ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ปาล์มน้ำมัน | อ่านแล้ว 59280 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การจัดการสวนปาล์มน้ำมัน

เลือกพื้นที่ ลักษณะดิน การระบายน้ำ ความลาดเอียง แหล่งน้ำ

data-ad-format="autorelaxed">

การปลูกปาล์ม

1. การเลือกพื้นที่ ปลูกปาล์ม
            • ควรเลือกพื้นที่ที่ดินมีชั้นหน้าดินลึก ความอุดมสมบูรณ์สูงถึงปานกลาง 
            • ควรมีลักษณะดินร่วน ดินร่วนปนดินเหนียว ดินเหนียว เนื้อดินไม่ควรเป็นทรายจัด ไม่มีชั้นลูกรัง หรือชั้นดินดานสูงมากกว่า 0.50 เมตร
            • มีการระบายน้ำดีถึงปานกลาง น้ำไม่แช่ขังนาน มีระดับน้ำใต้ดินตื้น ความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่ี่เหมาะสม 4 - 6 
            • ความลาดเอียง 1 - 12 % แต่ไม่ควรเกิน 23 % 
            • ควรอยู่ในเขตที่มีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,800 มม./ปี แต่ละเดือนควรมีฝนเฉลี่ยประมาณ 120 มม./เดือน ฝนทิ้งช่วงติดต่อกันนานไม่เกิน 3 เดือน เพราะช่วงแล้งที่ยาวนานทำให้ดอกตัวเมียลดลง ดอกตัวผู้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตลดลงในเวลา 19 - 22 เดือนหลังจากนั้น
            • มีแหล่งน้ำเพียงพอสำรองไว้ใช้ ถ้ามีการขาดน้ำมากกว่า 300 มม.ต่อปีหรือช่วงแล้งติดต่อมากกว่า 4 เดือน
            • พื้นที่ที่มีสภาพไม่เหมาะสมสำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน เช่น ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ สภาพพรุ ดินค่อนข้างเค็ม พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังนาน ฯลฯ ต้องมีการจัดการแก้ไขตามสภาพปัญหาของพื้นที่นั้นๆ
            • เป็นพื้นที่ที่มีแสงแดดประมาณ 2,000 ชั่วโมง/ปี หรือไม่ควรต่ำกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน
            • อุณหภูมิ 22 - 32 องศาเซลเซียส 
            • ไม่อับลมและไม่มีลมพัดแรง

 

2. การเตรียมพื้นที่ ปลูกปาล์ม

 

สวนปาล์มน้ำมัน            แปลน สวน ปาล์ม

 

แหล่งน้ำ ปาล์มน้ำมัน ร่องปาล์มน้ำมัน

 

 

           • โค่นล้ม กำจัดซากต้นไม้และวัชพืชออกจากแปลง ไถพรวนปรับพื้นที่ให้เรียบ ในกรณีที่โค่นล้มปาล์มเก่าเพื่อปลูกใหม่ทดแทน ควรใช้วิธีสับต้นปาล์มและกองให้ย่อยสลายในแปลง ไม่ควรกองซากต้นปาล์มสูงเกินไป เพราะจะเป็นที่วางไข่ของด้วงแรด
           • ทำถนนในแปลง เพื่อใช้เป็นเส้นทางขนส่งผลผลิตและปฏิบัติงานการดูแลรักษาสวน และเก็บเกี่ยวปาล์มการวางผังทำถนนขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและขนาดของสวนปาล์มน้ำมัน 
โดยทั่วไปรูปแบบของถนน มี 3 แบบคือ
                       - ถนนใหญ่ กว้างประมาณ 6 - 8 เมตร ห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อใช้เป็นเส้นทางขนส่งวัสดุการเกษตร และผลผลิตไปโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม (สำหรับสวนปาล์มขนาดเล็กกว่า 500 ไร่ ไม่จำเป็นต้องสร้างถนนใหญ่)
                       - ถนนย่อยหรือถนนเข้าแปลง เป็นถนนที่สร้างแยกจากถนนใหญ่ มีความกว้างประมาณ 4 - 6 เมตร ระยะห่างถนนประมาณ 500 เมตร เพื่อใช้สำหรับขนส่งวัสดุการเกษตรเข้าสวนปาล์ม และขนส่งผลผลิต
                       - ถนนซอย เป็นถนนขนาดเล็กแยกจากถนนย่อยเข้าไปในแปลงปลูกปาล์ม ความกว้างขนาด 3 - 4 เมตร มีระยะห่างประมาณ 50 เมตร สำหรับขนส่งวัสดุการเกษตร และ
ผลผลิตสู่ถนนย่อย
           • ทำทางระบายน้ำ การทำระบบระบายน้ำควรทำตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และควรออกแบบให้เชื่อมโยงกับระบบการขนส่งเพื่อให้มีการสร้างสะพานน้อยที่สุด ในสวนปาล์มประกอบด้วยทางระบายน้ำ 3 ประเภท คือ
                       - ทางระบายน้ำระหว่างแถวปาล์ม ควรสร้างขนานกับทางระบายน้ำหลักและตั้งฉากกับทางระบายน้ำระหว่างแปลง ขนาดของทางระบายน้ำระหว่างแถวปากร่องกว้าง 1.20 เมตร ท้องทางระบายน้ำกว้าง 0.30 - 0.50 เมตร และลึก 1 เมตร การทำทางระบายน้ำระหว่างแถวปาล์มขึ้นอยู่กับชนิดของดินในแต่ละแปลง ถ้าเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง ควรขุดระบายน้ำทุก ๆ 2 - 4 แถวปาล์ม ถ้าเป็นที่ราบลุ่มควรมีการระบายน้ำที่ดี ควรทำทางระบายน้ำทุก ๆ 6 แถว ถ้าที่ดอนใช้ระยะ 100 เมตร 
                       - ทางระบายน้ำระหว่างแปลง ควรสร้างขนานกับถนนเข้าแปลง มีระยะห่างกันประมาณ 200 - 400 เมตร ทางระบายน้ำนี้จะตั้งฉากและเชื่อมโยงกับทางระบายน้ำหลักมีขนาดของคูกว้าง 2.00 – 2.50 เมตร ลึก 1.20 – 1.80 เมตร ท้องคูกว้าง 0.60 - 1.00 เมตร 
                       - ทางระบายน้ำหลัก เป็นทางระบายน้ำขนาดใหญ่สามารถรับน้ำจากทางระบายน้ำระหว่างแปลงได้ แล้วไหลลงสู่ทางน้ำธรรมชาติต่อไป ส่วนมากร่องน้ำขนาดใหญ่นี้จะสร้างขนานกับถนนใหญ่ หรือตามความจำเป็นในการระบายน้ำ มีขนาดปากร่อง 3.50 - 5.00 เมตร ท้องร่องกว้าง 1.00 เมตร และลึกประมาณ 2.50 เมตร โดยปกติด้านข้างของทางระบายน้ำจะมีมุมลาดชันประมาณ 50 - 60 องศา จากแนวขนานของทางระบายน้ำ 
           • วางแนวปลูก ทำหลังจากสร้างถนนและทางระบายน้ำ ระบบการปลูกใช้สามเหลี่ยมด้านเท่า ให้แถวปลูกหลักอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ระยะปลูก 9 เมตร x 9 เมตร x 9 เมตร เพื่อให้ต้นปาล์มทุกต้นได้รับแสงแดดมากที่สุดและสม่ำเสมอ
           • ปลูกพืชคลุมดิน ปลูกในช่วงเตรียมพื้นที่เนื่องจากการปลูกปาล์มน้ำมันใช้ระยะปลูก 9 x 9 x 9 เมตร แบบสามเหลี่ยมด้านเท่า ซึ่งทำให้มีพื้นที่ว่างระหว่างแถวมากในช่วงตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งปาล์มอายุ 3 ปี ดังนั้นจึงควรปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินเพื่อช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน รักษาความชุ่มชื้นของดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินจากการตรึงไนโตรเจนจากอากาศของพืชตระกูลถั่ว อีกทั้งยังควบคุมวัชพืชในแปลงด้วย เนื่องจากพืชตระกูลถั่วบางชนิดปลูกคลุมดินครั้งเดียวอย่างถูกวิธีสามารถป้องกันกำจัดวัชพืชได้อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปาล์มน้ำมันให้ผลผลิต แต่มีข้อควรพิจารณาคือ ควรเป็นพืชที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมของเขตนั้น เช่น ถั่วพร้า ก็จะเป็นพืชตระกูลถั่วที่เหมาะสมกับภาคอีสาน สำหรับภาคใต้พืชคลุมดินตระกูลถั่วที่นิยมปลูกกัน
ทั่วไปในสวนปาล์มน้ำมันและได้ผลดี คือถั่วเพอราเรีย (Puraria phaseoloides) ถั่วเซ็นโตซีมา (Centrosema pubescence) ถั่วคาโลโปโกเนียม (Calopogonium mucunoides) ใช้อัตราเมล็ด 0.8-2.0 กิโลกรัมต่อไร่โดยมีอัตราส่วนของเมล็ดพืชคลุม 3 ชนิดคือคาโลโปโกเนียม : เพอราเรีย : เซ็นโตซีมา เท่ากับ 2:2:3 (เมล็ดมีความงอก 60-80% เมล็ดถั่วทั้ง 3 ชนิดนี้หาชื้อได้ตามร้านค้าชุมชนในพื้นที่ที่มีการปลูกปาล์มน้ำมัน การปลูกพืชคลุมตระกูลถั่วในภาคใต้ ทำได้โดยใช้เมล็ด การปลูกพืชคลุมโดยใช้เมล็ดมี 2 วิธี วิธีแรกปลูกพืชคลุมพร้อมปลูกต้นปาล์มน้ำมัน โดยหลังปลูกปาล์มน้ำมันให้ปลูกตามด้วยพืชคลุมทันที โดยปลูกพืชคลุมหว่านหรือหยอดเมล็ดในระหว่างแถวปาล์มน้ำมัน 5 แถว แต่ละแถวห่าง 1 เมตร ขนานไปกับแถวปาล์ม ห่างจากโคนต้นปาล์ม 2 เมตร และปลูกเพิ่มในแถวปาล์มอีก 3 ในแนวตั้งฉาก นำเมล็ดพืชคลุมที่เตรียมไว้ลงปลูก โดยการเปิดร่องลึก 1.2 นิ้ว โรยเมล็ดในร่องให้กระจายอย่างสม่ำเสมอแล้วกลบ การปลูกด้วยเมล็ดอีกวิธีคือ ปลูกพืชคลุมก่อนปลูกปาล์มน้ำมัน หลังวางแนวปลูกปาล์ม และควรทำในต้นฤดูฝน ให้แนวปลูกพืชคลุมเหมือนกรรมวิธีแรก เมื่อพืชคลุมคลุมพื้นที่ได้ 50 - 60 เปอร์เซ็นต์ หรือ 2 - 3 เดือนหลังปลูกพืชคลุม จึงเอาต้นปาล์มน้ำมันลงปลูก ก่อนปลูกถากพืชคลุมบริเวณหลุมให้เป็นวงกว้างประมาณ 1 - 2 เมตร 

ข้อควรระวังในการปลูกพืชคลุมดินคือ
 
           ต้องไม่ให้เถาของพืชคลุมพันต้นปาล์มน้ำมัน และควรมีการป้องกันกำจัดหนูที่จะมากัดโคนต้นปาล์มน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ 

การวิเคราะห์ดินก่อนปลูกปาล์ม

            เป็นการวิเคราะห์คุณสมบัติของดินทั้งทางเคมีและทางกายภาพ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปประเมินสภาพและองค์ประกอบของดิน วางแผนปรับปรุงดิน จัดการดิน กำหนดชนิดและวิธีการใส่ปุ๋ย การวิเคราะห์คุณสมบัติของดินทางกายภาพ ได้แก่ ส่วนประกอบของดิน ความลึกของดิน ความลาดเท การระบายน้ำ การวิเคราะห์คุณสมบัติของดินทางเคมี ได้แก่ ความเป็นกรด - ด่าง (pH) ความต้องการปูน อินทรีย์วัตถุ ความเค็มของดิน ฟอสฟอรัส โปแตสเชียม แคลเซียม แมกนีเซียม ส่วนในดินกรดจัดหรือดินพรุวิเคราะห์เพิ่มในธาตุ เหล็ก และทองแดง

 

3. การปลูกปาล์มและดูแลรักษา

 

 

ต้นปาล์ม   ต้นปาล์มเหมือนกัน
     
รูปร่องปาล์ม   ป้องกันหนู ในปาล์ม

 

           • เตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมให้มีขนาดใหญ่กว่าถุงต้นกล้าเล็กน้อย รูปตัวยู หรือทรงกระบอก ควรแยกดินบน - ล่างออกจากกัน รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยร็อกฟอสเฟต (0-3-0) อัตรา 250 - 500 กรัม/หลุม
           • ควรใช้ต้นกล้าที่มีอายุ 8 เดือนขึ้นไป ซึ่งมีลักษณะต้นสมบูรณ์แข็งแรง ไม่แสดงอาการผิดปกติ และมีใบรูปขนนก จำนวนอย่างน้อย 2 ใบ 
           • เวลาปลูก ควรปลูกในช่วงฤดูฝน ไม่ควรปลูกช่วงปลายฤดูฝนต่อเนื่องฤดูแล้ง หรือหลังจากปลูกแล้วจะต้องมีฝนตกอีกอย่างน้อยประมาณ 3 เดือน จึงจะเข้าฤดูแล้ง ข้อควรระวัง หลังจากปลูกไม่ควรเกิน10 วันจะต้องมีฝนตก 
           • วิธีการปลูก ถอดถุงพลาสติกออกจากต้นกล้าปาล์มน้ำมัน อย่าให้ก้อนดินแตก จะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโตวางต้นกล้าลงในหลุมปลูกใส่ดินชั้นบนลงก้นหลุมแล้วจึงใส่ดินชั้นล่างตามลงไป และจัดต้นกล้าให้ตั้งตรงแล้วจึงอัดดินให้แน่น เมื่อปลูกเสร็จแล้วโคนต้นกล้าจะต้องอยู่ในระดับเดียวกันกับระดับดินเดิมของแปลงปลูก 
           • ตอนปลูกควรใช้ตาข่ายหุ้มรอบโคนต้นเพื่อป้องกันหนู หลังจากปลูกเตรียมการป้องกันกำจัดหนูโดยวิธีผสมผสาน หากสำรวจแล้วพบว่ามีหนูเข้าทำลาย ควรวางเหยื่อพิษ
และกรงดัก 
           • การปลูกซ่อม เมื่อพบต้นปาล์มที่ถูกทำลายโดยศัตรูพืช และต้นที่กระทบกระเทือนจาการขนส่งหรือการปฏิบัติอย่างรุนแรง ตลอดจนต้นผิดปกติจะต้องขุดทิ้งและปลูกซ่อม ควรปลูกซ่อมให้เร็วที่สุด ดังนั้นควรเตรียมต้นกล้าไว้สำหรับปลูกซ่อมประมาณร้อยละ 5 ของต้นกล้าที่ต้องการใช้ปลูกจริง โดยดูแลรักษาไว้ในถุงพลาสติกสีดำ ขนาด 15 x 18 นิ้ว ต้นกล้าจะมีอายุระหว่าง 12 - 18 เดือน ทั้งนี้เพื่อให้ต้นกล้าที่นำไปปลูกซ่อมมีขนาดใกล้เคียงกับต้นกล้าในแปลงปลูกจริง หรือเตรียมโดยนำไปปลูกระหว่างต้นปาล์มในแถวนอกสุด เพื่อให้คงระยะปลูกภายในแปลงไว้ และสะดวกในการจัดการสวน การปลูกซ่อมแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ
                       1. ปลูกซ่อมหลังจากปลูกในแปลงประมาณ 1 - 2 เดือน หรือไม่ควรเกิน 1 ปี อาจเกิดจากการกระทบกระเทือนตอนขนย้ายปลูก ได้รับความเสียหายจากศัตรูปาล์มน้ำมัน เช่น หนู เม่น หรือเกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ความแห้งแล้งหลังปลูกอย่างรุนแรง 
                       2. ปลูกซ่อมหลังจากการย้ายปลูก 1 ปีขึ้นไป เป็นการปลูกซ่อมต้นกล้าที่มีลักษณะผิดปกติ เช่น ต้นมีลักษณะทรงสูง โตเร็วผิดปกติซึ่งเป็นลักษณะของต้นตัวผู้ 
            • หลังปลูก ถ้าพบด้วงกุหลาบเริ่มทำลายใบเป็นรูพรุนให้ฉีดพ่นด้วยเซฟวิน 85 % ในตอนเย็นทั้งใบและบริเวณโคนต้น

 

ด้วงกุหลาบ การป้องกันด้วงกุหลาบ
ด้วงกุหลาบ
ลักษณะการทำลาย

 

 

            • กำจัดวัชพืชรอบโคนต้นในช่วงอายุ 1 - 3 ปี ตามระยะเวลา เช่น ก่อนการใส่ปุ๋ย ถ้าใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชระวังอย่าให้สารเคมีสัมผัสต้นปาล์มน้ำมัน

รัศมีรอบโคนต้นปาล์มที่ต้องกำจัดวัชพืช
อายุปาล์ม (เดือน) 
รัศมีรอบโคนต้น (เมตร)
0 - 6
0.50 – 0.75
6 - 12
0.75 – 1.00
12 - 24  
0.75 - 1.25
24 - 30
1.25 – 2.25
มากกว่า 30
2.25 – 2.75

4. การใส่ปุ๋ยปาล์ม
            • ปาล์มน้ำมันอายุ 1 - 3 ปี เป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบอย่างรวดเร็ว การใส่ปุ๋ยในช่วงนี้เพื่อให้มีการเจริญเติบโตทั้งทางลำต้นและทางใบอย่างรวดเร็ว โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ต้นปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตที่สูง และสม่ำเสมอในระยะต่อ ๆ ไป อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยเคมีต้องคำนึงถึงชนิดของดินที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เนื่องจากในดินแต่ละพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่
แตกต่างกัน ในคำแนะนำนี้ได้แบ่งชนิดดินออกเป็น 5 กลุ่ม เพื่อให้สามารถเลือกใส่ปุ๋ยได้ใกล้เคียงกับชนิดของดินที่ปลูกปาล์มน้ำมัน (ตาราง ที่ 1)

 

ตารางที่ 1 ปริมาณปุ๋ยเคมีสำหรับปาล์มน้ำมันอายุปลูก 1 - 3 ป

ชนิดดิน

อายุปาล์มน้ำมัน (ปี)

ชนิดและปริมาณปุ๋ยเคมี (กก./ต้น)

21-0-0

18-46-0

0-0-60

กีเซอร์ไรท์

โบแรท

ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

1

1.25

0.50

1.00

0.50

0.09

2

2.50

0.75

2.50

1.00

0.13

3

3.50

1.00

3.00

1.00

0.13

ดินเหนียวที่มีความอุดม สมบูรณ์สูง (มีดินเหนียวตั้งแต่ 40 % ขึ้นไป)

1

1.00

0.60

0.50

-

0.09

2

2.00

0.90

1.80

-

0.13

3

2.00

1.10

2.30

0.70

0.13

ในดินกรดหรือดินเปรี้ยวจัด 
(acid sulphate)

1

1.00

0.90

1.00

0.30

0.09

2

2.20

0.90

2.50

0.30

0.13

3

3.00

1.10

2.50

0.70

0.13

ดินทราย

1

2.50

0.90

1.20

1.00

0.13

2

3.00

1.10

3.50

1.40

0.13

3

5.00

1.30

4.00

1.40

0.13

ดินอินทรีย์ (ดินพรุ) และดินที่มีแร่ธาตุต่ำ

 

21-0-0

18-46-0

0-0-60

บอแรกซ์

จุนสี

1

1.00

1.00

1.50

0.09

1.20

2

2.50

1.20

2.50

0.13

0.80

3

2.50

1.50

4.00

0.13

0.40

          • การใส่ปุ๋ยให้กับปาล์ม ควรแบ่งใส่ปีละ 2 - 3 ครั้ง ตามความเหมาะสม
          • การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันอายุ 4 ปีขึ้นไป หรือที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรให้ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ำมัน ควบคู่กับการสังเกตลักษณะอาการขาดธาตุอาหารที่มองเห็นได้ที่ ต้นปาล์มน้ำมัน เพื่อปรับการใส่ปุ๋ยเคมีให้เพิ่มขึ้นหรือน้อยลงตามความเหมาะสม หากไม่สามารถวิเคราะห์ดินและใบได้ควรใส่ปุ๋ยดังในตารางที่ 2 โดยปริมาณปุ๋ยที่ใส่ในปีถัดไปให้พิจารณาตามปริมาณผลผลิตที่ได้รับในปีนั้น

 



ตารางที่ 2  ปริมาณปุ๋ยเคมีสำหรับปาล์มน้ำมันอายุปลูก  4  ปีขึ้นไป


อายุปาล์ม 
(ปี)

ปุ๋ย (กก./ต้น/ปี)

แอมโมเนียมซัลเฟต 
(21-0-0)

ร็อคฟอสเฟต 
(0-3-0)

โพแทสเซียมคลอไรด์ 
(0-0-60)

กีเซอร์ไรด์
(26 %MgO)

โบเรท
(B)

4 ปีขึ้นไป
3.0 - 5.0
1.5 - 3.0
2.5 - 4.0
0.80 - 1.00
0.08 - 0.10

           • ควรกำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ย และใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินมีความชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยเมื่อฝนแล้ง หรือฝนตกหนัก 

 

 

ทะลายปาล์ม
การใส่ทะลายเปล่า

 

ปรับปรุงดินในปาล์ม   การใส่ปุ๋ย ให้กับปาล์มน้ำมัน โรย รอบโคนต้นปาล์ม
การใส่ปุ๋ย

         

 

            • ปุ๋ยไนโตรเจน โปแตสเชียม และแม็กนีเชียม ควรหว่านบริเวณรอบโคนต้นให้ระยะห่างจากโคนต้นเพิ่มขึ้นตามอายุปาล์ม (0.50 เมตร ถึง 2.50 เมตร) ส่วนฟอสฟอรัสมักถูกตรึงโดยดินได้ง่าย ควรลดการสัมผัสดินให้มากที่สุดจึงควรใส่ฟอสฟอรัสบนกองทางหรือทะลายเปล่า เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีรากของปาล์มหนาแน่น อีกทั้งยังช่วยลดการสูญเสียปุ๋ยจากการชะล้างหรือไหลบ่าของปุ๋ยไปตามผิวดิน
           • ควรใส่แมกนีเซียมก่อนโปแตสเซียมอย่างน้อย 2 สัปดาห์
           • ใส่ทะลายเปล่าประมาณ 150-200 กก./ต้น/ปี วางรอบโคนต้นเพื่อปรับปรุงสภาพดิน รักษาความชื้นและป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
           • การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันนั้นจะมีผลต่อผลผลิตหลังจากที่ใส่ไปแล้วประมาณ 2 ปี ดังนั้นจึงไม่ควรลดปริมาณปุ๋ยเนื่องจากตอนนั้นราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันต่ำ เพราะการไม่ใส่ปุ๋ยหรือการลดอัตราปุ๋ยจะมีผลกระทบอย่างรุนแรงกับปาล์มที่มีอายุต่ำกว่า 8 ปี 

5. การให้น้ำ

           • ในสภาพพื้นที่ที่มีช่วงฤดูแล้งยาวนาน หรือสภาพพื้นที่ที่มีค่าการขาดน้ำมากกว่า 300 มม./ปี หรือมีช่วงแล้งติดต่อกันนานกว่า 4 เดือน ควรมีการให้น้ำเสริม หรือทดแทนน้ำจากน้ำฝนในปริมาณ 150-200 ลิตร/ต้น/วัน พื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ มีแหล่งน้ำเพียงพอและมีแหล่งเงินทุนควรติดตั้งระบบน้ำหยด (Drip irrigation) หรือแบบมินิสปริงเกอร์ (Minispringkler) 

6. การตัดแต่งทางใบ 
ทำการตัดแต่งทางใบในขณะเก็บเกี่ยวผลผลิต หรือตัดแต่งประจำปี ซึ่งการจัดการทางใบแตกต่างกันตามอายุของปาล์มน้ำมัน ดังนี้ 
           • อายุระหว่าง 1 - 3 ปี หลังปลูก ควรให้ต้นปาล์มน้ำมันมีทางใบมากที่สุด ตัดแต่งทางใบออกเท่าที่จำเป็น เช่น ทางใบที่แห้ง ทางใบที่มีโรคหรือแมลงทำลายเป็นต้น
           • อายุระหว่าง 4 - 7 ปี ต้นปาล์มควรเหลือทางใบ 3 รอบนับจากทะลายที่อยู่ล่างสุด
           • อายุระหว่าง 7 - 12 ปี ต้นปาล์มควรเหลือทางใบ 2 รอบนับจากทะลายล่างสุด
           • อายุมากกว่า 12 ปี ต้นปาล์มควรเหลือทางใบ 1 รอบนับจากทะลายล่างสุด

 

 

การเก็บเกี่ยว ปาล์มน้ำมัน   ปาล์มดกจัง
     
ปาล์มขนาดใหญ่ น้ำหนักดี   ผลปาล์มมีน้ำหนัก
     
เอาปาล์มไปขาย    

 

7. การเก็บเกี่ยว 
           • อายุการเก็บเกี่ยว เริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกอายุประมาณ 30 เดือน นับจากหลังปลูกลงแปลง และจะให้้ผลผลิตอย่างต่อเนื่องเก็บเกี่ยวได้ตลอดปี แต่ต้องมีการดูแลรักษาที่เหมาะสมต่ออายุและสภาพพื้นที่ แล้วปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิตเฉลี่ยตลอดชีวิต 3,000 กก./ไร่/ปี
           • รอบการเก็บเกี่ยว อยู่ในช่วง 10 - 20 วัน แล้วแต่ฤดูกาล โดยเฉลี่ยประมาณ 15 วันต่อครั้ง 
           • ควรเก็บเกี่ยวเมื่อปาล์มน้ำมันสุกพอดี ชนิดผลดิบสีเขียวให้เก็บเกี่ยวเมื่อผลสุกเป็นสีส้มมากกว่า 80% ของผล หรือมีผลร่วง 1 - 3 ผล ส่วนชนิดผลดิบสีดำเมื่อสุกเปลี่ยนสีผลเป็นสีแดง ให้เก็บเกี่ยวเมื่อมีผลสุกร่วงจากทะลาย 1 - 3 ผลเมื่อเฉือนเปลือกจะเห็นเนื้อผลเป็นสีส้มเข้ม
           • เก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมันแล้ว ควรส่งโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง



8. การกองทางใบ 

           ทางใบที่ตัดแล้วควรนำมาเรียงกระจายให้รอบโคนต้น หรือเรียงกระจายแบบแถวเว้นแถวไม่กีดขวางทางเดินเก็บเกี่ยวผลผลิตและขนผลผลิตและวางสลับแถวกันทุก ๆ ปี เพื่อกระจายทั่วแปลง ซึ่งทางใบเหล่านี้คิดเทียบเป็นปุ๋ยเคมีประมาณ 40%
ของปริมาณปุ๋ยที่ต้องใช้ตลอดทั้งปี จึงช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีในสวนปาล์ม
น้ำมันลงได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้
ทางใบเหล่านี้ยังเป็นตัวกระจาย
อินทรีย์วัตถุในสวนปาล์มน้ำมันได้เป็นอย่างดี (ประมาณ 1.6 ตัน
ทางใบสดต่อไร่ต่อปี)โดยไม่ต้อง
เพิ่มต้นทุนจากการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 
หรือปุ๋ยชีวภาพอื่น ๆ อีก
การกองทางใบ

 


9. การเลือกซื้อพันธุ์ปาล์มน้ำมัน

การเลือกซื้อพันธุ์ปาล์มน้ำมัน

ต้นกล้าปกติอายุ 8 - 12 เดือน

           • ต้องเป็นพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอราเท่านั้น 
และมีการรับรองพันธุ์ 
           • เลือกซื้อต้นกล้าที่มีลักษณะสมบูรณ์ แข็งแรง 
ไม่ผิดปกติ ไม่มีโรคและแมลงทำลาย
           • โคนต้นควรมีขนาดใหญ่
           • เลือกซื้อจากแปลงเพาะกล้าที่มีป้ายแสดงว่า
เป็นแปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมันที่ได้รับการรับรอง
โดยกรมวิชาการเกษตร สามารถตรวจรายชื่อ ”ผู้ขอจดทะเบียนแปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน” ได้จาก http:// www.it.doa.go.th 
           • ดูหลักฐานแหล่งที่มาของพันธุ์ที่น่าเชื่อถือ 
และที่กรมวิชาการเกษตรรับรอง ซึ่งตรวจสอบได้จาก
แบบบันทึกการตรวจสอบแปลงเพาะต้นกล้าปาล์มน้ำมัน
สำหรับผู้ประกอบการ
           • ขอดูบัตรประจำตัวเจ้าของแปลงเพาะชำปาล์ม
น้ำมัน รับรองโดยกรมวิชาการเกษตร
           • ขอหนังสือสัญญาซื้อขายหรือใบเสร็จรับเงินเป็น
หลักฐาน
           • แหล่งที่มาของพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่มีจำหน่ายใน
ประเทศไทย ได้แก่
                      
                    

       - ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี ปัจจุบัน มี 6 พันธุ์ คือ พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฏร์ธานี 1, 2, 3,
4, 5 และ 6 
      - ผลิตโดยบริษัทเอกชนของประเทศไทย
      - นำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศ คอสตาริก้า ปาปัวนิวกินี ไอวอรีโคสต์ แซร์ เบนิน ยกเว้น 
มาเลเซียและอินโดนีเซีย เนื่องจากมีนโยบายห้ามส่งออกพันธุ์ปาล์มน้ำมันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526

 


10. การบันทึกข้อมูล การปลูกปาล์ม

            • บันทึกข้อมูลผลผลิต การใส่ปุ๋ย และวัสดุการเกษตร การป้องกันกำจัดศัตรูพืช และรายรับ - รายจ่าย ฯลฯ เพื่อประกอบการจัดการสวนให้มีประสิทธิภาพ

 อ้างอิง : http://it.doa.go.th/


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 59280 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

นายศักดา โคตะมี
[email protected]
อยากปลิ้นแต่ทำไมปลิ้นไม่ได้ส่งมาให้ที่เมลหน่อย การปลูกปาล์ม
30 พ.ย. 2554 , 09:29 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

วีระ คมวิลาศ
[email protected]
ขอบคุณครับ สำหรับความรู้เรื่องปาล์มน้ำมันที่แบ่งปัน ครับ ผม
21 พ.ย. 2554 , 09:48 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

อำนาจ
[email protected]


ข้อมูลดี  อยากได้รายละเอียดมากกว่านี้



27 พ.ค. 2554 , 12:06 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ปาล์มน้ำมัน]:
หนอนหน้าแมว กัดทำลายใบปาล์มน้ำมัน ชะงักการเติบโตเป็นปี กำจัดด้วย ไอกี้-บีที
(รูปด้านบนนี้ ไม่ใช่หนอนหน้าแมวในปาล์มน้ำมันนะจ๊ะ) ถ้าอาการหนัก หรือโดนเข้าทำลายอย่างรุนแรง จะเหลือแต่ก้านใบ
อ่านแล้ว: 7028
ติงภาครัฐไม่บูรณาการทำงาน ทำระบบจัดการปาล์มไม่พร้อม
สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลงประจำเดือนตุลาคม 2560 พบว่า ลดลงร้อยละ 2.42 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
อ่านแล้ว: 7347
มาเลย์เซีย ใช้วิธีอะไร พัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน
มาเลเซียมีเป้าหมาย ภายในปี 2563 เกษตรกรจะต้องมีผลผลิตเพิ่มเป็น 4.16 ตันต่อไร่ ได้น้ำมันสกัดในอัตรา 23%...ส่วนของไทยมี..
อ่านแล้ว: 6549
ปาล์มน้ำมันพันธุ์ใหม่ 5 ตันต่อไร่ดีที่สุดในโลก

อ่านแล้ว: 6905
มาเลย์เซีย ใช้วิธีอะไร พัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน

อ่านแล้ว: 7241
ชาวสวนเฮ - ปาล์มราคาพุ่ง พาณิชย์ไม่มีแผนนำเข้า
ราคาปาล์ม ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง กระทบต้นทุนน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ห้างค้าปลีกจำกัดซื้อไม่เกิน 6 ขวดต่อครอบครัว..
อ่านแล้ว: 9639
รับมือปาล์มราคาตก 1 ก.พ. ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ต่ำกว่า 4.20 บาทซื้อทันที
หากราคาปาล์มน้ำมัน ตํ่ากว่า 4.20 บาท เปิดรับซื้อทันที เป้า 9.8 หมื่นตันครอบคลุมสหกรณ์ สถาบันเกษตรกรกว่า 3 ล้านรายได้เฮ
อ่านแล้ว: 10834
หมวด ปาล์มน้ำมัน ทั้งหมด >>