ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไร่อ้อย | อ่านแล้ว 23637 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ระบบซื้ออ้อยของโรงงานเป็นอย่างไร

ระบบซื้ออ้อย : การซื้ออ้อยของโรงงานน้ำตาลในประเทศไทยแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ซื้อโดยอาศัยน้ำหนักอย่างเดียว

data-ad-format="autorelaxed">

อ้อย

ระบบซื้ออ้อยของโรงงานเป็นอย่างไร การซื้ออ้อยของโรงงานน้ำตาลในประเทศไทยแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ซื้อโดยอาศัยน้ำหนักอย่างเดียว เรียกว่าซื้อตามน้ำหนัก กับซื้อโดยอาอาศัยน้ำหนักและความหวาน เรียกว่า ซื้อตามคุณภาพ

 

ก. การซื้อตามน้ำหนัก วิธีนี้กำหนดราคาตายตัวตามน้ำหนักซึ่งคิดเป็นตัน ส่วนราคาจะเป็นเท่าใดนั้นก็แล้วแต่จะตกลงกันเป็นปี ๆ ไป ระหว่างชาวไร่และโรงงานโดยมีรัฐบาลเป็นตัวกลางหรือเป็นผู้ชี้ขาด ในรอบ ๓ ปีที่ผ่านมาได้ตกลงราคาตันละ ๓๐๐ บาท วิธีนี้นับว่าสะดวกนี้ แต่ไม่เป็นธรรม ตามทฤษฎีการซื้อขายวิธีนี้ไม่ว่าอ้อยจะมีคุณภาพหรือความหวานเท่าใดก็จะต้องได้ราคาเท่ากัน แต่ในทางปฏิบัติชาวไร่มักจะถูกโรงงานบางโรงตัดราคาอ้อย ถึงตันละ ๑๐-๒๐ บาท โดยไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนแต่อย่างใด สาเหตุที่โรงงานมักจะยกเป็นข้ออ้างในการตัดราคาอ้อยมีหลายประการ เช่น อ้อยอ่อน อ้อยยอดยาว อ้อยสกปรก อ้อยไหม้ไฟหรืออ้อยค้างหลายวัน เป็นต้น การซื้อขายวิธีนี้ชาวไร่ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบเสมอ เพราะอ้อยที่โรงงานถือว่ามีคุณภาพต่ำจะถูกตัดราคา แต่มิได้เพิ่มราคาให้สำหรับอ้อยที่มีคุณภาพสูง

โรงงานส่วนใหญ่ในประเทศไทย ๓๘ โรงในจำนวน ๔๓ โรงที่เปิดทำการในปี ๒๕๒๐-๒๑ ซื้ออ้อยโดยวิธีนี้ แต่ก็เป็นที่น่ายินดีว่าทางราชการมีโครงการที่จะเปลี่ยนจากการซื้อตามน้ำหนักไปเป็นการซื้อตามคุณภาพทั้งประเทศภายในเร็ว ๆ นี้

ข. ซื้อตามคุณภาพ การซื้อขายอ้อยถ้าจะกล่าวให้ตรงกับความเป็นจริงก็คือ การซื้อขายน้ำตาลที่มีอยู่ในอ้อยนั้นนั่งเอง ดังนั้นอ้อยที่มีน้ำตาลมากกว่าก็ควรจะได้ราคาสูงกว่า ในทางกลับกันอ้อยที่มีน้ำตาลน้อยว่าก็ควรจะได้ราคาต่ำกว่า ดังนี้เป็นต้น จึงนับว่าวิธีการซื้อตามคุณภาพเป็นธรรมทั้งแก่ชาวไร่และโรงงาน

ในฤดูหีบปี พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๑ จากโรงงานที่เปิดทำการทั้งหมด ๔๓ โรงมีเพียง ๕ โรงเท่านั้นที่ซื้ออ้อยตามคุณภาพ ในจำนวนนี้เป็นของรัฐวิสาหกิจเสีย ๔ โรง คือ โรงงานน้ำตาลไทยลำปาง โรงงานน้ำตาลไทยอุตรดิตถ์ โรงงานน้ำตาลสุพรรณบุรี และโรงงงานน้ำตาลชลบุรี ส่วนอีกโรงหนึ่ง คือ โรงงานน้ำตาลมหาคุณ ซึ่งเป็นของเอกชนตั้งอยู่ที่จังหวัดสิงห์บุรี

การซื้ออ้อยตามคุณภาพโดยทั่วไปมีหลายระบบ แต่ประเทศไทยใช้ระบบ ซีซีเอส (C.C.S.) ซึ่งเป็นระบบของประเทศออสเตรเลีย ซีซีเอส ย่อมาจากคำเต็มว่า Commercial Cane Sugar หมายถึง "ปริมาณของน้ำตาลซูโครสที่มีอยู่ในอ้อยจำนวนหนึ่งซึ่งสามารถสกัดออกมาได้ในรูปของน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ โดยโรงงานที่มีมาตรฐานสมมุติซึ่งสูงมาก" ดังนั้น ซีซีเอส จึงเป็นค่า "ตามทฤษฎี" เท่านั้น ทั้งนี้เพราะไม่สามารถที่จะหาโรงงานที่มีประสิทธ์ภาพร้อยละ ๑๐๐ ได้นั่นเอง

เพื่อให้เข้าใจง่าย ซีซีเอส หมายถึงค่าร้อยละของน้ำตาลซูโครส ที่ผลิตได้จากอ้อยจำนวนหนึ่ง เช่นอ้อยที่มี ซี ซี เอส ๑๐ หนัก ๑ ตัน (๑,๐๐๐ กิโลกรัม) จะสามารถให้น้ำตาลซูโครสได้สูงสุด ๑๐๐ กิโลกรัม ในทำนองเดียวกันอ้อยที่มี ซีซีเอส ๙ และ ๑๑ หนัก ๑ ตันเท่ากัน จะให้น้ำตาลซูโครสสูงสุด ๙๐ และ ๑๑๐ กิโลกรัม ตามลำดับ

ในการหาค่า ซีซีเอสนั้น จะต้องทราบค่าวิเคราะห์ทางคุณภาพ ๓ อย่างของอ้อย คือ
๑. ค่าบริกซ์ (Brix) ในน้ำอ้อยจากลูกหีบแรก
๒. ค่าโพล (Pol) ในน้ำอ้อยจากลูกหีบแรก
๓. ค่าร้อยละของชานอ้อยหรือไฟเบอร์ (Fiber) ในอ้อยนั้น

จากนั้น ก็นำค่าที่ได้มาคำนวณหา ซีซีเอสต่อไปตามลำดับดังนี้
ก. หาค่าบริกซ์ในอ้อย
จากการวิเคราะห์ทางคุณภาพอ้อย ตามข้อ (๑) นั้นได้ค่าบริกซ์ในน้ำอ้อย ซึ่งจะต้องเปลี่ยนเป็นค่าบริกซ์ในอ้อย จากสูตร
บริกซ์ในอ้อย = บริซ์ในน้ำอ้อย x ((๑๐๐ - (ไฟเบอร์ + ๓))/๑๐๐)

ข. หาค่าโพลในอ้อย
ค่าโพลที่ได้จากการวิเคราะห์คุณภาพอ้อยเป็นค่าโพลในน้ำอ้อย ต้องเปลี่ยนเป็นค่าโพลในอ้อย
จากสูตร โพลในอ้อย = โพลในน้ำอ้อย x ((๑๐๐ (ไฟเบอร์ + ๕ ))/๑๐๐)

ค. หาค่าสิ่งเจือปนในอ้อย จากสูตร
สิ่งเจือปนในอ้อย = บริกซ์ในอ้อย - โพลในอ้อย

ง. หาค่า ซีซีเอส จากสูตร
ซีซีเอส = โพลในอ้อย - (สิ่งเจือปนในอ้อย/๒)
หรืออาจจะใช้ค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ทางคุณภาพของอ้อยตามที่กล่าวข้างบนมาคำนวณ ซีซีเอส โดยตรง จากสูตรฃ
ซี ซี เอส = (๓ โพล/๒) ((๑๐๐ - (ไฟเบอร์ + ๕)/๑๐๐) - (บริกซ์/๒) ((๑๐๐ - (ไฟเบอร์ + ๓)/๑๐๐)

การซื้ออ้อยตาม ซีซีเอสนี้ ราคาต่อตันของอ้อยจะผันแปรไปตามค่าซีซีเอส ของอ้อยโดยทั่วไป โรงงานกำหนด ซีซีเอส ๑๐ เป็นมาตรฐานส่วนราคานั้นเป็นไปตามความตกลงที่ได้กล่าวแล้วในเรื่องการซื้ออ้อยตามน้ำหนัก เช่น ถ้าตกลงราคาอ้อยตันละ ๓๐๐ บาท โรงงานจะจ่ายราคาอ้อยที่มีซีซีเอส ๑๐ ตันละ ๓๐๐ บาท เท่ากับที่ซื้อตามน้ำนหัก และเมื่อ ซีซีเอส เพิ่มขึ้นหรือลดลง ราคาต่อตันของอ้อยก็จะเพิ่มขึ้นหรื้อลดลงตามส่วน การกำหนดราคาแต่ละหน่วยของ ซีซีเอส ที่สูงหรือต่ำกว่ามาตรฐานนั้น ทางโรงงานเป็นผู้กำหนด เท่าที่ปรากฏเมื่อ ซีซีเอส สูงหรือต่ำกว่ามาตรฐาน ๑ หน่วยเช่น ซีซีเอส ๑๑ หรือ ๙ ราคาอ้อยก็จะสูงขึ้นหรือต่ำลงตันละ ๑๐-๒๐ บาท ดังนี้เป็นต้น

อ้างอิง : http://www.bionanothai.com/


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 23637 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไร่อ้อย]:
อ้อยแคระ แกร็น อ้อยโตช้า อ้อยไม่ย่างปล้อง อ้อยปล้องสั้น อ้อยใบเหลือง อ้อยใบไหม้
พืชจะไม่สมบูรณ์ได้อย่างไร เราก็ใส่ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีแล้ว แต่ทำไมพืชยังไม่โตเท่าที่ควร ทั้งๆที่เราใส่ปุ๋ย
อ่านแล้ว: 6816
อ้อยยอดเหลือง แต่กอยังเขียว เพราะ หนอนกออ้อย เข้าทำลายต้นอ้อย ฆ่าหนอน กำจัดหนอน ไอกี้-บีที
อ้อยกำลังงาม อยู่ๆก็ยอดเหลือง ทั้งๆที่กออ้อยยังเขียวอยู่ นั่นท่านอาจเจอกับปัญหาหนอนกอ ป้องกันกำจัด ก่อนจะลุกลาม
อ่านแล้ว: 6691
อ้อยใบเหลือง อ้อยใบซีด เหลืองซีดเป็นหย่อมๆ ลักษณะนี้เป็นอาการของ อ้อยขาดธาตุอาหาร
หากพืชมีความอ่อนแอ ความรุนแรงของโรคก็จะมาก การเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช ก็เข้าทำลายได้มากเช่นกัน บวกกับสภาพแวดล้อม..
อ่านแล้ว: 9018
อ้อยเป็นหนอน หรือเห็น อ้อยยอดแห้งตาย นั่นเพราะหนอนกอสีขาวเข้าทำลาย
หน่ออ้อยที่ยังเล็กอยู่ หากโดน หนอนกอสีขาว เข้าทำลาย หน่ออ้อยมักจะตาย อ้อยที่เป็นลำจะชะงักโต ผลผลิตลด คุณภาพลด
อ่านแล้ว: 7564
ผลผลิตอ้อยลด ค่าความหวานลด อ้อยชะงักโตเพราะ แมลงหวี่ขาวอ้อย ต้องแก้
แมลงหวีขาว ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบอ้อย ในระยะตัวอ่อนนั้น จะสร้างความเสียหายให้กับอ้อย
อ่านแล้ว: 7876
อ้อยมีราดำ มีแป้งสีขาวใต้ใบ ใบเหลืองซีด เพราะเพลี้ยสำลี ปล่อยไป อ้อยแห้งตาย
เพลี้ยสำลี หากมีการระบาดในไร้อ้อยแล้ว จะทำให้อ้อยในไร่ชะงักการเติบโต หรืออาจจะทำให้อ้อยแห้งกรอบทั้งใบ
อ่านแล้ว: 7926
อ้อยเหลือง แห้งตายทั้งกอ เป็นเพราะ แมลงนูนหลวง กัดกินรากอ้อย กำจัดอย่างไร
มักระบาดในสภาพดินทรายที่มี pH 6-6.5 และสภาพดินที่มีอินทรียวัตถุ 0.56-0.84% การเข้าทำลายอ้อยมักปรากฏเป็นหย่อมไม่แพร่..
อ่านแล้ว: 6933
หมวด ไร่อ้อย ทั้งหมด >>