ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ห้องปศุสัตว์ | อ่านแล้ว 4887 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เลี้ยงสัตว์ปีก รับอากาศเปลี่ยน

เลี้ยงสัตว์ปีก รับอากาศเปลี่ยน



data-ad-format="autorelaxed">

ในช่วงรอยต่อฤดูกาลภาวะอากาศแปรปรวน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ แนะวิธีจัดการโรงเรือนเพื่อลดอัตราการสูญเสีย

 

ด้วยอากาศเปลี่ยนแปลงตลอดวัน มีทั้งร้อน ฝนตก สลับอากาศเย็น สัตว์ปีกเลี้ยงแบบปล่อยหรือในโรงเรือนแบบเปิดไม่สามารถปรับตัวได้ทัน น.สพ.นรินทร์ ร่มลำดวน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สำนักเทคนิคและวิชาการสัตว์บก ซีพีเอฟ แนะให้เข้มงวดการทำวัคซีนป้องกันโรค เตรียมโรงเรือนเพิ่มกันสาด หรือปิดผ้าใบป้องกันฝนรอบโรงเรือน เพิ่มหลอดไฟกกเพื่อสร้างความอบอุ่นให้สัตว์ปีกในช่วงที่อากาศเย็นลง ควบคุมความเร็วลมให้เหมาะสม และเสริมวิตามินละลายน้ำให้สัตว์กิน 3-5 วันติดต่อกัน เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับสัตว์ จะช่วยลดการใช้ยาในการรักษาสัตว์ทำให้ผู้บริโภคได้รับอาหารปลอดภัย

 

“ระยะนี้มีฝูงนกอพยพย้ายถิ่นจากเขตหนาว เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคระบาดให้ป้องกันตั้งแต่ต้นทาง ฆ่าเชื้อโรคในน้ำด้วยคลอรีน 2–3 ppm หรือน้ำ 1,000 ลิตรต่อคลอรีนออกฤทธิ์ 2–3 กรัม พ่นยาฆ่าเชื้อกลุ่มกลูตาราลดีไฮด์เป็นประจำทุกวัน และพ่นยาฆ่าเชื้อรถขนส่งที่เข้าออกฟาร์ม พร้อมจัดเตรียมรองเท้าบูตสำหรับสวมใส่ในโรงเรือนโดยเฉพาะ”

 

การดูแลไก่เนื้อ หากมีแกลบเปียกน้ำต้องนำออกและเปลี่ยนใหม่ทันที และต้องหมั่นกลับแกลบถี่ขึ้น 3 วันต่อครั้ง...ส่วนไก่ไข่ นำมูลไก่ออกจากโรงเรือนบ่อยครั้งขึ้นและมีการระบายอากาศที่ดี

 

ช่วงเปลี่ยนฤดูหลายพื้นที่อาจมีพายุฝน ให้ย้ายสัตว์ปีกเข้าเลี้ยงในโรงเรือนที่แข็งแรง ตัดแต่งกิ่งต้นไม้รอบฟาร์มให้เรียบร้อย ไม่ให้หักโค่นมาโดนหลังคาหรือสายไฟ ซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนให้ดี ปรับปรุงและเสริมความแข็งแรงเพื่อไม่ให้ลมพัดเสียหาย โดยเฉพาะโรงเรือนเก่าไม่แข็งแรง ต้องหาไม้ค้ำยันเพื่อป้องกันการพังจากลมแรง และจัดเก็บอาหารสัตว์ให้มิดชิด หากโดนฝนจนเปียกมากไม่ควรนำมาเลี้ยงสัตว์

 

ส่วนการเลี้ยงในโรงเรือนระบบปิด หรืออีแวป (EVAP) ต้องควบคุมการทำงานของพัดลมและเยื่อกระดาษหน้าโรงเรือนให้เหมาะสม และต้องเตรียมเครื่องสำรองไฟและน้ำมันเชื้อเพลิงให้พร้อมสำหรับกรณีไฟดับ เพื่อให้พัดลมทำงานได้ตามปกติ...เกษตรกรสอบถามข้อมูลและคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ 0-2988-0670 จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-18.00 น.

 

source: thairath.co.th/content/1092915


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 4887 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ห้องปศุสัตว์]:
ไทยไฟเขียว นำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์ ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ใน พ.ศ.2559 กรมปศุสัตว์ได้อนุมัติ อย่างเป็นทางการให้เนเธอร์แลนด์ส่งออกเนื้อลูกวัวและเนื้อวัวมายังประเทศไทย
อ่านแล้ว: 7011
ไก่โคราช เลี้ยงง่าย โตไว
ไก่เนื้อโคราช เป็นไก่ลูกผสมเกิดจากการผสมพันธุ์ ของพ่อพันธุ์พื้นเมือง ไก่เหลืองหางขาวของกรมปศุสัตว์ กับแม่พันธุ์ ไก่ มทส.
อ่านแล้ว: 7096
ไฟเขียวนำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์!!!
ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค-พรีเมี่ยม ขณะที่ไทยขยายเวลานำเข้าลูกไก่-ไข่ฟัก หลังโรควัวบ้าระบาดในยุโรปทำส่งออก-นำเข้าชะงัก
อ่านแล้ว: 6755
เลี้ยงวัวทุนน้อย แต่ครบวงจร ทำได้ไหม รวยได้ไหม?
ผมเลี้ยงวัวแม่พันธุ์เอาไว้ 4 ตัว อีก 4 ตัวเป็นวัวที่กำลังขุนอยู่ ก็ทำตามกำลังทุนและกำลังกายที่เรามี
อ่านแล้ว: 7855
โคเนื้อกำแพงแสน สร้างรายได้ ม.เกษตรฯกระจายพันธุ์ ช่วยเกษตรกรดันรายได้สุทธิพุ่ง
เกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อกำแพงแสนแบบขุนขาย พบว่ามีต้นทุน 39,682.50 บาทต่อตัว หรือ 70.86 บาทต่อกิโลกรัม
อ่านแล้ว: 6301
คนเลี้ยงหมู สุดช้ำ แม้เงินเฟ้อ แต่ราคากลับถูกลง
อ้างเหตุผลความต้องการลดลงในช่วงปิดเทอมและเทศกาลกินเจ
อ่านแล้ว: 5565
ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
การเตรียมดิน พืชอาหารสัตว์ เป็นพืชที่ต้องการแสงแดดในการเจริญเติบโตอย่างมาก ในแปลงปลูกหญ้า จึงต้องโค่นตัดต้นไม้ออก
อ่านแล้ว: 5872
หมวด ห้องปศุสัตว์ ทั้งหมด >>