ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 19595 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ไบโอพลาสติก ตลาดที่อยากจะไปเหลือเกิน

ไบโอพลาสติก คือ พลาสติกที่เกิดจากกระบวนการทางเคมี ทำให้น้ำตาลกลายเป็นเม็ดพลาสติก สามารถย่อยสลายได้ตาม...

data-ad-format="autorelaxed">

เมื่อไม่นานมานี้มีสัมมนาในหัวข้อเรื่อง The bioplastics that will change the world ที่จัดโดยสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ วัตถุประสงค์ก็เพื่อขยายฐานการผลิตไบโอพลาสติกและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านนี้ในเมืองไทย จะเป็น การดีถ้าบรรดาเอสเอ็มอีจะได้รู้ความเป็นไปของตลาดโลก และทราบว่าตอนนี้ใครทำอะไร อย่างไร ธุรกิจของเราจะขยับไปในกระบวนการเดียวกับกระแสโลกได้หรือไม่

พลาสติกชีวภาพ ที่ทำเป็นผลิตภันฑ์ต่างๆ

ไบโอพลาสติก คือ พลาสติกที่เกิดจากกระบวนการทางเคมี ทำให้น้ำตาลกลายเป็นเม็ดพลาสติก สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ โดยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนความเป็นไปได้ของธุรกิจนี้มีแนวโน้มที่น่าสนใจทีเดียว

ไบโอพลาสติกที่บ้านเรากำลังผลักดันอยู่นี้มี 2 แบบด้วยกัน คือไบโอพลาสติก ที่ทำมาจากข้าวโพด (PLA) และ ไบโอพลาสติกที่ทำมาจากมันสำปะหลังและอ้อย (PHA/PHB)

ต่างกันตรงที่ทั้ง 2 ชนิดจะเข้าไปแทนที่กระบวนการผลิตพลาสติกใน 2 รูปแบบคือแบบที่ผลิตเป็นฟิล์ม ใช้สำหรับทำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และทำถุงพลาสติก

อีกแบบหนึ่งคือทำมาจากอ้อยและมันสำปะหลังทั้ง 2 ชนิดนี้หากผ่านกระบวนการทางเคมีจะได้พลาสติกที่ทนทานกว่า ใช้ในกระบวนการผลิตแบบขึ้นโมทดแทนพลาสติกอีกแบบหนึ่ง

ไบโอพลาสติกเริ่มมีการเคลื่อนไหวในตลาดโลก ประเทศชั้นนำต่างๆ เริ่มมองหาทั้งแหล่งวัตถุดิบ และคิดค้นวิจัยเพื่อทำโรงงานต้นแบบที่สามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้มากยิ่งขึ้น

ผลิตจาก ไบโอพลาสติก ถ้วย จาน ช้อน


บราซิลเริ่มแล้ว แต่...

ตอนนี้เรื่องของไบโอพลาสติกทุกประเทศจะเรียกว่าเริ่มออกตัวเกือบจะพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นจีน อเมริกา ยุโรป ก็มีการวิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจัง

บราซิลเองก็มีโรงงานต้นแบบที่ก้าวล้ำไทยไปหลายก้าว ก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีการผลิต และมีโรงงานต้นแบบมูลค่าราว 32 ล้านบาท สามารถผลิตได้ 50 ตันต่อปี นำไปใช้ทดลองผลิตโปรดักต์ต่างๆ เช่น ถ้วย ขวด ฯลฯ แต่เป็นเพียงการทดลองผลิตและสามารถส่งออกได้ในจำนวนจำกัด

หากเปรียบเทียบกับไทยแล้ว บราซิลเองผลิตอ้อยได้ต่อปีมีปริมาณมากพอพอกับไทย แต่ขายได้ในราคาถูกคือกิโลกรัมละ 8 บาท ดังนั้นการพัฒนาเพื่อเป็นไบโอพลาสติกจึงเป็นเรื่องไม่ไกลจนเกินไป แต่ติดปัญหาเพียงอย่างเดียวคือบราซิลก็ยังมีบริมาณการผลิตที่จำกัดและเงินลงทุนที่จำกัดอยู่ดี

ส่วนการจำหน่ายพบว่าเป็นโรงงานขนาดเล็ก ทำให้ปริมาณการผลิตไม่พอกับความต้องการของตลาด โดยเฉลี่ยต้นทุนราว 200 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ต้นทุนพลาสติกอยู่ที่ราว 40 บาทต่อกิโลกรัม บราซิลจึงเป็นโรงงานต้นแบบที่ชี้ให้เห็นว่าสามารถทำการผลิตได้จริง

แต่เหตุผลเดียวก็คือ เมื่อต้นทุนยังมีราคาแพง การผลิตมีจำนวนจำกัด ตลาดที่แท้จริงจึงยังไม่เกิด

ไทยวัตถุดิบมาก แต่ปัญหาก็...

แน่นอนว่า บ้านเราเองก็มีวัตถุดิบที่ไม่น้อยหน้าบราซิล มีโรงงานน้ำตาลขนาดใหญ่ และที่สำคัญมีวัตถุดิบที่หลากหลายทั้งอ้อยและมันสำปะหลัง เหมาะที่จะตั้งโรงงาน เพียงแต่ว่าจะทำอย่างไรให้ต้นทุนการผลิตถูกลง ในที่นี้อาจจะถูกลงพอๆ กับเมล็ดพลาสติก หรือไม่ก็แพงกว่าเม็ดพลาสติกเพียงแค่ 1 เท่า (2 ดอลล่าห์ต่อ 1 กิโลกรัม) เรียกว่า สูสี ตลาดพอรับได้

แต่ทั้งนี้สิ่งที่ยังเป็นปัญหาสำหรับผู้ผลิตในบ้านเราประการแรก ดีมานด์ในเมืองไทยยังไม่เกิด ในขณะที่ตลาดส่งออกยังไม่ชัด ผู้ประกอบการ-นักลงทุนต้องการความชัดเจนเหล่านี้ มันจึงเป็นเรื่องไก่เกิดก่อนไข่ หรือไข่เกิดก่อนไก่ ลงทุนก่อนตลาดจึงจะเกิด หรือตลาดมาก่อนค่อยลงทุน แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้เริ่มมีบางบริษัทเริ่มต้นมองหาโอกาสสำหรับธุรกิจทางด้านนี้แล้ว

การเข้ามาของบริษัท PHBISA ประเทศ Brazil และ Prof.Gerhart Braunegg ผู้เชี่ยวชาญทางด้านไบโอพลาสติกจากออสเตรีย ชี้ให้เห็นว่าแบคทีเรียตัวใหม่ที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตสามารถผลิตเม็ดพลาสติกช่วยลดต้นทุนได้จริง คือน้ำตาล 3 ส่วน สามารถผลิตเม็ดพลาสติกได้ 1 ส่วน เพิ่มจากของเดิมเกือบเท่าตัว

สิ่งเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจ หากแต่การลงทุนในระดับที่จะผลิตเป็นโปรดักต์ต่างๆ ได้แบบโรงงานต้นแบบจะต้องมีสเกลถึง 1,000 ตันต่อปี หรือหากพอค้าขายได้กำไร ก็ไม่ควรจะต่ำกว่า 1 หมื่นตันต่อปี และจำหน่ายราคาประมาณกิโลกรัมละ 80 บาท

ณ ตอนนี้กลุ่มบริษัทน้ำตาลหลายๆ บริษัทต่างก็ให้ความสนใจในโครงการนี้พอสมควร เชื่อว่าภายในปี 2554 เราจะได้เห็นโรงงานต้นแบบในเมืองไทยอย่างแน่นอน

ตลาดมี แต่ยังไม่มีใครเสี่ยง

ตัวเลขของดีมานด์ในตลาดโลก พบว่าปริมาณการใช้พลาสติกโลกอยู่ที่ 200 ล้านตันต่อปี โดยไบโอพลาสติกสามารถเข้าไปทดแทนได้ราว 100 ล้านตันต่อปี ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับแพ็กเกจจิ้งต่างๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้พลาสติกที่มีคุณสมบัติพิเศษมากๆ หรือในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับยางซึ่งไบโอพลาสติกยังก้าวไปไม่ถึง

นอกจากนี้หากดูไปที่ความต้องการของผู้ใช้จริงๆ มี ตัวเลขจากสมาคมไบโอพลาสติกโซไซตี้ ของญี่ปุ่นคาดการณ์ว่า ทั่วโลกมีความต้องการประมาณ 2 แสนตันต่อปี โดยเฉพาะในหมวดแพ็กเกจจิ้งมีโอกาสเติบโตประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

ส่วนกลุ่มประเทศที่ขยับตัวในเรื่องนี้อย่างจริงจังก็คือยุโรปซึ่งมีมาตรการออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น ที่เยอรมนีให้การสนับสนุนโดยการยกเว้นภาษีให้กับผู้ผลิต ในร้านค้าถ้าใครจะเอาถุงต้องจ่ายเงินซื้อ ขณะที่ฝรั่งเศสประกาศว่าภายในปี 2010 จะต้องใช้ถุงพลาสติกแบบย่อยสลายทั้งหมด ในขณะที่อเมริกา มลรัฐแคลิฟอร์เนียเริ่มมีประกาศว่า จะให้ใช้ถุงพลาสติกแบบย่อยสลายแล้วในเวลานี้ เช่นเดียวกันที่ห้างวอล-มาร์ตเองก็หันใช้มาใช้ถุงไบโอพลาสติกเป็นถุงช็อปปิ้งแทนถุงก๊อบแก๊บจากพลาสติก

ฉะนั้นในตอนนี้เหลือเพียงแต่ว่าใครจะเป็นเจ้าแรกที่เริ่มขยับตัวผลิตในเชิงพาณิชย์ ในฐานะของเอสเอ็มอี กระแสใหญ่เช่นนี้ หากเราอยู่ในธุรกิจพลาสติก อาจจะเตรียมมองหารูปแบบ กระบวนการ หรือเตรียมแตกไลน์การผลิตวิจัย ในเรื่องนี้ไว้ก็นับว่าไม่เลวทีเดียว

อ้างอิง: Prachachart: May 10 http://web.sut.ac.th/

 

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 19595 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9140
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7478
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7551
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 7879
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 6863
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8131
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7359
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>