ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไม้ดอก ไม้ประดับ | อ่านแล้ว 18149 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ดอกพุทธรักษา

พุทธรักษา เป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า มีการเจริญเติบ

data-ad-format="autorelaxed">

ดอกพุทธรักษา

ดอกพุทธรักษา เป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า มีการเจริญเติบโตโดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกับกล้วย ลักษณะหน่อที่เจริญเป็นต้นเหนือพื้นดินนั้นมีลักษณะกลมแบนสีเขียวขนาดลำต้นโตประมาณ 2-4 เซนติเมตร ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวโคนใบและปลายใบรีแหลม ขอบใบเรียบ กลางใบเป็นเส้นนูนเห็นได้ชัดโคนใบมีก้านใบซึ้งยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสลับกัน ขนาดใบกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 25-35 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอก 8-10 ดอก และมีกลีบดอกบางนิ่ม ขนาดของดอกและสีสรรแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์

คนโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้น พุทธรักษา ไว้ประจำบ้านจะช่วยคุ้มครอง ป้องกันอันตรายแก่บ้านและผู้อาศัยได้ เพราะพุทธรักษาเป็นพรรณไม้ที่คนโบราณเชื่อว่า มีพระเจ้าคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข คือเป็นไม้มงคลนั่นเอง

พุทธรักษา นิยมปลูก 2 วิธี

1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ถ้าปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ควรใช้แปลงปลูกขนาด 2 x 10 เมตร โดยการยกร่องคล้ายแปลงปลูกผัก การเตรียมดินใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 10-20 กิโลกรัม/แปลง ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x30 แต่ถ้าปลูกเพื่อประดับบ้าน คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้เป็นแนวรั้วบ้านหรือปลูกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในพื้นที่ที่จำกัด ขนาดหลุม ปลูก 30 x 30 x 30 ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก

2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับอาคารบ้านเรือน ส่วนใหญ่ใช้เป็นดอกประดับภายนอก ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 10-16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:แกลบผุ:ดินร่วนอัตรา1:1:1ผสมดินปลูกและควรเปลี่ยนกระถาง12ครั้งต่อปีเพราะการขยายตัวของหน่อ แน่นเกินไป และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ แทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป

อ้างอิง : http://www.maipradabonline.com/


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 18149 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไม้ดอก ไม้ประดับ]:
กุหลาบต้นแห้ง กุหลาบใบเหลือง กุหลาบใบเป็นจุด กุหลาบใบแห้ง เป็นโรครา แก้ไขได้อย่างไร?
กุหลาบจำนวนไม่น้อย ที่โดน โรคใบจุดสีดำ เข้าทำลาย โรคใบจุดสีดำในกุหลาบ ระบาดได้ทั่วไปตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในฤดูฝน
อ่านแล้ว: 9919
เปลี่ยนจากอ้อย หันมา ปลูกดาวเรือง ใช้เวลาปลูกเพียง 60 วัน ตัดดอกขายได้
ปลูกดาวเรือง นอกจากจะปลูกเพื่อตัดดอกขายแล้ว สามารถปลูกลงกระถางหรือถุงพลาสติกเพื่อใช้ประดับตามอาคารบ้านเรือนและสถาน..
อ่านแล้ว: 9490
ซ้ำรอย จัสมินไรซ์ ฝรั่งชิงจดสิทธิบัตร ไม้ประดับ ลิ้นมังกร
ลิ้นมังกร - เร่งยื่นคัดค้านต่างชาติฉกจดสิทธิบัตร ลิ้นมังกร เป็นพันธุ์พืชในสหรัฐ-อียูซ้ำรอย จัสมินไรซ์ ผู้ประกอบการ..
อ่านแล้ว: 9091
ฝนตกทำให้ ดอกมะลิ อมน้ำเป็นโรคเชื้อราเน่าเสีย ขาดรายได้
ดอกมะลิ - ฝนตกส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกมะลิขาย ทำให้อมน้ำ และเป็นโรคเชื้อราเน่าเสียหายกว่า 40 เปอร์เซ็นต์
อ่านแล้ว: 8237
การปลูกกุหลาบ
การปลูกกุหลาบ กุหลาบควรปลูกในฤดูฝนและฤดูหนาวเพราะเป็นช่วงของการเจริญเติบโตของกุหลาบ ช่วงที่ดีที่สุดคือช่วงเดือนมิถุนายน
อ่านแล้ว: 10774
ปลูกดาวเรือง - ชาวนาลพบุรี ปลูกดาวเรืองขาย รายได้เหยียบแสนต่อวัน
ปลูกดาวเรือง รวยไม่รู้เรื่อง! ชาวนาหัวใส จ.ลพบุรี สู้ภัยแล้งเจาะบ่อบาดาล หันปลูกดาวเรืองขาย ทำรายได้เหยียบเเสนต่อวัน..
อ่านแล้ว: 8170
ปลูกโป๊ยเซียนขาย รายได้เดือนละ 100,000 บาท งานเบาๆของวัยเกษียณราชการ
คุณลุงวัยกว่า 70 ปี คนขยัน เพาะชำต้นโป๊ยเซียน ไม้ดอกไม้ประดับกว่า 100 สายพันธุ์ จำนวนมากกว่า 20,000 กระถาง..
อ่านแล้ว: 8606
หมวด ไม้ดอก ไม้ประดับ ทั้งหมด >>