ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไร่ข้าวโพด | อ่านแล้ว 22482 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ข้าวโพดหวานลูกผสม สงขลา 84

เป็นพืชพันธุ์ใหม่อีกหนึ่งพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรปรับปรุงพันธุ์ประสบผลสำเร็จ และได้เร่งขยายผลการส่งเสริมไปสู่เกษตรกร....

data-ad-format="autorelaxed">

ข้าวโพดหวานลูกผสม สงขลา 84

ข้าวโพดหวานลูกผสม "สงขลา 84“ ทางเลือกใหม่ของชาวใต้ ข้าวโพดหวานลูกผสม สงขลา 84 (Hybrid sweet corn “Songkhla 84”) เป็นพืชพันธุ์ใหม่อีกหนึ่งพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรปรับปรุงพันธุ์ประสบผลสำเร็จ และได้เร่งขยายผลการส่งเสริมไปสู่เกษตรกรในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ปลูกข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์นี้มากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตป้อนตลาดและผู้บริโภค เป็นการเพิ่มทางเลือกใหม่ช่วยเสริมสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรอยู่ระหว่างเตรียมยื่นเสนอให้ คณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช พิจารณาประกาศเป็น “พันธุ์พืชแนะนำ” ของกรมวิชาการเกษตร ถือเป็นพืชที่มีโอกาสทางด้านการตลาดและมีศักยภาพสามารถในการแข่งขันได้...

นายไพโรจน์ สุวรรณจินดา รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในฐานะโฆษกกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า เกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้นิยมปลูกข้าวโพดหวานเพื่อสร้างรายได้เสริมจากการปลูกพืชหลัก แต่การผลิตข้าวโพดหวานในภาคใต้มีปัญหาเรื่องราคาปัจจัยการผลิตที่ขยับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาเมล็ดพันธุ์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัทเอกชน มีแนวโน้มราคาสูงขึ้นทุกปี ทำให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรเพิ่มสูงขึ้น ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา จึงได้ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมให้ผลผลิตสูง ที่เหมาะกับการปลูกในเขตภาคใต้ และมีคุณภาพดีเหมาะสมกับการบริโภคฝักสด เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตและให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น

ข้าวโพดหวานลูกผสมสงขลา 84 นี้ เดิมชื่อ พันธุ์ฉลุง 5638 เกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวโพดหวานสายพันธุ์แท้ CLei08056 และ สายพันธุ์แท้ CLei08038 โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลาได้คัดเลือกและปรับปรุงสายพันธุ์ระหว่างปี 2548-2554 เริ่มจากการสกัดสายพันธุ์แท้ คัดเลือกสายพันธุ์พ่อแม่ สร้างข้าวโพดหวานลูกผสม พร้อมทดสอบพันธุ์ลูกผสมตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ได้แก่ เปรียบเทียบเบื้องต้น เปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐาน ปลูกเปรียบเทียบในท้องถิ่นและแปลงเกษตรกร พร้อมเปิดโอกาสให้เกษตรกรและผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการคัดเลือกพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมด้วย ผลปรากฏว่า ได้รับความพึงพอใจจากเกษตรกรและผู้บริโภคในภาคใต้

นายฉลอง เกิดศรี นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา กรมวิชาการเกษตร หนึ่งในทีมปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมสงขลา 84 กล่าวว่า ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ใหม่นี้ มีลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตสูง

โดยให้ผลผลิตทั้งเปลือกเฉลี่ย 2,860 กิโลกรัม/ไร่ น้ำหนักฝักสดปอกเปลือกเฉลี่ย 2,170 กิโลกรัม/ไร่ ทั้งยังมีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการบริโภคฝักสด มีความหวานสูงเฉลี่ย 16.0 องศาบริกซ์ มีฝักขนาดใหญ่ แกนฝักเล็ก ติดเมล็ดเต็มฝัก เมล็ดเรียงแถวบนฝักเป็นระเบียบ มีเนื้อเมล็ดมาก เยื่อเมล็ดบาง และรสชาติฝักต้มดี ซึ่งแนะนำให้ปลูกข้าวโพดหวานลูกผสมสงขลา 84 ได้ทั้งในสภาพดินไร่และดินนาของภาคใต้ แต่มี ข้อควรระวัง คือ ไม่ควรปลูกในสภาพดินทราย

ส่วน ลักษณะประจำพันธุ์ ของข้าวโพดหวานลูกผสมสงขลา 84 คือ ต้นสูง 180 เซนติเมตร ความสูงของฝัก 82 เซนติเมตร อายุออกดอกตัวผู้ 54 วัน อายุออกไหม 55 วัน อายุเก็บเกี่ยว 75 วัน ความกว้างฝัก 5 เซนติเมตร ความยาวฝัก 18.1 เซนติเมตร เมล็ดมีสีเหลืองอ่อนแกมขาว โดยกรมวิชาการเกษตรได้ตั้งชื่อข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ฉลุง 5638 เป็นข้าวโพดหวานลูกผสม “สงขลา 84” นั้น เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษาใน

วันที่ 5 ธันวาคม 2554อย่างไรก็ตามปี 2555 นี้ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลาได้มีแผนเร่ง ผลิตเมล็ดพันธุ์ ข้าวโพดหวานลูกผสมสงขลา 84 ป้อนให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวานในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างไม่น้อยกว่า 500 กิโลกรัม ขณะเดียวกันยังมีแผนเร่งเพิ่มกำลังการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้ได้อย่างน้อย 1 ตัน เพื่อรองรับความต้องการของเกษตรกรที่จะใช้ปลูกในช่วงต้นปี 2556 อีกทั้งยังเร่งสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมสงขลา 84 เพื่อเพิ่มปริมาณเมล็ดพันธุ์มากขึ้นเพื่อป้อนให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวาน เพื่อจะได้ใช้พืชพันธุ์ดีในการยกระดับประสิทธิภาพการผลิต และช่วยลดต้นทุนการผลิตด้วยหากสนใจข้อมูลเกี่ยวกับ ’ข้าวโพดหวานลูกผสมสงขลา 84“ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา จังหวัดสงขลา โทร. 0-7420-5979-80 ในวันและเวลาราชการ

อ้างอิง:www.dailynews.co.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 22482 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไร่ข้าวโพด]:
หนอนเจาะฝักข้าวโพด ข้าวโพดใบไหม้ ข้าวโพดฝักหวี ราสนิมข้าวโพด รู้โรคแก้ได้ แก้แล้วผลผลิตเพิ่ม
ข้าวโพดอ่อนแอต่อโรค เป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้ หนอน แมลงศัตรูพืช และโรคพืชต่างๆ เข้าทำลายข้าวโพดของเราได้ง่าย
อ่านแล้ว: 5094
โรคราสนิม ในข้าวโพด สร้างความเสียหาย ทำให้ผลผลิตลดลง ควรป้องกัด และรักษา
โรคราสนิม ที่เกิดกับข้าวโพด ใบข้าวโพดจะซีด เหลือง และแห้ง ซึ่งส่งให้ให้ ผลผลิตข้าวโพดลดลงเป็นอย่างมาก
อ่านแล้ว: 5913
ข้าวโพดใบไหม้ โรคใบไหม้แผลใหญ่ ทำข้าวโพดแห้งตายได้ ป้องกันได้ดังนี้
เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของโรคนี้ แผลหลายๆแผลจะขยายรวมกันมาก จนทำให้ข้าวโพด ใบแห้ง และตายลงไปในที่สุด
อ่านแล้ว: 6440
เพลี้ยอ่อนข้าวโพด ทำให้ข้าวโพดติดเมล็ดน้อย ไม่เต็มฟัก และยังดึงดูดศัตรู้พืชอื่นๆ - ปราบได้
เพลี้ยอ่อนข้าวโพด เข้าทำลายต้นข้าวโพด โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่างๆ ของต้นข้าวโพด เช่น กาบใบ โคนใบ ยอด กาบฝัก
อ่านแล้ว: 6789
กลางปีหน้า เจียไต๋ ปล่อยของ ข้าวโพดหวานม่วง..กินสดได้
ข้าวโพดหวานลูกผสมสีม่วง ที่ใช้เวลาในการปรับปรุงพันธุ์มานานถึง 10 ปี เพื่อให้ได้ข้าวโพดที่มี แอนโทไซยานิน หรือสาร..
อ่านแล้ว: 6386
ข้าวโพด8ล้านตันใครได้-ใครเสีย พรศิลป์ ชำแหละธุรกิจอาหารสัตว์

อ่านแล้ว: 5307
บัณฑิตเกษตรยุคไอที ปั้นข้าวโพดแดงขายผ่านโซเชียล
บัณฑิตป้ายแดงจากรั้วนนทรี ผู้ไม่อยากเป็นลูกจ้าง เข้ามาเป็นเกษตรกรเต็มตัว ทำการตลาดเอง ปั้นแพ็กเกจสุดเก๋ ขายผ่านออนไลน์
อ่านแล้ว: 5561
หมวด ไร่ข้าวโพด ทั้งหมด >>