ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ห้องปศุสัตว์ | อ่านแล้ว 3842 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ค้านมติคุมนำเข้าพันธุ์ไก่ไข่ แนะตั้งกองทุนแก้ผลผลิตล้น

ค้านมติคุมนำเข้าพันธุ์ไก่ไข่ แนะตั้งกองทุนแก้ผลผลิตล้น

มติดังกล่าวจะส่งผลให้ปริมาณไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดในปี 2561 ลดลงเสี่ยงเกิดปัญหาผลิตผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดได้

data-ad-format="autorelaxed">

 นายอรรณพ อัครนิธิยานนท์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ เปิดเผยว่าทางสมาคมไม่เห็นด้วยกับมติคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg board)เห็นชอบให้อาศัยพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 ออกประกาศเพื่อบังคับใช้กับผู้ประกอบการที่ต้องการนำเข้านำเข้าไก่ปู่ย่าพันธุ์ (GP) และไก่พ่อแม่พันธุ์ (GS) ให้ปฏิบัติตามโควตานำเข้าอย่างเคร่งครัด เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมไข่ไก่ล้นตลาด

               

“มติดังกล่าวจะส่งผลให้ปริมาณไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดในปี 2561 ลดลงเสี่ยงเกิดปัญหาผลิตผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดได้”

 

ทั้งนี้ ภาวะที่ไข่ล้นตลาดของไทยนั้นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเป็นบางช่วงเวลา หากมีการบริหารจัดการที่ดีปัญหาดังกล่าวก็จะแก้ไขได้โดยที่ไม่มีผู้ได้รับผลกระทบถึงขั้นได้รับความเสียหาย กรณีราคาไข่ปรับลดลงสุดท้ายไข่ทุกฟองก็สามารถขายได้หมด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความต้องการบริโภคยังมีอยู่ อีกทั้งมติบอร์ดดังกล่าวยังไม่สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมให้คนไทยบริโภคไข่เพิ่มขึ้นเป็น 300 ฟองต่อคนต่อปีด้วย

               

“ผมไม่เห็นด้วยที่จะแก้ปัญหาที่ต้นทาง เพราะจะส่งผลกระทบต่อปลายทางได้ กรณีที่ไข่ขาดตลาด ถึงขั้นต้องนำเข้าขึ้นมา ภาพพจน์ของไทยไทยที่ต้องการเป็นครัวโลกนั้นจะเสียหายมาก เพราะไข่เป็นสินค้าพื้นฐานที่คนทุกวัย ทุกชาติ ศาสนาสามารถบริโภคได้ แต่หากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีที่จะใช้กฎหมายเข้ามาดูแล ผู้เลี้ยงไก่ไข่ก็ต้องปฏิบัติตาม คงไม่สามารถท้วงอะไรได้ “ นายอรรณพ กล่าว

                 

สำหรับแผนนำเข้าปูย่า พ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ ปี 2560 กำหนดให้นำเข้าปู่ย่าไว้ 6,000 ตัว และพ่อแม่ 600,000 ตัว การนำเข้าทั้งสองจะต้องสอดรับกับผลผลิตในประเทศ ส่วนการวางแผนควบคุมการผลิตไข่ไก่ให้เกิดความสมดุลทั้งการบริโภคและส่งออก โดยได้ประมาณการผลผลิตไก่ไข่ ปี 2560 จำนวน 55.64 ล้านตัว ผลผลิตไข่ไก่ จำนวน 16,473 ล้านฟอง และประมาณการตลาดไข่ไก่ส่งออก จำนวน 420 ล้านฟอง และไข่ไก่บริโภคในประเทศ จำนวน 16,053 ล้านฟอง

 

source: komchadluek.net/news/agricultural/276155


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 3842 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น

 

 
   
   

เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ห้องปศุสัตว์]:
ไทยไฟเขียว นำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์ ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ใน พ.ศ.2559 กรมปศุสัตว์ได้อนุมัติ อย่างเป็นทางการให้เนเธอร์แลนด์ส่งออกเนื้อลูกวัวและเนื้อวัวมายังประเทศไทย
อ่านแล้ว: 7011
ไก่โคราช เลี้ยงง่าย โตไว
ไก่เนื้อโคราช เป็นไก่ลูกผสมเกิดจากการผสมพันธุ์ ของพ่อพันธุ์พื้นเมือง ไก่เหลืองหางขาวของกรมปศุสัตว์ กับแม่พันธุ์ ไก่ มทส.
อ่านแล้ว: 7096
ไฟเขียวนำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์!!!
ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค-พรีเมี่ยม ขณะที่ไทยขยายเวลานำเข้าลูกไก่-ไข่ฟัก หลังโรควัวบ้าระบาดในยุโรปทำส่งออก-นำเข้าชะงัก
อ่านแล้ว: 6755
เลี้ยงวัวทุนน้อย แต่ครบวงจร ทำได้ไหม รวยได้ไหม?
ผมเลี้ยงวัวแม่พันธุ์เอาไว้ 4 ตัว อีก 4 ตัวเป็นวัวที่กำลังขุนอยู่ ก็ทำตามกำลังทุนและกำลังกายที่เรามี
อ่านแล้ว: 7855
โคเนื้อกำแพงแสน สร้างรายได้ ม.เกษตรฯกระจายพันธุ์ ช่วยเกษตรกรดันรายได้สุทธิพุ่ง
เกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อกำแพงแสนแบบขุนขาย พบว่ามีต้นทุน 39,682.50 บาทต่อตัว หรือ 70.86 บาทต่อกิโลกรัม
อ่านแล้ว: 6301
คนเลี้ยงหมู สุดช้ำ แม้เงินเฟ้อ แต่ราคากลับถูกลง
อ้างเหตุผลความต้องการลดลงในช่วงปิดเทอมและเทศกาลกินเจ
อ่านแล้ว: 5565
ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
การเตรียมดิน พืชอาหารสัตว์ เป็นพืชที่ต้องการแสงแดดในการเจริญเติบโตอย่างมาก ในแปลงปลูกหญ้า จึงต้องโค่นตัดต้นไม้ออก
อ่านแล้ว: 5872
หมวด ห้องปศุสัตว์ ทั้งหมด >>