ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: มันสำปะหลัง | อ่านแล้ว 27583 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

โรงงานต้นแบบผลิตเอทานอลจากมันเส้น

โรงงานต้นแบบผลิตเอทานอลจากมันเส้น ออกแบบและก่อสร้างโดยคนไทย เทคโนโลยีใหมที่ประยุกต์ใช้ได้จริง

data-ad-format="autorelaxed">

โรงงานต้นแบบผลิตเอทานอลจากมันเส้น ออกแบบและก่อสร้างโดยคนไทย เทคโนโลยีใหมที่ประยุกต์ใช้ได้จริง

เราต้องเลือกประยุกต์ใช้ในสิ่งที่สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ให้เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะเทคโนโลยีชีวภาพซึ่งเป็นพื้นฐานที่ประเทศไทย มีความได้เปรียบจากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่

โรงงาน เอทานอล จากมันเส้น มันสำปะหลัง

ประเทศไทยต้องสูญเสียงบประมาณถึงสามแสนล้านบาทต่อปี ในการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ เมื่อภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบโดยตรง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการพิจารณาหาพลังงานทดแทนจากแหล่งอื่นเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านราคาน้ำมัน เอทานอลซึ่งเป็นพลังงานทดแทนที่ได้จากผลผลิตทาง การเกษตร จึงเป็นทางเลือกที่ได้รับความสนใจอย่างมาก เพราะนอกจากจะสามารถแก้ปัญหาเรื่องราคาน้ำมันและปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบแล้ว ยังเป็นแหล่งพลังงาน ที่ใช้ผลผลิตทางการเกษตรภายในประเทศ ที่สามารถ แก้ปัญหาเรื่องเสถียรภาพทางด้านราคา และยังสามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิตทางการเกษตรในการส่งออก อีกด้วย เนื่องจากวัตถุดิบหลักในการผลิตเอทานอล คือ มันสำปะหลัง ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีปริมาณผลผลิต ต่อปีค่อนข้างสูง

โรงงานต้นแบบผลิตเอทานอลจากมันเส้นแห่งแรกในไทยที่ออกแบบและก่อสร้างโดยคนไทย

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ให้ทุนอุดหนุนการวิจัยประจำปีงบประมาณ 2545 แก่โครงการศึกษาโรงงานต้นแบบผลิตเอทานอล ซึ่งพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตจากมันเส้น โดยมีคณะนักวิจัยจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และองค์การสุรา กรมสรรพสามิตร่วมทำงานด้วยกัน สำหรับโรงงานต้นแบบนี้ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ใช้กับการย่อยและหมักธัญพืชในต่างประเทศมาพัฒนาใช้กับมันเส้น เพื่อ พัฒนากระบวนการผลิตเอทานอลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด นับเป็นโรงงานต้นแบบผลิตเอทานอลจากมันเส้นแห่งแรกของประเทศไทย ที่นักวิจัยออกแบบและก่อสร้างเอง โดยไม่ได้ซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามาติดตั้ง ซึ่งเอทานอลที่ผลิตได้สามารถใช้ผสมกับน้ำมันเบนซินในสัดส่วน 10% เพื่อทดแทนการใช้สารเพิ่มค่าออกเทน หรือ MTBE (Methyl Tertiany Butyl Ether) ในน้ำมันเบนซิน ออกเทน 95 ซึ่งปัจจุบันต้องนำเข้าสารดังกล่าวเป็นมูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งยังสามารถ ทดแทนการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศอีกด้วย

โรงงานต้นแบบผลิตเอทานอลจากมันเส้นตั้งขึ้นบริเวณพื้นที่ขององค์การสุรา กรมสรรพสามิต อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา มีกำลังการผลิตประมาณ 4,000 ลิตรต่อวัน (น้ำหมัก) ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นำมาใช้กับธัญพืชมาพัฒนาใช้กับมันเส้น โดยไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ ทั้งยังสามารถนำผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตเอทานอลมาใช้ในการผลิต DDGS (Distillers Dried Grain with Solute) เพื่อเป็นอาหารสัตว์ได้อีกด้วย โดยกระบวนการผลิตแบ่งเป็นสามส่วน คือ การเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล การเปลี่ยนน้ำตาลเป็นเอทานอล และการทำเอทานอลบริสุทธิ์ ซึ่งในแต่ละส่วนจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ต้นทุนการผลิตที่มีราคาสามารถแข่งขันได้

ชี้งานวิจัยเอทานอลจากมันเส้นประยุกต์ใช้ได้จริง

สุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธานในพิธีเปิดโรงงานต้นแบบผลิต เอทานอลจากมันเส้นอย่างเป็นทางการ กล่าวว่า ภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกมีการปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการ ฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจ ของประเทศ ดังนั้น ภาครัฐจึงจำเป็นต้องเร่งหามาตรการเพื่อแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาดังกล่าว การผลิตเอทานอล เป็นพลังงานทดแทนเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำมันเป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ในส่วนของโรงงาน ต้นแบบผลิตเอทานอลจากมันเส้น ถือเป็นความสำเร็จเบื้องต้นของการวิจัยและพัฒนา โดย มันสำปะหลังถือเป็นพืชผลทางการเกษตรที่มีความเหมาะสมมากที่สุด เพราะมีกระจายอยู่ ทั่วทุกภาคและเป็นสินค้าพื้นฐานทางด้านการเกษตรที่ผลิตได้ง่าย อีกทั้งขณะนี้มันสำปะหลัง มีปริมาณส่วนเหลือที่สามารถนำผลผลิตเข้าสู่กระบวนการทางภาคอุตสาหกรรมได้ ถือเป็นการแก้ปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำ ซึ่งส่งผลดี ต่อการยกระดับราคาพืชผลทางการเกษตร ของประเทศด้วย

“การจัดตั้งโรงงานต้นแบบผลิตเอทานอล เป็นการสะท้อนถึงความสำเร็จของแนวทางในการวิจัยและพัฒนาที่สามารถนำผลงานการวิจัยมาใช้ในการแก้ไขปัญหาได้จริงและเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเป็นพื้นฐานของการนำ วัตถุดิบภายในประเทศมาใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนแก้ปัญหามันสำปะหลังส่วนเกินในตลาด ซึ่งมีผลต่อพื้นฐานในเรื่องของระดับต้นทุนทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย”

เผยใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบลดต้นทุนการผลิตถึง 50% และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทางด้าน ศ. ดร.เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์ พิเชษฐ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยโครงการศึกษา โรงงานต้นแบบผลิตเอทานอล กล่าวว่า เมื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการผลิตเอทานอล จากมันสำปะหลัง เปรียบเทียบความเป็นไปได้ของการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังกับการใช้อ้อยและกากน้ำตาลแล้ว ประเด็นสำคัญ อยู่ที่การใช้วัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยที่มันสำปะหลังสามารถให้ผลผลิตมากที่สุดและใช้เวลาสั้นที่สุด ซึ่งจะทำให้พลังงานและ ต้นทุนการผลิตลดลงได้เกือบ 50% นอกจากนี้ จะต้องคำนึงถึงเรื่องของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตด้วย โดยในส่วนของแห้งที่เป็นกากเส้นใย มันสำปะหลังกับยีสต์นั้น สามารถนำมาใช้ เป็นอาหารสัตว์ที่มีราคาสูงขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณโปรตีนที่มีอยู่ ส่วนน้ำเสียที่ออกมาจากกระบวนการกลั่นจะไม่มีสีเข้มเหมือนกับที่ได้ จากกากน้ำตาล

ทั้งนี้ จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า วัตถุดิบหลักสำหรับการผลิตเอทานอลควรเป็น มันสำปะหลัง เนื่องจากมีปริมาณหัวมันสำประหลังส่วนเกิน ที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเพียงพอที่จะใช้เป็นอุปทานที่สอดคล้องกับอุปสงค์ได้ ส่วนกากน้ำตาลหรือโมลาสที่สามารถนำมาใช้เพื่อตอบสนองอุปสงค์ได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะปริมาณอ้อย ที่ผลิตได้ในประเทศมีจำนวนจำกัด และไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ตามสัดส่วนของอุปสงค์ที่มีมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการใช้ประโยชน์จากกากน้ำตาลในอุตสาหกรรมอื่นอยู่แล้วในปริมาณที่สูง ซึ่งจะมี ผลกระทบต่อราคาของกากน้ำตาล และเป็นปัจจัยสำคัญที่ ทำให้ไม่สามารถนำกากน้ำตาลไปใช้ในการผลิตเอทานอลได้

ใช้มันสำปะหลังที่แปรสภาพเป็นมันเส้น เก็บรักษาได้นานและง่ายต่อการขนส่ง

จากการศึกษาพบว่า มันสำปะหลังเป็นผลผลิตทาง การเกษตรที่มีการเพาะปลูกเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ อีกทั้งมีปริมาณเพียงพอต่อการนำมาผลิตเอทานอล โดยไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทางอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตแป้งมันสำปะหลัง เนื่องจาก ประเทศไทยมีผลผลิตส่วนเกินของมันสำปะหลังประมาณ 4 ล้านตัน ซึ่งสามารถผลิตเป็นเอทานอลได้ไม่ต่ำกว่าสองล้านลิตรต่อวันตลอดทั้งปี ช่วยลดปัญหาวัตถุดิบล้นตลาด ตลอดจนลดการแทรกแซงราคาหัวมันสำปะหลังอีกด้วย หากแต่การนำมันสำปะหลังสดมาใช้ในการผลิตเอทานอลมีปัญหาเรื่องการ ขนส่งและการจัดเก็บสต็อกวัตถุดิบ ดังนั้น จึงเลือกใช้ มันสำปะหลังที่แปรสภาพให้อยู่ในรูปมันเส้น เพราะมีสภาพ เป็นมันสำปะหลังตากแห้ง มีความชื้นไม่เกิน 16% ทำให้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน และป้อนวัตถุดิบแก่โรงงานได้ตลอดปี และง่ายต่อการขนส่งอีกด้วย นอกจากนี้ การใช้มันเส้นในการผลิตเอทานอลยังได้ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่มีกระบวนการผลิต ที่เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดการติดลบของพลังงาน เป็นการเพิ่มเสถียรภาพให้กับมันสำปะหลังที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบ เนื่องจากยังให้ของเหลือทิ้งเป็นเศษกากมันที่มีตัวยีสต์หรือโปรตีนผสมอยู่สูง ซึ่งสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้เช่นเดียวกับของเหลือจากกระบวนการผลิตที่ใช้ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบ อีกทั้งยังสามารถ นำเอทานอลที่ผลิตได้ไปใช้ผสมกับน้ำมันเบนซิน ทำให้เกิดพลังงานสะอาด ส่งผลให้การนำเข้าสาร MTBE เพื่อเพิ่มค่า ออกเทนในน้ำมันเบนซินออกเทน 95 น้อยลง

งานวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ...สร้างมูลค่าเพิ่ม ให้ผลผลิตทางการเกษตร

ทางด้าน รศ. ดร.กล้าณรงค์ ศรีรอต นักวิจัย สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตร และคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ปัจจุบันนี้สังคมไทยเริ่มตื่นตัวกับการใช้เทคโนโลยีชีวภาพมากขึ้น เห็นได้จากการ หันมาผลิตสุราแช่ ซึ่งเป็นสุราพื้นบ้านและการทำไวน์ผลไม้ต่างๆ อาทิ ไวน์มังคุด ไวน์กระท้อน เป็นต้น เช่นเดียวกันการนำ มันสำปะหลังมาแปรรูปเป็นมันเส้นและนำมาใช้ในกระบวนการผลิตเอทานอล จึงเปรียบเสมือนเป็นสูตรสำเร็จที่สามารถป้อน เข้าสู่โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ต่อไปได้ นำไปสู่การให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนา เพื่อต่อยอดไปสู่การเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรในอนาคต

“วันนี้สังคมไทยต้องให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีชีวภาพ เพราะเป็นเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและความเป็นอยู่ของคนในสังคมไทย เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสินค้าทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก จึงเหมาะสมกับเทคโนโลยีชีวภาพ ดังนั้น การให้ความสำคัญกับงานวิจัยและการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในกระบวนการผลิตต่างๆ จึงเป็นการดำเนินงานที่ถูกทิศทางแล้ว”

โรงงานต้นแบบผลิตมันเส้น ในระบบ SSF

 

ทั้งนี้ โรงงานต้นแบบผลิตเอทานอลจากมันเส้นพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเอทานอล จากมันเส้น ด้วยระบบ SSF (Simultaneous Saccharification and Fermentation) ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตที่มีกำลังผลิตในระดับการหมัก 4,000 ลิตร และเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์ของเหลือจากการหมักและการกลั่น เนื่องจากเอทานอลเป็นพลังงานที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพลังงานสะอาดได้ โดยไม่ ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทางอากาศ และยังลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ ช่วยลดการขาดดุลทางการค้าของประเทศ โดยมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูง ต้นทุน การผลิตต่ำ ตลอดจนสามารถพัฒนาการใช้ประโยชน์ผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต เอทานอลจากพืช ได้แก่ DDGS (Distillers Dried Grain with Solute) เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ได้อีกด้วย

“พลังงานเอทานอลในประเทศไทยขณะนี้ยังไม่มีการผลิตอย่างจริงจัง เนื่องจากการ ดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) โดยคณะกรรมการเอทานอล แห่งชาติได้มีมติอนุมัติให้ภาคเอกชนจัดตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเอทานอลในประเทศไทย จำนวน 8 ราย แต่การดำเนินการดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนการจัดตั้งโรงงานหรือโครงการ ในขณะที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ให้ทุนสนับสนุนแก่คณะวิจัยจากหน่วยงานต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องทำการวิเคราะห์วัตถุดิบที่มีความ เหมาะสมสำหรับนำมาผลิตเอทานอล เพื่อใช้ผสมน้ำมันเบนซินในระดับ 10% ทำให้มีความต้องการเอทานอลบริสุทธิ์สูงถึงสองล้านลิตรต่อวัน และเกิดเป็นโรงงานต้นแบบแห่งนี้ขึ้นมา” หลายประเทศลงทุนผลิตเอทานอลแล้วไม่คุ้มค่า

รศ. ดร.กล้าณรงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การใช้มันสำปะหลังหรือวัตถุดิบที่มีแป้งมากพอที่จะสามารถนำมาผลิตเอทานอลได้ ปัญหา ดั้งเดิมที่มี คือ กระบวนการผลิตที่ติดลบ เนื่องจากในกระบวนการผลิตมีขั้นตอนการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล และเปลี่ยนน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ จากนั้นจึงทำการกลั่นเพื่อให้ได้แอลกอฮอล์ที่บริสุทธิ์หรือเอทานอล เมื่อพิจารณาถึงผลลัพธ์ของพลังงานที่ได้พบว่า พลังงานที่ได้จากการเผาไหม้ของเอทานอล ที่ผลิตได้ยังน้อยกว่าพลังงานที่ต้องใส่เข้าไปในกระบวนการผลิต นับตั้งแต่การย่อยแป้ง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ กระบวนการผลิตที่ขาดทุนพลังงาน ดังนั้น จึงไม่มีใครผลิตเอทานอลโดยใช้หัวมันสำปะหลัง ไม่ว่าจะเป็นประเทศบราซิล โคลัมเบีย หรือไนจีเรียที่มีหัวมันสำปะหลังมากมาย เว้นแต่ประเทศจีนและเกาหลีที่ซื้อมันเส้นและมันเม็ดจากประเทศไทยไปหมักเพื่อทำแอลกอฮอล์ แต่แอลกอฮอล์ที่กลั่นได้ส่วนใหญ่จะขายในรูปของเครื่องดื่มซึ่งมีราคาแพง ทำให้อุตสาหกรรมเหล่านี้ยังไม่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิต เอทานอล จากปัจจัยดังกล่าวผลักดันให้เกิดภาระการนำเข้า น้ำมันดิบ เพื่อผลิตเป็นน้ำมันเบนซินใช้ภายในประเทศกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของการผลิตเอทานอลจากพืชที่มีแป้งสูงของประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา

ผ่านกระบวนการย่อยสองครั้งเพื่อเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาล

ดร.เกื้อกูล ปิยะจอมขวัญ ผู้ร่วมวิจัย จากศูนย์พันธุ วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) กล่าวว่า โรงงานต้นแบบผลิตเอทานอลจากมันเส้น ประกอบด้วย เครื่องโม่ชนิด Hammer Mill ซึ่งมีกำลังการโม่ 650 กิโลกรัม มันเส้นต่อชั่วโมง ถังปฏิกิริยาที่เป็นถังเหล็กขนาด 4,000 ลิตร จำนวนสองถัง พร้อมมีระบบไอน้ำ และมีถังหมักที่เป็นถังเหล็ก 4,000 ลิตร จำนวนสองถัง มีระบบไอน้ำเช่นกัน พร้อมด้วย ถังเตรียมกล้าเชื้อขนาด 100 ลิตร จำนวน 4 ถัง รวมถึงเครื่องกรองชนิด Fine Extractor และหอกลั่นลำดับส่วน ซึ่งประกอบด้วยหอกลั่นสองหอ ความสูง 10 เมตร สามารถกลั่นแอลกอฮอล์ได้ที่ความเข้มข้น 95% ในอัตรา 300 ลิตรต่อชั่วโมง

ทั้งนี้ กระบวนการผลิตเอทานอลจากมันเส้นเริ่มต้นจากการเตรียมวัตถุดิบ ได้แก่ การลดขนาดมันเส้นให้มีขนาดเล็กลง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการย่อย โดยการบดด้วยเครื่องโม่ (Hammer Mill) จากนั้นเข้าสู่การย่อยแป้ง เป็นขั้นตอนการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล โดยใช้น้ำย่อยซึ่งประกอบด้วยการย่อยสองครั้ง ได้แก่ การย่อยครั้งแรก (Liquefaction) เป็นการย่อยแป้งบางส่วนด้วยน้ำย่อยแอลฟา-อะมิเลส ทำให้ได้แป้งที่มีขนาดเล็กลง และน้ำแป้งมีความเหลวมากขึ้น ส่วนการย่อยครั้งสุดท้าย (Saccharification) เป็นการย่อยผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการย่อยครั้งแรกด้วยน้ำย่อยกลูโคอะมิเลส ทำให้ได้น้ำตาลกลูโคสที่มีความหวานมากขึ้น หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการหมัก เป็นขั้นตอนการเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสที่ได้จากการย่อยแป้งไปเป็นแอลกอฮอล์หรือเอทานอล โดยกระบวนการหมักด้วยยีสต์ ซึ่งจะมีการ เติมกล้าเชื้อลงไปในถังหมักที่มีน้ำตาลกลูโคสอยู่ เมื่อเสร็จสิ้น การหมักจะได้น้ำส่าที่มีแอลกอฮอล์เข้มข้นประมาณ 10% จากนั้นจึงนำเข้าสู่กระบวนการกลั่น เพื่อทำให้ความเข้มข้น ของแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น โดยการใช้ความร้อนและการควบแน่น เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนดังกล่าวจะได้แอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นประมาณ 95% สามารถส่งเข้าสู่กระบวนการต่อเนื่อง เพื่อผลิตเป็นแอลกอฮอล์เข้มข้น 99.8% ต่อไปได้ เอทานอลช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงภาพรวมในเเง่ของความคุ้มค่าหรือผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ หากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ย่อมทำให้ความจำเป็นในการใช้เอทานอลลดลงตามไปด้วย จึงไม่มีความ คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ แต่หากพิจารณาถึงส่วนที่รัฐบาลจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำบัดสิ่งแวดล้อม และค่าใช้จ่ายในส่วนของการที่จะต้องใช้สาร MTBE เพิ่มค่าออกเทนในน้ำมันเบนซินออกเทน 95 เพื่อ รักษาสภาพแวดล้อมทั้งระบบน้ำและอากาศ ทำให้การนำเอทานอลมาใช้เป็นพลังงานทดแทนมีความ คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันยังช่วยแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำได้ด้วย อีกทั้งผลพลอยได้ (By Product) จากกระบวนการผลิตเอทานอล ยังสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ด้วย ดังนั้น ภาพรวมของทั้งระบบเศรษฐกิจโดยตรงที่ได้กับ ผลตอบแทนทางอ้อมจึงมีความคุ้มค่าในการลงทุน แม้จะเป็นโครงการในระยะยาว ซึ่งสภาพสังคมในอนาคตมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ กระตุ้นให้สังคมตระหนักถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพ เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความ เหมาะสมที่จะนำเทคโนโลยีชีวภาพมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ แม้ว่าเอทานอลจะเป็นพลังงานทดแทน ที่ให้ผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศได้ดี ในระดับหนึ่ง แต่การเลือกใช้วัตถุดิบเพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตยังคงต้องได้รับการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้พลังงานทดแทนที่มีศักยภาพและให้ความคุ้มค่าหรือผลตอบแทนในเชิงพาณิชย์ที่ยอมรับได้ อันจะนำไปสู่การเป็นทางเลือกในการใช้พลังงานเชื้อเพลิงทดแทน ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนที่สุดของประเทศ

อ้างอิง : http://www.engineeringtoday.net/magazine/articledetail.asp?arid=494&pid=76

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 27583 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [มันสำปะหลัง]:
ป้องกันเพลี้ย ฆ่าเพลี้ย กำจัดเพลี้ยในไร่มันสำปะหลัง แช่ท่อนพันธุ์ เร่งราก งอกไว โตดี เรามีของ
โรคและแมลง ที่ติดมากับท่อนพันธุ์ที่นำมาปลูก แช่ด้วยน้ำยา กู๊ดโซค ขจัดโรคและแมลง แถมยังเพิ่มเปอร์เซ็นงอก และโตไว
อ่านแล้ว: 6717
มันสำปะหลังใบเหลือง มันสำปะหลังใบเหลืองซีด เป็นอาการบ่งชี้ว่า มันสำปะหลังขาดธาตุอาหาร
ใบมันสำปะหลังเหลืองตามเส้นใบ มีอาการตายเฉพาะจุด สันนิษฐานว่า มันสำปะหลังขาดธาตุเหล็ก หรือ มันสำปะหลังขาดธาตุโปแตสเซียม
อ่านแล้ว: 10075
มันสำปะหลังใบไหม้ มันสำปะหลังใบแห้ง แก้ด้วยไอเอส ป้องกันด้วย กู๊ดโซค
มันสำปะหลังยอดแห้ง ใบเหี่ยว มียางไหลออกมา ตายลงมาจากยอด สัญนิษฐานได้ว่าเป็นโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
อ่านแล้ว: 7255
มันสำปะหลังใบไหม้ เสียหายได้มาก 30-50% เลยทีเดียว ป้องกันได้อย่างไร?
การระบาดของโรคใบไหม้นี้ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น โรคใบไหม้ที่ติดมากับท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง
อ่านแล้ว: 7158
เร่งหัวมันสำปะหลัง ให้หัวใหญ่ เปอร์เซ็นแป้งสูง
3 in 1 ครบทั้งธาตุหลักธาตุเสริม และสารจับใบในกล่องเดียว หมดปัญหามันงาม แค่หัวเล็ก หรือมันแคระต้นไม่โต
อ่านแล้ว: 8159
การกำจัดเพลี้ยงแป้ง ในไร่มันสำปะหลังอย่างถูกต้อง
ท่อนพันธุ์ที่นำมาปลูก ต้องสะอาด ปราศจากเพลี้ยแป้ง และเมื่องอกไปสักระยะแล้ว หากสังเกตุเห็น ให้ถอน
อ่านแล้ว: 7296
ยาแช่ท่อนพันธุ์ มันสำปะหลัง เร่งราก ป้องกันโรค ป้องกันแมลง เพิ่มเปอร์เซ็นงอก
กู๊ดโซค คือ น้ำยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง เพื่อเพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นงอก นอกจากนัั้นแล้วยังช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืชได้อีกด้วย
อ่านแล้ว: 7534
หมวด มันสำปะหลัง ทั้งหมด >>