ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ปาล์มน้ำมัน | อ่านแล้ว 31499 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ประวัติปาล์มและการปลูกปาล์มน้ำมัน

ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชที่มีศักยภาพในการผลิตน้ำมันต่อหน่วยพื้นที่สูงสุดเมือเทียบกับพืชน้ำมันอื่นๆ ในการผลิตรปาล์มน้ำมัน ....

data-ad-format="autorelaxed">

ประวัติปาล์มและการปลูกปาล์มน้ำมัน

ประวัติปาล์มและการปลูกปาล์มน้ำมัน - ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชที่มีศักยภาพในการผลิตน้ำมันต่อหน่วยพื้นที่สูงสุดเมือเทียบกับพืชน้ำมันอื่นๆ ในการผลิตรปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นพืชยืนต้นมีความทนทานต่อผลกระทบจากภัยธรรมชาติมากกว่าพืชอายุสั้นต่างๆ มีการลงทุนครั้งเดียวก็สามารถเก็บเกียวผลผลิตได้ มากกว่า 25 ปี ประเทศไทยอยู่ในสภาพภูมิอากาศที่สามารถปลูกปาล์มได้ดี และมีโอกาสขยายพื้นที่ปลูกได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ พื้นที่นาร้าง พื้นที่รกร้างว่างเปล่า เมือปลูกเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ระบบนิเวศน์อีขึ้นเป็นลำดับ และเป็นพืชที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เนื่องจากไม่มีการตัดต่อพันธุกรรม และน้ำปาล์มสามารถใช้ทำไบโอดีเซลทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงได้

ประวัติปาล์มน้ำมัน

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ยืนต้น อายุยืนยาวกว่า 100 ปี แต่ที่ปลูกเป็นการค้าอายุประมาณ 25-30 ปี ก็จะถูกโค่นทิ้ง เนื่องจากให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า พระยาประดิพัทธ์ภูบาล ได้นำปาล์มน้ำมันเข้ามาปลูกในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2472 โดยปลูกเป็นไม้ประดับที่สถานีทดลองยางคอหงส์ จังหวัดสงขลา และสถานีกสิกรรมพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี แต่เริ่มมีการส่งเสริมให้ปลูกในพื้นที่จริงๆ ในปี พ.ศ. 2511 ที่นิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้จังหวัดสตูล พื้นที่ประมาณ 20,000 ไร่ จากนั้น มีการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2548 ประเทศไทยมมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันทั้งสิ้น 2.74ล้านไร่ ผลผลิตปาล์มสดทั้งทะลาย 5.03 ล้านต้น

ข้อพิจารณาในการปลูกปาล์มน้ำมัน

การเริ่มปลูกปาล์มน้ำมันที่ดีควรมีการเลือกพื้นที่ให้เหมาะสมเลือกพันธุ์ดีมีการบำรุงรักษาที่ถูกต้อง สิ่งสำคัญในการเลือกพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน คือ ต้องพิจารณาถึงสภาพภูมิอากาศ สภาพพื้นที่ลักษณะดินรวมถึงการขนส่ง

สภาพภูมิอากาศ

อุณภูมิที่เหมาะสมในการปลูกปาล์มน้ำมันอยู่ในช่วง 20-30 c ปริมาณแสงแดดอย่างน้อย วันละ 5 ชั่วโมง และมีความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ ในรอบปีไม่ต่ำกว่า 75% มีการกระจายของน้ำฝนสม่ำเสมอประมาณ 1,800-2,000 มิลลิเมตรต่อปี ต้องไม่มีสภาพแล้งเกิน 3 เดือนและไม่มีลมพายุที่รุนแรง

สภาพพื้นที่

สภาพดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วนเหนียวถึงดินเหนียว มีความลึกของชั้นหน้าดินมากกว่า 75 เซนติเมตร อุ้มน้ำได้ดี ระดับน้ำใต้ดินลึก 75-100 เซนติเมตร มีธาตุอาหารสูง มีความเป็นกรดอ่อน pH 4.0-6.0 สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน 500 เมตร มีความลาดชันไม่เกิน 12% พื้นที่ไม่มีน้ำท่วมขัง มีการระบายน้ำดีถึงปานกลาง

การขนส่ง

การขนส่งผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันสู่โรงงานมีความสำคัญมาก เนื่องจากจำเป็นต้องส่งทะลายปาล์มน้ำมันเข้าสู่โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มอย่างรวดเร็ว (ไม่ควรเกิน 24 ชั่วโมง) จึงควรปลูกปาล์มน้ำมันห่างจากโรงงานสกัดน้ำมันปาลืมไม่เกิน 120 กิโลเมตร และมีการคมนาคมขนส่งได้สะดวก

พันธุ์

พันธุ์ที่แนะนำให้ปลูกเป็นการค้าในปัจจุบัน คือ พันธุ์เทเนอร่า(Tenera) เป็นพันธุ์ผสมระหว่างพันธุ์ดูร่ากับพันธุ์พิสิเฟอร่า ใช้พันธุ์ดูร่าเป็นพันธุ์แม่ และพันธุ์พิสิเฟอร่าเป็นพันธุ์พ่อ พันธุ์เทเนอร่ามีกะลาบาง (0.5-4 มิลลิเมตร) และมีน้ำมันต่อน้ำหนักทะลายประมาณร้อยละ 22-25 มีทะลายดกกว่าพันธุ์ดูร่า เนื่องจากพันธุ์เทเนอร่ามีคุณสมบัติดี คือ มะกะลาบาง ได้น้ำมันจากส่วนเปลือกนอกมากกว่าพันธุ์ดูร่าประมาณร้อยละ 25 จึงมักนิยมปลูกเป็นการค้า ลักษณะผลดิบสีดำเมื่อสุกเปลือกนอกสีส้มแดง กะลาบางให้น้ำมันสูง

ปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี จะให้ผลผลิตสูง มีคุณภาพดี ให้ผลผลิตสม่ำเสมอตลอดปี ขายได้ราคาดี เป็นที่ต้องการของโรงาน

พันธุ์ปาล์มน้ำมันคุณภาพต่ำ (พันธุ์ไม่ดี) เมล็ดพันธุ์หรือต้นกล้าปาล์มน้ำมันคุณภาพต่ำได้จากการผสมระหว่างพ่อและแม่พันธุ์ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการคัดเลือกสายพันธุ์ หรือได้จากการผสมพันธุ์แบบไม่มีการควบคุมการผสมพันธุ์ เช่น ต้นกล้าที่งอกบริเวณใต้โคนต้น

ความเสียหายเมื่อปลูกปาล์มน้ำมันคุณภาพต่ำ คือผลผลิตทะลายปาล์มสดลดลง 15-50% และน้ำมันปาล์มดิบลดลง 35-55%

ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี
1. เป็นปาล์มน้ำมันพันธุ์ลูกผสมเทเนอร่า (DxP)
2. ซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ มีหนังสือรับรองจากทางราชการ
3. เลือกต้นที่สมบูรณ์ ลักษณะดี ไม่มีอาการผิดปกติ
4.มีข้อมูลเบื้องต้นในด้านการให้ผลผลิตที่ดี และสม่ำเสมอ
5. มีประวัติพันธุ์อย่างชัดเจน
6.มีแหล่งที่ผลิต (ที่มา) ของเมล็ดพันธุ์ที่เชื่อถือได้
7. ต้นกล้าปาล์มน้ำมันควรมีอายุหรือขนาดเหมาะสมตามความต้องการของเกษตรกร เช่น ถ้าปลูกทันทีควรมีอายุ 8-12 เดือน ถ้าซื้อต้นกล้าเล็กเพื่อนำไปปลูกดูแลก่อนควรซื้อถุงขนาดเล็กที่มีอายุกล้า 2-4 เดือน

แหล่งปาล์มพันธุ์ดี

การเลือกซื้อปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี ควรพิจารณาปฏิบัติตามลำดับดังนี้
1. ซื้อจากกรมวิชาการเกษตร หรือจากบริษัทที่กรมวิชาการเกษตรรับรองว่าเป็นแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้
2. ซื้อจากผู้จำหน่ายพันธุ์ทีทีแหล่งที่เคยจำหน่ายให้ส่วนราชการมาก่อน หรือจากบริษัทที่ทางราชการรับรอง
3. ซื้อจากผู้จำหน่ายพันธุ์ที่มีพื้นที่ปลูกและโรงงานอยู่ในพื้นที่อย่างมั่นคงถาวรเป็นการยืนยันว่ามีบริการหลังการขายหรือมีจุดรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง
4. ซื้อจากบริษัท หรือผู้ค้าพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ที่กระทำเป็นอาชีพโดยมีนักวิชาการเกษตรควบคุมการปฏิบัติอย่างถูกหลักวิชาการและมีการรับรองหรือประกันคุณภาพพันธุ์ปาล์มน้ำมันเป็นลายลักษณ์อักษร
5. ในกรณีที่ไม่สามารถหาซื้อได้ตามข้อ 1-4 ควรสอบถามจากเพื่อนบ้านที่ปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตแล้ว ว่าซื้อมาจากแหล่งที่ใดแล้วพิจารณาตามข้อสังเกตในการคัดเลือกซื้อปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี
6. เกษตรกรควรขอหนังสือรับรองพันธุ์จากผู้ขายและเก็บหนังสือรับรองพันธุ์จากผู้ขายและเก็บหนังสือรับรองพันธุ์ ตลอดจนเก็บหนังสือสัญญาการซื้อขายหรือใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐาน อย่างไรก็ดีเกษตรกรที่มีความประสงค์จะปลูกปาล์มน้ำมันควรมีการเตรียมการได้ล่วงหน้า ขณะเตรียมพื้นที่เพาะปลูกควรติดต่อสั่งซื้อพันธุ์ปาล์มน้ำมันไว้ด้วยเพื่อให้ได้ทันเวลาตามต้องการ

การปลูกและการบำรุงรักษา

การเตรียมพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันตั้งแต่บุกเบิกพื้นที่ ปรับสภาพพื้นที่ สร้างถนน ทางระบายน้ำ วางแนวปลูก ปลูก และปลูกซ่อม การจัดระบบต่างๆ ในแปลงปลูกให้เหมาะสม และปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีจะทำให้ปาล์มน้ำมันสารเจริญเติบโตได้ดี และให้ผลผลิตสูงอย่างต่อเนื่อง

ก่อนปลูกปาล์ม ควรเตรียมการอย่างน้อย 1 ปี และเตรียมพื้นที่ในช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนธันวาคม เมษายน โดยโค่นและกำจัดต้นไม้ออกจากแปลง ไถพรวนปรับพื้นที่ให้เรียบร้อยตลอดจนสร้างถนนและทางระบายน้ำไว้ด้วย

การสร้างถนนและทางระบายน้ำ เป็นสิ่งจำเป็นมากในการจัดการเพื่อใช้ในการเข้าปฏิบัติงานการดูแลรักษาและเก็บผลผลิต ควรพิจารณาดังนี้
1. ถนนใหญ่ ความกว้างประมาณ 6 เมตร และควรมี 2 สาย ต่อ 1 แปลงใหญ่ คือด้านหน้าและด้านหลังแปลง ควรอยู่ห่างประมาณ 1 กิโลเมตร
2. ถนนเข้าแปลง เชื่อมจากถนนใหญ่ เพื่อขนส่งวัสดุการเกษตรและผลผลิตในสวนปาล์มน้ำมัน ความกว้างประมาณ 4 เมตร ควรห่างกันประมาณ 500 เมตร
3. ร่องระบายน้ำ จำเป็นสำหรับพื้นที่ปลูกซึ่งมีสภาพเป็นที่ลุ่มและมีน้ำท่วม ควรทำพร้อมกับการตัดถนน

การทำร่องระบายน้ำ
ร่องระบายน้ำมี 3 ประเภท คือ
1. ร่องระบายน้ำในแปลง ทำทุกๆ แถวของปาล์มน้ำมัน
2. ร่องระบายน้ำรวม สร้างขนานไปกับถนนเข้าแปลงเชื่อมระหว่างร่องระบายในแปลงกับร่องระบายน้ำใหญ่
3. ร่องระบายน้ำใหญ่ สร้างขนานไปกับถนนใหญ่ รับน้ำจากร่องระบายน้ำรวม และระบายออกสู่แหล่งน้ำอื่นๆ

การวางแนวปลูก

หลังจากเตรียมพื้นที่ ตัดถนนและทางระบายน้ำแล้ว จึงวางแนวการปลูกโดยพิจารณาจากการความสอดคล้องกับการทำงานการระบายน้ำ ความลาดเทของพื้นที่ ทิศทางของแสงแดดเพื่อให้ปาล์มน้ำมันได้รับแสงแดดมากที่สุดเพื่อให้ใบได้มีกระบวนการสังเคราะห์แสง ระยะปลูกที่เหมาะสมของปาล์มน้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญ ถ้าปลูกห่างหรือถี่เกินไปจะมีผลทำให้ผลผลิตลดลง ควรปลูกปาล์มน้ำมันแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า เพราะใช้ประโยชน์ในที่ดินได้เต็มที่โดยกำหนดแถวหลักเป็นฐานอยู่ในแนวทิศเหนือ ใต้ แถวที่ใกล้กันจะปลูกกึ่งกลางเป็นระยะยอดของสามเหลี่ยมด้านเท่า และการจัดระยะการปลูก 9 x 9 x 9 เมตร เป็นที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากทำให้ต้นปาล์มทกต้นได้รับแสงมากและผลิตที่ได้มีจุดคุ้มทุนและมีรายได้มากที่สุด

ฤดูปลูก ฤดูที่เหมาะสมในการปลูกปาล์มน้ำมัน คือ ต้นฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ควรปลูกเมื่อฝนเริ่มตกแล้วเพราะดินจะมีความชื้นเพื่อให้ต้นกล้าได้มีเวลาตั้งตัวในแปลงได้นาน

หลุมปลูก เมื่อวางแนวปลูกและปักไม้เป็นเครื่องไม้แล้ว ขุดหลุมขนาดกว้าง x ยาวx ลึก = 45 x 45 x 35 เซนติเมตร เป็นรูปตัวยูโดยให้จุดที่ปักไม้เป็นจุดกลางหลุม เพื่อจะได้ระยะปลูกที่เป็นระเบียบ ขุดดินชั้นบนและชั้นล่างแยกกัน เมื่อขุดแล้วควรตากไว้ประมาร 10 วัน ก่อนนำต้นกล้ามาปลูก

การปลูก การปลูกอย่างถูกวิธี จะทำให้การเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมันดี และให้ผลผลิตสูง อายุกล้าที่มีอายุน้อยเกินไปจะทำให้การชะงักเจริญเติบโตและอ่อนแอต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ สำหรับต้นกล้าที่มีอายุมากเกินไปจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและตกผลช้าและไม่สะดวกในการขนย้ายบางครั้งไม่สามารถใช้ต้นกล้าที่มีอายุเท่าที่กำหนดได้ เราสามารถแก้ไขได้โดยถ้าต้นกล้าอายุเกิน 12 เดือน ควรตัดในบางส่วนทิ้งบ้าง และระวังอย่าให้รากบอบช้ำจากการขนย้ายมากนัก ก่อนปลูกควรใส่ร็อคฟอสเฟต อัตรา 250 กรัมต่อหลุม และคลุกเคล้าดินกับปุ๋ย เพื่อป้องกันการสัมผัสกับรากโดยตรง จากนั้นนำถุงพลาสติกออกจากต้นปาล์มอย่างระมัดระวังอย่าให้ก้อนหินแตกโดยเด็ดขาดจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต ควรประคองต้นกล้าอย่างระมัดระวังแล้ววางลงในหลุมปลูก ใส่ดินชั้นบนลงก้นหลุมแล้วจึงใส่ดินชั้นล่างตามลงไป ทั้งนี้ เมื่อนำต้นกล้าวางลงในหลุมแล้วจึงอัดดินให้แน่นปลูกเสร็จแล้วโคนต้นกล้าจะอยู่ในระดับเดียวกันกับระดับดินเดิมของแปลงปลูก

การปลูกซ่อม
ควรทำการปลูกซ่อมให้เร็วที่สุด หลังจากปลูกลงแปลงจริง หากมีปัญหาควรสำรองต้นกล้าไว้สำหรับปลูกซ่อมแซมประมาณร้อยละ 5 ของต้นกล้าที่ต้องการใช้ปลูกจริง สำหรับการปลูกทดแทนต้นที่ตาย โรคแมลงทำลายหรือต้นที่มีลักษณะผิดปกติ ภายหลังการปลูกโดยดูแลรักษาต้นกล้าไว้ในถุงพลาสติกสีดำขนาด 18 x 24 นิ้ว ต้นกล้าจะมีอายุระหว่าง 14 x 20 เดือน ทั้งนี้ เพื่อให้ต้นกล้าที่นำไปปลูกซ่อมมีขนาดทัดเทียมกับต้นกล้าในแปลงปลูกจริง การซ่อมแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
- ปลูกซ่อมหลังจากปลูกในแปลงประมาณ 1-2 เดือน เป็นการปลูกซ่อมเนื่องจากการกระทบกระเทือนตอนขนย้ายปลูกหรือเกิดจากความแห้งแล้งหลังปลูกอย่างรุนแรง
- ปลูกซ่อมหลังจากการขนย้ายปลูก 6 8 เดือน ไม่ควรเกิน 1 ปี เป็นการซ่อมต้นกล้าที่มีลักษณะผิดปกติ เช่น ต้นที่มีลักษณะทรงสูง โตเร็วผิดปกติ ซึ่งเป็นลักษณะของต้นตัวผู้

การใส่ปุ๋ย

เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้นที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็วและให้ผลผลิตสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับพืชน้ำมันชนิดอื่นๆ ดังนั้นจึงต้องการธาตุอาหารและน้ำในปริมาณมากเพื่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของลำต้น ใบ และผลผลิต การจัดการปุ๋ยที่ถูกต้องเหมาะสมจึงเป็นการผลผลิตเพื่อนำไปสู่เป้าหมายของเกษตรกร คือ กำไรสูงสุด การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันในระยะต่างๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง เช่น ปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินเดิม ชนิดของปุ๋ย อัตราการใส่ปุ๋ยและราคาปุ๋ย สำหรับอาการขาดธาตุอาหาร ที่สังเกตได้ด้วยตาเปล่า ก็เป็นข้อพิจารณาอย่างหนึ่งสำหรับการใส่ปุ๋ย

อัตราการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันในแต่ละพื้นที่นั้นแตกต่างกัน แต่มีหลักสำคัญคือ
1. ใส่ในช่วงที่ปาล์มน้ำมันต้องการ
2. ใส่บริเวณที่รากปาล์มน้ำมันดูดไปใช้ได้มากที่สุด
ควรใส่ปุ๋ยเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่เมื่อแล้งจัดหรือฝนตกหนัก ในปีแรกหลังจากปลูกควรใส่ปุ๋ย 4-5 ครั้ง ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป ควรใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง/ปี ช่วงที่เหมาะสมในการใส่ปุ๋ยต้นฝน กลางฝน และปลายฝน ตั้งแต่ปีที่ 5 ขึ้นไป อาจพิจารณาใสปุ๋ยเพียงปีละ 2 ครั้ง ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม

การแบ่งใส่ปุ๋ย (อัตราที่แนะนำ)
เมื่อแบ่งใส่ 3 ครั้ง/ปี แนะนำให้ใช้สัดส่วน 50 : 25 : 25 ใส่ต้นฝน กลางฝน และปลายฝน
เมื่อแบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี ใช้สัดส่วน 60 : 40 ใส่ต้นฝน และปลายฝนตามลำดับ
ช่วงต้นฝน คือ ประมาณเดือนพฤษภาคม มิถุนายน
ช่วงกลางฝน คือ ประมาณเดือนกรกฎาคม กันยายน
ช่วงปลายฝน คือ ประมาณเดือนตุลาคม- พฤศจิกายน


การปลูกพืชคลุมดิน

เพื่อป้องกันและควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช รวมถึงการชะล้าง พังทลายของดินและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน เกษตรกรนิยามปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์มน้ำมันกันมาก เพราะไม่ต้องใช้แรงงาน และเวลาในการรักษาพืชคลุมดินมากเหมือนการปลูกพืชแซมแต่ถ้าขาดการดูแลรักษาที่ดีก็อาจเกิดโทษได้เช่นกัน

พืชตระกูลถั่วที่ปลูกเป็นพืชคลุมดินในสวนปาล์ม ควรใช้อัตราส่วนประมาณ 1 กิโลกรัม/ไร่ ดังนี้
-ถั่วคาโลโปโกเนียม : ถั่วเพอราเรีย : ถั่วเซนโตรซีมา อัตรา 1 : 1 : 1
-ถั่วเพอราเรีย : ถั่วเซนโตรซีมา อัตรา 2 : 3


การใช้ทะลายเปล่าคลุมดิน

ทะลายปาล์มเปล่าเป็นวัสดุเหลือที่มีปริมาณมาก และมีธาตุอาหารที่มีประโยชน์ สามารถใช้เป็นปุ๋ยหรือตัวปรับสภาพดินได้โดยใช้ทะลายปาล์มเปล่าเป็นวัสดุคลุมดิน เพื่อป้องกันการชะหน้าดิน ช่วยลดการสูญเสียความชื้นจากหน้าดินและใช้เป็นสารอาหารแก่พืช แต่ประโยชน์จะได้รับมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับชนิดของดิน และสภาวะของความชื้นสัมพัทธ์ของบริเวณนั้นด้วย สามารถใช้ทะลายเปล่าที่นำมาจากโรงงานโดยนำมากองทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน แล้วจึงนำไปวางกระจายรอบโคนต้น ในอัตรา 150-225 กิโลกรัม/ต้น/ปี รวมกับปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 2-5 กิโลกรัม/ต้น/ปี และโพแทสเซียมคลอไรด์ 1.5 กิโลกรัม/ต้น/ปี

การให้น้ำ

ในสภาพพื้นที่ที่มีปริมารน้ำในน้อยกว่า 1,800 มิลลิเมตร/ปี และมีฤดูแล้งยาวนานกว่า 3-5 เดือน ควรมีการให้น้ำเสริมเพื่อเพิ่มผลผลิตทะลายให้สูงขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงเงินทุนด้วย สำหรับการติดตั้งระบบน้ำควรพิจารณา ดังนี้
-พื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ มีแหล่งน้ำเพียงพอ ควรติดตั้งระบบน้ำแบบน้ำหยด (Drip Irrigation)
-พื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมากเกินพอ ควรติดตั้งระบบน้ำแบบโปรยน้ำ (Mini Sprinkle)

อาการขาดธาตุอาหาร

อาหารผิดปกติจากการขาดธาตุอาหารมักจะแสดงออกให้เห็นเมื่อพืชขาดธาตุอาหารในขั้นรุนแรง และผลผลิตอาจลดลงแล้วด้วย ซึ่งอาการขาดธาตุอาหารต่างๆ สามารถมองเห็นได้โดยสายตา และสังเกตได้ดังนี้

ขาดธาตุอาหารไนโตรเจน (N)
ลักษณะอาการใบสีเหลืองซีดเกิดที่ทางใบแก่ก่อน แก้ไขโดยใช้ปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต อัตรา 1 - 2 กิโลกรัม/ต้น สำหรับต้นปาล์มที่มีอายุ 1-2 ปี และอัตรา 3-4 กิโลกรัม/ต้น สำหรับต้นปาล์มที่มีอายุ 5-10 ปี

ขาดธาตุอาหารฟอสฟอรัส (P)
ลักษณะอาการ จะชะงักการเจริญเติบโต ใบมีสีเขียวเข้ม แก้ไขโดยใส่ปุ๋ยร็อคฟอสเฟต อัตรา 1.25 -1.5 กิโลกรัม/ต้น

ขาดธาตุอาหารโพแทสเซียม (K)
ลักษณะอาการจะมีสีเหลืองส้มเป็นจ้ำๆ บริเวณทางใบตอนล่างขนาดเล็กไปหาใหญ่ รูปร่างไม่แน่นอน เมื่อเป็นมากๆ เนื้อใบส่วนที่มีสีเหลืองจะแห้งและอาจเกิดเฉพาะต้นแทนที่จะเป็นบริเวณกว้าง อาจทำให้เข้าใจผิดว่าเกิดเนื่องมาจากพันธุกรรม ลักษณะเด่นชัดในปาล์มน้ำมันที่ขาดโพแทสเซียม คือ ทางใบล่างซีดและแห้งก่อนกำหนด

ขาดธาตุอาหารแมกนีเซียม (Mg)

ลักษณะอาการ ทางใบล่างจะมีสีเหลืองเริ่มจากปลายใบและขอบใบย่อย บริเวณที่มีสีเหลืองจะเห็นชัดเจนเมื่อถูกแสงแดดส่วนที่ไม่ถูกแสงแดดจะยังมีสีเขียว อาการขาดแมกนีเซียมมักพบมากในดินที่มีแมกนีเซียมต่ำและมีความเป็นกรดจัด ในบางกรณีเกิดจากธาตุอาหารในดินไม่สมดุลระหว่าง แมกนีเซียมกับโพแทสเซียม หรือแมกนีเซียมกับแคลเซียม ทำให้พืชไม่สามารถดูดแมกนีเซียมไปใช้ได้ดีเท่าที่ควร เช่น ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน หรือปุ๋ยโพแทสเซียมหรือปุ๋ยที่มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบที่มากเกินไป เป็นต้น วิธีการแก้ไขสำหรับอาการที่เกิดจุดประสีส้มบนใบที่แก่ หรือรุนแรงจนปลายใบและขอบใบแห้ง ให้ใสโพแทสเซียมคลอไรด์ อัตรา 2.5-3.5 กิโลกรัมต้น/ปี สำหรับต้นปาล์มที่ให้ผลผลิตแล้ว ในบางกรณีให้ใส่คีเซอร์ไรท์ 1-2 กิโลกรัมต่อต้น จะช่วยให้อาการขาดแมกนีเซียมดีขึ้น

ขาดธาตุอาหารโบรอน (B)

ลักษณะอาการ มีลักษณะผิดปกติแสดงให้เห็นหลายชนิด เช่น ปลายใบย่อยหักงอเป็นรูปตะขอ อาจเกิดเฉพาะทางหรือทุกทางไ ทางใบย่อยสั้นผิดปกติในกรณีที่ขาดรุนแรง หรือเกิดแถบยาวใสโปร่งแสงขนานกับแถบทางใบย่อยย่นหรือหยิก แก้ไขโดยใสโบแรกซ์ อัตรา 50-100 กรัม/ต้น/ปี เมื่ออายุ 2-3 ปี และอัตรา 150-200 กรัมต้น/ปี เมื่ออายุ 4 ปีขึ้นไป

โรคปาล์มน้ำมัน

โรคที่มักเกิดขึ้นกับต้นปาล์มน้ำมันที่สำคัญคือ
1. โรคก้านทางใบปิด (Crown Disease)
สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด เข้าใจว่าเกิดจากพันธุกรรมหรืออาจเกิดจากความไม่สมดุลของธาตุอาหาร โดยเฉพาะธาตุโบรอน ไนโตรเจน และแมกนีเซียม
พบมากกับปาล์มน้ำมันในแปลงปลูกอายุ 1-3 ปี เป็นโรคที่พบเสมอ
ลักษณะอาการ เกิดแผลเน่าบริเวณใบยอด เมื่อยอดเจริญทางยอดคลี่ออกบริเวณที่เคยเป็นแผลเน่าใบย่อยจะแห้งฉีกขาดไป ก้านทางบริเวณนี้จะเหลือแต่ตอ ก้านทางส่วนนี้จะหักโค้งลงเมื่อต้นปาล์มน้ำมันสร้างยอดใหม่ก็จะแสดงอาการเช่นนี้ จนบางครั้งทางจะหักล้มโดยไม่แสดงอาการเน่าก่อน

2. โรคยอดเน่า (Spere Rot)
สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากแยกหาเชื้อ สาเหตุจะพบเชื้อรา Fusarium sp. และแบคทีเรีย Erwinia sp.
ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ส่วนมากจะพบกับปาล์มน้ำมัน อายุ1-3ปี ในสภาพน้ำขังจะพบโรคนี้มาก
ลักษณะอาการ โคนยอดจะเน่า ระยะแรกแผลมีสีน้ำตาล ต่อมาจะขยายทำให้ยอดใบเน่าแห้งสามารถดึงหลุดออกได้
การป้องกันกำจัด ป้องกันแมลงอย่าให้มากัดกินบริเวณยอด ถ้าพบโรคในระยะแรกตัดส่วนที่เป็นโรคออกให้หมด แล้วฉีดพ่นด้วยยาฆ่าเชื้อรา เช่น ไทแรม อาลีแอท

3. โรคทะลายเน่า (Marasmius Runch Rot)
สาเหตุ เชื้อรา (Marasmius sp.)
ลักษณะอาการ บนทะลายปาล์มน้ำมันก่อนจะสุกจะพบเส้นใยสีขาวของเชื้อขึ้นระหว่างผลและเจริญเข้าไปในผลทำให้เปอร์เซ็นต์ กรดไขมันอิสระเพิ่มขึ้น ผลเน่าเป็นสีน้ำตาลดำมีลักษณะนุ่ม ถ้ามีสภาพเหมาะสมความชื้นมากเชื้อจะสร้างดอกเห็ดบนทะลาย
การป้องกันกำจัด กำจัดทะลายทีแสดงอาการออกให้หมดรวมทั้งช่อตัวเมียที่ผสมไม่ดี เศษซากเกสรตัวผู้ที่แห้ง ตัดส่วนที่เป็นโรคแล้วฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น antigro terzan, หรือantracol

4. โรคลำต้นส่วนบนเน่า
สาเหตุ รายงานจากต่างประเทศพบว่าเกิดจากเชื้อรา Philinus sp. ร่วมกับ Ganoderma sp.
ลักษณะอาการ พบว่าส่วนบนของลำต้นจากยอดประมาณ 0.5 เมตรจะหัก พบครั้งแรกกับต้นอายุ 9 ปี เมื่อผ่าดูพบว่าเชื้อเข้าทางฐานของก้านทางทำให้เกิดอาการเน่าบริเวณลำต้น ในขณะที่ตาและรากแสดงอาการผิดปกติ
การป้องกันกำจัด เผาทำลายต้นปาล์มน้ำมันที่เป็นโรคผ่านไปในแปลงที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ในกรณีที่พบอาการใหม่ๆ ถากส่วนที่เป็นโรคออกแล้วทาบริเวณแผลสารป้องกันและกำจัดโรคพืช

แมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน


ด้วงแรดเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญปาล์มน้ำมันในภาคใต้ปัจจุบันมีการโค่นล้มต้นปาล์มอายุมาก และปลูกทดแทนทำให้แหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรดมากขึ้น และเข้าทำลายต้นปาล์มที่ปลูกใหม่ตั้งแต่ต้นปาล์มขนาดเล็กจนถึงปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิต การเกิดวาตภัย เช่น พายุ ทำให้ต้นมะพร้าวและต้นปาล์มน้ำมันล้มตาย ก็เป็นแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรดในเวลาต่อมา

ลักษณะการทำลาย
เฉพาะตัวเต็มวัยเท่านั้นที่เป็นศัตรูปาล์มน้ำมัน โดยบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางในทำให้ใบหักหรือกัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้าโดนทำลายมาก จะทำให้ใบที่เกิดใหม่ แคระแกรน หรือเป็นเหตุให้เกิดโรคยอดเน่า จนถึงตาย

แหล่งขยายพันธุ์ดวงแรด
แหล่งขยายพันธุ์ด้วงแรดได้แก่ ซากเน่าเปื่อยของลำต้น หรือตอของต้นปาล์มน้ำมัน ซากทะลายปาล์ม กองมูลสัตว์เก่า กองปุ๋ยคอก กองขุยมะพร้าว กองกากเมล็ดกาแฟ กองขยะ เป็นต้น

การป้องกันกำจัด

โดยวิธีเขตกรรม กำจัดแหล่งขยายพันธุ์โดย
1. เผาหรือฝังซากลำต้นหรือตอของปาล์มน้ำมัน
2. เกลี่ยกองซากพืช กองมูลสัตว์ ให้กระจายออก โดยมีความสูงไม่เกิน 15 เซนติเมตร
3. ถ้ามีความจำเกินต้องกองซากพืชหรือมูลนานเกิน 2-3 เดือน ควรหมั่นพลิกกลับกองเพื่อตรวจหาไข่หนอน ดักแด้ ตัวเต็มวัยเพื่อกำจัดเสีย
โดยวิธีกล หมั่นทำความสะอาดบริเวณคอต้นปาล์มตามโคนทางใบหากพบรอยแผลเป็นใช้เหล็กแหลมแทงด้วงแรดเพื่อกำจัด และใส่สารฆ่าแมลงป้องกันด้วงเข้ามาวางไข่
โดยใช้สารฆ่าแมลง ใช้ Fhuradan 3% G อัตรา 200 กรัม/ต้น ใส่รอบยอดอ่อน และซอกโคนทางใบถัดออกมา หรือใช้สาร Sevin 85% WP ผสมขี้เลื่อยในอัตราสารฆ่าแมลง 1 ส่วน ต่อขี้เลื่อย 3 ส่วน ใส่รอบยอดอ่อน ซอกโคนทางใบเดือนละ 1 ครั้ง หรือใช้ลูกเหม็น อัตรา 6-8 ลูกต่อต้น โดยใส่ไว้ที่ซอกโคนทางใบ
โดยชีววิธี ในธรรมชาติ ในธรรมชาติจะมีเชื้อราเขียวและเชื้อไวรัสช่วยทำลายหนอนตัวด้งแรด โดยผสมซากเน่าเปื่อยของพืช ขี้วัว ขุยมะพร้าว กากกาแฟ และขี้เลื่อย ผสมคลุกกันเพื่อให้ดววงแรดมาวางไข่ และขยายพันธุ์ จนถูกเชื้อราเข้าทำลายและตายในที่สุด


ด้วงกุหลาบ เป็นศัตรูสำคัญชนิดหนึ่งของต้นปาล์มน้ำมันขนาดเล็กซึ่งย้ายไปปลูกในแปลงใหญ่ โดยด้วงจะกัดกินใบในช่วงเวลากลางคืน ถ้ารุนแรงจะทำให้ใบปาล์มน้ำมันโกร๋น ชะงักการเจริญเติบโต จะพบมากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน

การป้องกันกำจัด

ใช้สารฆ่าแมลงประเภท Carbaryl (Sevin 85%) WP อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ Carbasulgan (Posse 20% EC) อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน


สัตว์ศัตรูปาล์มน้ำมัน


สัตว์ที่ทำความเสียหายให้กับปาล์มน้ำมัน ส่วนมากเป็นสัตว์ที่มีถิ่นอาศัยในธรรมชาติมาก่อน สัตว์ที่เป็นศัตรูปาล์มน้ำมัน และที่พบมาก เช่น หนูพุกใหญ่ หนูท้องขาว เม่น กระแตธรรมดา นกเอี้ยง นกขุนทอง หมูป่าและอีเห็น

การป้องกันกำจัด โดยไม่ใช้สารเคมี
-การล้อมรั้วปาล์มน้ำมันที่มีอายุ 1-3 ปี ควรล้อมห่างโคนต้นประมาณ 15 เซนติเมตร โดยใช้เสาไม้ไผ่ 4 เสาปักเป็นหลัก ยึดรั้วตาข่ายให้มั่นคง ความสูงของรั้ว 45 เซนติเมตร
-การล้อมตี ใช้คนหลายคนช่วยกัน วิธีนี้ช่วยลดปริมาณหนูลงระยะหนึ่ง ถ้าจะให้ได้ผลดีต้องทำบ่อยๆ ข้อเสียคือเปลืองแรงงาน และเสียเวลามาก
-การดัก เช่น กรงดัก กับดัก หรือเครื่องมือดักหนูจะให้ผลดีในที่จำกัด เหยื่อดักควรคำนึงว่าสัตว์ชนิดที่ต้องการดักมีความคุ้นเคยหรือต้องการอาหารชนิดใด มีมากน้อยเพียงใด
-การเขตกรรม โดยหมั่นถางหญ้าบริเวณโคนต้นปาล์ม อย่าให้มีหญ้าขึ้นรกเพราะเป็นที่หลบอาศัยที่ดีของสัตว์ศัตรูปาล์มน้ำมัน
-การยิง ใช้ในกรณีสัตว์ศัตรูปาล์มน้ำมันเป็นสัตว์ใหญ่ เช่น หมูป่า เม่น ช้างป่า
-การอนุรักษ์สัตว์ศัตรูธรรมชาติ เช่น งู พังพอน เหยี่ยว นกเค้าแมว นกแสก ควรสงวนไว้ให้สมดุลกับธรรมชาติ

การเก็บเกี่ยวและการขนย้าย


การเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มสดเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญที่สุดในการเพิ่มผลผลิตน้ำมันปาล์มต่อไร่ เจ้าของสวนปาล์มต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตทะลายปาล์มสดที่สุกพองดีส่งเข้าโรงงานเพื่อให้ได้น้ำมันปาล์มทั้งปริมาณและคุณภาพ สูงสุดต่อไร่ จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการเก็บเกี่ยวเพื่อนำไปปฏิบัติ ดังนี้
1. เก็บเกี่ยวทะลายผลปาล์มสดระยะที่สุกพอดี คือ ระยะที่ผลปาล์มมีสีผิวเปลือกนอกเป็นสีส้มสดและเริ่มมีผลร่วงหล่นจากทะลายปาล์มร่วงที่โคนต้นไม่น้อยกว่า 10 ผลต่อทะลาย
2. รอบของการเก็บเกี่ยวในช่วงผลปาล์มออกชุกควรจะอยู่ในช่วง 7-10 วัน
3. รอบการเก็บเกี่ยวในช่วงผลผลิตน้อย ควรเก็บเกี่ยว 14 - 21 วันต่อรอบ
4. ผลปาล์มลูกร่วงที่อยู่บริเวณโคนปาล์มน้ำมัน และที่ค้างในกาบต้นควรเก็บออกมาให้หมด
5. ก้านทะลายควรตัดให้สั้นโดยต้องให้ติดกับทะลาย
6. พยายามให้ทะลายปาล์มชอกช้ำน้อยที่สุด

อุปกรณ์เก็บเกี่ยว
1. ต้นปาล์มน้ำมันอายุ 3-5 ปี ขอแนะนำให้ใช้เสียมด้ามเหล็กที่มีขนาดหน้าเสียมกว้าง 3.5 นิ้ว และมีความยาว เสียมประมาณ 2.50-3.00 เมตร ตัดทะลายปาล์มจากต้น
2. ต้นปาล์มน้ำมันอายุ 8-9 ปี ขอแนะนำให้ใช้เสียมด้ามเหล็กมีขนาดกว้าง 4.5 นิ้ว และมีความยาวด้ามเสียม ประมาณ 2.00-3.00 เมตร ตัดทะลายปาล์มจากต้น
3. ต้นปาล์มน้ำมันสูงมากกว่า 4 เมตร ขึ้นไป การเก็บด้วยเสียมจะทำยาก จำเป็นต้องใช้เคียวด้ามยาวตัดทะลายปาล์มจากต้น วัสดุที่ใช้ทำด้ามเคียวคือไม้ไผ่ หรืออาจใช้อลูมิเนียมซึ่งมีน้ำหนักเบาแต่ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานยังไม่ดีเท่าไม้ไผ่ แต่มีความคงทนมากว่า
4. ทะลายผลปาล์มสดที่ใช้เสียมหรือเคียวตัดลงมาจากต้น ถ้ามีก้านยาว ควรใช้ขวานตัดให้สั้นไม่เกิน 2 นิ้ว

การขนย้าย
การรวบรวมผลปาล์มสด ส่งขายก็มีความสำคัญเช่นกัน ควรพิจารณา ดังนี้
1. ต้องแต่งช่องทางลำเลียงระหว่างแถวปาล์มในแต่ละแปลงให้สะดวกในการลำเลียงและตรวจสอบทะลายปาล์มที่ตัดแล้ว เพื่อรวบรวมต่อไป
2. รวบรวมผลปาล์มน้ำมันที่เป็นทะลายและลูกร่วงให้เป็นกองในที่วางโคนต้น ควรเก็บผลปาล์มร่วง ใสภาชนะ เช่น ตะกร้า เข่ง หรือ กระสอบ
3. การเก็บรวบรวมผลปาล์ม ควรลดจำนวนครั้งในการถ่ายเทย่อยเพื่อลดการชอกช้ำและบาดแผลของผลปาล์ม
4. ทำความสะอาดผลปาล์มที่เปื้อนดิน หรืเศษหิน ดินทราย และไม้กาบหุ้มทะลายออกก่อน
5. ต้องรีบส่งผลปาล์มไปยังโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง

สรุป
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ สามารถเติบโตได้ดีในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา สุราษฏร์ธานีธานี กระบี่ ตรัง สตูล สงขลา นราธิวาส และอื่นๆ สำหรับในภาคตะวันออก ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามอัตราการเพิ่มของประชากรและการพัฒนาประเทศ การเพิ่มปริมาณผลผลิตน้ำมันปาล์มให้มากขึ้นสามารถทำได้โดยการเพิ่มปริมาณ พื้นที่ปลูกและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น แต่การเพิ่มพื้นที่ปลูก มีข้อจำกัดหลายประการ ฉะนั้นการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น จึงมีความสำคัญยิ่งเกษตรกรควรมีเทคนิคในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันด้วย ดังนี้
1. การเลือกพื้นที่ ต้องพิจารณาถึงสภาพภูมิอากาศ สภาพพื้นที่ ลักษณะดิน และการขนส่ง
2. พันธุ์น้ำมันที่ส่งเสริมให้ปลูกเป็นการค้าในปัจจุบันคือ พันธุ์เทเนอร่า
3. การปลูก ควรมีการเตรียมพื้นที่ให้เหมาะสม และปลูกอย่างถูกวิธีในต้นฤดูฝน เพื่อให้ปาล์มน้ำมันเจริญเติบโตได้ดี
4. การใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นปาล์มน้ำมันได้รับปุ๋ยเคมีในปริมาณและชนิดของธาตุอาหารที่เพียงพอในช่วงเวลาที่เหมาะสมจะเป็นการเพิ่มผลผลิตเพื่อนำไปสู่เป้าหมายของเกษตรกร คือ กำไรสูงสุด
5. การปลูกพืชคลุมและการใช้ทะลายเปล่าคลุมโคนต้นเป็นการป้องกันการชะล้างหน้าดิน ช่วยลดการสูญเสียความชื้นจากหน้าดิน และให้สารอาหารแก่พืช
6. การให้น้ำ ในสภาพพื้นที่ที่มีปริมาณ 250-350 มิลลิกรัม/ปี และมีฤดูแล้งยาวนาน 3-5 เดือน ควรมีการให้น้ำเสริมเพื่อเพิ่มผลผลิตทะลายให้สูงขึ้น แต่ต้องคำนึงถึงเงินทุนด้วย
7. การเก็บเกี่ยวและการขนย้าย เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ควรเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มในระยะที่สุกพอดี ไม่ควรตัดผลปาลืมดิบไปขายเพราะจะถูกตัดราคา และต้องเก็บผลปาล์มร่วงบนพื้นให้หมด ทำความสะอาดผลปาล์มที่เปื้อนดิน อย่าให้มีเศษหินและดินปน และต้องรีบส่งผลปาล์มไปยังโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง

อ้างอิง : http://palmtrend.com

 

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 31499 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ปาล์มน้ำมัน]:
หนอนหน้าแมว กัดทำลายใบปาล์มน้ำมัน ชะงักการเติบโตเป็นปี กำจัดด้วย ไอกี้-บีที
(รูปด้านบนนี้ ไม่ใช่หนอนหน้าแมวในปาล์มน้ำมันนะจ๊ะ) ถ้าอาการหนัก หรือโดนเข้าทำลายอย่างรุนแรง จะเหลือแต่ก้านใบ
อ่านแล้ว: 7025
ติงภาครัฐไม่บูรณาการทำงาน ทำระบบจัดการปาล์มไม่พร้อม
สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลงประจำเดือนตุลาคม 2560 พบว่า ลดลงร้อยละ 2.42 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
อ่านแล้ว: 7344
มาเลย์เซีย ใช้วิธีอะไร พัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน
มาเลเซียมีเป้าหมาย ภายในปี 2563 เกษตรกรจะต้องมีผลผลิตเพิ่มเป็น 4.16 ตันต่อไร่ ได้น้ำมันสกัดในอัตรา 23%...ส่วนของไทยมี..
อ่านแล้ว: 6549
ปาล์มน้ำมันพันธุ์ใหม่ 5 ตันต่อไร่ดีที่สุดในโลก

อ่านแล้ว: 6902
มาเลย์เซีย ใช้วิธีอะไร พัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน

อ่านแล้ว: 7239
ชาวสวนเฮ - ปาล์มราคาพุ่ง พาณิชย์ไม่มีแผนนำเข้า
ราคาปาล์ม ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง กระทบต้นทุนน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ห้างค้าปลีกจำกัดซื้อไม่เกิน 6 ขวดต่อครอบครัว..
อ่านแล้ว: 9637
รับมือปาล์มราคาตก 1 ก.พ. ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ต่ำกว่า 4.20 บาทซื้อทันที
หากราคาปาล์มน้ำมัน ตํ่ากว่า 4.20 บาท เปิดรับซื้อทันที เป้า 9.8 หมื่นตันครอบคลุมสหกรณ์ สถาบันเกษตรกรกว่า 3 ล้านรายได้เฮ
อ่านแล้ว: 10830
หมวด ปาล์มน้ำมัน ทั้งหมด >>