ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: Agri live update | อ่านแล้ว 1888 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เปิดโลกเกษตรกรรมล้ำยุค ธุรกิจที่จะงอกงามในอนาคต

เปิดโลกเกษตรกรรมล้ำยุค ธุรกิจที่จะงอกงามในอนาคต

จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยยังไม่มีเค้าลางว่าจะมีอะไร มาช่วยคุมอัตราการเกิดได้ 

data-ad-format="autorelaxed">

และปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ย่ำแย่ลงทุกที ทำให้โลกที่เคยรู้สึกว่าช่างกว้างใหญ่ไพศาลเริ่มมีขนาดคับแคบลงทุกที ถ้าจำนวนประชากรโลกขยับทะลุหลัก 8,000 ล้านคนในอีกสิบปีข้างหน้าหรือทะลุเกิน 1 หมื่นล้านคนในอีก 45-50 ปีข้างหน้า โลกจะยังพอมีพื้นที่ผลิตอาหารเลี้ยงชาวโลกพอเพียงหรือไม่ นับเป็นโจทย์ที่ท้าทายต่อเหล่าบรรดาเกษตรกรและธุรกิจการผลิตอาหารในอนาคตอย่างไม่ต้องสงสัย

 

แต่ก่อนจะไปถึงเวลานั้น เราลองมาสำรวจดูซิว่า ศักยภาพของเหล่าชาติผู้เป็นกำลังหลักในการผลิตอาหารส่งออกไปขายทั่วโลกหรือชาติมหาอำนาจทางการกสิกรรม ณ เวลานี้นั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง แน่นอนอยู่ว่าเกือบทั้งหมดของชาติเหล่านี้ ต้องมีอาณาเขตหรือขนาดประเทศอันกว้างใหญ่ไพศาล มีภูมิอากาศหลากหลายที่เอื้อในการทำการเกษตรได้แทบทุกฤดูกาล สามารถสร้างผลผลิตได้ตลอดทั้งปี

 

ในเอเชียเรานั้น ข้อมูลจากการประเมินโดยธนาคารโลกเผยว่า จีนแผ่นดินใหญ่นั้นมีพื้นที่กว่าครึ่ง หรือราว 54.8% เป็นแหล่งสร้างผลิตผลทางการเกษตรสำคัญอย่าง ฝ้าย น้ำมันพืช อ้อย ใบชา เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากแหล่งน้ำ โดยมีอัตราเติบโตราว 4% แต่ด้วยจำนวนประชากรในประเทศที่มีมากจนติดอันดับโลก จีนจึงมีผลิตผลทางการเกษตรเหลือส่งออกไม่มากนัก และมีสถานะเป็นผู้นำเข้าเสียมากกว่า

 

อินเดียนับเป็นอีกชาติมหาอำนาจทางการเกษตรในเอเชีย เพราะมีพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 60.3% ของประเทศ ขณะที่จำนวนประชากรจำนวนครึ่งหนึ่งของทั้งหมดเกี่ยวข้องกับอาชีพกสิกรรมโดยกว่า 70% ในจำนวนนี้เป็นชาวชนบทที่ยังชีพอยู่ได้ด้วยผลิตผลทางการเกษตร ผลผลิตที่สำคัญได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ถั่วเหลือง น้ำตาล ผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากนมเนยและเนื้อสัตว์ ปัจจุบันมีอัตราการเติบโตอยู่ราว 3.4%

 

เมื่อขยับเข้ามาดูในกลุ่มชาติอาเซียนด้วยกัน ก็พบว่าอินโดนีเซียเป็นชาติที่มีศักยภาพทางการเกษตรสูงที่สุดในกลุ่ม ด้วยพื้นที่อันกว้างใหญ่และอุดมไปด้วยหมู่เกาะใหญ่น้อยจำนวนมาก มีแรงงานกสิกรรมอยู่ไม่น้อยกว่า 40% ของจำนวนประชากรทั้งหมด มีพื้นที่ทางการเกษตรอยู่ราว 30% และส่วนใหญ่อยู่บนเกาะชวาอันเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางการบริหารประเทศ ผลิตผลสำคัญของอินโดนีเซีย ได้แก่ น้ำมันปาล์ม ยางพารา โกโก้ กาแฟ ชา ข้าว อ้อย ใบยาสูบ มันสำปะหลัง และเครื่องเทศ

 

ถัดลงมาก็ได้แก่ เมืองไทยของเราเอง ซึ่งนับว่าเป็นดินแดนอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของชาวโลกอยู่ไม่น้อย เพราะรั้งอันดับที่ 8 ในกลุ่ม Top Ten ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลก ด้วยยอดส่งออกสินค้าในปัจจุบันที่มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 7,200 ล้านบาทเลยทีเดียว ผลิตผลทางการเกษตรที่ยังคงเป็นพระเอกของเราก็ได้แก่ ข้าวและผลิตภัณฑ์อาหารจากข้าว มียอดส่งออกราว 172,778 ล้านบาทในปีก่อน และถึงแม้ว่าจะเสียแชมป์ผู้ส่งออกข้าวมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกให้กับอินเดียไปแล้ว แต่ข้าวไทยก็ยังคงมีอนาคตที่ดีเพราะยังมีลูกค้าเหนียวแน่นอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นชาติผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก

 

ส่วนผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่เป็นอันดับรองจากไทยนั้น ก็ได้แก่ มาเลเซีย ซึ่งอาจสร้างความประหลาดใจในการรับรู้อยู่ไม่น้อยเพราะดูเป็นเพียงประเทศเล็กๆ ในกลุ่มอาเซียน แต่มาเลเซียนั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรจนติดอันดับที่ 10 ของโลกขึ้นมาได้ก็เพราะว่ามีพื้นที่ปลูกต้นปาล์มมากถึง 50,000 ตร.กม ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นที่มาของน้ำมันปาล์มจำนวนมหาศาลจนกลายเป็นผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ของโลก เรียกได้ว่าตลาดน้ำมันปาล์มของโลกในเวลานี้เป็นผลิตผลของมาเลเซียมากถึง 39% เลยทีเดียว ขณะที่อีก 50.4% หรือราวครึ่งหนึ่งของตลาดนั้นเป็นผลิตผลจากแดนอิเหนา

 

ยังมีเพื่อนบ้านอาเซียนอีกมากมายที่มีรายได้จากการส่งออกผลิตผลทางการเกษตร แต่ก็ไม่ได้โดดเด่นในตลาดโลกมากเท่ากับอินโดนีเซีย ไทย และมาเลเซีย ส่วนมากแล้วจะวางยุทธศาสตร์มุ่งเน้นไปทางการผลิตสินค้าไฮเทคโนโลยีเสียส่วนใหญ่ แต่ก็อย่างที่เกริ่นกันมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า เมื่อจำนวนประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นเป็นทบทวีในอนาคต เสริมด้วยกำเพิ่มจำนวนของผู้มีฐานะปานกลางในดินแดนที่มีประชากรมากที่สุดในโลก อย่าง จีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเวลานี้ได้เริ่มเข้ามากว้านซื้อสินค้าเกษตรสารพัดในบ้านเราจนฉุดให้ราคาอาหารหลายชนิดขยับราคาสูงขึ้นหรือหาทานได้ยาก ซึ่งก็มีตั้งแต่ส้มโอ กล้วยหอม ยันเนื้อหมูเลยทีเดียว แน่นอนว่าเมื่อมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่นนี้ ผลิตผลทางกสิกรรมซึ่งก็หมายถึงกระบวนการผลิตอาหารป้อนชาวโลกนั้นย่อมมีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้นอย่างไม่มีทางเป็นอื่นได้เลย

 

เกษตรกรรมยุคดิจิตอล เศรษฐกิจใหม่ในยุคคนล้นโลก ในภาวะที่สิ่งแวดล้อมเสื่อมลงทุกวันจนดูราวกับว่า เกษตรกรที่ไม่อาจหาความแน่นอนในแต่ละฤดูกาลได้อีกแล้ว การเพาะปลูกแบบพึ่งพาธรรมชาติแต่เดิมๆ คงต้องถึงจุดเปลี่ยนแปลงกันอย่างขนานใหญ่ในอนาคต โดยการหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีชั้นสูงกันมากยิ่งขึ้น

 

เทคโนโลยีพื้นฐานที่เกษตรกรหัวก้าวหน้าในบ้านเราพอจะเสาะมาใช้ได้ไม่ยากนักคือ การพยากรณ์อากาศด้วยตนเองโดยเรียนรู้วิธีการวิเคราะห์สภาพภูมิอากาศจากเว็บไซด์ของกรมอุตุนิยมวิทยา(www.tmd.go.th) เกษตรกรรายใดที่มีอินเตอร์เน็ตใช้ ก็สามารถใช้ฐานความรู้จากตรงนี้มาช่วยวางแผนการเพาะปลูกของตนใด้ ขณะที่ระบบ GPS และภาพถ่ายดาวเทียมของพื้นที่เพาะปลูกที่อาจเสิร์ชหาได้ไม่ยากจาก Google Earth ก็ช่วยให้การวางแปลงเพาะปลูกทำได้ง่ายขึ้นกว่าเมื่อยี่สิบปีที่แล้วมากมาย ยิ่งถ้าได้อุปกรณ์ช่วยเพาะปลูกและช่วยเก็บเกี่ยวที่ทันสมัยเข้ามาเสริมอีก ก็เก็บผลประโยชน์จากแปลงเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จริงๆ แล้วการเพาะปลูกในรูปแบบทันสมัยเช่นนี้เกษตรกรสมัยใหม่ในโลกตะวันตกนั้นล้ำหน้าชาวเอเชียอย่างมากมาย

 

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีอันทันสมัยอีกมากมายเหลือเกินที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในวงการกสิกรรมได้ เช่น การใช้โดรนบินถ่ายภาพมุมสูงเพื่อวางแผนจัดสรรแปลงเพาะปลูก, การนำเอาซอฟแวร์สร้างภาพ 3 มิติมาช่วยค้นหาแหล่งน้ำบาดาล, การนำเซ็นเซอร์หรืออุปกรณ์ตรวจจับมาติดที่รถแทร็กเตอร์เพื่อเฝ้าดูขั้นตอนการเก็บเกี่ยวแบบเรียลไทม์ ส่วนในแวดวงปศุสัตว์การติดตั้งเครื่องคำนวนสัดส่วนอาหารแบบอัตโนมัติตามปริมาณน้ำนมของแม่วัว หรือการใช้กล้องอินฟราเรดเพื่อตรวจคัดไก่ตัวที่ป่วยออกก่อนจะสร้างหายนะไปทั้งฟาร์ม นับเป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ ที่ชี้ให้เห็นว่า เทคโนโลยีสมัยใหม่นั้นสามารถเอื้อประโยชน์ให้แก่เหล่าเกษตรกรในยุคดิจิตอลได้อย่างไร    

 

ศูนย์กลางแห่งการทำเกษตรแบบไฮเทคในเวลานี้อยู่ในสหรัฐอเมริกา ชาติมหาอำนาจผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ที่สุดในโลกนั่นเอง วิถีการทำเกษตรที่นี่อาจเป็นต้นแบบให้แก่เหล่าเกษตรกรทั้งหลายในโลกได้เจริญรอยตามก็เป็นไปได้ โดยเฉพาะในแง่ของการเพาะปลูกโดยใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

 

จากข้อมูลของ  AgFunder (https://agfunder.com) ซึ่งเป็นศูนย์รวมของเหล่านักลงทุนด้านเกษตรกรรมยุคใหม่ทางออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง เผยว่า ในปีที่ผ่านมาการลงทุนในเทคโนโลยีด้านอาหารและกสิกรรมในอเมริกานั้นมีมูลค่าสูงถึง 4.6 พันล้านเหรียญฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับตัวเลข 2.3 พันล้านเหรียญฯ ในปี 2013 อันเป็นปีที่บริษัทมอนซานโต ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรรายใหญ่ของโลก ได้เริ่มการลงทุนในวงการเกษตรกรรมยุคดิจิตอลอย่างจริงจัง โดยการทุ่มทุนสนับสนุนมากถึง 1 พันล้านเหรียญฯ ให้กับบริษัท Climate Corp ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยวิศวกรของกูเกิ้ล เพื่อเป็นแหล่งพัฒนาอัลกอริทึม(กระบวนการคิดแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นขั้นเป็นตอน) ที่ช่วยพยากรณ์ได้ล่วงหน้าว่า สภาวะอากาศจะมีผลกระทบต่อผลิตผลทางการเกษตรอย่างไร

 

โดยทางมอนซานโตได้พ่วงธุรกิจการทดลองเมล็ดพันธุ์ งานวิจัยเกี่ยวกับดิน และบริษัทเก็บสถิติทางการเกษตรของตนเสริมเข้าไปด้วย แถมยังได้เปิดบริษัทเล็กๆ ขึ้นมาอีก 4-5 แห่งเพื่อให้บริการแก่เกษตรกรยุคใหม่แบบครบวงจร เช่น Blue River Technology ผู้ผลิตอุปกรณ์เพาะปลูกไฮเทค, HydroBio ผู้ผลิตอุปกรณ์ตรวจวัดการใช้น้ำ, VitalFields ผู้ให้บริการซอฟท์แวร์จัดการระบบฟาร์ม, Planet Labs เทคโนโลยีทางดาวเทียมที่ใช้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตและดิน เป็นต้น เรียกได้ว่าเป็นการขยายตลาดและปลุกกระแสการเกษตรดิจิตอลครั้งยิ่งใหญ่ ช่วยดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนได้อย่างมากมาย

 

และนี่อาจยังผลให้เกิดข่าวแพร่สะพัดในช่วงปลายเดือนพ.ค.ที่ผ่านมาว่า บริษัทอุตสาหกรรมเคมียักษ์ใหญ่สัญชาติเยอรมัน อย่าง ไบเออร์(Bayer) ได้ยื่นขอเสนอเป็นเงินสดจำนวนมากถึง 62 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อขอซื้อกิจการบริษัทมอนซานโต(Monsanto)ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการทำเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยเฉพาะการตัดแต่งพันธุกรรมผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร(GMO) อย่าง เมล็ดฝ้าย ข้าวโพด และถั่วเหลือง  ซึ่งถ้ามอนซานโตยอมขายกิจการให้ ไบเออร์ก็จะเปลี่ยนสถานะจากบริษัทขายยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพยักษ์ใหญ่ ไปเป็นบริษัทขายสินค้าจำพวกยาฆ่าแมลงและเมล็ดพันธุ์พืชรายใหญ่ของโลกขึ้นมาทันที แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามนี่คือสัญญาณที่บ่งชี้ว่า ยักษ์ใหญ่ทางธุรกิจสัญชาติเยอรมันรายนี้เริ่มมองเห็นหนทางจในการสร้างกำไรมหาศาลจากเหล่าเกษตรกรในยุคดิจิตอลแล้ว

 

ยังมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจอีกมากมายในแวดวงเกษตรกรรมโลกที่ไม่อาจนำมากล่าวได้หมดในที่นี้ เช่น กรณีของ ChemChina ยักษ์ใหญ่ด้านเคมีภัณฑ์สัญชาติจีนที่ทุ่มทุนมหาศาลถึง 43 พันล้านเหรียญฯ เข้าครอบกิจการ Syngenta ผู้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์และย่าฆ่าแมลงรายใหญ่ของสวิส ซึ่งนับว่าเป็นการทุ่มทุนซื้อกิจการต่างชาติเป็นมูลค่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของจีนเลยทีเดียว

 

การเปิดตัว เว็บไซด์ ฟาร์มลิ้งค์ (www.farmlink.com) เพื่อเป็นศูนย์กลางรายงานความเคลื่อนไหวในแวดวงการเกษตรยุคดิจิตอล ก็นับว่าเป็นอีกแง่มุมที่น่าสนใจ น่าเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมสำหรับเกษตรกรหัวก้าวหน้า หรือใครก็ตามที่สนใจเข้ามาทำธุรกิจทางด้านนี้ เพราะดูแล้วมีแนวโน้มที่น่าสดใสพอสมควร

 

เกษตรกรรุ่นใหม่ในโลกตะวันตกทุกวันนี้ เริ่มพกไอโฟน ถือไอแพ็ดออกท้องไร่ เพื่อใช้อ่านข้อมูล ดูภาพถ่ายดาวเทียม และสั่งการอุปกรณ์การเกษตรไฮเทคกันแล้ว แน่นอนว่าเกษตรกรบ้านเราหรือแม้แต่บรรดาเพื่อนบ้านอาเซียนด้วยกัน อาจมองเป็นเรื่องไกลตัวในตอนนี้ แต่ใครจะไปรู้ว่า สักวันหนึ่งซึ่งอาจจะอีกแค่ไม่กี่สิบปีข้างหน้านี้ เมื่อประชากรในประเทศเพิ่มจำนวนสูงขึ้นมาก ขณะที่พื้นที่เพาะปลูกไม่สามารถขยับขยายกันได้อีก นั่นก็คงถึงเวลาที่เหล่าเกษตรกรในอาเซียน จะต้องปรับตัวกันอย่างขนานใหญ่เพื่อเข้าสู่ระบบการเกษตรไฮเทคอย่างเต็มตัว เพื่อการเพาะปลูกอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และสร้างผลผลิตได้อย่างพอเพียง.

 

source: aec10news.com


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 1888 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [Agri live update]:
คาราวานส้มสีทอง GI น่าน สู่ห้างสรรพสินค้า TOP Supermarket
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก) ร่วมกับ หน่วยงานภาคีต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดแถลงข่าวส้มสีทอง GI น่าน..
อ่านแล้ว: 6075
เปิดปฏิบัติการ แผนแก้จน คลังผนึกพาณิชย์-แรงงาน-เอกชน ระดมกำลังสร้างอาชีพ-เพิ่มรายได้
คนจนหมดประเทศ! กลายเป็นวลีที่ถูกค้นหา และพูดถึงกันมากในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะคำนี้ถูกตีความมาจากคำกล่าวของ..
อ่านแล้ว: 6193
อึ้ง! พบสารเคมีตกค้าง เกินมาตรฐานในผัก-ผลไม้
อึ้ง!! พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน 64% ถั่วฝักยาว คะน้า ใบบัวบก กะเพรา พริกแดง องุ่น แก้วมังกร
อ่านแล้ว: 6132
ค้านทำเหมืองหินชัยภูมิ ยื่นศูนย์ดำรงธรรมช่วย
คัดค้านขอใช้ประโยชน์พื้นที่ทำเหมืองแร่หินก่อสร้าง ของบริษัท พารุ่งฯ หลังคณะกรรมการตรวจสอบไฟเขียว ส่งให้กรมป่าไม้พิจารณา
อ่านแล้ว: 7117
ครม.ไฟเขียว งบปลูกพืชแทนข้าว 2 โครงการ 488ล.
ครม.อนุมัติ 488 ล้าน หนุนลดพื้นที่ปลูกข้าว 2 โครงการ หันไปปลูกพืชหลากหลาย ปลูกพืชปุ๋ยสด
อ่านแล้ว: 5821
พบ หนอนตัวแบนนิวกินี ทุกภาคทั่วไทย แนะควรทำลายป้องกันการระบาด
นักวิชาการเผยพบ หนอนตัวแบนนิวกินี ในพื้นที่ทุกภาคทั่วประเทศแล้ว แนะควรทำลายทิ้งเพื่อป้องกันการระบาด
อ่านแล้ว: 5984
ส.ป.ก. เตรียมแจกที่ดินยึดคืน แก่เกษตรกรเพิ่มอีก 5จ. กว่าหมื่นไร่

อ่านแล้ว: 5138
หมวด Agri live update ทั้งหมด >>