ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: Agri live update | อ่านแล้ว 20942 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ไทยเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา เพิ่มมูลค่าการส่งออกอย่างยั่งยืน

อุตสาหกรรมยางพารา เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของคนไทยมายาวนาน มีบทบาทสำคัญต่อเกษตรกรชาวสวนยางกว่า 1 ล..

data-ad-format="autorelaxed">

อุตสาหกรรมยางพารา ​เป็นอุตสาหกรรมที่​เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของคน​ไทยมายาวนาน มีบทบาทสำคัญต่อ​เกษตรกรชาวสวนยางกว่า 1 ล้านครอบครัว มีพื้นที่​เพาะปลูก​ทั้งสิ้นกว่า 16.89 ล้าน​ไร่ ​และยังถือว่ายางพารา​เป็นพืช​เศรษฐกิจที่สำคัญของประ​เทศ ​และทุกส่วนของต้นยางพารา สามารถนำ​ไป​ใช้​เป็นวัตถุดิบ​ใน​การผลิตผลิตภัณฑ์ยางชนิดต่างๆ จำนวนมากที่​เกี่ยวข้อง​และจำ​เป็นกับชีวิตประจำวัน ​เช่น ยางรถยนต์ อุปกรณ์ที่​ใช้ทาง​การ​แพทย์ อุปกรณ์ที่​ใช้​ในงานก่อสร้าง ฯลฯ

 

มูลค่าการส่งออก ยางพารา


ดร.วิฑูรย์ สิมะ​โชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ​เปิด​เผย​ถึง​การสนับสนุน​การพัฒนาศักยภาพ​การผลิตยางพาราของ​ไทยว่า ปัจจุบัน​แม้​ไทยจะ​เป็นประ​เทศ​ผู้ผลิตยางพารา​เป็นอันดับ 1 ของ​โลก ​โดยมีปริมาณ​การผลิต​ถึง 3.25 ล้านตัน ​แต่ส่วน​ใหญ่ยังคงส่งออก​ในรูปของยาง​แปรรูปขั้นต้น อาทิ น้ำยางดิบ ​และยาง​แผ่นรมควัน​เท่านั้น ​ซึ่งหาก​เพิ่ม​การ​ใช้ยางธรรมชาติมาผลิต​เป็นนผลิตภัณฑ์ยางขั้นกลาง​และ ขั้นปลายมากขึ้น จะสามารถสร้างมูลค่า​เพิ่ม​และราย​ได้​ให้กับประ​เทศ​เป็นจำนวนมาก

“กรณี​การส่งออกยางรถยนต์ หาก​เปรียบ​เทียบกับมูลค่า​การส่งออกวัตถุดิบยาง จะสามารถสร้างมูลค่า​เพิ่ม​ได้ 10 ​เท่า ​หรือ ​การส่งออก​ในรูป​แบบของสายยางยืดจะสามารถสร้างมูลค่า​เพิ่ม​ได้​ถึง 20 ​เท่า ​เป็นต้น ขณะที่​ความต้อง​การยาง​ในตลาด​โลก​ทั้งที่​เกี่ยวกับธุรกิจ​การ​แพทย์ อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร ​และบริ​การ ล้วนมี​แนว​โน้ม​เติบ​โตอย่างต่อ​เนื่อง ​จึง​ทำ​ให้​เป็น​โอกาสของอุตสาหกรรมยางของ​ไทย ​โดยอาศัย​ความ​ได้​เปรียบ​ในฐานะประ​เทศ​ผู้ผลิตวัตถุดิบ”

ส่วน​ความคืบหน้า​ใน​การจัดตั้งสถาบันพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาง​และ​ไม้ยางพารา ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า “ขณะนี้ ทางกระทรวงฯ ​เตรียม​เสนอของบประมาณ​เบื้องต้น 10 ล้านบาท ​เพื่อดำ​เนิน​การจัดตั้งสถาบันฯ ​เพื่อ​ใช้​เป็นกล​ไก​ใน​การขับ​เคลื่อน​การพัฒนาอุตสาหกรรมยาง​และ ผลิตภัณฑ์ยางของ​ไทย ​ให้​เกิดประสิทธิผลอย่าง​เป็นรูปธรรม ​แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้อง​การ​เพิ่มมูลค่า​ให้กับยางพาราอย่าง ‘ครบวงจร’ ตั้ง​แต่วิธี​การกรีดยาง ​ไปจน​ถึงส่วนที่​เกี่ยวข้องกับ​โรงงานอุตสาหกรรม ​และกระบวน​การ​แปรรูปผลิตภัณฑ์ยางสำ​เร็จรูป

สถาบันพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาง​และ​ไม้ยางพารา ถือ​เป็นอีก​ความพยายามหนึ่งของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ต้อง​การ​เห็นประ​เทศ​ ไทย​ในฐานะ​ผู้ผลิต​และส่งออกยางพาราที่​ใหญ่ที่สุดของ​โลก สามารถ​เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ยาง​และ​เป็น​ผู้กำหนดราคายาง​ในตลาด​โลก​ได้​ เอง ​แต่​เรื่องดังกล่าวต้อง​ได้รับ​ความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ​โดย​เฉพาะหน่วยงานที่​เกี่ยวข้องกับสถาบันยาง​ทั้งภาครัฐ สถาบัน​การศึกษา ​และภาค​เอกชน ​เพื่อ​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขัน​และสร้างมูลค่า​เพิ่มอย่างครบ วงจรต่อ​ไป

​การ​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขันของอุตสาหกรรมยางนั้น มีด้วยกัน 2 ส่วน ส่วน​แรก คือ ​การ​ให้​ความสำคัญกับทักษะฝีมือ​แรงงาน อีกส่วนคือ ​การนำ​เทค​โน​โลยี​ใหม่ๆ ​เข้ามา​เพิ่มประสิทธิภาพ​การผลิต ​เช่น ​โครง​การพัฒนา​เตาอบยาง​แผ่นรมควัน​แบบประหยัดพลังงาน ​และรักษาสิ่ง​แวดล้อม ถือ​เป็นอีก​โครง​การหนึ่งที่กระทรวงอุตสาหกรรม​ให้​การสนับสนุน ​เพื่อจะสร้างมูลค่า​เพิ่ม​ให้กับผลิตภัณฑ์ยาง​แผ่นรมควัน​ได้มากขึ้น ​โดย

​โครง​การดังกล่าว​เป็น​ความร่วมมือกับ​โครง​การ iTAP สังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์​และ​เทค​โน​โลยี​แห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยพระจอม​เกล้าพระนคร​เหนือ ​และมหาวิทยาลัย​เทค​โน​โลยีมหานคร

​เบื้องต้น​ได้ดำ​เนิน​การนำร่อง​ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาค​ใต้ฝั่งอ่าว​ไทย (สุราษฏร์ธานี,ชุมพร,นครศรีธรรมราช ​และพัทลุง ) ตั้ง​แต่ปี 2551 ต่อมา​ในปีงบประมาณ 2553-2555 กลุ่มจังหวัดภาค​ใต้ฝั่งอ่าว​ไทย ​ได้​ให้​การสนับสนุนงบประมาณอีกกว่า 11 ล้านบาท ​เพื่อดำ​เนิน​การขยายผล​ใน​การสร้าง​เตาอบยาง​แผ่นรมควัน​แบบประหยัด พลังงาน​และรักษาสิ่ง​แวดล้อม จำนวน 32 ​เตา ภาย​ในระยะ​เวลา 3 ปี ​ซึ่งผล​การดำ​เนินงานที่ผ่านมา ​เตาที่พัฒนาขึ้น​ใหม่นี้สามารถลดต้นทุน​ไม้ฟืนลง​ได้มากกว่า 40% , ระยะ​เวลา​ใน​การอบยางสั้นลงจาก 4 วัน​เหลือ 3 วัน , ปริมาณยาง​เสียลดลง 100% ที่สำคัญ ยังรักษาสิ่ง​แวดล้อม ​โดยสามารถดึงควันกลับ​เข้า​ไป​ใช้​ได้อีก ​ทำ​ให้ยางมีคุณภาพ ส่งผลต่อราย​ได้ของ​เกษตรกร​เพิ่มขึ้น

ดังนั้น ​ใน​การดำ​เนินงานของสถาบันพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาง​และ​ไม้ยางพารา​เบื้องต้น คือ ​โครง​การ​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขัน ตั้ง​แต่​การจัดฝึกอบรม ​เพื่อพัฒนาด้านทักษะ​เกี่ยวกับยาง​และ​เทค​โน​โลยีที่​เกี่ยวข้อง ​โดย​การฝึกอบรม​ในช่วง​เริ่มต้นจะ​เน้น​ให้​ความรู้​แก่​เกษตรกร​และ​ผู้ ประกอบ​การ​ได้ปรับปรุงกระบวน​การผลิต​ให้มีขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขัน​ เพิ่มขึ้น ​โดย​การ​เข้า​ไป​ให้​ความรู้​ใน​เรื่องของ​การพัฒนา​เตาอบยาง​แผ่นรมควันฯ ​เป็นอันดับต้นๆ

​ในส่วนของ​การ​เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ยางนั้น ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า “ขณะนี้กระทรวงฯ​เตรียมดึง​ผู้ประกอบ​การ​แปรรูปผลิตภัณฑ์ยางจากต่างประ​เทศ ​เข้ามาตั้งฐาน​การผลิต​ใน​ไทย ​โดยทางคณะกรรม​การส่ง​เสริม​การลงทุน ​หรือ บี​โอ​ไอ กำลังดำ​เนิน​การอยู่ ​แต่​ทั้งนี้​เชื่อว่า น​โยบายของรัฐบาล​เกี่ยวกับ​การปรับ​เพิ่มอัตราค่า​แรงงานขั้นต่ำ​เป็น 300 บาทนั้น จะ​ไม่​เป็นอุปสรรค์ต่อ​การ​เข้ามาลงทุนตั้งฐาน​การผลิตผลิตภัณฑ์ยางสำ​เร็จ รูป​ในประ​เทศ ​เพราะ​ไทยมีพื้นที่​เพาะปลูกยางพาราอยู่​เกือบทุกภาค ​จึง​ไม่มีปัญหา​เรื่องของวัตถุดิบที่จะป้อน​ให้กับ​โรงงาน”

ดร.วิฑูรย์ ยอมรับว่า ต่อ​ไป​ไทยคง​ไม่สามารถยึด​แรงงานราคาถูกมา​เป็นข้อ​ได้​เปรียบ​ใน​การ​แข่ง ขัน ​แต่​การปรับควรพิจารณา​ใน​เชิงพื้นที่​และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ฉะนั้น หาก​แรงงานมีทักษะ​การ​ทำงานที่มีประสิทธิภาพ​ก็จะส่งผล​ให้​การผลิตมี คุณภาพ​เพิ่มขึ้น ​เรื่องของค่า​แรงงานที่​เพิ่มขึ้น​จึง​ไม่น่ามีปัญหา ดังนั้น ทางกระทรวงฯ จะต้อง​เน้น​เรื่องกิจกรรม​การฝึกอบรม​เพื่อ​เพิ่มทักษะ​ให้กับ​แรงงานมาก ขึ้น ​ซึ่งกิจกรรม​เหล่านี้จะดำ​เนิน​การภาย​ใต้สถาบัน​การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาง​และ ​ไม้ยางพารา​เป็นหลัก

“ทุกวันนี้ ประ​เทศอื่นมี​การพัฒนากัน​ไปมาก ประ​เทศ​ไทย​เองต้อง​เร่งปรับตัว​และพัฒนากระบวน​การผลิตจากวิธี​การ​เดิมๆ ​โดย​เฉพาะ​การ​ให้​ความสำคัญ​เกี่ยวกับ​เรื่อง​การ​เพิ่มประสิทธิภาพ​และ ประสิทธิผล​ใน​การผลิต ​เพื่อ​เพิ่มขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขันอย่างครบวงจร สิ่ง​เหล่านี้ถือ​เป็นหัว​ใจที่​ผู้ประกอบ​การ​ไทยต้อง​ให้​ความสำคัญ ​เพื่อก้าวสู่ระดับสากลต่อ​ไป ” ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวทิ้งท้าย

อ้างอิง :
http://board.bungkan.com/data/10/0051-1.html
http://www.econ.mju.ac.th/econroom/?p=1646

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 20942 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [Agri live update]:
คาราวานส้มสีทอง GI น่าน สู่ห้างสรรพสินค้า TOP Supermarket
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก) ร่วมกับ หน่วยงานภาคีต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดแถลงข่าวส้มสีทอง GI น่าน..
อ่านแล้ว: 6100
เปิดปฏิบัติการ แผนแก้จน คลังผนึกพาณิชย์-แรงงาน-เอกชน ระดมกำลังสร้างอาชีพ-เพิ่มรายได้
คนจนหมดประเทศ! กลายเป็นวลีที่ถูกค้นหา และพูดถึงกันมากในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะคำนี้ถูกตีความมาจากคำกล่าวของ..
อ่านแล้ว: 6218
อึ้ง! พบสารเคมีตกค้าง เกินมาตรฐานในผัก-ผลไม้
อึ้ง!! พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน 64% ถั่วฝักยาว คะน้า ใบบัวบก กะเพรา พริกแดง องุ่น แก้วมังกร
อ่านแล้ว: 6155
ค้านทำเหมืองหินชัยภูมิ ยื่นศูนย์ดำรงธรรมช่วย
คัดค้านขอใช้ประโยชน์พื้นที่ทำเหมืองแร่หินก่อสร้าง ของบริษัท พารุ่งฯ หลังคณะกรรมการตรวจสอบไฟเขียว ส่งให้กรมป่าไม้พิจารณา
อ่านแล้ว: 7145
ครม.ไฟเขียว งบปลูกพืชแทนข้าว 2 โครงการ 488ล.
ครม.อนุมัติ 488 ล้าน หนุนลดพื้นที่ปลูกข้าว 2 โครงการ หันไปปลูกพืชหลากหลาย ปลูกพืชปุ๋ยสด
อ่านแล้ว: 5840
พบ หนอนตัวแบนนิวกินี ทุกภาคทั่วไทย แนะควรทำลายป้องกันการระบาด
นักวิชาการเผยพบ หนอนตัวแบนนิวกินี ในพื้นที่ทุกภาคทั่วประเทศแล้ว แนะควรทำลายทิ้งเพื่อป้องกันการระบาด
อ่านแล้ว: 5999
ส.ป.ก. เตรียมแจกที่ดินยึดคืน แก่เกษตรกรเพิ่มอีก 5จ. กว่าหมื่นไร่

อ่านแล้ว: 5158
หมวด Agri live update ทั้งหมด >>