ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 13323 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ดันไทยเป็น โอเปก เชื้อเพลิงชีวภาพ

กระทรวงพลังงานดันไทยขึ้นเป็นฮับเชื้อเพลิงชีวภาพของอาเซียน ให้สถาบันปิโตรเลียมฯศึกษาให้เสร็จในอีก 1 ปี พร้อมแก้กฎหมายส่งอ

data-ad-format="autorelaxed">

เชื้อเพลิงชีวภาพ

กระทรวงพลังงานดันไทยขึ้นเป็นฮับเชื้อเพลิงชีวภาพของอาเซียน ให้สถาบันปิโตรเลียมฯศึกษาให้เสร็จในอีก 1 ปี พร้อมแก้กฎหมายส่งออกเอทานอลที่เป็นปัญหาร่วมกับกรมสรรพสามิตควบคู่ ขณะที่สนพ.เตรียมเสนอปรับโครงสร้างราคาเอทานอลลง 1-2 บาทต่อลิตร เข้ากบง.พิจารณา ให้สะท้อนราคาซื้อขายที่แท้จริง และปรับชนิดน้ำมันสำเร็จรูปที่ขายในปั๊มลงเหลือ 4 ชนิดในอีก 15 ปี

นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้พพ.ได้ว่าจ้างสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ศึกษาความเป็นไปได้ที่จะให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าเชื้อเพลิงชีวภาพใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ฮับเชื้อเพลิงชีวภาพ) โดยกำหนดให้ศึกษาแล้วเสร็จภายในเวลา 1 ปี นับจากเดือนสิงหาคม 2554 เป็นต้นไป เนื่องจากเวลานี้ประเทศมีศักยภาพการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างเอทานอลและไบ โอดีเซลค่อนข้างมาก มีความพร้อมด้านวัตถุดิบ และมีการใช้เอทานอลและไบโอดีเซลอย่างแพร่หลาย ซึ่งการจะเป็นศูนย์กลางได้ จะต้องมีความพร้อมทั้งท่าเรือ การผลิต การขนส่ง และต้องมีกฎหมายรองรับ เป็นต้น โดยจะไปศึกษาว่าประเทศไทยมีความพร้อมด้านต่างๆมากน้อยแค่ไหน

อีกทั้ง จะต้องศึกษาโครงสร้างกำหนดราคาอ้างอิงเอทานอลในเอเชียด้วย เพื่อใช้เป็นราคาอ้างอิงในการซื้อขายเอทานอลในภูมิภาคนี้ควบคู่ไปด้วย หาประเทศกลายเป็นศูนย์กลางการซื้อขายขึ้นมา ในขณะที่ไบโอดีเซลเอง จะต้องไปดูว่าประเทศไทยมีความพร้อมด้านต่างๆ และจะส่งออกไปได้มากน้อยแค่ไหน มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร สามารถใช้สาธารณูปโภคร่วมกับการส่งออกเอทานอลได้หรือไม่เป็นต้น

นายเรืองศักดิ์ ฐิติรัตน์สกุล รองผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในเบื้องต้นพบว่าไทยมีโอกาสสูงที่จะเป็นศูนย์กลางการซื้อขายเอทานอลและไบโอ ดีเซลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีกำลังการผลิตเกินความต้องการใช้ในประเทศมาก ปัจจุบันผลิตไบโอดีเซลได้ถึง 6 ล้านลิตรต่อวัน แต่มีความต้องการใช้เพียง 1.6 ล้านลิตรต่อวัน ขณะที่ผลิตเอทานอลได้ 2.95 ล้านลิตรต่อวัน แต่มีความต้องการใช้ในประเทศเพียง 1.4 ล้านลิตรต่อวัน อีกทั้งในปีหน้าจะเกิดโรงงานผลิตเอทานอลเพิ่มอีก 5 โรง จากปัจจุบันมีอยู่ 19 โรง ซึ่งจะทำให้ปริมาณการผลิตเอทานอลในไทยเพิ่มขึ้นเป็น 5.35 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งส่วนเกินดังกล่าวสามารถส่งออกได้

"ปัจจุบันโรงงานเอทานอลที่มีอยู่ 19 โรงยังไม่ได้เดินเครื่องผลิตเอทานอลเต็มกำลังการผลิตเพราะความต้องการใช้ใน ประเทศยังมีจำกัด หากเดินเครื่องผลิต 100% น่าจะได้เอทานอลกว่า 3 ล้านลิตรต่อวัน นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการที่ขอใบอนุญาตผลิต เอทานอลไว้ทั้งสิ้น 47 โรง หากเปิดดำเนินการได้ทั้งหมดจะส่งผลให้เอทานอลในไทยสูงถึง 12.5 ล้านลิตรต่อวัน ดังนั้นเชื่อว่าไทยสามารถผลิตเพื่อส่งออกและเป็นฮับเอทานอล ได้แน่นอน แต่ต้องหาทางลดต้นทุนให้ราคาเอทานอลต่ำกว่าน้ำมันดิบในตลาดโลกประมาณ 20 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล จากปัจจุบันราคาสูงถึง 127 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นฮับเอทานอลได้อย่างยั่งยืนต่อไป" นายเรืองศักดิ์ กล่าว

นายเรืองศักดิ์ กล่าวอีกว่า อีกทั้ง จะเข้าไปศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาด้านกฎหมายการส่งออกเอทานอลร่วมกับกรมสรรพ สามิต เนื่องจากพบว่าเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเป็นฮับเอทานอลอย่างแท้จริง โดยเฉพาะไม่เอื้อต่อการให้ผู้ประกอบการเอทานอลรายย่อยนำเอทานอลมารวมกัน สำหรับส่งออก ทั้งนี้เนื่องจากการส่งออกเอทานอลควรมีปริมาณสูงเป็นหลัก 10 ล้านลิตร เพื่อให้คุ้มค่าต่อต้นทุนการส่งออก ดังนั้นผู้ผลิตเอทานอล รายย่อยจึงต้องนำเอทานอลมารวมกันเพื่อส่งออกในแต่ละ ครั้ง แต่กฎหมายยังไม่ให้ความสะดวกต่อการดำเนินการดังกล่าวจึงต้องร่วมกันหาแนวทาง แก้ไขต่อไป

นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาสนพ.ได้ว่าจ้างบริษัท เบอร์ร่า จำกัด ศึกษาโครงสร้างราคาอ้างอิงเอทานอลในประเทศใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่แท้จริง โดยเบื้องต้นคาดว่าราคาอ้างอิงน่าจะลดลง 1-2 บาทต่อลิตร ตามราคาที่มีการซื้อขายจริงในตลาด สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย ซึ่งขณะนี้ การปรับสูตรราคาอ้างอิงเอทานอลใหม่ อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลของอนุกรรมการกำหนดโครงสร้างราคาเอทานอล มี นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ก่อนเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) ที่มีรัฐมนตรีว่า การกระทรวงพลังงานพิจารณาต่อไป

อีกทั้ง สนพ. ยังได้ว่าจ้างให้สถาบันปิโตรเลียมฯ ศึกษาโครงสร้างชนิดน้ำมันเชื้อเพลิงภาคขนส่งที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยปัจจุบันไทยมีการจำหน่ายน้ำมันในปั๊ม 7 ชนิด ซึ่งกระทรวงพลังงานมีแผนให้ลดชนิดน้ำมันลงภายใน 15 ปี โดยจากการศึกษาเบื้องต้นให้เริ่มจากการยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 ก่อน และหลังจากนั้นให้พิจารณายกเลิกจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ 91 หรือให้ยุบรวมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 กับแก๊สโซฮอล์ อี 20 เป็นเกรดเดียว พร้อมยกเลิกแก๊สโซฮอล์ 91 ซึ่งจะทำให้เหลือเพียงการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 อี 10-20 แทน

อย่างไรก็ตามเป้าหมายสุดท้ายจะทำให้เหลือการจำหน่ายน้ำมันในปั๊ม 4 ชนิดคือ น้ำมันเบนซิน 95 น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 อี 10-20 น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี 85 และน้ำมันดีเซล เท่านั้น ซึ่งทางสถาบันอยู่ระหว่างการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านเศรษฐศาสตร์ และสังคม และหลังจากนั้นจะเปิดรับฟังความเห็นในเดือนตุลาคมปีนี้ ก่อนสรุปผลการศึกษาในเดือนพฤศจิกายนนี้ต่อไป

อ้างอิง :
ฐานเศรษฐกิจ 15 -17 กันยายน 2554
http://www.vcharkarn.com/vnews/65955

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 13323 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9164
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7490
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7561
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 7895
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 6880
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8145
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7371
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>