ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 24717 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

OM:อินทรีย์วัตถุ

อินทรีย์วัตถุในดิน(Soil Organic Matter)คืออะไร? และ สำคัญอย่างไร?

data-ad-format="autorelaxed">

OM : Organic Matter : อินทรีย์วัตถุ

Soil organic matter : อินทรีย์วัตถุในดิน

OM : Organic Matter

อินทรีย์วัตถุในดิน(Soil Organic Matter)คืออะไร? และ สำคัญอย่างไร?

คำว่าอินทรีย์วัตถุโดยทั่วไปหมายถึงองค์ประกอบทั้งหลายที่เป็นอินทรีย์สารในดินรวมทั้งเนื้อเยื่อของพืชและสัตว์ที่ยังไม่เน่าเปื่อย  ผลผลิตบางส่วนที่ผ่านการเน่าเปื่อยแล้ว  และชีวะมวลของดิน อินทรีย์วัตถุจึงประกอบด้วย

1.สิ่งที่สามารถบอกรูปพรรณสันฐานใด้ ใด้แก่วัตถุอินทรีย์ที่มีโมเลกุลสูงเช่นโปลีแซคคาไรด์ใด้แก่แป้งและโปรตีนเช่นเนื้อสัตว์หรือเนื้อพืชที่เป็นโปรตีนหลายชนิด
2. สารที่มีสูตรโครงสร้างอย่างง่ายๆ ได้แก่ น้ำตาล กรดแอมมิโน และสารที่มีโมเลกุลเล็กอื่นๆ
3.สารฮิวมิคหลายชนิด
นั่นคืออินทรีย์วัตถุในดินประกอบด้วยสารประกอบอินทรีย์ส่วนใหญ่ที่สังเคราะห์โดยจุลินทรีย์แม้ไม่ใช่ทั้งหมดก็ตาม(เพราะบางส่วนอาจเกิดเป็นสารอนินทรีย์รวมอยู่ด้วย)

อินทรีย์วัตถุในดินจึงมักถูกกล่าวถึงบ่อยๆว่าประกอบด้วยสารฮิวมิค  และพวกที่ไม่ใช่สารฮิวมิค
พวกอินทรีย์วัตถุที่ไม่ใช่สารฮิวมิคได้แก่บรรดาวัตถุที่สามารถจัดอยู่ในกลุ่มสารประกอบที่แยกประเภทได้ เช่นน้ำตาลกรดแอมมิโน ไขมัน และอื่นๆ

อินทรีย์วัตถุที่เป็นสารฮิวมิค  คือองค์ประกอบที่ไม่สามารถบอกรูปพรรณสันฐานได้ชัดเจนแม้ว่าการแยกจะเห็นได้ง่ายๆแต่ก็ไม่สามารถแยกได้อย่างชัดเจนเช่นที่อาจจะเป็น
อินทรีย์วัตถุอาจแสดงให้เห็นตามแผนภาพข้างต้น
 
สารประกอบอินทรีย์ในดิน(Organic compounds of soil)หมายถึงสิ่งมีชีวิตและซากสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่เน่าเปื่อย, ที่เน่าเปื่อยไปบางส่วน,และที่เน่าเปื่อยสมบูรณ์แล้ว รวมทั้งผลผลิตที่ได้จากการแปรสภาพแล้ว  ประกอบด้วย

1.จุลินทรีย์ที่ดำรงค์ชีพในดิน (Living organisms) ทั้งจุลินทรีย์ขนาดใหญ่และเล็ก(Macro-and microfaunal organisms)
2. อินทรีย์วัตถุในดิน  (Soil organic matter)องค์ประกอบที่ปลอดสิ่งมีชีวิต เป็นสารผสมแยกเนื้อประกอบด้วยผลิตผลส่วนใหญ่ ที่เกิดจากการแปรรูปของซากสารอินทรีย์ทั้งโดยการย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์และปฏิกริยาทางเคมี อินทรีย์วัตถุในดินสามารถดำรงค์อยู่ในรูปแบบที่มีรูปลักษณะภายนอกแตกต่างกันซึ่งเป็นพื้นฐานในการแยกประเภทได้เรียกว่ารูปแบบและชนิดต่างๆของฮิวมัสซึ่งจะแยกกล่าวในตอนต่อไป อินทรีย์วัตถุจึงประกอบด้วย
     2.1.อินทรีย์วัตถุที่ยังไม่แปรสภาพ(unaltered materials) สิ่งที่สดและมีองค์ประกอบที่ไม่แปรสภาพของซากวัตถุเก่า
     2.2.ผลผลิตที่แปรสภาพแล้วเกิดเป็นฮิวมัส(humus)คือสารที่รูปลักษณะภายนอกไม่มีความคล้ายคลึงกับโครงสร้างเดิมซึ่งเป็นแหล่งต้นกำเหนิดองค์ประกอบที่แปรสภาพแล้วเหล่านี้เรียกว่าผลผลิตจากกระบวนการเกิดฮิวมัส(Humification Processproduct) ประกอบด้วย
          2.2.1.สารที่ไม่ใช่สารฮิวมิค (non humicsubstances) อยู่ในกลุ่มชีวะเคมี ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน กรดอะมิโน
          2.2.2.สารฮิวมิค(humic substances)เป็นลำดับของสารที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง สีน้ำตาลถึงดำ เกิดจากปติกริยาการสังเคราะห์ทุติยภูมิ คำนี้ใช้เป็นชื่อเรียกทั่วๆไปเมื่อกล่าวถึงวัตถุมี่มีสีหรือส่วนย่ยยของมันที่ได้รับตามคุณลักษณะการละลายที่ต่างกันได้แก่ กรดฮิวมิค(humic acid) กรดฟุลวิค(fulvic acid) ฮิวมิน(humin)    

เกษตรกรตั้งแต่ยุคโบราณได้ยอมรับความสำตัญของประโยชน์ที่ได้จากอินทรีย์วัตถุในดินที่มีต่อผลผลิตทางการเกษตร  ประโยชน์เหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องโต้เถียงกันมาช้านานหลายศตวรรษและเป็นเรื่องที่ยังคงโต้เถียงกันอยู่ในปัจจุบัน  ประโยชน์หลายประการของอินทรีย์วัตถุได้มีการบันทึกไว้เป็นอย่างดีโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์  แต่ผลที่ได้บางอย่างจะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับองค์ประกอบอื่นของดินด้วยซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะพิจารณาว่าประโยชน์นั้นเกิดจากอินทรีย์วัตถุเพียงอย่างเดียวโดยความเป็นจริงแล้วดินคือระบบขององค์ประกอบร่วมหลายชนิดที่ซับซ้อนของสสารหลายชนิดที่ทำปฏิกริยาซึ่งกันและกัน และคุณสมบัติของดินจึงเกิดจากผลที่ได้แท้ๆจากการทำปฏิกริยาซึ่งกันและกันเหล่านั้น

ปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการสื่อสารกันในเรื่องสารฮิวมิคเป็นเรื่องขาดการให้คำจำกัดความที่แม่นยำสำหรับการกำหนดองค์ประกอบย่อยต่างๆอย่างชัดเจน น่าเสียดายที่คำที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างตรงความหมาย คำว่าฮิวมัสถูกใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ ด้านดินบางท่านให้ความหมายเช่นเดียวกับอินทรีย์วัตถุในดิน Soil Organic Matterซึ่งหมายถึงวัตถุที่เป็นสารอินทรีย์(Organic Material)ทั้งหมดในดินรวมทั้งสารฮิวมิคด้วย ในทำนองเดียวกันคำว่าฮิวมัสก็ถูกใช้เรียกสารฮิวมิคเพียงอย่างเดียวบ่อยๆ
 
หน้าที่ของอินทรีย์วัตถุในดิน(Function of Organic Matter in Soil)
อินทรีย์วัตถุมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยอาศัยคุณสมบัติทางฟิสิคซ์, เคมี, และชีวะวิทยาของอินทรีย์วัตถุของดินนั้น มี 3 หน้าที่ดังนี้

1.หน้าที่ทางด้านอาหารพืช    เป็นแหล่ง ไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส สำหรับการเจริญเติบโตของพืช
2.หน้าที่ทางด้านชีวะวิทยา   มีผลอย่างมากต่อการทำงานของจุลินทรีย์ที่ดำรงค์ชีพกับพืชและสัตว์
3 หน้าที่ทางด้านฟิสิคซ์ และเคมี-ฟิสิคซ์.  คือการช่วยเสริมโครงสร้างดินให้ดีขึ้นจึงเป็นการปรับปรุงการไถพรวนให้เกิดประโยชน์มากขึ้น เพิ่มอากาศและกักเก็บความชื้นและเพิ่มประจุความสามารถของดินในการแลกเปลี่ยนเกลือ  แร่ธาตุ และการปรับสมดุลกรด-ด่าง

นอกจากนั้นฮิวมัสยังมีบทบาททางอ้อมในดินต่อการรับธาตุอาหารพร้อมใช้ของพืช หรือการออกฤทธิ์เห็นผลของสารเคมีเพื่อการเกษตรอื่นๆและการกำจัดวัชพืช  และขอเน้นว่าความสำคัญขององค์ประกอบใดๆจะแตกต่างออกไปตามดินที่ต่างพื้นที่ ขึ้นกับสภาวะแวดล้อมเช่นภูมิอากาศและประวัติการเพาะปลูก
 
อาหารพร้อมใช้สำหรับการเจริญเติบโตของพืช(Availability of nutrients for plant growth)
อินทรีย์วัตถุ(Organic Matter)มีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการเกิดธาตุอาหารพร้อมใช้เพื่อการเจริญเติบโตของพืช  นอกจากเป็นแหล่งบริการอาหารพืช เช่น ไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส และ ซัลเฟอร์  โดยผ่านการแปรสภาพเป็นแร่ธาตุโดยจุลินทรีย์ในดินแล้วอินทรีย์วัตถุยังมีอิทธิพลต่อการให้อาหารพืชจากแหล่งอื่นๆด้วยเช่น อินทรีย์วัตถุเป็นที่ต้องการเพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำหรับแบคทีเรียที่ทำหน้าที่ตรึงไนโตรเจนเป็นต้น

องค์ประกอบหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณาในการประเมินคุณค่าของฮิวมัสในการเป็นแหล่งอาหารพืชพร้อมใช้คือประวัติการเพาะปลูก  เมื่อดินเริ่มถูกนำมาใช้เพื่อการเพาะปลูก  ปริมาณ ฮิวมัสในดินนั้นจะลดลงเป็นลำดับ หลังจาก10-30ปีไปแล้วจนกระทั่งระดับสมดุลใหม่เกิดขึ้น  ที่ระดับสมดุลอาหารพืชทุกชนิดจะถูกปลดปล่อยออกมาโดยการทำงานของจุลินทรีย์ จึงต้องได้รับการทดแทนด้วยการเพิ่มฮิวมัสกลับเข้าไปเท่ากับปริมาณที่หมดไปให้กลายเป็นฮิวมัสสดใหม่ต่อไป
                 
ผลที่มีต่อสภาวะทางกายภาพของดิน  การสึกกร่อนของดิน และ ประจุความสามรถในการแรกเปลี่ยน  อนุมูลที่มีประจุไฟฟ้า และ ตัวกันชนหรือตัวปรับกรดด่างให้คงที่
(Effect on soil physical condition, soil erosion and soil buffering and exchange capacity )

           
ฮิวมัส(Humus)มีผลต่อโครงสร้างของดินหลายชนิด การเสื่อมของโครงสร้างดินจะเกิดร่วมกับการไถพรวนที่รุนแรงซึ่งโดยปกติแล้วจะเสียหายน้อยกว่าในดินที่ได้รับฮิวมัสเพียงพอ  และเมื่อต้องสูญเสียฮิวมัสไปดินจะเริ่มแข็งตัวอัดกันแน่นและเป็นก้อน

อากาศ, ประจุความสามารถในการอุ้มน้ำ, และการซึมผ่านได้ทั้งหมดนี้  จะเกิดผลเป็นอย่างดีด้วยฮิวมัส

การเติมซากอินทรีย์สารที่ย่อยสลายได้บ่อยๆจะนำไปสู่การสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อนซึ่งจะรวมตัวกับอนุภาคของดินเกิดหน่วยโครงสร้างที่เรียกว่าเกาะกันเป็นกลุ่มก้อนเล็กๆมากมาย  การเกิดกลุ่มก้อนเล็กๆมากมาย(aggregates)เหล่านี้ช่วยรักษาสภาพความร่วน โปร่ง  เป็นเม็ดละเอียด (granular) ของดินได้  น้ำเป็นสิ่งที่มีความสามารถดีกว่าในการแพร่และซึมผ่านลงสู่ดิน รากพืชต้องการอ๊อกซิเจนอย่างต่อเนื่องเพื่อการหายใจและเจริญเติบโต รูพรุนขนาดใหญ่จะยอมให้มีการแลกเปลี่ยน ก๊าซ ระหว่างดินและอากาศรอบๆได้ดีกว่า

ฮิวมัส(Humus)โดยปกติจะช่วยเพิ่มความสามารถของดินในการต้านทานการผุกร่อน ประการแรกมันสามารถทำให้ดินซับน้ำได้มากขึ้น  ที่สำคัญกว่านั้นก็คือผลที่ช่วยให้เนื้อดินเป็นเม็ดละเอียดจึงเป็นการรักษารูพรุนขนาดใหญ่ให้น้ำไหลเข้ามาและซึมผ่านต่อไปได้

ประจุความสามารถในการแรกเปลี่ยนอนุมูลที่มีประจุเไฟฟ้า(ระหว่างเกิดธาตุอาหารพร้อมใช้ขึ้น)ตั้งแต่20-70%เกิดจากสารฮิวมิคที่ก่อตัวเป็น คอลลอยด์ (Colliod) ของเหลวที่มีลักษณะคล้ายวุ้น เมื่อได้รับน้ำ   ความเป็นกรดโดยรวมของส่วนย่อยที่แยกออกมาจากฮิวมัสมีช่วงระหว่าง300ถึง1400 mEq /100g. เกี่ยวกับการทำงานของตัวปรับฤทธิ์กรด ด่างที่อาจมีส่วนในเรื่องนี้  จัดได้ว่าฮิวมัสมีความสามารถในการปรับสภาวะกรด-ด่างได้ในช่วง pH ที่กว้างมาก
                             
ผลที่มีต่อสภาพชีวะวิทยาของดิน (Effect on soil biological condition)
อินทรียวัตถุ(Organic matter : OM)ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ทั้งขนาดใหญ่และเล็ก  จำนวนของแบคทีเรีย(bacteria) , แอคติโนมัยซิต(actinomycetes) และ รา(fungi) ต่างก็สัมพันธ์กับองค์ประกอบของฮิวมัส(humus), ไส้เดือนดิน(earthworms) สิ่งมีชีวิตที่ดำรงค์ชีพในดิน(faunal organism)จะได้รับผลกระทบอย่างมากด้วยปริมาณของวัสดุที่เป็นเศษซากพืชเมื่อย้อนกลับมาสู่ดิน

สารอินทรีย์ในดินสามารถมีผลทางกายภาพโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของพืช สารประกอบบางชนิด เช่นกรดฟีโนลิค (Phenolic acids)มีคุณสมบัติที่เป็นพิษต่อพืช แต่สารประกอบชนิดอื่นเช่น อ๊อกซิน (Auxins) ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชเป็นต้น

เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่าองค์ประกอบหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจุลินทรีย์ก่อโรคในดิน     (pathogenic organisms in soil)ได้รับอิทธิพลทั้งทางตรงหรือทางอ้อมจากอินทรีย์วัตถุ  ตัวอย่างเช่นการให้อินทรีย์วัตถุ(Organic matter) มากเกินพออาจเป็นผลก่อให้เกิดการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดำรงค์ชีพบนซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว(Saprophytic organisms)ซึ่งเป็นเครือญาติกับพวกจุลินทรีย์ประเภทกาฝากหรือปรสิต( parasitic organisms) ด้วยปริมาณที่เพิ่มขึ้นมากกว่าทำให้มันแย่งอาหารและเข้าแทรกการดำรงค์ชีพของจุลินทรีย์ประเภทกาฝากหรือปรสิตให้ลดจำนวนลงได้ ทางด้านชีวะวิทยาสารประกอบออกฤทธิ์ในดินเช่นสารปฏิชีวนะ(Antibiotics)และกรดฟีโนลิค (Phenolic acids) บางชนิดอาจช่วยให้พืชบางประเภทมีความสามารถในการต้านทานจุลินทรีย์ก่อโรคได้เช่นกัน

 

อ้างอิง : http://www.weloveshopping.com/


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 24717 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9160
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7487
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7557
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 7890
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 6874
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8142
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7367
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>