ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 16492 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ป่าชุมชน ความหมายของ ป่า และ ชุมชน

ป่าชุมชน หมายถึง ที่ดิน และ/หรือ ที่ดินป่าไม้ ที่ชุมชนได้ดำเนินการหรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายให้ดำเนินการร่วมกับพนัก..

data-ad-format="autorelaxed">

ป่าชุมชน

ประมาณต้นทศวรรษที่ 1970 นักวิชาการป่าไม้ของโลกบางส่วน เริ่มมีความเห็นพ้องต้องกันว่า ป่าไม้ของโลก โดยเฉพาะป่าเขตร้อน (Tropical forest) กำลังถูกทำลายลงไปอย่างรวดเร็วและป่าเหล่านั้นส่วนใหญ่อยู่ในเขตประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนา ซึ่งมักจะเป็นประเทศที่มีโครงสร้างทางการเมืองเป็นเผด็จการหรือกึ่งเผด็จการ กล่าวคือ อำนาจในการจัดการทรัพยากรของประเทศเหล่านั้น ซึ่งในกรณีนี้คือ ป่าไม้ ตกอยู่ในมือกลุ่มผู้ปกครองจำนวนน้อย การใช้ป่าจึงเป็นไปในแนวทางที่ก่อให้เกิดผลเสียใหญ่ๆ 2 ด้าน คือ

๑. ป่าถูกมองว่าเป็นเพียงแหล่งผลิตไม้ซุงที่ควรถูกตัดเพื่อขายหารายได้เข้าประเทศ หากปล่อยไว้โดยไม่ตัดมาใช้ก็จะเป็นการสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ ด้วยทัศนะดังกล่าว นโยบายและวิธีการจัดการป่าของรัฐในประเทศเหล่านั้น จึงส่งผลสู่การทำไม้เพื่อส่งออกเป็นรายได้หลักของประเทศ พื้นที่ป่าจึงหมดไปอย่างรวดเร็ว

๒. ผลพวงของการจัดการป่า หาได้ตกแก่คนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ โดยเฉพาะผู้คนในชนบทที่อยู่ใกล้ป่าหรือในป่า ส่วนใหญ่แล้วรัฐจะถือว่าป่า ตลอดจนไม้และทรัพยากรอื่นๆ จากป่าเป็นของรัฐ ประชาชนแตะต้องไม่ได้ คนเหล่านั้นจึงมักตกอยู่ในสภาพของผู้บุกรุกป่าบ้าง ผู้ลักลอบตัดฟันไม้บ้าง ทั้งๆ ที่ชีวิตของพวกเขาต้องพึ่งพาอาศัยป่ามาโดยตลอด แต่ก็ต้องตกอยู่ในสภาพของผู้กระทำผิดกฎหมายของรัฐ”

อาจสรุปได้ว่า การจัดการป่าในแนวทางที่รัฐเป็นเจ้าของป่า ก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบนิเวศของแต่ละประเทศและของโลก และยังก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการกระจายผลประโยชน์จากทรัพยากรของส่วนรวมอีกด้วย

“ด้วยเหตุนี้จึงมีการเสนอให้เปลี่ยนแปลงปรัชญาในการจัดการป่าเสียใหม่ โดยหวังผลหลัก 2 ประการ คือ ไม่ทำลาย ทั้งยังรักษาและฟื้นฟูสภาพระบบนิเวศให้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็หาทางให้ผู้คนรอบๆ ป่าและในป่า ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่และเป็นกลุ่มคนผู้เสียเปรียบในสังคม ได้รับประโยชน์จากที่ดินในป่าและทรัพยากรจากป่ามากขึ้น”

ในที่สุดก็พบว่าแบบแผนของการใช้ที่ดินและป่า ที่ผู้คนในชนบทของประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลายได้กระทำกันอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานานับศตวรรษนั้นเอง คือคำตอบ นักวิชาการจึงตั้งชื่อแบบแผนการใช้ทรัพยากรที่มีป่าเป็นศูนย์กลางของการผลิต และการดำรงชีวิตของชาวบ้าน โดยมีพวกเขาเป็นเจ้าของ เป็นผู้จัดการ และได้รับประโยชน์ว่า ‘ป่าชุมชน’ หรือ ‘Community Forestry’

ลำดับเหตุการณ์การผลักดันกฎหมายป่าชุมชน

ยุคสัมปทาน
รัฐได้เปิดโอกาสให้มีการสัมปทานไม้ มีบริษัทมากมายทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมทั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) เข้ามาชักลากไม้ในพื้นที่ป่าทั่วประเทศ กฎหมายยังอนุญาตให้เอกชนเช่าพื้นที่ป่าเพื่อทำธุรกิจทั้งการปลูกป่า สร้างรีสอร์ท ที่พักเพื่อการท่องเที่ยว

ปี 2515
พี่น้องในหลายชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่า อาทิเช่น ที่ อ.เถิน จ.ลำปาง กิ่ง อ.บ้านหลวง จ.น่าน และ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ได้รวมตัวกันคัดค้านการสัมปทาน

ปี 2532
พี่น้องที่บ้านห้วยแก้ว กิ่ง อ.แม่ออน รวมพลังคัดค้านบรรดานายทุนที่เข้ามาเช่าพื้นที่ป่าสาธารณะในการปลูกสวนป่าเศรษฐกิจ จุดกระแสการเรียกร้องกฎหมายป่าชุมชนเป็นครั้งแรก

ปี 2532
กรมป่าไม้ร่างกฎหมายป่าชุมชนขึ้น แต่ร่างของกรมป่าไม้ไม่ได้ให้สิทธิประชาชนอย่างแท้จริง แต่เอื้อให้มีการพัฒนาป่าในทางเศรษฐกิจ

ปี 2533
ชาวบ้าน นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนร่วมกันร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชนฉบับประชาชน

ปี 2537
ชาวบ้านเริ่มรณรงค์ให้รัฐบาลนำร่างกฎหมายป่าชุมชนฉบับประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร

ปี 2538
รัฐบาลตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกกฎหมายป่าชุมชนฉบับใด จึงจัดให้มีการยกร่างกฎหมายป่าชุมชน ในวันที่ 7-9 เมษายน 2538 โดยคณะกรรมการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค (กนภ.) ได้รับมอบหมายให้จัดสัมมนาร่วมระหว่างตัวแทนเจ้าหน้าที่รัฐ นักวิชาการ นักพัฒนาเอกชน และตัวแทนชาวบ้าน ในที่สุดได้ร่างขึ้นมาใหม่เรียกว่าร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน ฉบับ กนภ.ที่ทุกฝ่ายพอใจ

ปี 2539
วันที่ 30 เมษายน คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการในร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชนฉบับ กนภ. แต่องค์กร 4 องค์กร คือ มูลนิธิธรรมนาถ มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร มูลนิธิโลกสีเขียว และสมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม ได้ออกมาคัดค้านร่างฉบับ กนภ. เพราะไม่เห็นด้วยที่จะอนุญาตให้มีป่าชุมชนในเขตป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย และไม่ต้องการให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์หรือมีกิจกรรมใดๆ ในป่าอนุรักษ์

ปี 2540
การคัดค้านขององค์กรอนุรักษ์ส่งผลให้มีการทำประชาพิจารณ์ร่างกฎหมายป่าชุมชนฉบับ กนภ. หลังการประชาพิจารณ์ นายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการแก้ไขร่างตามผลการประชาพิจารณ์ แต่ผลการแก้ไขไม่สอดคล้องกับผลการประชาพิจารณ์ ชาวบ้านจึงพากันคัดค้านร่างฉบับนายโภคิน

ปี 2541
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย แต่งตั้งนางลดาวัลย์ วงศ์ศรีวงศ์ เป็นประธานในการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน (ฉบับนายโภคิน) ให้สอดคล้องกับผลการประชาพิจารณ์ แต่ยังคงห้ามไม่ให้มีการทำป่าชุมชนในเขตป่าอนุรักษ์ จากนั้นนายกได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน ฉบับ ส.ส.ลดาวัลย์ เข้าคณะรัฐมนตรี กระทรวงเกษตรส่งเรื่องให้กรมป่าไม้พิจารณา ประชาชนก็คัดค้าน

ปี 2542
สมัชชาป่าชุมชนภาคเหนือ ประกาศเจตนารมย์ร่วมผลักดันกฎหมายป่าชุมชนฉบับประชาชน ระดม 50,000 รายชื่อ เสนอกฎหมายป่าชุมชนฉบับประชาชน

ปี 2543
1 มีนาคม ชาวบ้านเสนอกฎหมายป่าชุมชน 50,000 รายชื่อต่อประธานรัฐสภา
5 กรกฎาคม รัฐบาลรับหลักการร่างพรบ.ป่าชุมชน วาระที่ 1 พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพรบ.ป่าชุมชน ไม่มีผู้แทนจากร่างฉบับประชาชน
สิงหาคม-กันยายน ตัวแทนประชาชนผู้เสนอกฎหมาย และตัวแทนองค์กรอนุรักษ์บางกลุ่มเข้าไปเป็นที่ปรึกษากรรมาธิการ ท่ามกลางบรรยากาศที่สส.ฝ่ายค้านลาออกจากสภาเกือบหมด และสส.ที่เป็นกรรมาธิการขาดข้อมูลประกอบในการพิจารณา
พฤศจิกายน ยุบสภา ร่างพรบ.ป่าชุมชนตกไป

ปี 2544
6 มกราคม เลือกตั้ง ส.ส. ทั่วประเทศ
26 กุมภาพันธ์ รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคไทยรักไทยแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
27 มีนาคม คณะรัฐมนตรี ยืนยัน ร่าง พ.ร.บ. ป่าชุมชนที่ค้างสภา ให้พิจารณาต่อ
23 พฤษภาคม รัฐสภาเห็นชอบให้มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชนต่อ
แต่งตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน มีผู้แทนจากร่างประชาชน 13 คน จากกรรมาธิการทั้งหมด 35 คน
เวทีรับฟังความคิดประชาชนต่อร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน ทั้ง 4 ภาค กรกฎาคม-สิงหาคม
31 ตุลาคม พี่น้องเครือข่ายป่าชุมชนทั่วประเทศ ประมาณ 200 คน เข้าพบวิปรัฐบาลนายอดิศร เพียงเกษ และเข้าร่วมรับฟังการพิจารณา พ.ร.บ.ป่าชุมชนของ ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร
7 พฤศจิกายน พ.ร.บ.ป่าชุมชน ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ด้วยเสียงโหวต 341 เสียง ไม่ลงคะแนน 2 เสียง 13 พฤศจิกายน ตัวแทนพี่น้องเครือข่ายป่าชุมชนเหนือ อีสาน ใต้ เข้าพบวิป ส.ว.และยื่นหนังสือเรื่องขอโควต้ากรรมาธิการ ส.ว.แก่ประธานวุฒิสภา แต่รองประธานมารับหนังสือแทน
26 พฤศจิกายน ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติรับร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน วุฒิสภา จำนวน 27 คน โดยมีโควต้าของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายทั้งสิ้น 3 คน คือ อนันต์ ดวงแก้วเรือน/ศยามล ไกรยูรวงศ์/เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์
ธันวาคม กรรมาธิการวิสามัญ ส.ว.ลงพื้นที่ภาคเหนือ บ้านทุ่งยาว แม่ทา แม่ขะปู

ปี 2545
มกราคม กรรมาธิการวิสามัญ ส.ว. ลงพื้นที่ดูงานป่าชุมชนภาคอีสาน
15 มีนาคม วุฒิสภาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน มีมติตัดหลักการและหัวใจสำคัญของร่างกฎหมายฯ คือ "การมิให้ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์สามารถจัดตั้งป่าชุมชนได้”
16 มีนาคม ผู้นำป่าชุมชนเครียดมติ สว. เสียชีวิตเนื่องจากอาการช็อค 2 ราย

ขั้นตอนการพิจารณากฎหมายป่าชุมชน (ภายหลังการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดย วุฒิสภา)

วุฒิสภา ส่งเรื่อง(มติ) กลับมายังสภาผู้แทนราษฎร

ถ้าสภาผู้แทนไม่เห็นด้วย ให้ทั้ง 2 สภาแต่งตั้งคณะกรรมมาธิการร่วม 2 สภา จำนวนเท่ากัน (ซึ่งเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น สส. สว.) แต่ถ้าสภาผู้แทนราษฎรเห็นด้วยก็เป็นอันจบ

เมื่อกรรมาธิการร่วมพิจารณาแล้วเสร็จ ส่งกลับไปยังสภาทั้ง 2

หากสภาใดไม่เห็นชอบให้มีสิทธิยับยั้งได้

การพิจารณาขั้นสุดท้าย สภาผู้แทนราษฎรเป็นกลไกตัดสินใจ ในกรณีที่เป็นกฎหมายเกี่ยวข้องกับการเงิน ไม่จำเป็นต้องรอเป็นเวลา 180 วัน ก็สามารถหยิบยกขึ้นมาพิจารณาได้ ซึ่งกฎหมายป่าชุมชนเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงิน สามารถนำมาพิจารณาได้เลย ไม่ต้องรอให้พ้น 180 วัน

หากสภาผู้แทนราษฎร มีมติเกินครึ่ง ก็เป็นอันว่าการพิจารณากฎหมายเป็นอันสิ้นสุด

ภายใน 20 วัน นายกฯ นำทูลเกล้า

หากพ้น 90 วัน มิได้พระราชทานคืนกลับมา สภาต้องมาทบทวนพิจารณาใหม่ และต้องได้รับการยอมรับด้วยคะแนน 2 ใน 3 ของจำนวน 700 คน รายละเอียด ใน รัฐธรรมนูญ มาตรา 175 ,176 และ ป่าชุมชนคืออะไร

ในการวิเคราะห์ จะเห็นว่ามีคำว่า "ป่า" กับคำว่า "ชุมชน"

จากคำนิยามของคำว่า "ป่า" ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 4(1)ให้ความหมายว่า "ป่า หมายความว่า ที่ดิน ที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ให้ความหมายในมาตรา 4 ว่า "ป่า" หมายความว่า ที่ดิน รวมตลอดถึงภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเล ที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมาย

ส่วนคำว่าชุมชน ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2542 หน้า 368 ให้ความหมาย ดังนี้ "ชุมชน น. หมู่ชน กลุ่มคนที่อยู่รวมกันเป็นสังคมขนาดเล็กอาศัยอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกันและมีผลประโยชน์ร่วมกัน" เมื่อนำมารวมกันเป็น "ป่าชุมชน" และพิจารณาประกอบกับกิจกรรมทางวิชาการ จึงให้ความหมายของ ป่าชุมชน ที่แท้จริง (Official Community Forest) ดังนี้

"ป่าชุมชน หมายถึง ที่ดิน และ/หรือ ที่ดินป่าไม้ ที่ชุมชนได้ดำเนินการหรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายให้ดำเนินการร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ จัดการกิจการงานด้านป่าไม้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้กฎหมาย กฏระเบียบ ข้อบังคับ ข้อปฏิบัติและแผนงานที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจสอดคล้องกับความเชื่อและวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นนั้นด้วย การจัดการ หรือดำเนินการดังกล่าว ก็เพื่อการอนุรักษ์ และให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน"

คำหลัก (Key word) ที่เป็นองค์ประกอบของป่าชุมชนมีดังนี้

1. ที่ดิน หมายถึง ที่ดินนอกพื้นทีป่าไม้ เช่น
ก. ที่ดินสาธารณประโยชน์
ข. ที่ดินเอกชน
ค. ที่ดินของวัด,โรงเรียน,สองข้างทาง
ง. ที่ดินของส่วนราชการต่างๆ ฯลฯ
ซึ่งทีดินดังกล่าวข้างต้นจะต้องได้รับอนุญาตให้ใช้จากผู้มีสิทธิด้วย

2. ที่ดินป่าไม้ หมายถึงที่ในเขตป่าไม้ เขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินในเขตป่าต้องได้รับอนุญาต
ก. ที่ดินป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พุทธศักราช 2484
ข. ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
3. ชุมชน หมายถึงชุมชน ที่มีราษฎรร่วมบริหารจัดการ ดูแล และรับประโยชน์จากป่าชุมชนนั้นๆ
4. การอนุญาตตามกฏหมาย หมายถึงมีการขอจัดตั้งป่าชุมชนตามแนวทาง และได้รับอนุญาตจาก ผู้มีอำนาจ(กรมป่าไม้) ตามกฎ ระเบียบ ที่กำกับ ดูแลพื้นที่นั้นๆ
5. การดำเนินการร่วมกัน หมายถึงราษฎรในชุมชน องค์กรต่างๆ และหน่วยงานของรัฐ ฯลฯ ร่วมกันบริหารจัดการป่าไม้ในรูปแบบ การมีส่วนร่วม
6. การจัดการกิจการงานด้านป่าไม้ หมายถึงการควบคุม ดูแล รักษา บำรุงป่า รวมถึงการป้องกัน และ ปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นด้วย
7. ความต่อเนื่อง หมายถึงการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ สม่ำเสมอ ระยะยาว ไม่ขาดตอน
8. การใช้ประโยชน์โดยชุมชน หมายถึงราษฎรในชุมชนใช้ประโยชน์ตามกติกาที่ชุมชนร่วมกันกำหนด โดยไม่ขัดต่อกฎระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้อง
9. ความยั่งยืน หมายถึงป่าไม้นั้นๆ ยังคงเป็นป่าไม้และสามารถเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับราษฎรในชุมชน ได้อย่างต่อเนื่อง เต็มประสิทธิภาพตลอดไป โดยไม่เสียหายหรือถูกเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น

ป่าชุมชนคือ รูปแบบการใช้ที่ดิน ป่าและทรัพยากรต่างๆ จากป่าที่ชาวบ้านตามชุมชนในชนบทที่อยู่ในป่าหรือใกล้ป่าได้ใช้กันเป็นเวลานานแล้ว โดยมีระบบการจำแนกการใช้ที่ดิน ป่าและทรัพยากรต่างๆ มีอาณาเขตและกฎเกณฑ์การใช้เป็นที่รับรู้และยอมรับกันทั้งภายในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง พร้อมทั้งมีองค์กรชาวบ้านรูปแบบหนึ่งรับผิดชอบด้านการจัดการอย่างเหมาะสม บนพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้านอันเกิดจากการสะสมประสบการณ์แห่งการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ทางกายภาพและทางสังคม-วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น โดยผ่านกระบวนการถ่ายทอดและสะสมภูมิปัญญานั้นมาหลายชั่วอายุคน

รูปแบบและความสัมพันธ์ทางสังคมอันเกิดจากการใช้ทรัพยากรดังกล่าวนี้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการดำรงชีวิตที่ต้องอาศัยป่าหรือที่ดินรอบๆ ป่า เพื่อการเพาะปลูกและการอุปโภคบริโภค โดยอาศัยป่าเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นแหล่งที่มาของอาหาร สมุนไพร วัสดุเพื่อการสร้างที่อยู่อาศัย เครื่องมือ การผลิตเชื้อเพลิง และประโยชน์ใช้สอยอื่นๆ ภายในชุมชน

“รูปแบบการใช้ทรัพยากรนี้ส่งผลให้ชุมชนมีเสถียรภาพ ถาวรภาพและก่อให้เกิดความเป็นธรรม ทำให้ชุมชนนั้นๆ สามารถสืบทอดความเป็นชุมชนมาได้จนทุกวันนี้ พร้อมกันนั้นก็มีศักยภาพที่จะดำรงความเป็นชุมชนต่อไปได้”

ป่าชุมชนมีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ป่าไม้ได้อย่างไร

ความเชื่อมั่นที่ว่าป่าชุมชนสามารถอนุรักษ์ป่าไม้ไว้ได้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงว่า เมื่อชีวิตของชุมชนขึ้นอยู่กับความอยู่รอดของป่า ไม่ว่าในฐานะที่ป่านั้นเป็นแหล่งน้ำก็ดี ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกก็ดี อาหารและวัสดุปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีพของชุมชนก็ดี หลายอย่างหรือทุกอย่างรวมกันเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ชุมชนต้องอนุรักษ์ป่าโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีอำนาจภายนอก ไปบังคับ

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าความอยู่รอดของชุมชนไม่ได้ขึ้นอยู่กับป่า พวกเขาก็ไม่เห็นความสำคัญที่จะรักษาป่า นอกจากนั้น ชุมชนจะไม่รักษาป่าถ้าหากเขาไม่ได้เป็นเจ้าของและเป็นผู้ได้รับประโยชน์ เราไม่อาจเรียกร้องให้ชุมชน ‘เสียสละ’ หรือรักษาป่าบนพื้นฐานของความรักป่าแบบ ‘โรแมนติก’ ได้ เขาจะรักษาป่าก็ต่อเมื่อเขาได้ประโยชน์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ในประเทศหรือสังคมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และไม่มีการกระจายผลประโยชน์ที่เกิดจากทรัพยากรของส่วนรวมอย่างเป็นธรรม รัฐมักเป็นเครื่องมือของการแสวงหาและรักษาผลประโยชน์ของคนกลุ่มน้อย ดังนั้นจึงไม่ใช้เรื่องที่น่าจะต้องแปลกใจหากพบว่า รัฐจำนวนไม่น้อยในประเทศด้วยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา นอกจากจะไม่สามารถรักษาป่าเอาไว้ได้แล้ว ยังปล่อยให้กลุ่มคนผู้มีอำนาจทางการเมือง การปกครอง และเศรษฐกิจ หยิบฉวยเอาประโยชน์จากป่าไม้และทรัพยากรอื่นๆ ของส่วนรวม เพื่อประโยชน์ส่วนตัวมาโดยตลอด

ดังนั้น ป่าชุมชนในที่นี้จึงมีความหมายในทางการพัฒนาทางการเมืองด้วย กล่าวคือ การพัฒนาไปสู่ระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง ไม่ใช่อยู่ที่การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีสิทธิเลือกผู้แทนฯ แต่คือ การกระจายความเป็นเจ้าของ เป็นผู้ใช้อำนาจใจการจัดการและได้ประโยชน์จากทรัพยากรให้กับชุมชนต่างหาก

ความเชื่อเรื่องอำนาจศักดิ์สิทธิ์ เช่น ผีป่า ผีดอย มีความสำคัญอย่างไรในเรื่องป่าชุมชน

ต้องเช้าใจว่าเมื่อพูดถึงชุมชน เราไม่ได้หมายความถึงเฉพาะแค่ป่าที่เป็นรูปธรรม คือ พื้นที่ที่ต้นไม้ พืช สัตว์และแมลงต่างๆ อาศัยอยู่เท่านั้น ป่าชุมชนที่แท้จริงแล้วคือ วิถีชีวิต ของผู้คนในชุมชนนั้นๆ ในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำมาหากิน เรื่องระบบครอบครัวเครือญาติ เรื่องของโครงสร้าง อำนาจและกฎระเบียบต่างๆ เหล่านี้ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน อธิบายและเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

ความเชื่อเรื่องผีสางนางไม้ เทวดาอารักษ์ผู้รักษาป่า มีความหมายและความสำคัญ ซึ่งจะเห็นได้เข้าใจได้ก็ต่อเมื่อเรามองออกมาจากทัศนะของชาวบ้าน ไม่ใช่เอาความคิดเห็นความเชื่อของเราไปตัดสิน

ในทัศนะของชาวบ้าน มนุษย์ไม่มีอำนาจโดยตรงที่จะควบคุมธรรมชาติ ผีสาง เทวดาอารักษ์ผู้มีอำนาจเหนือมนุษย์ต่างหากที่เป็นผู้ควบคุม ปกปักรักษาป่าเขาลำเนาไพร เพราะฉะนั้นมนุษย์จึงไม่ตัดไม้ทำลายป่าเกินความจำเป็น เพราะเท่ากับละเมิดหรือท้าทายอำนาจเหนือมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ ความเชื่อของชาวบ้านที่เราบางคนเห็นว่า ‘งมงาย’ นี้เอง ที่ช่วยให้ป่าบางส่วนเหลือรอดมาได้

กล่าวอีกนัยหนึ่ง การที่ชาวบ้านเคารพนับถือเกรงกลัวอำนาจเหนือมนุษย์เหล่านั้น แท้จริงแล้วก็คือ พวกเขาเคารพธรรมชาติ จึงพยายามอยู่อย่างมีดุลยภาพกับธรรมชาติ ผิดกับคนเมือง คนสมัยใหม่ นายทุนทำไม้ พวกเขามองธรรมชาติว่าคือธรรมชาติ ป่าก็คือป่า ไม้ก็คือไม้ ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงทำลายสิ่งเหล่านั้นอย่างไม่มีความเคารพยำเกรง พวกเขาจะเกรงกลัวอยู่บ้างก็เฉพาะกฎหมายเท่านั้น แต่ถ้ากฎหมายไม่ปรากฏตัวให้เห็น หรือหย่อนยาน ก็ไม่มีอะไรจะหยุดยั้งพวกเขาได้

หากเราศึกษาเรื่องความเชื่อของชาวบ้านอย่างเป็นธรรมสักหน่อย เราก็จะพบว่าแท้จริงแล้วความเชื่อเรื่องผีสางนางไม้ คือ ‘เครื่องมือ’ ในการอนุรักษ์ป่านั่นเอง ตามปกติแล้วชาวบ้านจะสั่งสอนลูกหลานและบอกกล่าวกันเองว่า ถ้าป่าต้นน้ำของพวกเขาถูกทำลายแล้วจะเกิดภาวะแห้งแล้ง ไม่มีน้ำห้วยให้ทำนาและใช้สอย ชาวบ้านก็จะรับรู้และปฏิบัติเป็นกฎเกณฑ์ทั่วไปว่า ไม่ไปตัดไม้หรือทำไร่ทำสวนในบริเวณนั้น ใครละเมิดก็จะถูกชุมชนลงโทษ ปรับไหม ตามที่ตกลงกันไว้

อย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์ของมนุษย์ด้วยกันเองอาจไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเสมอไป อาจมีบางคนจากในชุมชนเอง หรือโดยเฉพาะคนภายนอกแอบมาตัดไม้ ดังนั้นจึงมีกฎเกณฑ์และการลงโทษที่สูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่งคอยกำกับอยู่ คนๆ หนึ่งอาจจะไปตัดไม้โดยที่คนอื่นไม่เห็น เขาอาจรอดจากการถูกลงโทษจากชุมชนไปได้ แต่เขาไม่มีวันหลบรอดสายตาและการลงโทษของเจ้าป่าเจ้าดอย หรือผีขุนน้ำไปได้อย่างเด็ดขาด อย่างน้อยในจิตใจของเขาก็จะเต็มไปด้วยความกลัว ความวิตกกังวล ชีวิตไม่มีปกติสุข ด้วยใจเขาเองก็เชื่อในอำนาจนั้นเช่นกัน แม้เขาจะเป็นคนนอกชุมชนก็ตาม แต่เขาก็เชื่อผีเหมือนกัน หากวิเคราะห์ในทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาแล้ว ผีก็คือตัวแทนของกฎเกณฑ์ทางสังคม หรือเป็นตัวสังคมนั่นเอง

นี่คือข้อแตกต่างระหว่างชาวบ้านกับคนสมัยใหม่ผู้ไม่มีความเกรงกลัวอะไรเลย แม้กระทั่งความผิดชอบชั่วดีและความอยู่รอดของสังคมคนสมัยใหม่ คิดอะไรแต่ในเชิง ‘ส่วนตัว’ ‘เพื่อตัว’ ทั้งสิ้น จนเรียกได้ว่ามีความเป็นปัจเจกนิยมอย่างไร้ขอบเขต เป็นมหันตภัยที่คุกคามมนุษยชาติและธรรมชาติอย่างแท้จริง

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมิได้หมายความว่า ป่าชุมชนจะดำรงอยู่ได้ก็ต่อเมื่อตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อเรื่องผีสางนางไม้ เจ้าป่าเจ้าดอยเท่านั้น ป่าชุมชนอยู่ได้บนฐานของ ‘ความเป็นชุมชน’ ความเชื่อเรื่องอำนาจต่างๆ ดังกล่าว แท้จริงแล้วคือ ภาพสะท้อนความเชื่อ ชุมชนอาจเปลี่ยนความเชื่อ เปลี่ยนรูปแบบไป แต่ความเป็นชุมชนจะต้องมีอยู่

ความเป็นชุมชนไม่ได้หมายความถึง สถานที่ที่มีคนจำนวนหนึ่งมาอยู่รวมกันเท่านั้น แต่หมายความถึงคนเหล่านั้นอยู่ร่วมกัน ทำมาหากินร่วมกัน ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน และที่สำคัญที่สุดคือ การมีชีวิตรอดและสามารถก้าวไปข้างหน้าได้ของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับการมีชีวิตรอดและการก้าวไปข้างหน้าร่วมกันเท่านั้น เมื่อไรที่คนในชุมชนนั้นไม่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันแล้ว ต่างคนต่างเอาตัวรอดได้ ต่างคนก็เลยต่างอยู่ สภาพเช่นนี้ไม่ใช่ หรือไม่มีความเป็นชุมชนเหลือต่อไปอีกแล้ว

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ สังคมของผู้คนที่อาศัยอยู่ตามหมู่บ้านจัดสรรต่างๆ รอบๆ กรุงเทพฯ และเมืองใหญ่อื่นๆ มีหมู่บ้าน มีผู้คน แต่ไม่มีความเป็นชุมชน

กล่าวโดยสรุป ป่าชุมชนจะอยู่ได้ต่อไป และจะสามารถพัฒนาให้เข้มแข็งมากขึ้นหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่า ชุมชนที่พึ่งพาอาศัยป่านั้นมีความเป็นชุมชน และมีผลประโยชน์ร่วมกันจากป่าหรือไม่

ฉลาดชาย รมิตานนท์
ภาควิชาสังคมวิทยา-มานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ที่มา : นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 78

อ้างอิง: http://www.5provincesforest.com

 

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 16492 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9126
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7475
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7547
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 7878
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 6860
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8127
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7355
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>