ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 27492 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เราควรจะเลิกปลูกข้าวเพื่อการส่งออกหรือไม่

ปัญหาราคาพืชผลเป็นปัญหาโลกแตกจริงๆ ครับ ถ้ายังจำกันได้เมื่อสามเดือนที่แล้ว ราคาข้าวในตลาดโลกพุ่งสูงถึงตันละ 1,100 เหรียญสหรัฐ และขายแทบจะไม่ทัน จน

data-ad-format="autorelaxed">

1 - การรับจำนำข้าว

เมื่อวันก่อนมีข่าวเศรษฐกิจอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจคือ มติ ครม. ที่มีมติให้ประกันราคาข้าว โดยการรับจำนำข้าวและให้นาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) กู้เงินจากสี่ธนาคารของรัฐ คือ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารนครหลวงไทย และธนาคารทหารไทย วงเงินรวมทั้งสิ้น 1.1 แสนล้านบาท เพื่อช่วยพยุงราคาพืชผลที่ตกต่ำลงอย่างฮวบฮาบ ด้วยวิธีการรับจำนำ

ปัญหาราคาพืชผลเป็นปัญหาโลกแตกจริงๆ ครับ ถ้ายังจำกันได้เมื่อสามเดือนที่แล้ว ราคาข้าวในตลาดโลกพุ่งสูงถึงตันละ 1,100 เหรียญสหรัฐ และขายแทบจะไม่ทัน จนใครๆ บอกว่าเป็นยุคทองของเกษตรกรแล้ว แต่ไม่น่าเชื่อนะครับว่าผ่านไปสามเดือน จะเหมือนความฝันคือราคาข้าวร่วงมาเหลือตันละ 400 เหรียญ และรัฐบาลยังมีแนวคิดอุตริจะไปซื้อข้าวจากเวียดนามที่ขายขาดทุนต่ำกว่า 400 เหรียญสหรัฐต่อตัน มาตุนไว้อีก แล้วถ้าข้าวในประเทศมีมากเกินไป ราคามันจะลงไปอยู่ที่ไหนล่ะครับ

จริงๆ ปัญหาการประกันราคาข้าวนี่ทำกันมานานแล้วครับ และมักจะมีการรั่วไหลกันเสมอ การประกันราคาข้าวก็คือรัฐบาลประกาศให้ ธกส. ทำการรับจำนำข้าวที่ราคาต่ำกว่าราคากตลาดเล็กน้อย (เช่น 90%) เพื่อให้พ่อค้าคนกลางไม่รวมหัวกันกดราคา เพราะว่าถ้าพ่อค้ากดราคารับซื้อ ชาวนาก็เอาข้าวไปจำนำกับ ธกส. ดีกว่า เวลาขายข้าวได้ ก็เอาเงินไปเอาข้าวออกมาขาย ถ้าราคาดีกว่าที่จำนำไว้ ก็เอาออกมาขาย ถ้าราคาต่ำกว่าที่จำนำไว้ ก็ทิ้งข้าวไว้ให้รัฐบาลปล่อยข้าวออกไปเอง

กลไกการแทรกแซงราคาพืชผลเกษตรนี่ทำกันมาช้านานแล้วครับ เนื่องจากพ่อค้าคนกลางในประเทศไทยมักจะรวมตัวกันกดราคาพืชผลการเกษตร ถ้ารัฐไม่ทำอะไร อ้างแต่กลไกตลาด (กลไกตลาด = ปล่อยตามยถากรรม) เกษตรกรก็จะเดือดร้อนเนื่องจากขายสินค้าเกษตรในราคาที่ขาดทุน หรือกำไรน้อยประจำ

อย่างไรก็ดี การรับจำนำราคาข้าวไม่ได้แลกมาด้วยอะไรฟรีๆ ครับ เนื่องจากเงินที่เอามาจำนำก็ไม่ได้มาจากไหนครับ มาจากการปล่อยกู้ของธนาคารรัฐด้วยกันให้กับ ธกส. ซึ่งถ้าขาดทุนก็แปลง่ายๆ ว่าหนี้สาธารณะนั้นได้เพิ่มขึ้นด้วย เพราะว่ารัฐบาลค้ำประกันให้ ธกส. ในการกู้เงินจากธนาคารอื่น ยังไงซะ ถ้า ธกส. ไม่มีเงินคืน รัฐก็ต้องชดใช้ให้ทั้งหมดครับ

ก็แปลกใจนะครับว่าทำไมรัฐบาลไทยถึงไม่ชอบแก้ที่รากของปัญหา แต่กลับชอบไปแก้ที่ปลายเหตุที่ราคาสินค้า และต้องหาเงินนอกงบประมาณมาโปะทุกที แบบนี้มันก็ไม่ช่วยให้ชาวนาอยู่ได้ด้วยลำแข้งของตนเอง จริงๆ ปัญหาเรื่องราคาข้าวนี่เราแก้กันไม่ยากนะครับ หน้าต่อไปจะมาคุยกันว่าจะมีวิธีกันอย่างไรดี


2 - เราควรจะเลิกปลูกข้าวเพื่อการส่งออกหรือไม่??

หน้าที่แล้วได้คุยค้างไว้เกี่ยวกับการประกันราคาข้าว และการรับจำนำข้าว โดยใช้เงินงบประมาณนอกระบบของ ธกส. โดยผ่านการกู้กับธนาคารของรัฐอีกสี่แห่งเป็นวงเงิน 1.1 แสนล้านบาท ซึ่งสรุปได้ว่าไม่ว่าจะมีเหตุการณ์ผันแปรของวิกฤติเศรษฐกิจที่ทำให้ผู้ประกอบการ หรือชาวบ้านเดือดร้อน เรามักจะใช้นโยบายการคลัง เช่น การจัดทำงบประมาณขาดดุล การใช้เงินนอกงบประมาณเข้าไปช่วยเหลือ หรือไม่ก็ใช้นโยบายการเงิน เช่น เรื่องของดอกเบี้ย เข้าไปเหมือนกับเป็นยาแอสไพริน แก้ปวดทุกครั้งไป และเป็นแอสไพรินที่ราคาแพงมาก และรักษาก็ไม่หาย ทั้งๆ ที่โรคทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เป็นเรื่องของปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจที่ขาดนวัตกรรม และการเพิ่ม Productivity ในการผลิต หรือการผลิตสินค้าหรือบริการที่มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจที่น้อย

จริงๆ แล้วปัญหาเรื่องราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เป็นปัญหาเรื่องของ Demand-Supply หรืออุปสงค์อุปทาน นั่นเองครับ ซึ่งที่ผ่านมาเราอาจจะสงสัยว่าทำไมราคาข้าวในตลาดโลกราคาจึงได้สูงถึวกว่าตันละ 1,200 เหรียญสหรัฐ แล้วทำไมจู่ๆ ราคาถึงได้ร่วงแบบรับไม่ทันลงมาที่ประมาณแถวๆ 400 เหรียญสหรัฐ ภายในเวลาอันสั้น เหตุผลง่ายๆ ก็คือช่วงที่ราคาข้างขึ้นสูงนั้น การผลิตข้าวในหลายประเทศได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ จึงทำให้การผลิตหยุดชะงัก และข้าวขาดตลาด แต่ตอนนี้ผลผลิตจากฤดูใหม่ออกมาแล้ว ราคาก็ต้องหล่นลงไปตามระเบียบครับ

อย่างไรก็ตาม ผมเคยได้สนทนาปัญหาเศรษฐศาสตร์กับอดีตเศรษฐกรอาวุโสของธนาคารเพื่อพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Deveopment Bank หรือ ADB) เกี่ยวกับการปลูกข้าว ท่านให้ความเห็นว่าจริงๆ แล้วนั้น ตอนนี้ประเทศไทยกำลังใช้งบประมาณของรัฐในการอุดหนุนการกินข้าวของประชากรทั้งโลก ฟังทีแรกก็งง จนมาถึงบางอ้อว่า ที่แท้นโยบายของประเทศไทยคือการส่งออกข้าวสู่ตลาดโลก แต่ราคาที่รับซื้อจากชาวนานั้น แลกด้วยเงินนอกงบประมาณของรัฐที่มาจำนำ และอาจจะเกิดการขาดทุนขึ้น รวมไปถึงการให้การอุดหนุนชาวนาในด้านต่างๆ เพื่อให้ชาวนาปลูกข้าว และขายข้าวได้ ทั้งๆ ที่หากเราลองคำนวณดูแล้ว เราอาจจะขาดทุนในทางเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากราคาที่ขายนั้นเราอาจจะยังไม่ได้คำนวณเอาต้นทุนภาษีที่อุดหนุนการปลูกข้าวในครั้งนี้เข้าไปด้วย

ดังนั้นคำถามที่ผมกับท่านเศรษฐกรอาวุโสได้สนทนาทิ้งท้ายกันว่า จริงๆ แล้วประเทศไทยควรจะเลิกปลูกข้าวส่งออกหรือไม่ แล้วไปปลูกข้าวแต่พอรับประทานในประเทศ เพื่อให้ราคาข้าวสูงขึ้นตาม Demand-Supply และต้องเพิ่ม Yield ต่อไร่ให้สูงขึ้นเท่าตัว เหมือนกับเวียดนาม ญี่ปุ่น หรือไต้หวัน เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในทรัพยากรสูงที่สุด และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ให้ใช้คนน้อยที่สุด ทีนี้ชาวนาก็จะมีรายได้ต่อหัวสูงขึ้น (ซึ่งจริงๆ แล้วที่ไต้หวัน และญี่ปุ่น ไม่ได้เน้นการปลูกข้าวเพื่อการส่งออก เนื่องจากมูลค่าทางเศรษฐกิจต่ำ)

คำถามถัดมาที่ถกเถียงกันก็คือ แล้วแรงงานส่วนเกินที่ไม่ต้องทำนาแล้วจะไปอยู่ที่ไหน คำตอบก็คือก็ต้องไปทำงานอื่นที่มีมูลค่าเพิ่มในทางเศรษฐกิจมากกว่าการปลูกข้าว เช่น อยู่ในอุตสาหกรรม หรือธุรกิจขนาดเล็กที่เพิ่มมูลค่ารวมของ GDP ประเทศให้ได้มากกว่านี้ ทีนี้เราอาจจะไม่ต้องแก้ปัญหาด้วยแอสไพรินราคาแพงตลอดเวลา

ที่เขียนมาเป็นการถกเถียงในเชิงวิชาการระหว่างผมกับท่านเศรษฐกรอาวุโสนะครับ จริงๆ ก็ยังไม่ได้ตกผลึกออกมาเป็นข้อสรุปสุดท้ายสักเท่าไหร่ หากท่านผู้อ่านท่านใดมีความคิดเห็นเพิ่มเติม ก็ขอเชิญนะครับ จะได้มาช่วยๆ กันลับสมองครับ อย่าซีเรียสมากนะครับ เพราะว่ามันเป็นคำถามปลายเปิดครับ

ที่มา: เราควรเลิกปลูกข้างเพื่อการส่งออกหรือไม่ ใน ดร. วรัญญู Blog

http://www.vcharkarn.com/varticle/38250

 

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 27492 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

lion_k
[email protected]
ผมก็เห็นว่าไม่ควรเลิก แต่ควรพัฒนาส่งเสริมการตลาดให้แก่ชุมชน และให้ชาวบ้านมีความสามารถทางด้านการตลาดและการส่งออกได้ด้วยตัวเอง โดยตัดคนกลางออกไปให้ได้มากที่สุด เรื่องคุณภาพข้าวไทยอยู่ในระดับที่ดี แต่ผู้ปลูกขาดโอกาสทางด้านการตลาด
08 ก.พ. 2554 , 07:20 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ทวีวรรณ
[email protected]
ไม่ควรเลิกแต่ควรพัฒนาการปลูกควรส่งเสริมให้ชาวนามีความรู้อย่างจริงจังในการปลูกข้าว
08 ก.พ. 2554 , 12:44 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ทวีวรรณ
[email protected]
ไม่ควรเลิกแต่ควรพัฒนาการปลูก
08 ก.พ. 2554 , 12:42 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

วิภาพร
[email protected]
อยากขอข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมค่ะ ไม่ทราบว่าจะติดต่ออย่างไรค่ะ
23 พ.ย. 2553 , 01:10 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ยิม
[email protected]
อ่านแล้ว เห็นว่าควรเลิก
17 มิ.ย. 2553 , 08:06 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9127
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7475
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7549
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 7878
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 6860
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8127
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7356
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>