ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร | อ่านแล้ว 5589 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

หัวเว่ยชูนวัตกรรมในภาคการเกษตร พลิกวิถีเกษตรยุค 4.0

หัวเว่ยชูนวัตกรรมในภาคการเกษตร พลิกวิถีเกษตรยุค 4.0

หนึ่งสิ่งที่หัวเว่ยให้ความสำคัญคือ เรื่องของภาคการเกษตร ซึ่งจากข้อมูลพบว่า ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก

data-ad-format="autorelaxed">

ปฏิเสธไม่ได้ว่า นี่คือยุคของดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ส่งผลให้วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องการงานหรือการใช้ชีวิต หรือที่เรารู้จักในชื่อที่คุ้นหูมาอยู่ระยหนึ่งที่นิยมเรียกว่า IoT (Internet of Things) ทุกสิ่งสามารถเชื่อมโยงกับอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งข้อดีของ IoT คือการเพิ่มประสิทธิภาพทั้งการทำงานและการใช้ชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

สอดคล้องกับแนวนโยบายในการพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ที่สนับสนุนด้านการพัฒนาเชิงดิจิทัล เพื่อให้องค์ความรู้ต่างๆ สามารถเข้าถึงทุกคน โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่เรียกว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย ถึงขนาดขนานนามประเทศไทยว่าเป็น “ครัวของโลก” แต่ทว่าเรากลับละเลยภาคการเกษตรที่เป็นหัวใจหลักของประเทศไทย

 

จากการเข้าหารือของผู้บริหารอาวุโสของ หัวเว่ย กับนายกรัฐมนตรีที่มีนโยบายให้ความสำคัญทั้งในเรื่องของเกษตรกรรม, การท่องเที่ยวและสังคมผู้สูงอายุ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ หัวเว่ย ที่มองเห็นถึงศักยภาพการพัฒนารูปแบบดิจิทัลใน 3 กลุ่มดังกล่าว จึงได้ร่วมกันพัฒนาเนื้อหากับบริษัท โรแลนด์ เบอร์เกอร์ (Roland Berger)

ในการจัดทำรายงานเชิงลึกการพัฒนาเข้าสู่เศรษฐกิจฐานดิจิทัลของประเทศไทย Thailand Digitalization Whitepaper ในหัวข้อเจาะลึกเรื่องดิจิทัลในอุตสาหกรรมไทย : ดิจิทัลโรดแม๊ปเพื่อสังคมสูงอายุ (Aging Society), ภาคการเกษตร (Agriculture) และภาคการท่องเที่ยว (Tourism)

 

หนึ่งสิ่งที่หัวเว่ยให้ความสำคัญคือ เรื่องของภาคการเกษตร ซึ่งจากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยพบว่า ประเทศไทยขึ้นอันดับเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก แต่ประเทศคู่แข่งทางการค้าอย่างอินเดียและเวียดนามพร้อมขึ้นแซงตำแหน่งผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่เสมอ ทั้งที่ในภาคการเกษตรของไทยมีประชากรถึง 1 ใน 3 ของประเทศ

 

เพราะเล็งเห็นถึงความสำคัญของภาคการเกษตร หัวเว่ยจึงได้ร่วมลงนามข้อตกลง (MOU) กับกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการจัดทำรายงานเชิงลึกการพัฒนาเข้าสู่เศรษฐกิจฐานดิจิทัลของประเทศไทย Thailand Digitalization Whitepaper ที่ Huawei ได้ร่วมมือกับ Roland Berger

 

ซึ่งเป็นการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาให้กับภาครัฐ โดยชี้ให้เห็นปัญหาสำคัญของภาคการเกษตรว่าเกษตรกรยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาศักยภาพในการ ผลิต รวมไปถึงเทคโนโลยีในการเปิดช่องทางใหม่เพื่อค้าขายให้ทันกับโลกยุคดิจิทัล

 

เนื่องจากการเกษตรในรูปแบบเดิมเป็นการคาดการณ์ธรรมชาติเป็นหลัก โดยอาศัยหลักปฏิบัติตั้งแต่โบร่ำโบราณ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีความเสี่ยงสูงเพราะสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน และเป็นสาเหตุหลักที่เกษตรกรไม่สามารถเพิ่มผลผลิตได้ตามความต้องการของตลาด ขณะที่การเข้าถึงข้อมูลเป็นอุปสรรคใหญ่สำหรับเกษตรกร

 

ด้วยเหตุนี้การจะเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรเพื่อเพิ่มผลผลิตจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เกษตรกรต้องเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ และการเข้าถึงข้อมูลในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยี รวมไปถึงการนำนวัตกรรมด้านการเกษตรเข้ามาผสมผสานกับแนวทางปฏิบัติของเกษตรกรที่มีมาแต่ดั้งเดิม โดยเฉพาะในยุค 4.0 ที่เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง

 

โดยเฉพาะข้อมูลสำคัญที่มีผลกระทบต่อการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านสภาพดินฟ้าอากาศ คุณภาพดิน ปริมาณน้ำและระยะเวลาในการเก็บผลิต นอกจากนี้นวัตกรรมด้านดาวเทียมและ Automation ก็มีส่วนช่วยในการเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นระบบการให้ปุ๋ยอัตโนมัติ หรือการรดน้ำอัตโนมัติ เป็นต้น เทคโนโลยีและนวัตกรรมในยุค 4.0 นอกจากจะช่วยเพิ่มผลลิตแล้ว ยังช่วยพัฒนาคุณภาพของผลผลิต และยังลดต้นทุนทั้งในแง่แรงงานและปุ๋ยได้อีกด้วย

ไม่เพียงในด้านการผลิตเท่านั้น เกษตรกรในยุค 4.0 ยังสามารถใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมในการเข้าถึงตลาดได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะการขายแบบผู้ขายถึงผู้ซื้อ (End to End) ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต ทั้งโลกโซเชียลและช่องทางที่ในอนาคตภาครัฐอาจเปิดให้เป็นศูนย์กลางตลาดสินค้าการเกษตร

 

แน่นอนว่าเมื่อเกษตรกรเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญและมีการใช้นวัตกรรมเพื่อการเกษตรผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตย่อมสามารถเพิ่มผลผลิตและคุณค่าให้กับสินค้าการเกษตรและสามารถตอบสนองความต้องการในด้านคุณภาพของผลผลิต เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าการเกษตร และเมื่อใช้อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางในการขายสินค้า ก็เท่ากับไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ซื้อผู้ซื้อจะสามารถซื้อได้ในราคาเป็นธรรม ขณะที่เกษตรกรก็สามารถขายได้เต็มราคาตามที่ต้องการ เรียกว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยตอบสนองความต้องการทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

 

ที่สำคัญช่องทางอินเทอร์เน็ตยังเป็นอีกช่องทางในการขยายตลาดสินค้าเกษตรของไทยไปยังต่างประเทศ และการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมทางการเกษตร ยังเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับตลาดต่างประเทศถึงคุณภาพที่ได้รับจากผลผลิตทางการเกษตรของไทย เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตของเกษตรกรและประเทศไทย

 

อ่านบทความทั้งหมด ที่ MarketingOops.com


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 5589 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร]:
เดินหน้าพัฒนา Smart Farmer ติวเข้มจนท.ส่งเสริมเกษตรสู่บทบาท ผู้จัดการเรียนรู้
ส่งเสริมและพัฒนาให้เกษตรกรไทย ให้เป็นผู้ประกอบการเกษตรที่มีการใช้เทคโนโลยี และการบริหารจัดการเพื่อการดำเนินธุรกิจ
อ่านแล้ว: 6037
หนุนอุตฯเกษตรภาคเหนือ พัฒนาสู่ยุค ไทยแลนด์4.0
รากฐานที่สำคัญในการจะพัฒนาภาคการเกษตรให้อยู่รอดได้ ต้องอยู่บนปัจจัยที่สำคัญ 3 ด้าน
อ่านแล้ว: 5162
หัวเว่ยชูนวัตกรรมในภาคการเกษตร พลิกวิถีเกษตรยุค 4.0
หนึ่งสิ่งที่หัวเว่ยให้ความสำคัญคือ เรื่องของภาคการเกษตร ซึ่งจากข้อมูลพบว่า ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก
อ่านแล้ว: 5589
STC สร้างหุ่นยนต์เก็บข้อมูลการเกษตร ช่วยเหลือเกษตรไทย

อ่านแล้ว: 5960
4 นวัตกรรมการเกษตรที่เหล่า AgriTech ควรจับตามอง

อ่านแล้ว: 5757
โดรนเพื่อการเกษตร เทรนด์ทางเลือกใหม่ ยุค 4.0

อ่านแล้ว: 6239
ไถนาผ่านจอมือถือ ต่อยอดจาก รถไถบังคับวิทยุ เตรียมยื่นจดสิทธิบัตร !?

อ่านแล้ว: 5133
หมวด ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร ทั้งหมด >>