ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 5721 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ชำแหละ! พ.ร.บ.พันธุ์พืช ใครได้ ใครเสีย?

ชำแหละ! พ.ร.บ.พันธุ์พืช ใครได้ ใครเสีย?



data-ad-format="autorelaxed">

ประเด็นร้อนต่อร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ...ที่ยกร่างขึ้นใหม่เพื่อจะใช้แทน พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ที่กรมวิชาการเกษตรผู้ยกร่างฯกับมูลนิธิชีววิถี หรือไบโอไทย ที่มองต่างมุม โดยสงวนจุด ร่วมยึดผลประโยชน์ของเกษตรกรเป็นที่ตั้ง ความจริงจะเป็นอย่างไร ใครได้-ใครเสีย รวมถึงบางประเด็นที่ยังมีข้อถกเถียง ทำให้กรมวิชาการเกษตรต้องขยายระยะเวลาการรับฟังความเห็นออกไปจากจะสิ้นสุดวันที่ 20 ตุลาคมเป็นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 “ฐานเศรษฐกิจ” ฉบับนี้รายงานพิเศษถึงมุมมองที่แตกต่างของผู้มีส่วนได้-เสียต่อร่างพ.ร.บ.ฉบับใหม่ ทั้งเอกชน ราชการ และกลุ่มเอ็นจีโอ ดังนี้

ดร.ชัยฤกษ์ สงวนทรัพยากร นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย

ดร.ชัยฤกษ์ สงวนทรัพยากร นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย



**ยันไม่กระทบเกษตรกร
ดร.ชัยฤกษ์ สงวนทรัพยากร นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย กล่าวว่า ร่างกฎหมายนี้ เป็น การคุ้มครองการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ ซึ่งเป็นการคุ้มครองเชิงทรัพย์สินทางปัญญาให้สิทธินักปรับปรุงพันธุ์พืชจากภาครัฐ ภาคเอกชน หรือเกษตรกรที่มีความรู้ความสามารถในการปรับปรุงพันธุ์พืชจนได้เป็นพันธุ์พืชใหม่และนำมาจด ทะเบียนคุ้มครองพันธุ์ใหม่ภายใต้ พ.ร.บ.นี้

“ประเด็นการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ และการใช้พันธุ์พื้นเมืองทั่วไปมักจะถูกนำมาบิดเบือนสร้างความสับสนให้กับสาธารณะ เช่น เป็นการผูกขาดเมล็ดพันธุ์ให้บริษัทเอกชน/เกษตรกรมีความผิดติดคุก หากเก็บรักษาพันธุ์ไว้ปลูกต่อ และการหลีกเลี่ยงไม่ต้องแบ่งปันผลประโยชน์ของบริษัทเอกชน ทางสมาคมขอยืนยันว่าไม่จริง ไม่ได้ห้ามหรือจำกัดสิทธิเกษตรกรหรือประชาชนคนใดในการเก็บพันธุ์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ และ
ถึงแม้ว่าจะเป็นพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับอนุมัติให้เป็นพันธุ์พืชใหม่ตาม พ.ร.บ.นี้ เกษตรกรก็มีสิทธิเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ไปปลูกรุ่นต่อๆไปได้”

ส่วนเรื่องการผูกขาดเมล็ดพันธุ์เป็นไปไม่ได้ในประเทศไทย เพราะพันธุ์พืชชนิดเดียวกันกับพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับการอนุมัติจาก พ.ร.บ.ฉบับนี้มีอีกมากมาย ซึ่งเกษตรกรสามารถเลือกใช้ได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาพันธุ์พืชใหม่ ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันมีพันธุ์แตงกวา กว่า 100 พันธุ์ หากนาย ก.ปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาใหม่และได้รับอนุมัติให้เป็นแตงกวาพันธุ์ใหม่ตาม พ.ร.บ.นี้ อีกหนึ่งพันธุ์ เกษตรกรก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมาเลือกใช้พันธุ์ใหม่ของนาย ก. เกษตรกรสามารถเลือกซื้อพันธุ์แตงกวาจากหน่วยราชการ สถาบันการศึกษา หรือบริษัทต่างๆ ได้ตามความพอใจ

**เหตุต้องเป็นสมาชิกUPOV
ดร.ชัยฤกษ์ กล่าวอีกว่า การเข้าเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (อนุสัญญา UPOV 1991) จะทำให้พันธุ์พืชไทยที่ส่งไปขายในประเทศภาคีสมาชิก (72 ประเทศ) ได้รับการคุ้มครองพันธุ์ที่ไทยได้พัฒนาขึ้น หากไม่ได้เป็นสมาชิกก็จะไม่ได้รับการคุ้มครองพันธุ์ที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา ส่วนเรื่องระยะเวลาการคุ้มครองได้รับการขยายต่อไปยาวนานจนกลายเป็นการผูกขาดที่นานเกินไป ในเรื่องนี้ถือเป็นความจำเป็น เพราะการพัฒนาพันธุ์ต้องใช้ทั้งทุนทรัพย์ เวลา และความทุ่มเทของนักปรับปรุงพันธุ์ สิทธิตัวนี้ควรเป็นของนักปรับปรุงพันธุ์ ที่ต้องได้รับผลตอบแทนไปตลอดเหมือนกับค่ายเพลง ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี หรือไบโอไทย(BioThai)

วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี หรือไบโอไทย(BioThai)



**โต้กรมแจงไม่หมด
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี หรือไบโอไทย(BioThai) กล่าวว่า จากที่กรมวิชาการเกษตรได้แถลงออกมานั้นเป็นการอธิบายคนละมุม ชี้แจงไม่หมด ยกตัวอย่างในกรณีที่อ้างว่าเกษตรกรยังคงเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชได้ไม่เป็นความจริง เนื่องจากในร่างพ.ร.บ.มาตรา 35 จะระบุข้อความว่า “เพื่อประโยชน์ในการเพาะปลูกหรือขยายพันธุ์สำหรับพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับความคุ้มครอง เกษตรกรมีสิทธิในการใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ตนเองเป็นผู้ผลิตในพื้นที่ของตนเอง”

แต่ทั้งนี้กลับเพิ่มเงื่อนไขสำคัญต่อท้ายว่า “เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการปรับปรุงพันธุ์รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชมีอำนาจออกประกาศกำหนดพันธุ์พืชใหม่ชนิดใดเป็นพันธุ์พืชที่สามารถจำกัดปริมาณการเพาะปลูกหรือการขยายพันธุ์ทั้งหมดหรือบางส่วนของเกษตรกร
ที่จะเอาไปปลูกต่อโดยสามารถจะจำกัดได้บางส่วน หรือทั้งหมด” นี่เป็นสิ่งที่ UPOV 1991 ประเทศสหรัฐอเมริกาและบริษัทยักษ์ใหญ่ผลักดันมาโดยตลอด ที่จะจำกัดพันธุ์และปริมาณที่จะไปขยายต่อ ทั้งนี้หากเกษตรกรปลูกพันธุ์พืชใหม่ตามประกาศข้างต้นแล้วเก็บรักษาพันธุ์ไปปลูกต่อ หรือแจกจ่ายแก่เพื่อนบ้านจะมีความผิดตามร่าง พ.ร.บ.มาตรา 74 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ที่สำคัญการแก้กฎหมายฉบับนี้ควรจะปรับแก้เป็นรายมาตรา ไม่ใช่ทั้งฉบับ

**เปิดทางบรรษัทผูกขาด
ส่วนการขยายสิทธิผูกขาดแก่บริษัทเมล็ดพันธุ์เพิ่มขึ้น จากเดิมพืชที่ให้ผลผลิตตามลักษณะประจำพันธุ์ได้หลังจากปลูกจากส่วนขยายพันธุ์ภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี และพืชที่ให้ผลผลิตตามลักษณะประจำพันธุ์ได้หลังจากปลูกจากส่วนขยายพันธุ์ในเวลาเกินกว่า 2 ปีให้การคุ้มครอง 12 ปีและ 17 ปีตามลำดับนั้น ในมาตรา 31 ของร่างพ.ร.บ.ฉบับใหม่ขยายระยะเวลาออกไปเป็น 20 ปี ส่วนไม้เถายืนต้น (เช่น องุ่น) ให้มีระยะเวลา 25 ปี

“ไบโอไทย ยังมีงานวิจัยที่นักวิชาการได้ศึกษาผลกระทบไว้จากร่าง พ.ร.บ.นี้ 5 ด้าน ได้แก่ 1. ประเทศไทยสูญเสียอิสระในการกำหนดนโยบายคุ้มครองพันธุ์ 2. บรรษัทยึดครองตลาดพันธุ์พืช 3. กระทบความมั่นคงทางอาหาร 4. เกษตรกรต้องซื้อพันธุ์ราคาแพง และ 5 ลดทอนกลไกการจัดการทรัพยากรชีวภาพ”

สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร

สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร



**กรมยํ้าไม่เสียประโยชน์
นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่าการปรับปรุงกฎหมายครั้งนี้เป็นการเสนอร่าง พ.ร.บ.ให้สอดคล้องกับข้อมูลของ
อนุสัญญา UPOV 1991 แต่ยังมิใช่เป็นการขอความเห็นชอบในการเป็นภาคี UPOV 1991 เนื่องจากเป็นแนวทางปฏิบัติที่ประเทศส่วนใหญ่ใช้อยู่ ส่วนการตัดสิทธิของเกษตรกรเก็บรักษาพันธุ์พืชใหม่ไปปลูกต่อนั้นได้ไปใส่ไว้ในมาตรา 35 เพื่อให้เกิดความชัดเจน ยืนยันว่าเกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไปปลูกในฤดูต่อไปในพื้นที่ของตนเองได้โดยไม่มีโทษ ส่วนการขยายระยะเวลาการผูกขาดพันธุ์พืชใหม่ของบริษัทออกไปตาม UPOV 1991 โดยขยายสิทธิผูกขาดพันธุ์พืชออกไปจาก 12-17 ปี เป็น 20-25 ปีแล้วแต่กรณี (ยกเว้นพืชที่ให้เนื้อไม้)

“สาเหตุขยายเวลาการคุ้มครองตามกลุ่มพืชจากเดิมพืชล้มลุก 12 ปี เป็น 20 ปี พืชไม้ผลยืนต้นจาก 17 ปีเป็น 25 ปี และพืชให้เนื้อไม้จาก 27 เป็น 25 ปี นั้นเนื่องจากในการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชกว่าจะได้พันธุ์ใหม่ที่ดีมีศักยภาพออกสู่ตลาดจำเป็นต้องใช้ทุนทั้งสติปัญญาเวลาและงบประมาณ ที่สำคัญจะทำให้นักปรับปรุงพันธุ์มีแรงจูงใจที่จะลงทุนและลงแรงในการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ๆขึ้นมา”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,305 วันที่ 15 - 18 ตุลาคม พ.ศ. 2560


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 5721 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9127
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7475
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7549
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 7878
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 6860
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8127
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7356
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>