ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไม้ผล ไม้ยืนต้น | อ่านแล้ว 5267 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

กระท้อน ไม้ผลทำเงิน 1 ล้านบาทต่อปี ปลูกง่ายไม่มีโรค

กระท้อน ไม้ผลทำเงิน 1 ล้านบาทต่อปี ปลูกง่ายไม่มีโรค

ปลูกกระท้อน 178 ต้น ที่กว่า 23 ไร่ ต้นทุน 2-3 แสนบาทต่อปี ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 13 ตัน สร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อปี

data-ad-format="autorelaxed">

สร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อปี ซึ่งชี้ให้เห็นว่า “กระท้อน” ก็เป็นไม้ผลเงินล้านได้ เฉกเช่นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดอื่น ๆ ขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะทำคุณภาพได้มากน้อยเพียงใดเท่านั้น

ตลอดเดือนกรกฎาคมของทุกปีถือเป็นสวรรค์ของคนที่ชอบรับประทานกระท้อน เพราะ กระท้อน ให้ผลผลิตเพียงปีละครั้ง และจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมากในเดือนนี้ โดยแหล่งปลูกกระท้อนที่สำคัญในอดีตคือจังหวัดนนทบุรี มีสายพันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้า 6 สายพันธุ์ ได้แก่

 

– พันธุ์ทับทิม
– ปุยฝ้าย
– นิ่มนวล
– ปุยไหม
– เทพศิริ
– อีล่า

 

ทั้ง 6 สายพันธุ์ดังที่กล่าวมานี้ พันธุ์ปุยฝ้ายและพันธุ์นิ่มนวลเป็นพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุด เพราะมีผลขนาดใหญ่และจำหน่ายได้ราคา

 

โดยหากเป็น พันธุ์นิ่มนวลเมืองนนท์แท้ ๆ จะจำหน่ายได้ตั้งแต่กิโลกรัมละ 120 บาทขึ้นไป ปัจจุบันเกษตรกรที่ทำสวนกระท้อน ทั้งประเทศไทยมีไม่ถึง 100 ราย เนื่องจากกระท้อนไม่ใช่ผลไม้ในกระแสของการบริโภค จึงทำให้เกษตรกรหลายคนไม่สนใจปลูกเพราะเห็นว่าขายไม่ได้ราคา แต่จริง ๆ แล้ว กระท้อนไม่ใช้ผลไม้กะโหลกกะลาไร้ราคาอย่างที่คิด ยิ่งหากได้เติมคุณภาพลงไป ก็ยิ่งเป็นผลไม้เงินล้านที่ไม่ควรมองข้าม เพราะตลาดมีความต้องการสูงและคู่แข่งยังน้อย

 

คุณสมชาย บุญก่อเกื้อ เกษตรกรคนเก่ง เจ้าของสวนกระท้อน อุบลสมบูรณ์
คุณสมชาย บุญก่อเกื้อ เกษตรกรคนเก่ง เจ้าของสวนกระท้อน อุบลสมบูรณ์

คุณสมชาย บุญก่อเกื้อ เกษตรกรคนเก่ง ลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เจ้าของสวนกระท้อน “อุบลสมบูรณ์” เผยถึงที่มาของการปลูกกระท้อนบนเนื้อที่กว่า 23 ไร่ ในจังหวัดระยอง ให้ฟังว่า เกษตรกรในจังหวัดระยองส่วนใหญ่ทำสวนผลไม้เศรษฐกิจหลัก ๆ 3 ชนิด คือ เงาะ มังคุด และทุเรียน พอถึงฤดูกาลผลไม้ของทุกปี ราคาผลผลิตของผลไม้ทั้งสามชนิดก็จะมีปัญหาทุกปี เพิ่งมาสองสามปีหลังนี้ ที่เริ่มทำมังคุดส่งนอกจึงได้ราคาขึ้นมา

“ด้วยความผันผวนของราคาผลไม้นี่เอง ผมก็เลยมองว่า เราควรจะปลูกอะไรที่สวนกระแสจากชาวบ้านคนอื่น ๆ พอดีว่าที่หมูบ้านเรามีกระท้อนอยู่ต้นหนึ่ง ซึ่งคุณลุงพูนแกไปซื้อลูกมาจากจังหวัดนนทบุรีมารับประทาน พอทานเสร็จท่านเห็นว่ากระท้อนลูกนั้นรสชาติอร่อย จึงนำเมล็ดกระท้อนลูกนั้นไปปลูก ผ่านไปประมาณ 5 ปี กระท้อนต้นนั้นเติบโต ติดดอกออกผล ซึ่งผมได้กินแล้วก็เห็นว่า กระท้อนจากต้นนี้มีคุณลักษณะพิเศษคือ เนื้อนุ่ม หวาน เนื้อหุ้มเมล็ดเป็นปุย หวาน มีเนื้อมาก เมล็ดเล็ก เมื่อได้ชิมแล้วรู้สึกถูกใจจึงขอกิ่งพันธุ์มาปลูก และตั้งชื่อสายพันธุ์ใหม่เพื่อให้เป็นเกียรติแก่ลุงพูนว่า กระท้อนพันธุ์ทองพูน”

 

คุณสมชาย ยังเล่าให้ฟังอีกว่า ตอนแรกผมปลูกเพียง 40 ต้น ตอนนั้นยอมรับว่าไม่ค่อยมีความรู้เรื่องกระท้อนมากสักเท่าไหร่ เพราะถือเป็นไม้ผลชนิดใหม่ของชาวสวนละแวกนี้ เมื่อกระท้อนอายุได้ 3 ปี ก็เริ่มออกผลผลิต ด้วยความที่ยังขาดประสบการณ์จึงไปจ้างคนมาห่อกระท้อน ผลปรากฏว่าเราได้กระท้อนที่จำหน่ายได้เพียง 40 เปอร์เซ็นต์ นอกนั้นเสียหายทั้งหมด เพราะลูกจ้างไม่ได้ใส่ใจคุณภาพให้เรา สักแต่ว่าทำงานเพื่อให้ได้ค่าแรงเท่านั้น ในตอนหลังจึงตัดปัญหาดังกล่าวนี้ออกด้วยการใช้แรงงานคนในครอบครัวและลงมือทำเองทั้งหมด เพราะเราสามารถควบคุมคุณภาพได้

ข่าวเกษตร ปลูกกระท้อน ไม้ผลทำเงิน
ข่าวเกษตร ปลูกกระท้อน ไม้ผลทำเงิน

ผลผลิตในช่วงนั้นเราเอาไปขายในอำเภอแกลง ได้ราคาเพียงกิโลกรัมละ 10 บาท จากนั้นก็มานั่งคิดว่าจะทำอย่างไรนะจึงจะให้ผลผลิตของเราได้ราคา พอดีตอนนั้นมีเพื่อนทำงานอยู่ที่ TOT แจ้งวัฒนะ เพื่อนก็แนะนำให้เอาผลผลิตใส่รถกระบะไปขายที่นั่น เราก็เลยนำไปขายได้กิโลกรัมละ 60-70 บาท


(ตอนนั้นราคากระท้อนเมืองนนท์กิโลกรัมละ 120 บาท) หลังจากนั้นเป็นต้นมาผลผลิตกระท้อนของที่สวนก็จะส่งไปขายที่นั้นทั้งหมด

 

“ปัจจุบันเราแทบไม่ต้องเอาผลผลิตไปขายแล้ว เพราะเมื่อถึงฤดูกระท้อน คนที่เขาเคยรับประทานกระท้อนของเราก็จะออร์เดอร์กันมาเลย เมื่อเราเริ่มมองเห็นแนวทางการตลาด ก็เลยมาปลูกเพิ่ม จนกระทั่งปัจจุบันที่สวนมีกระท้อนที่ให้ผลผลิตแล้วทั้งหมด 178 ต้น และกำลังปลูกเพิ่มอีก 45 ต้นครับ”

 

เทคนิคการปลูกกระท้อนของ คุณสมชาย

อย่างแรกเลยให้คำแนะนำว่า ธรรมชาติของกระท้อนเป็นไม้ผลที่ปลูกง่าย โตเร็ว และไม่ต้องมีตารางฉีดยาให้ปุ๋ยเช่นไม้ผลชนิดอื่น หากเกษตรกรที่สนใจปลูกกระท้อนเพื่อการค้า ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

 

– สายพันธุ์ที่ปลูกจะต้องเลือกสายพันธุ์ที่รับประทานอร่อยและตลาดมีความต้องการ ระยะห่างระหว่างแปลงปลูกควรอยู่ระหว่าง 8 x 8 เมตร ซึ่งระยะดังกล่าวนี้กระท้อนจะไม่แย่งกันเจริญเติบโต จึงไม่ต้องตัดแต่งกิ่งบ่อย สามารถปล่อยให้เขาโตตามธรรมชาติได้เลย เนื่องจากกระท้อนเป็นไม้โตเร็ว การบำรุงรักษาจะไม่ยุ่งยากเท่าไหร่ สามารถปล่อยให้โตตามธรรมชาติได้เลย

 

– เมื่อถึงอายุการให้ผลผลิต ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม กระท้อนจะเริ่มทิ้งใบ และช่วงเดือนกุมภาพันธ์จะเริ่มผลิใบอ่อนและเริ่มให้ดอก จากนั้นก็จะเริ่มให้ผล ทันทีที่กระท้อนเริ่มติดผล เราจะต้องทำการฉีดยาสมุนไพรเพื่อป้องกันแมลงมาดูดกินน้ำเลี้ยงผลอ่อน

 

หากเกษตรกรต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพ เราจะต้องทำการห่อผล ซึ่งเทคนิคการห่อผลของสวนนั้นใช้วิธีการสร้างนั่งร้านเช่นเดียวกับงานก่อสร้างไว้รอบ ๆ ทรงต้น เพื่อที่จะห่อผลได้ทุกลูก (นั่งร้านทำจากไม้ไผ่รวก และมีอายุการใช้งาน 2 ปี) โดยใน 1 ต้น ควรจะไว้ลูกเพียง 250-300 ลูก ในอัตราจำนวนดังกล่าวนี้จะทำให้กระท้อนเติบโตเสมอกันทุกลูก โดยจะมีน้ำหนักมาตรฐานอยู่ที่ 4-5 ขีดต่อลูก ซึ่งเป็นขนาดที่ตลาดมีความต้องการ และมีราคาค่อนข้างน่าสนใจ แต่หากไว้จำนวนลูกดกกว่านี้ ก็จะได้ขนาดลูกที่เล็กลง และส่งผลให้ขายได้ราคาถูกลงด้วย แต่ถ้าไว้ลูกน้อยเกินไป กระท้อนก็จะมีขนาดผลที่ใหญ่เกินความต้องการของตลาดเช่นกัน

 

วิธีห่อกระท้อนของ คุณสมชาย
วิธีห่อกระท้อนของ คุณสมชาย

วิธีห่อกระท้อนของ คุณสมชาย

“การห่อผลควรจะเริ่มห่อตั้งแต่กระท้อนมีขนาดเท่าลูกหมาก โดยจะเลือกห่อเฉพาะผลที่มีผิวเนียนเกลี้ยง ส่วนผิวที่มีตำหนิหรือไม่ต้องการควรปลิดผลนั้นทิ้ง เพื่อป้องการลูกที่ไม่เหมาะสมแย่งอาหารและดึงดูดแมลงวันทองเข้าสวน (ลูกกระท้อนที่ปลิดทิ้งสามารถนำมาหมักเป็นฮอร์โมนลูกกระท้อนเพื่อเพิ่มความหวานได้) ทั้งนี้การห่อผลแต่ละรอบควรจะทำตำหนิโดยการป้ายสีที่ถุงกำกับไว้ เช่น ห่อรอบแรกใช้สีส้ม และห่อรอบสองใช้สีเขียว เป็นต้น (ตัวอย่างสมมติ) การป้ายสีกำกับในลักษณะดังกล่าว จะช่วยให้สะดวกตอนเวลาเก็บเกี่ยว เพราะสามารถเลือกเก็บตามรุ่น ตามสีที่ป้ายไว้ โดยไม่ต้องเสียเวลาเปิดดูทีละถุง”

สำหรับราคาจำหน่ายของกระท้อนที่สวนอุบลสมบูรณ์นั้น แบ่งเป็น 3 เกรด ได้แก่

– เกรดจัมโบ้ ขนาดผลตั้งแต่ครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป จำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 80 บาท

– เกรดกลาง ขนาดผลตั้งแต่ 4-5 ขีด จำหน่ายกิโลกรัมละ 60 บาท

– เกรดมินิ ต่ำกว่า 4 ขีดลงมา จำหน่ายกิโลกรัมละ 40 บาท

 

“เกษตรกรหลายคนมักสงสัยว่า กระท้อนจัมโบ้ได้ราคาดีสุด ทำไมทางสวนจึงไม่เน้นผลิตเฉพาะกระท้อนที่มีขนาดจัมโบ้ ในประเด็นนี้ต้องเรียนให้ทราบว่า ถึงแม้ขนาดจัมโบ้จะขายได้ราคาดี แต่มักจะขายยาก เนื่องจากตลาดไม่นิยมรับประทานกระท้อนที่มีลูกใหญ่มาก ส่วนใหญ่กระท้อนลูกใหญ่จะเป็นของฝากมากกว่าจะซื้อไปรับประทานเอง ดังนั้นในการผลิตกระท้อนเราจึงต้องผลิตตามความต้องการของตลาด คือ 2 ลูกต่อกิโลกรัมกำลังดีครับ”

 

ปลูกกระท้อน ไม้ผลทำเงิน
ปลูกกระท้อน ไม้ผลทำเงิน

 

สำหรับการ ปลูกกระท้อน 178 ต้น บนเนื้อที่กว่า 23 ไร่ของคุณสมชาย จะมีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 200,000-300,000 บาท / ปี (ต้นทุนสูงสุดอยู่ที่ค่าไม้ไผ่รวกในการทำนั่งร้านเพื่อห่อผลและเก็บผลผลิต ส่วนค่าปุ๋ยและยานั้นต่ำมาก)
จำนวนพื้นที่ปลูกดังกล่าวได้น้ำหนักผลผลิตรวมไม่ต่ำกว่า 13 ตัน สร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อปี ซึ่งชี้ให้เห็นว่า “กระท้อน” ก็เป็นไม้ผลเงินล้านได้ เฉกเช่นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดอื่น ๆ ขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะทำคุณภาพได้มากน้อยเพียงใดเท่านั้น

 

สำหรับเกษตรกรที่สนใจเรียนรู้การปลูกกระท้อนเพื่อการค้าเงินล้าน หรือสนใจกิ่งพันธุ์กระท้อนหวาน รับประทานอร่อย “พันธุ์ทองพูน” รวมถึงผลผลิตกระท้อน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณสมชาย บุญก่อเกื้อ เลขที่ 171 หมู่ 3 ต.กร่ำ อ.แกลง จ.ระยอง โทร. 08-1377-9536

 

source: news.mthai.com/economy-news/agriculture/452969.html


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 5267 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไม้ผล ไม้ยืนต้น]:
ฟักข้าวใบไหม้ ฟักข้าวใบแห้ง ฟักข้าวใบเหลือง โรคเชื้อรา ที่เกิดขึ้นกับฟักข้าว
อาการใบเหลือง ฟักข้าวใบเหลือง ต่างจากอาการใบไหม้ สาเหตุต่างกัน วิธีป้องกันและรักษาก็ต่างกัน
อ่านแล้ว: 6119
หนอนเงาะ หนอนเจาะเงาะ หนอนเจาะขั้วผลเงาะ รีบแก้ไข ก่อนผลผลิตตกต่ำ
หนอนกเจาะดอกเงาะจะกัดกินดอก และยังทำลายใบอ่อนเงาะ และยอดอ่อน จะสังเกตุเห็นทางเดินเป็ยใย
อ่านแล้ว: 6785
หนอนฝรั่ง หนอนเจาะผลฝรั่ง ฝรั่งมีหนอน แมลงวันผลไม้ กำจัดด้วย ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
หนอนเป็นศัตรูพืช ที่เข้าทำลายฝรั่งให้เกิดความเสียหาย และนอกจากนั้น ยังมีเพลี้ย ที่ต้องป้องกันและกำจัด
อ่านแล้ว: 6228
อินทผาลัมใบแห้ง อินทผาลัมใบไหม้ อินทผาลัมยอดเน่า มีสองสาเหตุหลัก แก้ได้
อาจจะแห้งบริเวณเนื้อใน หรือแห้งจากขอบใบเข้ามาก็ได้ จริงแล้วคล้ายอาการใบจุด แต่แผลที่เกิดจากอาการ ใบไหม้ จะมีขนาดแผล..
อ่านแล้ว: 7302
หนอนมะม่วง หนอนเจาะมะม่วง หนอนเจาะต้นมะม่วง แก้ด้วย ไอกี้-บีที ปลอดภัย
ตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็ง มีงวงยาว ด้วงนี้จะวางไข่ในผลอ่อน ตัว หนอนมะม่วง จะโตอยู่ในเมล็ด พอตัวหนอนแก่ จะ..
อ่านแล้ว: 6695
หนอนมะม่วง มะม่วงเป็นหนอน หนอนแมลงวัน ใช้ ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
วางใข่กลางคืน ตัวหนอนของด้วงหนวดยาวจะกินชอนไช ตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้ต้นมะม่วงโทรม ยืนต้นตาย ใบแห้ง
อ่านแล้ว: 5695
มะม่วงใบแห้ง มะม่วงแห้งตาย มะม่วงไม่ติดผล ใบจุด มะม่วงดอกร่วง แอนแทรคโนส เป็นเหตุ
โรคแอนแทรคโนส ที่เกิดในมะม่วงนี้ ทำความเสียหายกับมะม่วงเป็นอย่างมาก ทั้งด้านผลผลิตที่น้อยลง และคุณภาพของมะม่วงก็จะแย่
อ่านแล้ว: 5810
หมวด ไม้ผล ไม้ยืนต้น ทั้งหมด >>