ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไร่อ้อย | อ่านแล้ว 28786 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ขั้นตอนการผลิตภัณฑ์อ้อยปลอดโรค

ขั้นตอนการผลิตภัณฑ์อ้อยปลอดโรค อ้อย เป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้ประเทศปีหนึ่งหลายพันล้านบาทจากการส่งน้ำตาลทรายออกไปจำ..

data-ad-format="autorelaxed">

 ขั้นตอนการผลิตภัณฑ์อ้อยปลอดโรค

ขั้นตอนการผลิตภัณฑ์อ้อยปลอดโรค- อ้อย เป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้ประเทศปีหนึ่งหลายพันล้านบาทจากการส่งน้ำตาลทรายออกไปจำหน่วยยังต่างประเทศ นอกจากใช้ผลิตน้ำตาลทรายแล้วอ้อยยังใช้ทำประโยชน์อื่น ๆ ได้อีกมาก เช่น นำมาผลิตแอลกอฮอล์ น้ำส้มสายชู ปุ๋ยหมัก เยื่อกระดาษ ไม้อัด และใช้เป็นวัสดุในการเพาะเห็ด เป็นต้น

เป็นที่น่าสังเกตว่าการผลิตอ้อยในระยะหลายปีที่ผ่านมาผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่มีแนวโน้มลดลง การเพิ่มผลผลิตทำโดยขยายเนื้อที่เพาะปลูกทั้งนี้เป็นเพราะว่าการปลูกอ้อยต้องประสบกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย

โรคเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลผลิตลดลง จากการสำรวจโรคอ้อยในประเทศไทยพบว่ามีอยู่ประมาณ ๕๐ โรค ในบรรดาโรคเหล่านี้ โรคที่เกิดจากเชื้อวิสาและมายโคพลาสมา นับว่าสำคัญมาก ที่แพร่ระบาดรุนแรงในประเทศไทยได้แก่โรคใบด่างและโรคใบขาว ปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีชนิดใดป้องกันหรือกำจัดก็ได้ และเนื่องจากเชื้อติดอยู่ในท่อนพันธุ์จึงทำให้แพร่ระบาดไปได้เรื่อย ๆ กับท่อนพันธุ์

ในประเทศคิวบา ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำตาลทรายมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากบราซิล ได้มีการศึกษาพบว่าโรคใบด่างของอ้อยที่มีสาเหตุจากเชื้อวิสาเพียงโรคเดียวทำให้ผลผลิตลดลงถึงร้อยละ ๗๕ สำหรับประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาถึงความเสียหายที่เกิดจากโรคนี้ แต่ก็พบว่าโรคนี้พบในทุกภาคของประเทศ ส่วนโรคใบขาวนั้นมีการระบาดรุนแรงทั่วไปเช่นเดียวกัน

แนวทางในการแก้ไขที่ควรนำมาใช้แนวทางหนึ่งคือการใช้พันธุ์อ้อยที่ปลอดจากโรคต่าง ๆ ทำพันธุ์เพื่อตัดวงจรการระบาดของโรค ดังนั้นจึงได้มีการวิจัยเพื่อผลิตพันธุ์อ้อยปลอดโรคขึ้น พันธุ์อ้อยปลอดโรคที่ได้นอกจากจะใช้ประโยชน์หลักด้านปลูกทดแทนพันธุ์อ้อยที่เป็นโรคอยู่ในปัจจุบันแล้ว เรายังใช้ประโยชน์จากพันธุ์ปลอดโรคในโครงการอื่น ๆ อีกมาก เช่น โครงการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์เพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ เป็นต้น

ขั้นตอนการผลิตภัณฑ์อ้อยปลอดโรค
๑. ฆ่าเชื้อในท่อนพันธุ์อ้อยแล้วเลี้ยงเนื้อเยื่อ

๑) นำต้นอ้อยที่เป็นโรคใบด่างและหรือใบขาวมาตัดเป็นท่อน ๆ ให้แต่ละท่อนมี ๑ ข้อ (มีตา ๑ ตา) ความยาวแต่ละท่อนประมาณ ๕-๗ ซม.

๒) นำท่อนอ้อยมาแช่น้ำร้อน ๓ ครั้ง
ครั้งแรก (วันที่หนึ่ง) แช่ในน้ำร้อนอุณหภูมิ ๕๒°ซ. นาน ๒๐ นาที
ครั้งที่สอง (วันที่สอง) แช่ในน้ำร้อนอุณหภูมิ ๕๗°ซ. นาน ๒๐ นาที และ
ครั้งที่สาม (วันที่สาม) แช่ในน้ำร้อนอุณหภูมิ ๕๗°ซ. นาน ๒๐ นาที
ทุกครั้งที่นำขึ้นมาจากน้ำร้อนให้ลดอุณหภูมิของท่อนพันธุ์ทันทีด้วยการแช่ท่อนพันธุ์ลงในอ่างน้ำไหล

๓) เมื่อแช่น้ำร้อนครบทั้งสามอุณหภูมิแล้วนำไปปลูกในกระบะทรายประมาณ ๒ สัปดาห์ ตัดยอดอ้อยที่แตกออกมา นำมาฟอกฆ่าเชื้อ แล้วนำมาตัดเนื้อเยื่อเจริญภายใต้กล้องสเตอริโอให้ได้เนื้อเยื่อขนาด ๐.๓x๐.๔ มิลลิเมตร แล้วเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์สูตรดัดแปลงของ Murashige & Skoog (MS)

๒. การตรวจสอบอนุภาคของเชื้อ

เพื่อให้ได้ต้นอ้อยที่ปราศจากโรคใบด่างและใบขาวร้อยเปอร์เซ็นต์ต้องทำการตรวจหาอนุภาคของเชื้อทุกระยะการพัฒนา ตั้งแต่เนื้อเยื่อเจริญเริ่มพัฒนเป็นกลุ่มเซล (callus) และต้นอ่อน (plantlets) จนถึงย้ายออกปลูกในเรือนปลูกพืชทดลอง และในแปลงขยายพันธุ์

การตรวจสอบว่าต้นอ้อยที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปราศจากโรคทั้งสองร้อยเปอร์เซ็นต์หรือไม่ทำได้ดังนี้

ในกรณีของโรคใบด่าง เราใช้พืชทดสอบ โดยเราใช้ข้าวฟ่างพันธุ์ DA80 เป็นพืชในการทดสอบ นำตัวอย่างที่เราต้องการทดสอบมาบดแล้วนำเฉพาะน้ำคั้นมาทาลงบนใบของข้าวฟ่าง หลังจากนั้นสองอาทิตย์ถ้าใบข้าวฟ่างแสดงอาการใบด่าง ก็แสดงว่าต้นอ้อยที่ได้จากการเลี้ยงเนื้อเยื่อมีเชื้อวิสาสาเหตุโรคใบด่าง แต่ถ้าต้นข้าวฟ่างไม่แสดงอาการก็แสดงว่าต้นอ้อยที่ได้ปราศจากเชื้อวิสา และเพื่อให้เกิดความแน่ใจเราจะตรวจสอบด้วยกล้องจุลทัศน์อิเลคตรอนด้วยโดยนำน้ำคั้นจากตัวอย่างที่จะทดสอบมาตรวจหาอนุภาคของเชื้อ

สำหรับกรณีโรคใบขาว เราจะดูการแสดงอาการใบขาวของต้นอ้อยตั้งแต่ยังอยู่ในขวดจนถึงย้ายออกปลูกในเรือนปลูกพืชทดลองและยังดูต่อไปเรื่อย ๆจนต้นอ้อยโต ซึ่งในกรณีของโรคใบขาวนี้ ถ้าต้นอ้อยที่ได้ปราศจากเชื้อมายโคพลาสมาซึ่งเป็นสาเหตุของโรคใบขาว ต้นอ้อยที่ได้จะไม่แสดงอาการใบขาว

ในการผลิตพันธุ์อ้อยปลอดโรคโดยวิธีนี้ แม้ว่าเปอร์เซ็นต์ความงอกของท่อนพันธุ์จะลดลงมากหลังจากแช่น้ำร้อนแต่เปอร์เซ็นต์การอยู่รอดภายหลังย้ายปลูกสูง และยังสามารถเพิ่มปริมาณได้มากและใช้เวลาสั้น ฉะนั้นวิธีการนี้จึงนับว่าเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการผลิตท่อนพันธุ์อ้อยปลอดโรคเพื่อแจกจ่ายให้เกษตรกรนำไปปลูกทดแทนท่อนพันธุ์เดิมที่เป็นโรค

การผลิตพันธุ์อ้อยปลอดโรคโดยวิธีนี้จะให้พันธุ์อ้อยที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง คือจะปลอดจากโรคที่เกิดจากเชื้อทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นวิสา มายโคพลาสมา แบคทีเรีย เชื้อรา หรือไส้เดือนฝอย ผิดจากวิธีการแช่น้ำร้อนซึ่งนิยมใช้อยู่ในเวลานี้ ซึ่งได้ผลไม่แน่นอนและไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคใบขาวออกจากท่อนอ้อยได้ ดังนั้น ในกรณีที่โรคใบขาวเป็นปัญหาอยู่ในแหล่งปลูกจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผลิตพันธุ์อ้อยปลอดโรค โดยวิธีแช่น้ำร้อนแล้วตัดเนื้อเยื่อเจริญมาเลี้ยงดังที่ได้รายงานมานี้

๓. ขั้นตอนขยายพันธุ์

สำหรับขั้นตอนต่อไปในการผลิตพันธุ์อ้อยปลอดโรคนั้นคือขั้นขยายพันธุ์ในขั้นนี้ผู้ผลิตพันธุ์อ้อยปลอดโรค อาจจะขยายพันธุ์อ้อยบริสุทธิ์ที่ทดสอบแล้วโดยวิธีการเลี้ยงเนื้อเยื่อให้ได้จำนวนมากตามความต้องการ แล้วจึงย้ายออกปลูกในเรือนเพาะชำและในแปลงขยายพันธุ์ ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายของการผลิตหรืออาจจะย้ายปลูกก่อน แล้วขยายพันธุ์แบบธรรมดาก็ได้

ในการขยายพันธุ์อ้อยปลอดโรคนี้ผู้ผลิตอ้อยจำเป็นต้องมีพื้นที่ซึ่งแยกจากแหล่งปลูกอ้อยทั่วไปเพื่อใช้ขยายพันธุ์อ้อยปลอดโรค

อ้อยที่ปลูกในแปลงนี้จะมีโอกาสติดโรคน้อยมาก ทำให้สามารถขยายพันธุ์ต่อไปได้เรื่อย ๆ อย่างไรก็ตามควรมีการตรวจสอบการเป็นโรคของอ้อยในพื้นที่นี้อยู่เสมอ ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าอ้อยที่จะขยายพันธุ์ปลอดโรคจริง ในกรณีที่พบว่าอ้อยในแปลงนี้เริ่มติดโรคก็ควรทำลายเสียแล้วเริ่มปลูกใหม่

สำหรับวิธีการและรายละเอียดทุกขั้นตอนในการผลิตพันธุ์อ้อยปลอดโรค ผู้สนใจติดต่อได้ที่กลุ่มงานวิทยาไมโค กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร กทม. ๑๐๙๐๐ โทร. ๕๗๘๕๕๘๑

อ้างอิง : www.thaikasetsart.com

 

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 28786 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไร่อ้อย]:
อ้อยแคระ แกร็น อ้อยโตช้า อ้อยไม่ย่างปล้อง อ้อยปล้องสั้น อ้อยใบเหลือง อ้อยใบไหม้
พืชจะไม่สมบูรณ์ได้อย่างไร เราก็ใส่ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีแล้ว แต่ทำไมพืชยังไม่โตเท่าที่ควร ทั้งๆที่เราใส่ปุ๋ย
อ่านแล้ว: 6817
อ้อยยอดเหลือง แต่กอยังเขียว เพราะ หนอนกออ้อย เข้าทำลายต้นอ้อย ฆ่าหนอน กำจัดหนอน ไอกี้-บีที
อ้อยกำลังงาม อยู่ๆก็ยอดเหลือง ทั้งๆที่กออ้อยยังเขียวอยู่ นั่นท่านอาจเจอกับปัญหาหนอนกอ ป้องกันกำจัด ก่อนจะลุกลาม
อ่านแล้ว: 6691
อ้อยใบเหลือง อ้อยใบซีด เหลืองซีดเป็นหย่อมๆ ลักษณะนี้เป็นอาการของ อ้อยขาดธาตุอาหาร
หากพืชมีความอ่อนแอ ความรุนแรงของโรคก็จะมาก การเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช ก็เข้าทำลายได้มากเช่นกัน บวกกับสภาพแวดล้อม..
อ่านแล้ว: 9019
อ้อยเป็นหนอน หรือเห็น อ้อยยอดแห้งตาย นั่นเพราะหนอนกอสีขาวเข้าทำลาย
หน่ออ้อยที่ยังเล็กอยู่ หากโดน หนอนกอสีขาว เข้าทำลาย หน่ออ้อยมักจะตาย อ้อยที่เป็นลำจะชะงักโต ผลผลิตลด คุณภาพลด
อ่านแล้ว: 7569
ผลผลิตอ้อยลด ค่าความหวานลด อ้อยชะงักโตเพราะ แมลงหวี่ขาวอ้อย ต้องแก้
แมลงหวีขาว ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบอ้อย ในระยะตัวอ่อนนั้น จะสร้างความเสียหายให้กับอ้อย
อ่านแล้ว: 7879
อ้อยมีราดำ มีแป้งสีขาวใต้ใบ ใบเหลืองซีด เพราะเพลี้ยสำลี ปล่อยไป อ้อยแห้งตาย
เพลี้ยสำลี หากมีการระบาดในไร้อ้อยแล้ว จะทำให้อ้อยในไร่ชะงักการเติบโต หรืออาจจะทำให้อ้อยแห้งกรอบทั้งใบ
อ่านแล้ว: 7928
อ้อยเหลือง แห้งตายทั้งกอ เป็นเพราะ แมลงนูนหลวง กัดกินรากอ้อย กำจัดอย่างไร
มักระบาดในสภาพดินทรายที่มี pH 6-6.5 และสภาพดินที่มีอินทรียวัตถุ 0.56-0.84% การเข้าทำลายอ้อยมักปรากฏเป็นหย่อมไม่แพร่..
อ่านแล้ว: 6937
หมวด ไร่อ้อย ทั้งหมด >>