ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรกรตัวอย่าง | อ่านแล้ว 14482 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เศรษฐีใหม่สวนยางอีสาน

ชนะวงศ์ สมมุติ เกษตรกรรุ่นใหญ่ใน ต.ทรายขาว อ.วังสะพุง จ.เลย จึงแทบไม่ต่างไปจาก เศรษฐีสวนยาง ขนาดย่อมคนหนึ่ง

data-ad-format="autorelaxed">

สวนยางพารา

สวนยางอีสานกับอนาคตที่สดใส “เศรษฐีใหม่สวนยางอีสาน” แม้จะไม่ใช่ “ข่าวใหญ่” ระดับพาดหัวตัวไม้ตามสื่อต่างๆ แต่ก็เป็น “ข่าวเด่น” มากพอที่จะเรียกความสนใจจากทุกคนในสังคมให้หันมามองปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

เพราะจังหวะก้าวกระโดดของราคายางในตลาดโลกที่พุ่งพรวดขึ้นมาเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 150 บาทในปีนี้ เป็นช่วงเวลาที่ประจวบเหมาะกับสวนยางในโครงการส่งเสริมการปลูกยางพาราในพื้นที่แห่งใหม่ หรือ โครงการยางล้านไร่ เริ่มเปิดกรีดได้อย่างประจวบเหมาะกันพอดี ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางทั้งรายเล็กรายใหญ่สามารถกอบโกยรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ จนชีวิตเปลี่ยนไปราวกับพลิกฝ่ามือ

อีกทั้งผลการประเมินทางเศรษฐกิจทั่วโลกยังระบุว่า อนาคตราคายางจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไป เนื่องจากปริมาณความต้องการในตลาดโลกยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องและมหาศาล

ส่งผลให้ “อาชีพปลูกสวนยางพารา” กลายเป็นเสมือนหนึ่ง “โอกาส” ที่ถูกนำมาวางอยู่ตรงหน้าเกษตรกร หากใครมีโอกาสคว้าไว้ได้ ก็ยากที่จะปฏิเสธ เพราะนี่อาจเป็น “กุญแจ” ไขไปสู่ความมั่นคงของชีวิตและสลัดทิ้งความยากจนได้อย่างถาวร เหมือนดังเช่นที่เกษตรกรชาวสวนยางรุ่นก่อนๆ พิสูจน์ให้เห็นมาแล้ว

“ชนะวงศ์ สมมุติ” เกษตรกรรุ่นใหญ่ใน ต.ทรายขาว อ.วังสะพุง จ.เลย เล่าให้ฟังว่า แต่เดิมสถานภาพของตัวเองก็ไม่ต่างจากเกษตรกรทั่วไปที่มีฐานะยากจนและมีหนี้สินล้นพ้นตัว มีอาชีพหลัก คือ การปลูกพืชไร่ต่างๆ เช่น ลูกเดือย ปอ มันสำปะหลัง แต่ไม่ว่าจะลงแปลงปลูกพืชชนิดไหน ก็ไม่สามารถสร้างความมั่นคงขึ้นมาได้ จนถึงกับต้องใช้เวลาช่วงเว้นจากการเพาะปลูกเดินทางเข้าเมืองกรุงมาขายล็อตเตอรี่รวมทั้งขายแรงงานแลกเงินเลี้ยงครอบครัว อย่างไรก็ตามรายได้ที่มีก็ยังไม่เคยพอกับค่าใช้จ่าย จนหนี้สินพอกพูนเพิ่มขึ้นทุกวัน

“จนมาประมาณปี 2536 รัฐบาลประกาศโครงการอีสานเขียว โดยส่งเสริมให้เกษตรกรในภาคอีสานปลูกยางพารา ซึ่งตอนนั้นเจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) มาบอกว่า ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอนาคตและทำรายได้ระยะยาว ซึ่งผมเองก็ไม่รู้ว่าจะจริงหรือเปล่า แต่ก็อยากลองเสี่ยง เพราะไม่มีอะไรจะเสียแล้ว คิดว่าอย่างไรเสียเราก็เอาไม้มาขายทีหลังได้ เลยตัดสินใจแบ่งที่ 11 ไร่มาทดลองปลูก”

ชนะวงศ์ เล่าอีกว่า หลังจากนั้นประมาณ 7 ปี พอยางชุดแรกกรีดได้ ก็เริ่มเห็นผล โดยเวลานั้นแม้ราคายางจะไม่สูงเท่าทุกวันนี้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นทันที คือ มีรายได้เข้ามาใช้จ่ายในครอบครัวเกือบทุกวัน ดังนั้นในปี 2547 เมื่อรัฐบาลประกาศโครงการยางล้านไร่ขึ้นมา จึงไม่ลังเลที่จะขอเข้าร่วมโครงการโดยปลูกเพิ่มอีก 7 ไร่

“ยางชุดหลังของผมปลูกแค่ 5 ปีก็เริ่มกรีดได้แล้ว ซึ่งถือว่าเร็วกว่าสวนยางทั่วไปที่ต้องใช้เวลาประมาณ 7 ปี ต้นยางถึงจะโตจนได้ขนาดที่เหมาะสมสำหรับการเปิดกรีด ซึ่งปัจจัยข้อแรกน่าจะมาจากพันธุ์ยางที่ได้รับในโครงการยางล้านไร่มีคุณภาพ รวมทั้งคำแนะนำของของเจ้าหน้าที่สกย. และ ซีพี ที่คอยมาสอนทั้งเรื่องการให้ปุ๋ย ยา และการดูแลรักษา ทำให้ต้นยางในสวนของผมโตเร็วและแข็งแรงจนเปิดกรีดได้เร็ว”

นอกจากการดูแลสวนของตัวเองแล้ว ชนะวงศ์ ยังร่วมกับเพื่อนเกษตรกรผู้ปลูกสวนยางรายอื่นใน ต.ทรายขาว ตั้ง “กลุ่มโพนงาม” เพื่อรวบรวมผลผลิตในพื้นที่นำมาผลิตยางแผ่นและนำไปเปิดประมูลในตลาดกลาง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อรายได้ของทุกคน เนื่องจากไม่ถูกกดราคารับซื้อจากพ่อค้าคนกลาง

ปัจจุบัน ชนะวงศ์ สามารถกรีดยางได้วันละประมาณ 40 กิโลกรัม ซึ่งจากการกรีดแบบวันเว้นวันทำให้มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 45,000-50,000 บาท ซึ่งมากเพียงพอที่จะนำมาจุนเจือครอบครัว และส่งลูก 2 คนให้เรียนหนังสือได้อย่างสบาย นอกจากนี้ยังมีเงินเหลือเก็บไปซื้อที่ดินเพื่อขยายพื้นที่ปลูกยางได้เพิ่มอีกถึง 11 ไร่

สถานะในวันนี้ของ ชนะวงศ์ จึงแทบไม่ต่างไปจาก “เศรษฐีสวนยาง” ขนาดย่อมคนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม แม้จะประสบผลสำเร็จจากการทำสวนยาง แต่สำหรับชนะวงศ์สิ่งที่ดีที่สุดหลังจากการทำสวนยางไม่ใช่เพียงการมีรายได้ที่ดีขึ้น แต่การทำสวนยางทำให้ไม่ต้องระหกระเหินออกไปไหนอีกแล้ว ..ทุกคนในครอบครัวได้กลับมาอยู่ด้วยกันอย่างพร้อมหน้า ทั้งยังหวังว่า สวนยางที่แกสร้างขึ้นในวันนี้ จะเป็นฐานสร้างความมั่นคงในชีวิตของลูกหลานในอนาคตต่อไป

อ้างอิง : http://www.cpcrop.com/


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 14482 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรกรตัวอย่าง]:
จากสาวออฟฟิศ สู่ปราชญ์ชาวบ้าน ยึดหลักพอเพียงสร้างธุรกิจยั่งยืน

อ่านแล้ว: 7488
หนีกรุงทิ้งเงินเดือนประจำ มาทำการเกษตร รับรายได้งาม 20,000บาทต่อเดือน ที่ชัยภูมิ

อ่านแล้ว: 7863
ทำความรู้จักการเกษตรยุค 4.0 คืออะไร? และพบตัวอย่างเกษตรกรรุ่นใหม่ คุณอายุ จือปา จากเด็กดอยสู่เจ้าของแบรนด์กาแฟระดับโลก
ลาออกจากมนุษย์เงินเดือน ไปเป็นเกษตรกรแล้วรุ่ง มีรายได้มากกว่าเดิม เพิ่มเติมคือชีวิตสโลว์ไลฟ์ เค้าทำยังไงกันล่ะ?
อ่านแล้ว: 8723
เปิดใจ ยุวเกษตรกรดีเด่น ลั่นจะเรียนด้านเกษตรจนถึงชั้นสูงสุดเพื่อนำวิชาความรู้มาพัฒนาสินค้าเกษตร
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาผู้นำชุมชนและเครือข่าย กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจอย่างมากที่ได้เข้ารับรางวัลในวันพระราชพิธีจรดพนั..
อ่านแล้ว: 7202
ปลูกพืชแซม เลี้ยงสัตว์ ในสวนปาล์ม ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ดีกว่าอาชีพหลัก
คุณสมหวิง หนูศิริ เกษตรกรต้นแบบในการเรียนรู้ของชุมชนในการจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ ปลูกพืชแซม เลี้ยงสัตว์..
อ่านแล้ว: 21526
เกษตรกรดีเด่น จ.ยะลา เผย เคล็ดลับปลูกสละ สร้างรายได้ปีละแสน
เคล็ดลับปลูกสละ - การปลูกสละอินโดของคุณดอเล๊าะ จะปลูกในร่องสวนยางพารา ความกว้างร่อง 3 x 8 เมตร ในแต่ละร่องสวนยางจะปลู..
อ่านแล้ว: 10886
หนุ่มเรียนจบปริญญา ลาออกจากงาน กลับมาอยู่บ้าน ปลูกผักขาย
ปลูกผักขาย - ตัวผมเองเข้มเเข็งมากพอที่จะทนฟังเสียงเหล่านั้นได้ เเต่สำหรับ เเม่ เมื่อโดนชาวบ้านถามทุกวัน เเม่ก็เริ่มรู้..
อ่านแล้ว: 14081
หมวด เกษตรกรตัวอย่าง ทั้งหมด >>