ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: Agri live update | อ่านแล้ว 3586 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

จับตา! สินค้าเกษตรร่วงยกแผง รัฐเอาไม่อยู่-ทุบกำลังซื้อ

จับตา! สินค้าเกษตรร่วงยกแผง รัฐเอาไม่อยู่-ทุบกำลังซื้อ



data-ad-format="autorelaxed">

จับตาราคาสินค้าเกษตรดิ่งเหว ทั้งข้าว-มันสำปะหลัง-ยางพารา-ข้าวโพด-ผลไม้ ทุบกำลังซื้อรากหญ้าไตรมาส 3 วูบ ชาวสวน-ชาวไร่ โอดรัฐบาล “หมดมุข” เอาแต่อัดมาตรการเดิม ๆ เหมือนให้ยาแก้ปวด ไม่แก้ปัญหาตรงจุด ทั้งการลักลอบนำเข้ามันเส้นแนวชายแดน นอมินีจีนสวมรอยตัดราคา เปิดนำเข้าข้าวสาลีกดราคาข้าวโพด ปาล์มสต๊อกล้น โรงสีมีปัญหาสินเชื่อยางถูกลอยแพ มังคุดราคาดิ่งเหว ทำรายได้เกษตรกรหดลงต่อเนื่อง

 

แม้ว่าสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สคก.) จะเผยแพร่รายงาน 6 เดือนแรกของปีนี้ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้นก็ตาม สวนทางกับสถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรในช่วงครึ่งปีหลังต่อไตรมาส 1/2561 ต้องเผชิญกับภาวะราคาตกต่ำ ไม่ว่าจะเป็น ข้าว-มันสำปะหลัง-ข้าวโพด-ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ตามฤดูกาล ส่งผลต่อกำลังซื้อของเกษตรกร ซึ่งเป็นกลุ่มรากหญ้าโดยตรง

 

ขณะที่รัฐบาลดูเหมือนจะไม่ได้เตรียมการรับมือกับสถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ “ล่วงหน้า” แต่เลือกที่จะใช้วิธีรอจนเกิดวิกฤตการณ์ด้านราคาเกิดขึ้นแล้ว จึงเข้ามาดำเนินการแก้ไข โดยตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดก็คือ การแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ แถมมาตรการที่รัฐนำออกมาใช้ก็เป็นมาตรการเดิม ๆ การต่ออายุโครงการเดิม ๆ ซึ่งถูกพิสูจน์ในครอปที่ผ่านมาแล้วว่า ใช้ไม่ได้ผล

 

ข้าวผันผวนหนัก

 

นายสุเทพ คงมาก นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวถึงสถานการณ์ราคาข้าวเปลือกเจ้า (ความชื้น 15%) ขณะนี้ได้ลดลงเหลือตันละ 8,000 บาท หลังจากที่ปรับขึ้นมาเพียง 2 สัปดาห์ ส่งผลให้ชาวนา “ยังต้องลุ้น” ต่อไปว่า

ผลผลิตข้าวเปลือกนาปรังปี 2560 รอบที่ 2 ที่กำลังจะเก็บเกี่ยวในเดือนสิงหาคมนี้ จะมีราคาลดลงต่อเนื่องหรือไม่ (ผลผลิตใกล้เคียงกับปี 2559) โดยเป็นที่น่าสงสัยก่อนหน้านี้ ผู้ส่งออกข้าวได้ออกมาแถลงราคาส่งออกข้าวปรับตัวสูงขึ้น 20-30% สวนทางกับราคาข้าวเปลือกในประเทศ ทำให้ “ราคาข้าวขึ้นไปในระยะสั้น ๆ แล้วก็ปรับลดลงมา”

 

ในขณะที่มาตรการช่วยเหลือของคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ที่ประกาศออกมา ส่วนใหญ่ใช้มาตรการเช่นเดียวกับปี 2559/2560 โดยมุ่งชะลอการขายข้าวด้วยการให้เก็บไว้ในยุ้งฉาง (มาตรการจำนำยุ้งฉางของ ธกส.) แต่ชาวนาอยากจะให้รัฐบาลช่วยประกาศราคาขั้นต่ำที่จะซื้อข้าวเปลือกให้ทราบล่วงหน้า ก่อนที่ผลผลิตข้าวนาปีจะออก จะได้ไม่ไปขายราคาต่ำ แหล่งข่าวจากโรงสีข้าวยอมรับว่า ราคาข้าวที่ปรับตัวลดลงในช่วง 1-2 สัปดาห์นี้ ปรับตัวลงไปตันละ 1,000-2,000 บาท โดยข้าวเปลือกที่เคยขึ้นไปตันละ 9,500 บาท ลดเหลือ 8,100 บาท ส่วนราคาข้าวสารจากตันละ 14,000 บาท ลดลงเหลือ 12,000 บาท สาเหตุสำคัญมาจากผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ไปขายตัดราคากันเอง ทั้งได้รับผลกระทบจากปัญหาขาดแคลนแรงงานขนข้าว ทำให้ส่งมอบข้าวล่าช้า และปริมาณฝนที่ตกลงมามากในช่วงนี้ ทำให้ข้าวมีความชื้นสูง จึงส่งผลกระทบทำให้ราคาข้าวปรับลดลงอย่างรวดเร็ว

 

“โรงสีข้าวก็ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง เนื่องจากถูกธนาคารจำกัดวงเงินให้สินเชื่อ เรื่องนี้ร้องเรียนไปยังรัฐบาลแล้ว แต่ปัญหาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข” ล่าสุด ในที่ประชุมรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้ให้ความเห็นชอบ โครงการปรับลดพื้นที่ปลูกพืชให้เหมาะสมภายแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปี 2560/2561 จำนวน 3 โครงการ วงเงิน 1,296.53 ล้านบาท เป้าหมาย 700,000 ไร่ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ จากก่อนหน้านี้ กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอมาตรการช่วยเหลือในการทำการตลาดข้าวอินทรีย์

 

นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงมาตรการดูแลเสถียรภาพราคาข้าวว่า “ตอนนี้กำลังติดตามสถานการณ์ราคาข้าวอย่างใกล้ชิด” จากช่วงก่อนหน้าที่ราคาข้าวปรับสูงขึ้น แต่ต้องหารือภายใน นบข. ก่อนว่า จะมีมาตรการเพิ่มเติมอย่างไรสำหรับข้าวทั่วไป ส่วนโรงสีจะใช้โครงการชดเชยดอกเบี้ย 3% ซึ่งเป็นมาตรการเดิมที่ผ่าน นบข. การชะลอขายในยุ้งฉางก็คงเดิม

 

ไร่มันฮือราคาร่วงเหลือ 90 สต.

 

นายราศี ไผ่สะอาด นายกสมาคมชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ได้ทำหนังสือร้องเรียนนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ช่วยแก้ปัญหาราคาหัวมันสดตกต่ำภายใน 30 วัน โดยหัวมันในพื้นที่อีสานตอนบน ขายกันอยู่เพียง กก.ละ 0.90-1.10 บาทเท่านั้น ถ้ารัฐบาลยังไม่เร่งออกมาตรการช่วยเหลือก็จะกระทบกับผลผลิตมันสำปะหลังในฤดูกาล 2560/2561 แน่นอน

 

“ราคามันสำปะหลังปรับลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปี 2559 ทั้ง ๆ ที่ปริมาณความต้องการใช้มันสำปะหลังมี 42 ล้านตัน หรือเกินกว่าผลผลิตที่ไทยผลิตได้ ประมาณ 31 ล้านตัน จนต้องนำเข้ามันสำปะหลังจากประเทศเพื่อนบ้าน ปีละ 4 ล้านตัน แต่กลับเกิดปัญหาราคาปรับตัวลดลง จากสาเหตุสำคัญมีผู้ส่งออกมันเส้นที่เป็นนอมินีของบริษัทจีนเข้าไปแข่งขันขายมันเส้นในราคาต่ำแล้วมากดราคารับซื้อภายในประเทศ ยกตัวอย่าง ราคา FOB เคยสูงถึง 195 เหรียญ แต่ขณะนี้เหลือเพียง 141-144 เหรียญ หรือเท่ากับว่าขายมันเส้นได้ราคาแค่ กก.ละ 4.50 บาท จากที่เคยขายได้ 6.20 บาท เมื่อคิดทอนเป็นราคาหัวมันเหลือ กก.ละ 1.10-1.20 บาท เกษตรกรขาดทุนจากต้นทุนการเพาะปลูก กก.ละ 1.90 บาท รวมค่าขนส่ง-ค่าขุดจะมีต้นทุนสูง กก.ละ 2.40 บาท” นายราศีกล่าว

 

ดังนั้น สมาคมชาวไร่มันฯจึงยื่นข้อเสนอ 6 ข้อ ให้รัฐบาล ได้แก่ 1) ขอให้ยกเลิกการนำเข้าข้าวสาลี 2) ขอให้เพิ่มสัดส่วนการผลิตเอทานอลจากมันเส้นจาก 34% เป็น 50% 3) ขอให้ยกเลิกการใช้เบนซิน 91 และเพิ่มการใช้ อี 20 4) ขอให้ควบคุมการนำเข้ามันเส้นคุณภาพต่ำจากประเทศเพื่อนบ้าน และควบคุมการส่งออกมันเส้นโดยบริษัทจีนที่ไปขายราคาต่ำ 5) ควรมีการขึ้นทะเบียนและติดตามสถานการณ์ส่งออก และ 6) กำหนดราคาขั้นต่ำในการส่งออกและราคาที่รับซื้อจากเกษตรกร โดยคำนวณจากราคาที่ควรจะขายมันเส้นเพื่อผลิตแอลกอฮอล์ให้กับประเทศจีนขณะที่คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) เห็นชอบ 14 มาตรการดูแลชาวไร่

 

มันสำปะหลัง วงเงิน 616 ล้านบาท แต่ “มาตรการเหล่านี้เกษตรกรยังไม่ได้ประโยชน์” ด้าน นายกีรติ รัชโน รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า เตรียมประกาศเพิ่มมาตรการการนำเข้ามันสำปะหลังจากประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยการให้ผู้ประกอบการนำเข้าต้องแจ้งวัตถุประสงค์การนำเข้า

 

สต๊อกปาล์มล้น 4.5 แสนตัน

 

ด้านมาตรการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันตกต่ำ ที่กระทรวงพาณิชย์ได้ขอความร่วมมือผู้ค้าน้ำมันเก็บสต๊อกไบโอดีเซลเพิ่มเป็น 90 ล้านลิตร (หรือคิดเป็นผลปาล์มประมาณ 7.6 ล้านตัน) จากเดิมที่สต๊อก 50 ล้านลิตร เพื่อดูดซับน้ำมันปาล์มออกจากตลาดจากปริมาณผลผลิตที่จะออกสู่ตลาด 11.7 ล้านตันนั้น ปรากฏสถานการณ์ราคาผลปาล์มปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ใช่มาจากการกำหนดมาตรการข้างต้น เพราะผู้ค้าน้ำมันไม่สามารถสต๊อกไบโอดีเซลเพิ่มขึ้นได้ แต่เป็นเพราะปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดลดลง

 

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าห่วงก็คือ ปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบที่ยังคงค้างอยู่ในประเทศในเดือนมิถุนายน น่าจะมีมากถึง 454,070 ตัน หรือสูงกว่าปริมาณสต๊อกเพื่อความปลอดภัยที่กำหนดไว้ ประมาณ 200,000 ตัน ในขณะที่สามารถส่งออกได้เพียง 4,632 ตัน ตรงนี้จะ “กดดัน” ราคาผลปาล์มในครอปหน้า

 

ด้านนายบุญรักษ์ อุ่นยวง กรรมการผู้จัดการ บริษัทเพื่อกระบี่ปาล์มออยล์ กล่าวว่า ตอนนี้ราคาปาล์มลดลงเหลือ 3.5 บาท เนื่องจากปัจจัยนโยบายนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบรัฐบาล ทำให้โรงสกัดกดราคารับซื้อปาล์มทะลายจากเกษตรกรที่อยู่ในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก ซึ่งเป็นปัญหาเดิม ๆ เหมือนทุกปีที่ผ่านมา

 

 

ข้าวสาลีทุบราคาข้าวโพดดิ่ง

 

นายทรงศัก ส่งเสริมอุดมชัย นายกสมาคมการค้าพืชไร่ กล่าวถึงราคาข้าวโพดที่ตกต่ำลงมาว่า มาตรการที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดให้ผู้ผลิตอาหารสัตว์รับซื้อข้าวโพดในประเทศ 3 ส่วนต่อการนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน (มาตรการ 3 ต่อ 1) โดยให้ซื้อราคา กก.ละ 8 บาทนั้น แม้จริงแล้วเกษตรกรขายได้ราคาแค่ กก.ละ 7.20-7.70 บาท/กก.เท่านั้น หรือไม่ถึง 8 บาท เนื่องจากโรงงานอาหารสัตว์ใช้มาตรฐานจัดเกรดข้าวโพด จนกระทั่งตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2560 ราคาข้าวโพดหน้าโรงงานปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ กก.ละ 8.50 บาท

 

ดังนั้น สมาคมการค้าพืชไร่ได้เรียกร้องให้รัฐบาลกำหนดมาตรการเพื่อปกป้องเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด โดยขอให้เพิ่มมาตรการทางภาษีนำเข้าข้าวสาลี-DDGS (กากข้าวโพด)-รำข้าวสาลี-ปลายข้าวสาลี ในอัตราที่เคยใช้ก่อนมีการปรับลดภาษีนำเข้ามาเป็น 0% ในปัจจุบัน

สถาบันชาวสวนยางขาดทุนยับ

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคายางพาราทุกชนิดทั้งน้ำยางสด ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควันตกต่ำและผันผวนต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา โดยเฉพาะราคาน้ำยางสด (ท้องถิ่น) ที่ลดลงใกล้จะถึง 3 กก. 100 บาท (37-39 บาท/กก.) ส่วนยางแผ่นดิบในบางวันลดลงมาอยู่ที่ 47-48 บาท/กก., ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคา 52-53 บาท/กก. ในขณะที่รัฐบาลก็ไม่มีมาตรการใหม่ ๆ ออกมา เพียงแต่ใช้ “ต่ออายุ” มาตรการเดิม อาทิ โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกร, โครงการสร้างความเข้มแข้งให้เกษตรกรชาวสวนยาง ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความผันผวนของราคายางได้

 

นายสมพร ศรียวง ผู้จัดการสหกรณ์กองทุนชาวสวนยางบ้านพรุนายขาว จำกัด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง กล่าวว่า ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมจนถึงขณะนี้ ผู้ประกอบการยาง-กลุ่มเกษตรกร-สหกรณ์-วิสาหกิจชุมชน ประสบภาวะขาดทุนจากราคายางพาราที่ตกต่ำและผันผวนอย่างหนัก เนื่องจากรับซื้อจากสมาชิกในราคาที่สูงแล้วขายออกได้ราคาต่ำ

 

โดยกลุ่มยางขนาดใหญ่ขาดทุนแห่งละ 2-3 ล้านบาท ส่วนกลุ่มยางขนาดเล็กขาดทุนกว่า 1 ล้านบาท ขณะเดียวกันหลายกลุ่มก็กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ไม่มีเงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อยางในฤดูกาลนี้ สำหรับจังหวัดพัทลุงมีกลุ่มยางไม่ต่ำกว่า 100 แห่ง ขาดทุนแล้วไม่ต่ำกว่า 150 ล้านบาท

 

สอดคล้องกับ นายชำนาญ เมฆตรง ประธานกรรมการ ชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสยท.) กล่าวว่า สมาชิกของ ชสยท. ประมาณ 400 แห่งทั่วประเทศ จะมีกำไรและขาดทุนในบางช่วงโดยเฉพาะปลายเดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา กลุ่มสถาบันเกษตรกรยางยังประสบภาวะขาดทุนอยู่

มังคุดราคาดิ่งเหว

 

นายธานินทร์ ยิ่งสกุล เกษตรกรบ้านหนองแฟบ จ.ตราด กล่าวว่า ราคามังคุดลดลงมากในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม โดยล้งรับซื้อมังคุดคละกิโลกรัมละ 8-10 บาท ซึ่งราคานี้ชาวสวนอยู่ไม่ได้ เพราะต้นทุนค่าปุ๋ย ค่ายา และค่าเก็บสูงถึง 5-6 บาท/กก. จึงต้องการให้หน่วยงานรัฐช่วยหาตลาดระบายผลผลิต หรือมีห้องเย็นให้เก็บชะลอไม่ให้มังคุดล้นตลาดเพื่อจะได้ดึงราคาขึ้น

 

เช่นเดียวกับ นายบรรจบ สงัดศรี ชาวสวนมังคุดจังหวัดชุมพร กล่าวว่า ขณะนี้ราคามังคุดหน้าสวนอยู่ที่ 5-7 บาท/กก. ราคาจำหน่ายที่ตลาด 12-13 บาท/กก.เท่านั้น ถือว่าเป็นราคาต่ำที่สุดเท่าที่เคยทำสวนมา โดยเมื่อ 2 ปีก่อนราคาขึ้นสูงสุดถึง 130 บาท/กก.

 

ยาง-ปาล์มฉุดเชื่อมั่น ศก.ใต้

 

ผศ.ดร.วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการ ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กล่าวถึงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ เดือนมิถุนายนว่า ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม เนื่องมาจากความผันผวนของราคาปาล์มน้ำมันและยางพาราที่ปรับตัวลงต่อเนื่อง โดยราคายางพาราเดือนมิถุนายนปรับตัวลง 14 บาท/กก. ส่งผลให้รายได้ลดลง การจับจ่ายใช้สอยสินค้าอุปโภคบริโภคชะลอตัวและลดลง

 

source: prachachat.net/economy/news-5814


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 3586 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [Agri live update]:
คาราวานส้มสีทอง GI น่าน สู่ห้างสรรพสินค้า TOP Supermarket
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก) ร่วมกับ หน่วยงานภาคีต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดแถลงข่าวส้มสีทอง GI น่าน..
อ่านแล้ว: 6076
เปิดปฏิบัติการ แผนแก้จน คลังผนึกพาณิชย์-แรงงาน-เอกชน ระดมกำลังสร้างอาชีพ-เพิ่มรายได้
คนจนหมดประเทศ! กลายเป็นวลีที่ถูกค้นหา และพูดถึงกันมากในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะคำนี้ถูกตีความมาจากคำกล่าวของ..
อ่านแล้ว: 6194
อึ้ง! พบสารเคมีตกค้าง เกินมาตรฐานในผัก-ผลไม้
อึ้ง!! พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน 64% ถั่วฝักยาว คะน้า ใบบัวบก กะเพรา พริกแดง องุ่น แก้วมังกร
อ่านแล้ว: 6132
ค้านทำเหมืองหินชัยภูมิ ยื่นศูนย์ดำรงธรรมช่วย
คัดค้านขอใช้ประโยชน์พื้นที่ทำเหมืองแร่หินก่อสร้าง ของบริษัท พารุ่งฯ หลังคณะกรรมการตรวจสอบไฟเขียว ส่งให้กรมป่าไม้พิจารณา
อ่านแล้ว: 7118
ครม.ไฟเขียว งบปลูกพืชแทนข้าว 2 โครงการ 488ล.
ครม.อนุมัติ 488 ล้าน หนุนลดพื้นที่ปลูกข้าว 2 โครงการ หันไปปลูกพืชหลากหลาย ปลูกพืชปุ๋ยสด
อ่านแล้ว: 5821
พบ หนอนตัวแบนนิวกินี ทุกภาคทั่วไทย แนะควรทำลายป้องกันการระบาด
นักวิชาการเผยพบ หนอนตัวแบนนิวกินี ในพื้นที่ทุกภาคทั่วประเทศแล้ว แนะควรทำลายทิ้งเพื่อป้องกันการระบาด
อ่านแล้ว: 5986
ส.ป.ก. เตรียมแจกที่ดินยึดคืน แก่เกษตรกรเพิ่มอีก 5จ. กว่าหมื่นไร่

อ่านแล้ว: 5138
หมวด Agri live update ทั้งหมด >>