ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรน่ารู้ | อ่านแล้ว 4272 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ แล้วพิมเสน หน้าตามันเป็นยังไง ใช้ทำอะไร?

อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ แล้วพิมเสน หน้าตามันเป็นยังไง ใช้ทำอะไร?

ได้ยินมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ จนทุกวันนี้ ยังไม่รู้เลย ว่าหน้าตาพิมเสนเป็นไง ใช้ทำอะไรได้บ้าง

data-ad-format="autorelaxed">

พิมเสน

พิมเสน ชื่อวิทยาศาสตร์ Borneol camphor (พิมเสนธรรมชาติหรือพิมเสนแท้), Borneolum Syntheticum (Borneol) (พิมเสนสังเคราะห์หรือพิมเสนเทียม)

 

สมุนไพรพิมเสน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า พิมเสนเกล็ด (ไทย), ปิงเพี่ยน เหมยเพี่ยน (จีนกลาง) เป็นต้น

หมายเหตุ : พิมเสนที่กล่าวถึงในบทความนี้เป็นคนละชนิดกันกับต้นพิมเสนที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ Pogostemon cablin (Blanco) Benth. สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่บทความ พิมเสนต้น

ลักษณะของพิมเสน

โดยทั่วไปแล้วพิมเสนแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ พิมเสนที่ได้จากธรรมชาติและพิมเสนสังเคราะห์ ซึ่งพิมเสนทั้งสองชนิดจะมีการระเหยและติดไฟได้ง่าย สามารถละลายได้ในแอลกอฮอล์ ปิโตรเลียมอีเทอร์ และคลอโรฟอร์ม แต่จะไม่ละลายหรือละลายได้ยากในน้ำ และมีจุดหลอมตัวของทางเคมีวิทยาอยู่ที่ 205-209 องศาเซลเซียส[1] พิมเสนจะมีกลิ่นหอมเย็น รสหอม ฉุน เย็นปากคอ ในสมัยก่อนจะใช้ใส่ในหมากพลูเคี้ยว

 

  • พิมเสนธรรมชาติ หรือ พิมเสนแท้ คือ พิมเสนที่ได้มาจากการระเหิดของยางจากต้นไม้ชนิดหนึ่งตามภาพด้านล่าง (ได้จากการกลั่นเนื้อไม้) ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dryobalanops aromatica Gaertn. จัดอยู่ในวงศ์ยางนา (DIPTEROCARPACEAE) (ภาษาจีนกลางเรียกว่า “หลงเหน่าเซียงสู้”) ลักษณะของไม้ชนิดนี้เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงได้ถึง 70 เมตร มีกิ่งก้านสาขา ใบเป็นใบเดี่ยว ใบจะอยู่ที่ตอนบนของต้น ส่วนใบที่อยู่ตอนล่างจะออกตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ขอบใบเรียบ ใบอ่อนเป็นสีแดง ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ ส่วนผลเป็นผลแห้งมีปีก ภายในมีเมล็ด 1 เมล็ด[3] โดยยางที่ได้จากการระเหิดจะมีลักษณะเป็นเกล็ดใส มีขนาดเล็ก เป็นรูปหกเหลี่ยม และเปราะแตกได้ง่าย[1] พิมเสนจะมีเนื้อแน่นกว่าการบูร ระเหิดได้ช้ากว่าการบูร ติดไฟให้แสงจ้าและมีควันมากแต่ไม่มีขี้เถ้า

ต้นพิมเสน

ใบพิมเสน

ดอกพิมเสน

 

  • พิมเสนสังเคราะห์ หรือ พิมเสนเทียม คือ พิมเสนที่ได้จากสารสกัดจากต้นการบูร (ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum camphora (L.) Presl. จัดอยู่ในจัดอยู่ในวงศ์อบเชย (LAURACEAE), ต้นหนาด (หนาดหลวง หนาดใหญ่ หรือพิมเสนหนาด ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Blumea balsamifera (L.) DC. จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE) หรือน้ำมันสนโดยผ่านวิธีทางเคมีวิทยา[1]

สรรพคุณของพิมเสน

  1. พิมเสนมีรสเผ็ดขม มีกลิ่นหอม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและปอด เป็นยาบำรุงหัวใจ
  2. ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย ทะลวงทวารทั้งเจ็ด
  3. ช่วยกระตุ้นสมอง กระตุ้นการหายใจ
  4. แก้ลมวิงเวียนหน้ามืด หัวใจอ่อน ทำให้ชุ่มชื่น
  5. ใช้เป็นยาระงับความกระวนกระวาย ทำให้ง่วงซึม
  6. ตำรายาแก้ไอ แก้หลอดลมอักเสบ ให้ใช้พิมเสน 2 กรัมและขี้ผึ้ง 3 กรัมนำมาทำเป็นยาหม่อง ใช้ทาบริเวณลำคอและจมูกจะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้
  7. ช่วยแก้ปากเปื่อย ปากเป็นแผล เหงือกบวม หูคออักเสบ
  8. ใช้เป็นยาขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ
  9. ช่วยขับลมทำให้เรอ ช่วยขับผายลม แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง แก้ปวดท้อง
  10. ช่วยรักษาแผลกามโรค
  11. ใช้รักษาบาดแผลสด แผลเนื้อร้าย
  12. ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคผิวหนังต่าง ๆ
  13. การกลั่นใบและยอดอ่อนของหนาดด้วยไอน้ำจะได้พิมเสนตกผลึกออกมา นำมาทำเป็นยากินแก้อาการท้องร่วง ปวดท้อง ใช้ขับลม หรือใช้ภายนอกเป็นผงใส่บาดแผล แก้แผลอักเสบ ฟกช้ำ และกลากเกลื้อน
  14. ใช้แก้ผดผื่นคัน ให้ใช้พิมเสนและเมนทอลอย่างละ 3 กรัม ผงลื่นอีก 30 กรัม นำมารวมกันบดเป็นผงใช้ทาแก้ผดผื่นคัน
  15. ใช้เป็นยาแก้ปวดบวม แก้อักเสบ
  16. พิมเสนใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาหอมต่าง ๆ เช่น ยาหอมนวโกฐ ยาหอมเทพจิตร ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณโดยรวมคือแก้ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลาย
  17. พิมเสนจัดอยู่ใน “ตำรับยาทรงนัตถุ์” ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่อง 17 สิ่ง อย่างละเท่ากัน (รวมถึงพิมเสนด้วย) นำมาผสมกันแล้วบดเป็นผงละเอียด ใช้นัตถุ์แก้ลมทั้งหลาย ตลอดจนโรคที่เกิดในศีรษะ ตา และจมูก และยังมีอีกขนาดหนึ่งใช้เข้าเครื่องยา 15 สิ่ง (รวมทั้งพิมเสนด้วย) นำมาบดให้เป็นผงละเอียด ห่อด้วยผ้าบาง ทำเป็นยาดมแก้อาการวิงเวียน ปวดศีรษะ แก้สลบ ริดสีดวงจมูก คอ และตา
  18. นอกจากนี้พิมเสนยังใช้เป็นส่วนผสมในตำรับ “สีผึ้งขาวแก้พิษแสบร้อนให้เย็น” และ “ตำรับยาสีผึ้งบี้พระเส้น” ซึ่งเป็นตำรับยาที่ใช้ถูนวดเส้นที่แข็งให้หย่อนได้

หมายเหตุ : วิธีใช้พิมเสนตาม  ให้ใช้ครั้งละ 0.15-0.3 กรัมนำมาบดเป็นผงเข้ากับตำรายาอื่น หรือใช้ทำเป็นยาเม็ด และไม่ควรปรุงยาด้วยวิธีการต้ม หากใช้ภายนอกให้นำมาบดเป็นผงใช้โรยแผลตามที่ต้องการ

 

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพิมเสน

  • สารที่พบ ได้แก่ d-Borneol, Humulene, Caryophyllene, Asiatic acid, Dryobalanon Erythrodiol, Dipterocarpol, Hydroxydammarenone2
  • จากการทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่าพิมเสนมีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกับการบูร
  • พิมเสนมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อได้หลายชนิด เช่น เชื้อในลำไส้ใหญ่, เชื้อราบนผิวหนัง, Staphelo coccus, Steptro coccus และยังใช้ในการรักษาอาการปวดเส้นประสาทหรืออาการอักเสบ

ข้อควรระวังในการใช้พิมเสน

  • สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานพิมเสน
  • หากใช้เกินขนาดอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ความจำสับสน
  • การเก็บพิมเสนต้องเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดอย่างมิดชิด ควรเก็บไว้ในที่แห้งและมีอุณหภูมิต่ำ

ประโยชน์ของพิมเสน

  • ในสมัยก่อนพิมเสนเป็นยาที่หายากและมีราคาแพง (จึงมีคำพูดที่ว่า “อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ”) นิยมนำพิมเสนมาใส่ในหมากพลู ใช้ผสมในลูกประคบเพื่อช่วยแต่งกลิ่น มีฤทธิ์เป็นยาแก้หวัด แก้พุพอง นอกจากนี้ยังใช้ผสมในยาหม่อง น้ำอบไทย ในยาหอมจะมีพิมเสนและใบพิมเสนผสมอยู่ด้วย
 
เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  “พิมเสน”.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  หน้า 386.
  2. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “พิมเสน”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com.  [10 พ.ค. 2014].
  3. ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.  “พิมเสน”. (ผศ.สุปรียา ยืนยงสวัสดิ์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: pcog2.pharmacy.psu.ac.th/thi/Article/2548/07-48/borneol.pdf.  [10 พ.ค. 2014].

 

ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Najih Nahali – floranusa, Neko D. 13, Lua Hock Keong, Azizul Ameir),

 

www.thaicrudedrug.com (by Sudarat Homhual)

 

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (MedThai)


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 4272 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรน่ารู้]:
พืชที่ขาด ธาตุสังกะสี ต้นจะแคระ ใบเล็ก พืชที่ขาดธาตุเหล็ก ใบจะเหลือง และโตช้า
ปลูกพืชข้ามแล้ง พืชไม่กินปุ๋ย ต้นแคระ ใบเหลือง และใบร่วง และมักเกิดโรคระบาดในแปลงปลูกในช่วงหน้าหนาว
อ่านแล้ว: 9131
ดูแลพืช แก้ปัญหาพืชที่ไม่กินปุ๋ย ใบเหลือง ไม่แข็งแรง
ในระยะเร่งโตปุ๋ยกินทางใบ มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมเข้มข้น ด้วยสูตรพิเศษ
อ่านแล้ว: 7477
แนะใช้ ไตรโคเดอร์มา แก้โรคพืชในพริกไทย
สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
อ่านแล้ว: 7550
เก็บไม่ทันขาย-รายได้งาม! หลินจือแดง บ้านเกาะใหญ่ ออร์เดอร์ล้นเกินปีใหม่
พัฒนาเห็ดหลินจือแดงไปอีกขั้น โดยนำเห็ดหลินจือแดงสดที่ตากแห้งส่งให้ มอ.หาดใหญ่ตรวจเพื่อยื่นเรื่องขอ อย.
อ่านแล้ว: 7879
สารคามติวเข้มเกษตรกร รู้ทันเล่ห์พ่อค้าโกงตาชั่ง ระบาดหนักสุดในภาคอีสาน!
เผยมีเครื่องชั่งไฟฟ้าที่ใช้รับซื้อข้าวเปลือก ยางพารา แอบใช้รีโมตกำหนดน้ำหนักเองได้ กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 300 เครื่อง
อ่านแล้ว: 6862
เพาะเลี้ยง ไข่น้ำ อาหารปลาราคาถูก
คนอีสานรู้จักผำมาแต่โบราณ เอาทำกับข้าว ผัดใส่ไข่เจียว แต่รู้จักเอามาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในหน้าฝนเกิดขึ้นมาก แต่..
อ่านแล้ว: 8130
เปิดวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ข้าว ทุเรียน ปาล์ม แนะเกษตรกรวางแผนเก็บกักน้ำ ใช้ให้เหมาะกับพื้นที่
บูรณาการศึกษาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ของการผลิตข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าว กข การผลิตทุเรียน และการผลิตปาล์มน้ำมัน
อ่านแล้ว: 7357
หมวด เกษตรน่ารู้ ทั้งหมด >>