ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: การปลูกพืช | อ่านแล้ว 39383 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เงาะโรงเรียน (นาสาร)

ประวัติของ เงาะพันธุ์ที่ดีที่สุด เงาะโรงเรียนนาสาร ทำไมจึงชื่อเงาะโรงเรียน

data-ad-format="autorelaxed">

เงาะโรงเรียน เงาะโรงเรียนนาสาร

เงาะโรงเรียนเงาะโรงเรียนเป็นเงาะที่มีรสชาติอร่อย เนื้อกรอบ หวานหอม มีประวัติเล่าว่า เมื่อปี พ.ศ.2468 มีชาวจีนสัญชาติมาเลเซีย ชื่อ นายเค วอง ได้เดินทางเข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุกที่บ้านเหมืองแกะ ต.นาสาร อ.บ้านนาสาร และได้นำเมล็ดเงาะมาปลูกข้างบ้านพัก ปรากฏว่ามีเงาะต้นหนึ่งมีผลที่มีลักษณะต่างไปจากต้นอื่น คือ รูปผลค่อนข้างกลม เนื้อกรอบ หวาน หอม เปลือกบาง รสชาติอร่อย เมื่อนายเค วอง เลิกล้มกิจการเหมืองแร่ในปี พ.ศ.2497 ได้ขายที่ดินดังกล่าวให้แก่กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ซึ่งได้ปรับปรุงให้เป็นสถานที่เรียนเรียกว่า โรงเรียนนาสาร เงาะที่นายเค วองปลูกไว้ก็ได้ขยายพันธุ์สู่ประชาชนโดยใช้ต้นพันธุ์เดิม จึงเรียกว่า เงาะโรงเรียน

ในปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายชัช อุตตมางกูร ผู้นำชาวสวนเงาะได้ทูลเกล้าฯถวายผลเงาะโรงเรียน และขอพระราชทานชื่อพันธุ์เงาะนี้เสียใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า "ชื่อเงาะโรงเรียนดีอยู่แล้ว" ตั้งแต่นั้นมา เงาะพันธุ์นี้จึงได้ชื่อว่า เงาะโรงเรียน อย่างเป็นทางการ  อนึ่ง เพื่อความเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้จัดงาน วันเงาะโรงเรียน  ขึ้นเป็นประจำในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคมของทุกปี

 
สถานการณ์ทั่วไป
เงาะเป็นไม้ผลเพื่อบริโภคผลสดและเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของอุตสาหกรรมเกษตร เงาะกระป๋อง และเงาะสอดไส้สับปะรดบรรจุกระป๋อง เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ที่ผ่านมาถึงแม้ว่าจะเกิดปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำเกือบทุกปี (เนื่องจากช่วงฤดูกาลผลิตเงาะค่อนข้างสั้น ในช่วงเวลากลางฤดูจะมีผลผลิตมากกว่า 50 % ออกสู่ตลาดพร้อมๆ กัน) แต่เงาะก็ยังจัดเป็นไม้ผลที่ทำรายได้ดีอีกพืชหนึ่ง

ลักษณะทั่วไปของพืช
- เงาะเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสม อยู่ในช่วง 25 – 30 องศา C ความชื้นสัมพัทธ์สูงประมาณ 75 – 85 %
- ดินปลูกที่เหมาะสมควรมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (ค่า pH) ของดินประมาณ 5.5 – 6.5 และที่สำคัญควรเลือกแหล่งปลูก ที่มีน้ำเพียงพอตลอดปี
- เงาะเป็นไม้ผลที่มีระบบรากหาอาหารลึกประมาณ 60 – 90 เซนติเมตรจากผิวดิน จึงต้องการสภาพแล้งก่อนออกดอกติดต่อกัน ประมาณ 21 – 30 วัน

เมื่อต้นเงาะผ่านสภาพแล้งและมีการจัดการน้ำอย่างเหมาะสมเงาะจะออกดอก ช่วงพัฒนาการของดอก (ผลิตดอก – ดอกแรกเริ่มบาน) ประมาณ 10 – 12 วัน ดอกเงาะจะทยอยบานจากโคนช่อไปหาปลายช่อ ใช้เวลาประมาณ 25 – 30 วัน จึงจะบานหมดช่อ ดอกเงาะมี 2 ชนิด คือ ดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศ ต้นที่มีดอกตัวผู้จะไม่ติดผล ส่วนต้นที่มีดอกสมบูรณ์เพศนั้นเกสรตัวผู้ไม่ค่อยแข็งแรง ต้องปลูกต้นตัวผู้แซมในสวน เพื่อเพิ่มละอองเกสร หรือฉีดพ่นฮอร์โมนพืช เพื่อช่วยให้เกสรตัวผู้แข็งแรงขึ้น

พื้นที่ปลูก
         - แหล่งผลิตที่สำคัญ คือ ภาคตะวันออก(พื้นที่ปลูก 55% ผลผลิต 63%) และภาคใต้(พื้นที่ปลูก 44% ผลผลิต 36%)
         - จังหวัดที่สำคัญ ได้แก่ จันทบุรี (ผลผลิต 45%) ตราด (14%) สุราษฎร์ธานี (10%) ชุมพร (10%) นครศรีธรรมราช (8%)
         - พื้นที่ปลูก ประมาณ 540,000 ไร่ (พื้นที่ให้ผลแล้ว 420,000 ไร่)

พันธุ์ที่ส่งเสริม
         - โรงเรียน,
         - ตราดสีทอง

การปลูก
          วิธีการปลูก ทำได้ทั้งการขุดหลุมปลูกซึ่งเหมาะกับพื้นที่ที่ยังไม่มีการวางระบบน้ำไว้ก่อนปลูก วิธีนี้ดินในหลุมจะช่วยเก็บความชื้นได้ดีขึ้น และสามารถปลูกโดยวิธีไม่ต้องขุดหลุม(ปลูกแบบนั่งแท่นหรือยกโคก) เหมาะกับพื้นที่ฝนตกชุก วิธีการนี้ระบายน้ำดีน้ำไม่ขังโคนต้น แต่ต้องมีการวางระบบน้ำไว้ก่อนปลูก ซึ่งต้นเงาะจะเจริญเติบโตเร็วกว่าการขุดหลุม ทั้งนี้จุดเน้นที่สำคัญในการปลูก คือ ควรใช้ต้นกล้าที่มีระบบรากดี ไม่ขดงอในถุง แต่ถ้าจะใช้ต้นกล้าขนาดใหญ่ก็ให้ตัดดินและรากที่ขดหรือพันตรงก้นถุงออก

ระยะปลูก
         6 – 8 X 6 – 8 เมตร ถ้าใช้ระยะปลูกชิด 6 X 6 เมตร จะตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มอย่างใกล้ชิด ไม่ให้ทรงพุ่มชนและบังแสงกัน สำหรับสวนที่ใช้เครื่องจักรกลแทนแรงงาน ควรเว้นระยะระหว่างแถวให้ห่างพอที่เครื่องจักรกลจะเข้าไปทำงาน แต่ให้ระยะระหว่างต้นชิดขึ้น

จำนวนต้น/ต่อไร่
         25 – 40 ต้น/ไร่

การดูแลรักษา (สำหรับต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว)

การใส่ปุ๋ย
         - เพื่อบำรุงต้นหลังการเก็บเกี่ยว ปุ๋ยอินทรีย์ 20 – 50 กก./ต้น ร่วมกับ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 1 – 3 กก./ต้น
         - เพื่อส่งเสริมการออกดอก (ช่วงปลายฝน) ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 หรือ 9-24-24 2 – 3 กก./ต้น หรือ
         - เพื่อบำรุงผล (หลังติดผล 3 – 4 สัปดาห์) ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 2 – 3 กก./ต้น ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก 20 – 30 กก./ต้น

การให้น้ำ
         ให้น้ำสม่ำเสมอช่วงเจริญทางใบ งดน้ำช่วงปลายฝน ต้นเงาะที่มีใบแก่และสมบูรณ์ ทั้งต้นและผ่านสภาพแล้งติดต่อกันนาน 21 – 30 วัน จะแสดงอาการขาดน้ำ (ใบห่อ) ให้กระตุ้นการออกดอกโดยการให้น้ำในปริมาณมากเต็มที่ จากนั้นให้หยุดดูอาการ 7 – 10 วัน เมื่อพบว่าตายอดเริ่มพัฒนาเป็นตาดอก (สีของตายอดจะเปลี่ยนจากน้ำตาลดำเป็นน้ำตาลทอง) ก็เริ่มให้น้ำอีกครั้งปริมาณเท่าเดิมเพื่อเร่งการพัฒนาของตาดอก แต่ถ้าหลังจากให้น้ำครั้งที่ 1 แล้ว พบว่าตา ยอดเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลอมเขียว แสดงว่าให้น้ำมากเกินไปตายอดพัฒนาเป็นตาใบแทนที่จะเป็นตาดอก ต้องหยุดน้ำและปล่อยให้เงาะกระทบแล้งอีกครั้งจนเห็นว่าสีเขียวน้ำตาลของตายอดเปลี่ยนเป็นน้ำตาลทองของตาดอก ก็เริ่มให้น้ำในอัตรา ? ของครั้งแรก จากนั้นเมื่อแทงช่อดอกและติดผลแล้วควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ เพื่อเร่งพัฒนาการของดอก และเร่งพัฒนาการของผลให้ขึ้นลูกได้เร็วและผลโต

การปฏิบัติอื่นๆ
         - การเตรียมสภาพต้นให้พร้อมต่อการออกดอกในฤดูถัดไป คือ การจัดการเงาะให้มีการแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 ชุด และให้รักษาใบอ่อนที่แตกออกมาให้สมบูรณ์ หมั่นป้องกันกำจัดโรคราแป้งและหนอนคืบกินใบ
         - การจัดการเพื่อส่งเสริมการติดผล

การช่วยให้เงาะผสมเกสรได้ดีขึ้น
         โดยการเพิ่มปริมาณเกสรตัวผู้ ทำได้หลายวิธี เช่น
         - พ่นฮอร์โมนพืช เมื่อช่อดอกส่วนใหญ่ของต้นบานได้ร้อยละ 5 ให้ฉีด พ่นช่อดอกบริเวณส่วนบนของทรงพุ่มด้วยฮอร์โมน เอ็น เอ เอ ในอัตรา 2 ซีซี/น้ำ 20 ลิตรประมาณ 4 – 5 จุด/ต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติโดยทั่วไป
         - รวบรวมละอองเกสรตัวผู้ผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่วต้นเมื่อช่อดอกบนต้นบานได้ 50 %
         - เปลี่ยนยอดให้เป็นกิ่งตัวผู้ ทำได้โดยการตัดยอดของเงาะต้นตัวเมีย เลี้ยงกิ่งกระโดงขึ้น มา แทนที่แล้วนำกิ่งจากต้นตัวผู้มาทาบบนกิ่งกระโดงนี้ ส่วนการสร้างสวนใหม่ควรปลูก ต้นตัวผู้แซมไปในระหว่างแถวของต้นตัวเมีย
         - เลี้ยงผึ้งหรือติดต่อผู้เลี้ยงผึ้งให้นำผึ้งมาเลี้ยงในสวนระยะดอกบาน: ตรวจสอบและป้องกันกำจัดราแป้งอย่างใกล้ชิด ในทุกช่วงของการพัฒนาการของดอกและผล

การป้องกันกำจัดศัตรูพืชสำคัญ (เน้นการป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน)
       - ช่วงแตกใบอ่อน – หนอนคืบกินใบ : คาร์บาริลหรือ คาร์โบซัลแฟน
       - ช่วงออกดอกและติดผล – โรคราแป้ง : ต้นที่เริ่มพบโรคให้ใช้กำมะถันผง แต่ถ้ามีโรคหนาแน่นมาก ให้พ่นด้วย เบโนมิล หรือ ไดโนแคป หรือ ไตรดีมอร์ฟ ระยะห่าง 7 – 10 วัน/ครั้ง

อายุเก็บเกี่ยว
         เงาะจะให้ ผลผลิตหลังการปลูกค่อนข้างเร็ว ภายใน 3 – 4 ปี ช่วงอายุที่ให้ผลผลิตดีประมาณ 7 ปีขึ้นไป โดยเฉลี่ย 150 – 200 กก./ต้น (น้ำหนักผลเฉลี่ย 30 – 40 กรัม/ผล หรือประมาณ 25 – 35 ผล/กก. ผลผลิตประมาณ 80 – 110 ผล/ต้น หรือประมาณ 240 – 330 กก./ต้น/ปี (คิดน้ำหนักเฉลี่ยผลละ 3 ก - ก.)

ฤดูกาลเก็บเกี่ยว
         ฤดูกาลเก็บเกี่ยวเงาะภาคตะวันออก อยู่ในช่วงปลายเดือนเมษายน – มิถุนายน และภาคใต้ เดือนกรกฎาคม - กันยายน เงาะจะเก็บเกี่ยวผลได้ประมาณ 20 วันหลังจากผลเริ่มเปลี่ยนสี ผลเงาะเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 12 – 13 องศา C ความชื้นสัมพัทธ์ 90 – 95 % เก็บรักษาได้นานประมาณ 2 สัปดาห

ต้นทุนการผลิต
         เงาะโรงเรียน เฉลี่ยประมาณ 11,566 บาท/ไร่ หรือ 7.57 บาท/กก.
         เงาะสีชมพู เฉลี่ยประมาณ 10,285 บาท/ไร่ หรือ 5.47 บาท/กก.

ผลผลิต
         ผลผลิตรวมทั้งประเทศ ประมาณปีละ 600,000 – 700,000 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ประมาณ 1,681 กก./ไร่/ปี เฉลี่ยระหว่างปี 2537 – 2541 ผลผลิตเฉลี่ยของเงาะในแต่ละปีที่ผ่านมา แตกต่างกันในช่วง 1,509 – 1,760 กก./ไร่
ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ ( ที่มีผลต่อการออกดอกและติดผล ) ปริมาณการใช้ภายในประเทศ ประมาณ 580,000 - 680,000 ตัน (97%)

อ้างอิง : http://school.obec.go.th/


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 39383 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

เด็กนาสาร
[email protected]
เงาะโรงเรียนนาสารสุดยอด
28 พ.ย. 2554 , 02:46 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [การปลูกพืช]:
หนอน หนอนกินใบ หนอนเจาะผล หนอนเจาะลำต้น ทุกหนอน แก้ด้วยไอกี้-บีที
เกลือเป็นหนอน ต้องแก้ปัญหาขององค์กร แต่พืชเป็นหนอน กำจัดง่าย ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ
อ่านแล้ว: 6027
พืชใบเหลือง ต้นไม้ใบเหลือง ใบไม้เหลือง อย่าตกใจ บางครั้งแค่ขาดไนโตรเจน
ในบางกรณี ที่เราให้ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เขียว หรือพืชดูคล้ายจะไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยที่เรา..
อ่านแล้ว: 6400
ชวนชมใบเหลือง ชวนชมใบร่วง ชวนชมใบจุด เป็นได้สองถึงสามสาเหตุ แต่หลักๆคือ ชวนชมไม่แข็งแรง
โรคและแมลงศัตรูพืช จะเข้าทำลายต้นชวมชมเมื่ออ่อนแอ แต่หากเรารู้วิธีการดูแลชวนชมให้สมบูรณ์แข็งแรง โรคและแมลงก็ไม่มี
อ่านแล้ว: 8261
เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี่ยอ่อน เพลี้ยกระโดด แก้ด้วย มาคา
เพลี้ยจักจั่นปีกลาย เพลี้ยไฟ ที่ทำลายเมล่อน และผักต่างๆ ป้องกันและจำกัดเพลี้ยด้วย มาคา สารอัลคาลอยด์
อ่านแล้ว: 6846
หนอนชอนใบ เมล่อน แตงโม แตงกวา แคนตาลูบ แตงโม ฟักทอง มะระจีน กำจัดด้วย ไอกี้-บีที
แมลงวันหนอนชอนใบ มักจะพบตัวหนอนชอนไช อยู่บริเวณในใบ สังเกตุง่าย จะเห็นรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวเลี้ยวไปมา อยู่บนใบของพืช
อ่านแล้ว: 6825
ปุ๋ยอินทรีย์ เร่งโต สร้างภูมิต้านทางโรค คุณภาพดีจาก ฟาร์มเกษตร FarmKaset.ORG
ลดอาการคลายน้ำในพืช และช่วยให้พืชใบเขียวเข้ม เจริญเติบโตได้ดีแม้ในช่วงหน้าแล้ง ด้วย บูตเตอร์สีเงิน มีธาตุเหล็ก และ..
อ่านแล้ว: 6322
พริกใบหงิก ดอกหลุดร่วง ใบเหลือง ออกผลน้อย นั้นเพราะ เพลี้ยไฟพริก ระบาดแล้ว
เพลี้ยไฟพริก จะระบาดมากในช่วงฤดูแล้ง ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มไว ของ เพลี้ยไฟพริกนี้ จะใช้ปากเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช
อ่านแล้ว: 6343
หมวด การปลูกพืช ทั้งหมด >>