ในฤดูร้อน หรือวันที่ 9-10 ในฤดูหนาว เห็ดฟางจะเริ่มให้ดอกขนาดโต จึงจะเก็บเกี่ยวได้ โดยการเก็บควรทำตอนเช้ามืด เพื่อดอกเห็ดจะได้ไม่บาน ดอกเห็ดที่เก็บควรมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลอกยังไม่แตก ดอกยังไม่บาน ถ้าปล่อยให้ปลอกแตก และดอกบานแล้วค่อยเก็บ จะขายได้ราคาต่ำ การเก็บควรใช้มีดสะอาดตัดโคนเห็ด ถ้ามีดอกเห็ดขึ้นอยู่ติดกันหลายดอกควรเก็บขึ้นมาพร้อมกันทีเดียว ถ้าเก็บเฉพาะดอกเห็ดที่โตออกมาดอกที่เหลือจะไม่โต และฝ่อตายไป

 

ผลผลิตเห็ดฟางสามารถเก็บได้ 2-3 ครั้ง เก็บเห็ดได้เฉลี่ย 1 กิโลกรัมต่อตะกร้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่เพาะ การดูแลรักษา ฤดูกาล และวิธีการปฏิบัติ สำหรับต้นทุน และผลตอบแทน ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยครั้งที่ 1 60-80 บาท ต่อตะกร้า หากเป็นการเพาะครั้งที่ 2-6 ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยที่ 20-40 บาทต่อตะกร้า (ไม่มีค่าตะกร้า) ราคาขายผลผลิตเห็ดโดยเฉลี่ย 70 บาทต่อกิโลกรัม ผลกำไรเฉลี่ย 10-50 บาทต่อกิโลกรัม

 

อ้างอิง vegetweb.com

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 22661 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [การปลูกพืช]:
หนอน หนอนกินใบ หนอนเจาะผล หนอนเจาะลำต้น ทุกหนอน แก้ด้วยไอกี้-บีที
เกลือเป็นหนอน ต้องแก้ปัญหาขององค์กร แต่พืชเป็นหนอน กำจัดง่าย ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ
อ่านแล้ว: 6476
พืชใบเหลือง ต้นไม้ใบเหลือง ใบไม้เหลือง อย่าตกใจ บางครั้งแค่ขาดไนโตรเจน
ในบางกรณี ที่เราให้ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เขียว หรือพืชดูคล้ายจะไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยที่เรา..
อ่านแล้ว: 6866
ชวนชมใบเหลือง ชวนชมใบร่วง ชวนชมใบจุด เป็นได้สองถึงสามสาเหตุ แต่หลักๆคือ ชวนชมไม่แข็งแรง
โรคและแมลงศัตรูพืช จะเข้าทำลายต้นชวมชมเมื่ออ่อนแอ แต่หากเรารู้วิธีการดูแลชวนชมให้สมบูรณ์แข็งแรง โรคและแมลงก็ไม่มี
อ่านแล้ว: 8814
เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี่ยอ่อน เพลี้ยกระโดด แก้ด้วย มาคา
เพลี้ยจักจั่นปีกลาย เพลี้ยไฟ ที่ทำลายเมล่อน และผักต่างๆ ป้องกันและจำกัดเพลี้ยด้วย มาคา สารอัลคาลอยด์
อ่านแล้ว: 7386
หนอนชอนใบ เมล่อน แตงโม แตงกวา แคนตาลูบ แตงโม ฟักทอง มะระจีน กำจัดด้วย ไอกี้-บีที
แมลงวันหนอนชอนใบ มักจะพบตัวหนอนชอนไช อยู่บริเวณในใบ สังเกตุง่าย จะเห็นรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวเลี้ยวไปมา อยู่บนใบของพืช
อ่านแล้ว: 7334
ปุ๋ยอินทรีย์ เร่งโต สร้างภูมิต้านทางโรค คุณภาพดีจาก ฟาร์มเกษตร FarmKaset.ORG
ลดอาการคลายน้ำในพืช และช่วยให้พืชใบเขียวเข้ม เจริญเติบโตได้ดีแม้ในช่วงหน้าแล้ง ด้วย บูตเตอร์สีเงิน มีธาตุเหล็ก และ..
อ่านแล้ว: 6695
พริกใบหงิก ดอกหลุดร่วง ใบเหลือง ออกผลน้อย นั้นเพราะ เพลี้ยไฟพริก ระบาดแล้ว
เพลี้ยไฟพริก จะระบาดมากในช่วงฤดูแล้ง ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มไว ของ เพลี้ยไฟพริกนี้ จะใช้ปากเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช
อ่านแล้ว: 6850
หมวด การปลูกพืช ทั้งหมด >>