ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ผักและการปลูกผัก | อ่านแล้ว 6316 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

มะเขือเทศใบไหม้ มะเขือเทศใบเหลือง ใบหงิก ต่างอาการ ต่างสาเหตุ แก้ต่างวิธี

มะเขือเทศใบไหม้ มะเขือเทศใบเหลือง ใบหงิก ต่างอาการ ต่างสาเหตุ แก้ต่างวิธี

ต้นเหตุหลักๆที่แท้จริงเลยคือ มะเขือเทศ ได้รับธาตุอาหารที่เป็น ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ไม่เพียงพอ

data-ad-format="autorelaxed">

อาการของโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมะเขือเทศ รวมทั้งแมลงศัตรูที่เข้าทำลายมะเขือเทศได้นั้น ต้นเหตุหลักๆที่แท้จริงเลยคือ มะเขือเทศ ได้รับธาตุอาหารที่เป็น ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ไม่เพียงพอต่อความต้องการของต้นมะเขือเทศเอง อาการขาดธาตุใดๆแต่ละตัวนั้น จะแสดงอาการต่างกัน แต่หากมะเขือเทศ ได้รับธาตุอาหารหลัก และธาตุรอง ธาตุเสริมอย่างเพียงพอ ต้นมะเขือเทศจะมีความสมบูรณ์แข็งแรง โตไว และมีภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง ส่วนสาเหตุรองลงมาคือ ความรุนแรงของเชื้อโรค ที่แพร่ระบาดจากที่อื่นๆ มาติดในแปลงของเรา หรืออาจจะติดมากับ แมลงพาหะ ที่นำโรคมาติดยังมะเขือเทศ

 

มะเขือเทศใบไหม้

เกิดจาก โรคใบไหม้ สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อรา Phytophthora infestans>จะพบปรากฏอยู่บนใบส่วนล่าง ๆ ของต้นก่อน โดยเกิดเป็นจุดฉ่ำน้ำสีเขียวเข้มเหมือน ใบถูกน้ำร้อนลวก รอยช้ำนี้จะขยายขนาดออกไปอย่างรวดเร็วทางด้านใต้ใบ โดยเฉพาะขอบ ๆ แผล จะสังเกตเห็นเส้นใยสีขาวอยู่รอบ ๆ รอยช้ำนั้น เมื่อเชื้อเจริญมากขึ้นใบจะแห้ง อาการที่กิ่งและลำต้นเป็นแผลสีดำ อาการบนผลมีรอยช้ำเหมือนถูกน้ำร้อนลวก

 

มะเขือเทศใบแห้ง

เกิดจากโรคแห้งดำ สาเหตุจากเชื้อรา Stemphylium sp. เริ่มต้นจากจุดเหลี่ยมเล็กๆสีดำบนใบมะเขือเทศเมื่ออาการรุนแรงแผลขยายขนาดใหญ่และมีจำนวนจุดมากขึ้นเนื้อใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแห้งกรอบ และดำในที่สุดแต่ส่วนของลำต้นยังเขียวอยู่ ไม่พบอาการบนลำต้นและผล

 

มะเขือเทศใบจุด

โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา Corynespora cassiicola อาการของโรคนี้ใกล้เคียงกับโรคใบจุดวงมาก แต่แผลบนใบมักมีขนาดเล็ก การขยาย ตัวของโรคใบจุดเกิดเป็นวงไม่ค่อยชัดเจน และแผลมักมีสีเหลืองล้อมรอบ อาการบนผลเป็นจุดเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วไป แผลสีครีม หรือน้ำตาลอ่อน

 

มะเขือเทศใบหงิก

เกิดจาก โรคใบหงิกเหลือง เกิดจากเชื้อไวรัส ใบยอดหงิกเหลือง ม้วนงอ ใบมีขนาดเล็กลง ยอดเป็นพุ่ม และต้นแคระแกรน

 

โรคราแป้งในมะเขือเทศ

เกิดจากเชื้อรา Oidiopsis sp. ลักษณะอาการ อาการที่มองเห็นด้านบนใบจะปรากฏเป็นจุดสีเหลือง จุดเหลืองนี้จะขยายออกและจำนวนจุดบนใบจะมีมากขึ้น เมื่อโรคระบาดรุนแรงขึ้น จนบางครั้งมองเห็นเป็นปื้นสีเหลืองด้านบนใบ ตรงกลางปื้นเหลืองนี้อาจจะมีสีน้ำตาล ต่อมาใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทางด้านใต้ใบ ตรงบริเวณที่แสดงอาการปื้นเหลือง จะมีผงละเอียดคล้ายผงแป้งเกาะอยู่บาง ๆ มองเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลือง จากส่วนล่างของต้นไปยังส่วนบนและใบที่เหลืองนี้จะร่วงหลุดไป ในสภาพอากาศเย็นบางครั้งจะพบผงสีขาวเกิดขึ้นบนใบได้ และลุกลามไปเกิดที่กิ่งได้

 

มะเขือเทศใบด่างเรียวเล็ก

โรคใบด่างเรียวเล็ก เกิดจากเชื้อไวรัส ต้นมะเขือเทศแคระแกรน ใบมะเขือเทศม้วนงอ ถ้าอาการรุนแรงมากขึ้น ใบมะเขือเทศจะ เรียวเล็กกว่าปกติ

 

การแพร่ระบาด
โรคนี้สามารถถ่ายทอดโดยเพลี้ยอ่อน และวิธีการสัมผัสต้นมะเขือเทศที่แสดงอาการใบเรียวเล็กนี้ตั้งแต่ระยะเล็ก ๆ จะไม่ติดผล หรือถ้าติดผลจะเล็ก

 

ปุ๋ยน้ำ เอฟเค-1 ประกอบด้วยธาตุหลัก ที่เร่งการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ ทำให้โตไว ใบเขียว สังเคราะห์แสงได้ได้ และยังประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม อย่างเพียงพอ ตามที่มะเขือเทศต้องการ ธาตุรองธาตุเสริมนี้ จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับมะเขือเทศ และเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง

 

ปุ๋ยน้ำเข้มข้น FK-1 บำรุงต้น เร่งการเจริญเติบโต เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค

 

หนอนมะเขือเทศ กำจัดหนอน ยับยั้งการแพร่พันธุ์ของหนอน ป้องกันไม่ให้ลุกลาม ด้วย (AiKi-BT) ไอกี้-บีที เป็นสารชีวินทรีย์ สำหรับกำจัดหนอนโดยเฉพาะ ผลิตจากเชื้อ บีที ที่ออกฤทธิ์เพราะกับหนอน เชื้อบีทีนี้ ไม่มีผลและไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม จึงทำให้เป็นสารธรรมชาติที่ปลอดภัย ออกฤทธิ์ทำลายหนอนได้เป็นอย่างดี

 

ไอกี้-บีที สารกำจัดหนอน กำจัดหนอนแมลงวัน ปลอดสารพิษ

 

โรครา หรือโรคต่างๆของมะเขือเทศ ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา ใช้ IS ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและกำจัดโรคยอดไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคราสนิม และโรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

 

ไอเอส ป้องกันกำจัด ยับยั้งโรครา

 

ป้องกันและกำจัดเพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยกระโดด ด้วย (MAKA) มาคา สารอัลคาลอยด์ กำจัดแมลงและเพลี้ยต่างๆ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ปลอดภัยต่อผู้ใช้

 

มาคา กำจัดแมลงปลอดสารพิษ

 

 

อ้างอิง

iam.hunsa.com/primcha /article/12310

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 6316 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ผักและการปลูกผัก]:
กระเทียมใบไหม้ กระเทียมใบแห้ง ใบจุด โรครา เพลี้ยไฟ ไร แก้ไขได้ ให้ถูกวิธี
สาเหตุหลักเลย ที่ทำให้ โรคและแมลงศัตรูพืช เข้าโจมตี หรือเข้าทำลายต้นกระเทียมได้ง่าย เพราะเกิดจาก กระเทียมอ่อนแอต่อโรค
อ่านแล้ว: 7582
มะเขือเทศใบไหม้ มะเขือเทศใบเหลือง ใบหงิก ต่างอาการ ต่างสาเหตุ แก้ต่างวิธี
ต้นเหตุหลักๆที่แท้จริงเลยคือ มะเขือเทศ ได้รับธาตุอาหารที่เป็น ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ไม่เพียงพอ
อ่านแล้ว: 6316
มะเขือเทศใบเหลือง มะเขือเทศใบหงิกเหลือง มะเขือเทศใบด่าง ป้องกันได้ โดยการกำจัดแมลงศัตรูพืช
ใบอ่อนหดย่นเป็นคลื่นมีขนาดเล็กกว่าปกติ และใบยอดที่ปลายกิ่งบิดเกลียว ต้นชะงักการเจริญเติบโต ติดผลน้อย ผลด่าง
อ่านแล้ว: 6307
โรคราพริก โรคใบจุดตากบ ส่งผลใบพริกร่วง ชะงักการโต ผลผลิตลดลง
โรคใบจุดตากบ หากระบาดรุนแรง ใบพริกจะร่วง การออกดอกและการให้ผลผลิตจะต่ำลง โรคสามารถจะลุกลามไปที่ กิ่ง การ ผล ได้
อ่านแล้ว: 7657
พืชตระกูลแตง เป็นปื้นเหลืองบนใบ แห้งตาย เพราะ โรคราน้ำค้าง ควรเร่งแก้ไข
โรคราน้ำค้าง สร้างความเสียหายให้กับพืชตระกูลแตง ปล่อยไปถึงตายได้ ลักษณะการระบาดของ โรคราน้ำค้าง นี้ อาการที่แสดง..
อ่านแล้ว: 7033
โครงการหลวงปังค่า หนุนเกษตรกรพะเยา ปลูกมะเขือเทศสร้างรายได้
ทำให้มีอาชีพสร้างรายได้ และจำหน่ายได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องราคา ได้ผลผลิต 2-3 ตันขายได้ราวๆ 75,000 บาทต่อรอบ
อ่านแล้ว: 7322
หอมญี่ปุ่น ปลูกได้ในไทย
ปัจจุบันมีการนำมาปลูกในประเทศไทยหลายพื้นที่ สำหรับดินที่เหมาะสมในการปลูกควรเป็นดินร่วนซุย
อ่านแล้ว: 6586
หมวด ผักและการปลูกผัก ทั้งหมด >>