ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 21716 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

IMO จุลินทรีย์ท้องถิ่น

IMO : Indigenous Microorganism เป็นจุลินทรีย์ที่เราได้จากท้องถิ่นของเราเอง ในสวนของเราเอง

data-ad-format="autorelaxed">

IMO ไอเอ็มโอ จุลินทรีย์ท้องถิ่น

จุลินทรีย์ท้องถิ่น (IMO: Indigenous Microorganism)
เป็นจุลินทรีย์ที่เราได้จากท้องถิ่นของเราเอง ในสวนของเราเองเพราะผมคิดว่าจุลินทรีย์ก็เหมือนกับสัตว์ การที่เราเอาสัตว์ต่างถิ่นมาเลี้ยงมันย่อมไม่เหมาะกัน ทั้งสภาพอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น อาหาร การที่เราเอาจุลินทรีย์ต่างถิ่นที่ถูกวิจัยว่ามีความสามารถสูง แต่พอเอามาไว้ในถิ่นที่มันไม่คุ้นเคย มันอาจจะลดความสามารถลงก็ได้ แต่ถ้าเป็นจุลินทรีย์ที่มีในท้องถิ่นอยู่แล้ว คุ้นเคยกับสภาพอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น อาหาร อยู่แล้วย่อมไม่มีปัญหา  จุลินทรีย์ท้องถิ่น ช่วยในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุที่มีอยู่ในดินทั้งบนผิวดินและใ ต้พื้นดิน IMO จัดเป็นจุลินทรีย์ที่อยู่ในประเภทจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ช่วยในการกำจัดจุลินทรีย์ที่ไม่มีประโยชน์หรือจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโทษ (จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการเน่าเหม็นต่างๆ) ช่วยให้พืชสามารถนำธาตุอาหารต่างๆไปใช้ได้สะดวก ทำให้พืชแข็งแรง และเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น

วิธีการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่น ที่ค้นหามามีอยู่หลายวิธีครับเป็นวิธีที่สามารถทำได้ไม่ยากนัก แล้วผมลองสรุปออกเป็นขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนการคัดสรรจุลินทรีย์ท้องถิ่น
วัสดุที่ใช้
1. ข้าวเจ้า 2 ลิตร (หุงด้วยน้ำเสมอกับข้าวสาร ให้ออกมาแข็งหน่อย ทิ้งให้เย็น 1-2 ชั่วโมง)
2. กล่องพลาสติกใส ที่ลึกไม่เกิน 5 นิ้ว
3. ผ้าขาวบาง
4. เชือกรัด
5. ผ้าพลาสติกหรือถุงพลาสติก

วิธีทำ
1. นำข้าวสวยใส่ลงในกล่องพลาสติก โดยให้หนาประมาณ 1-2 นิ้ว แล้วห่อด้วยผ้าขาวบางมัดด้วยเชือกพอหลวมๆ
2. ขุดหลุมที่ใต้กองใบไม้ที่มีการเน่าเปื่อย ให้กว้างยาวลึกเท่ากับขนาดของกล่องพลาสติก แล้วนำกล่องใส่ข้าว วางลงในหลุม แล้วคลุมปากหลุมด้วยใบไม้ที่มีอยู่เดิม ควรทำในช่วงเย้นที่อากาศไม่ร้อนนัก ถ้าทำในช่วงฤดูฝน ให้ใช้ผ้าพลาสติกคลุมทับอีกชั้นเพื่อกันฝน ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 วัน

สิ่งที่ได้คือ ข้าวจะมีเชื้อราขึ้น เป็นราสีต่างๆ เช่น สีขาว, สีดำ, สีเหลือง-เขียว เป็นต้น ให้เขี่ยเอาเฉพาะเชื้อราสีขาว เพราะเป็นเชื้อราที่จัดว่าเป็นประโยชน์ไม่เกิดโทษ หรือไม่สร้างสารพิษ เท่านี้ก็จะได้เชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่นมาแล้ว

ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการขยายเชื้อ
วัสดุที่ใช้
1. กล้วยน้ำว้าสุกงอม แต่ไม่เน่าเสีย 3 กิโลกรัม บดหรือสับ
2. น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำอ้อย 1 กิโลกรัม ต้มกับน้ำฝน 10 ลิตร ทิ้งให้เย็น(น้ำต้องปราศจากเคมีเช่นคลอลีน ถ้าจำเป็นต้องใช้น้ำปะปา ต้องทิ้งน้ำไว้ 2-3 วันก่อนนำมาใช้)
3. ถังพลาสติกกันแสงและมีฝาปิดสนิท ขนาดพอใช้หมักวัสดุ ทั้งหมด
4. ข้าวที่มีเชื้อราจาก ขั้นตอนการคัดสรรจุลินทรีย์ท้องถิ่น

วิธีทำ
นำวัสดุทั้งหมด ผสมเข้าด้วยกัน ในถังพลาสติกกันแสง  แล้วนำข้าวที่มีเชื้อรามาเขี่ยราสีขาวใส่ลงไป (พยายามทำขั้นตอนต่างๆ ให้เร็วและสะอาดที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น พอน้ำเชื่อมเย็นแล้วบดกล้วย เข้าผสม ไม่ควรบดไว้ก่อนแล้วทิ้งไว้ เพราะอาจจะมีจุลินทรีย์ที่เราไม่ต้องการปะปนมากเกินไป) ปิดฝาให้สนิท หมักทั้งไว้ 45 อาจเปิดฝาทุกๆ 15 วันเพื่อระบายแก๊สเท่านั้น ไม่ต้องเปิดทิ้งไว้ เนื่องจากจุลินทรีย์ท้องถิ่น เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในกระบวนการย่อยสลาย เมื่อเปิดฝาดมดูหากมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน แสดงว่า จุลินทรีย์กำลังเจริยเติบโต หากเหม็นเน่าแสดงว่าเน่าเสียใช้การไม่ได้ เมื่อหมักครบ 45 วัน แล้วกรองกากออก จึงเอาน้ำที่ได้ไปใช้

วิธีการใช้
น้ำจุลินทรีย์ผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1:500 หรือ 1:1000 นำไปฉีดพ่น โคนต้นไม้, กองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก, กองมูลเล้าไก่เล้าหมู จุลินทรีย์จะช่วยย่อยสลาย ทำให้กองมูลไม่มีกลิ่นเหม็น โดยรดให้ทั่วทุก 5-7 วัน

 

อ้างอิง : http://www.bankaset.com

สินค้าจากฟาร์มเกษตรที่เกี่ยวข้อง
IMO จุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูง กำจัดเชื้อราในดิน แก้ปัญหาโรคราในยางพารา เร่งการย่อยสลายใบไม้ในสวนยาง คลิกที่นี่


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 21716 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9127
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7476
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7549
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 7878
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 6860
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8127
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7357
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>